จ ดทำและย นภาษ ม ลค าเพ ม vat ภพ.30 แล

เป็นเจ้าของกิจการห้างหุ้นส่วนจะต้องรู้เรื่องบัญชีและภาษีด้วย จะรู้แค่กำไรขาดทุนไม่ได้ อีกหนึ่งเอกสารที่ควรรู้จักและทำความเข้าใจคือ ภ.พ. 30 เป็นเอกสารทางภาษีอย่างหนึ่งที่จะต้องยื่นแก่ทางกรมสรรพากรทุกเดือน แต่ว่าก็ไม่ใช่ทุกร้านที่จะต้องยื่น ในกรณีที่เป็นบริษัทมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเอกสารตัวนี้ถึงจะได้ใช้งาน ชวนมาทำความเข้าใจกับเอกสารนี้ให้มากขึ้น หากคุณกำลังสงสัยว่ากิจการของคุณจะต้องยื่นไหม หากต้องยื่นแล้วต้องทำอย่างไรมาติดตามอ่านกันได้เลย

สารบัญ

Add a header to begin generating the table of contents

ภ.พ. 30 คืออะไรใครที่ต้องใช้เอกสารนี้ ?

ธุรกิจไหนที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมีการยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 เสมอ ซึ่งเป็นเอกสารทางธุรกิจที่บริษัทจะต้องยื่นแก่ทางกรมสรรพากร ที่ไหนจด VAT แล้วก็ต้องยื่นนั่นเอง ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญต้องยื่นหลังการจด VAT เรียกแบบง่าย ๆ ก็เป็นแบบแสดงภาษีซื้อและภาษีขายที่ทางบริษัทจะต้องแจ้งตลอด ซึ่งผู้ที่จะต้องจัดทำเอกสารนี้จะเป็น “เจ้าของธุรกิจ”

ซึ่งมีเงื่อนไขอยู่ว่าธุรกิจนั้นจะต้องมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี และจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องส่งเอกสาร ภ.พ. 30 ในทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไปจะไปยื่นด้วยตัวเองที่กรมสรรพากรหรือยื่นผ่านออนไลน์ก็ได้ตามแต่สะดวกเลย ฉะนั้นหากบริษัทเพิ่งเปิดได้ไม่นานและรายได้ยังไม่ถึงตามเกณฑ์ก็ยังไม่ต้องยื่นเอกสารตัวนี้

สำหรับท่านใดที่มีกิจการหลายที่แล้วอยากจะยื่นแบบ ภ.พ. 30 รวมกันและเสียภาษีมูลเพิ่มรวมกันก็ทำได้ แต่ว่าจะต้องขออนุมัติกับทางกรมสรรพากรก่อน พอได้รับการอนุมัติแล้วก็สามารถยื่นแบบและเสียภาษีรวมกันได้เลย ซึ่งก็จะได้ยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพียงแค่ 1 ฉบับเท่านั้นยื่นไปพร้อมกับใบแนบที่ทางกรมสรรพากรกำหนดให้

ภาษีซื้อภาษีขายที่แสดงใน ภ.พ. 30 คืออะไร ?

1. ภาษีซื้อ (Input Tax)

เป็นภาษีที่เจ้าของธุรกิจจะต้องจ่ายเมื่อมีการซื้อวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อมาทำเป็นสินค้าหรือบริการ หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพอจ่ายไปแล้วจะต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ซึ่งก็ต้องจ่ายให้กับบริษัทที่ขายสินค้าให้เรา ที่เป็นบริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

ทุกการซื้อของ การใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนมากเราก็จะต้องได้เสียภาษีไปด้วยอยู่แล้ว บางอย่างก็บวกเข้าไปในราคาสินค้าเรียบร้อย เพราะทางคนขายก็อาจต้องทำบัญชียื่นภาษีและยื่น ภ.พ. 30 เหมือนกัน หากเราไม่เรียกเก็บจากลูกค้าแล้วใครจะจ่าย 7% ตรงนั้น ปกติก็เป็นภาษีโดยอ้อมที่ลูกค้าต้องจ่ายเป็นปกติ

2. ภาษีขาย (Output Tax)

สำหรับส่วนนี้จะเป็นการเรียกเก็บภาษี 7% จากลูกค้าที่ซื้อสินค้าและบริการของเรา ซึ่งเราก็จะต้องนำ 7 % ที่ได้มานี้ส่งรัฐนั่นเอง ซึ่งก็รวมไปถึงการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดก้ตาม ยกเว้นการเอาไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองหรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

ภาษีตรงนี้เองที่เราต้องยื่นโดยใช้ ภ.พ. 30 เพื่อเป็นการแสดงแบบภาษีซื้อและขายแก่ทางกรมสรรพกร ซึ่งจะต้องทำกฎหมายบังคับไว้แล้วแต่ว่าบริษัทของคุณก็ต้องเข้าเงื่อนไขว่า มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปีด้วยนะ มองแบบเข้าใจง่าย ๆ คือ 7% นี้หากสังเกตเวลาเราซื้อของตามห้างร้านต่าง ๆ จะมีการรวมและเรียกเก็บไปพร้อมกับค่าสินค้าและบริการด้วยเสมอ หากเราเป็นเจ้าของธุรกิจเราเองก็ต้องมีการเสียและเรียกเก็บ VAT 7% ตรงนี้ด้วยเหมือนกัน

VAT คืออะไร?

เมื่อการยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 เป็นการแสดง VAT เผื่อมีท่านใดยังสงสัยว่าแล้ว VAT คืออะไร อธิบายเพิ่มเติมให้ตรงนี้เลย ซึ่ง VAT คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เวลาซื้อของเราจะโดนเรียกเก็บ VAT 7% ก็แปลว่าเราต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% นั่นเอง ในกรณีที่เราเป็นเจ้าของกิจการบ้างตอนขายสินค้าเราจะต้องเรียกเก็บภาษีตรงนี้กับลูกค้า 7% มาเช่นกัน ซึ่ง VAT นั้นย่อมาจาก Value Added Tax ก็คือ “ภาษี” นั่นเอง

ต้องยื่นเอกสาร ภ.พ.30 เมื่อใด ?

หากบริษัทหรือกิจการของคุณมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี รวมไปถึงมีการใช้จ่ายในการจัดตั้งธุรกิจใหม่ก็จะต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่กรมสรรพากรในพื้นที่ แล้วจากนั้นก็ยื่นแบบ ภ.พ.30 ด้วย และเป็นเอกสารสำคัญที่เจ้าของกิจการต้องยื่นทุกเดือน โดยต้องยื่นก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

เวลาจะไปยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 ที่สรรพากรหรือยื่นผ่านระบบออนไลน์ก็ตามจะต้องมีใบกำกับภาษีใช้ในการอ้างอิงด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกสารที่จะต้องมีและทำให้ถูกต้อง ชัดเจน ฉะนั้นแล้วทุกขั้นตอนจะต้องใส่ใจในการทำโดยละเอียด คนที่ไม่เก่งการทำบัญชีและภาษีอาจจะต้องหาผู้ช่วยดีกว่าทำเองแบบงง ๆ เพราะหากไม่ถูกต้องจะเสียเวลามากในการแก้ไข

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจำเป็นไหม ?

อย่างที่ทราบกันว่าผู้ที่จะต้องยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 นั้นจะต้องเป็นกิจการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี หากคุณไม่แน่ใจว่ากิจการของตนเองจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไหมก็ลองดูว่าเข้าเงื่อนไขนี้หรือไม่

1. เป็นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษี

กรณีที่จะได้รับการยกเว้นภาษีนั้นก็จะต้องเป็นกิจการที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ซึ่งคิดจากยอดขายสินค้าหรือบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้า เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตรภายในประเทศ (คำสั่งกรมสรรพากร ป.28/2535 ฯ) ค้าขายสัตว์ทั้งมีและไม่มีชีวิตในประเทศ (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535 ฯ) โรคพืชและสัตว์ การให้บริการห้องสมุน พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ และการให้บริการรักษาพยาบาลทั้งแบบรัฐบาลและเอกชน แต่เพื่อความแน่ใจให้ตรวจสอบกับทางสรรพากรอีกครั้ง

2. รายได้ของกิจการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

ง่าย ๆ เลยหากเกินแล้วก็คงต้องไปจด เฉลี่ยออกมาแต่ละเดือนก็จะอยู่ที่ 150,000 บาท ซึ่งรายได้นี้มาจาดยอดขายที่เกิดขึ้นจริงที่ไม่ใช่กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งพอรายได้เกินแล้วจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันและยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 ด้วย

3. ธุรกิจของคุณนั้นมี VAT เป็นต้นทุนหรือเปล่า ?

ธุรกิจของคุณนั้นเป็นพ่อค้าคนกลางไหม ? แบบซื้อมาขายไปหรือเป็นธุรกิจที่มีสินค้าต้นทางมีการคิด VAT ก็จำเป็นที่จะต้องมี VAT ด้วยเหมือนกัน เป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะทำให้ลดต้นทุนของธุรกิจเราไปได้เยอะเลย

4. ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการธุรกิจเราเข้าระบบ VAT ไหม ?

ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่จะต้องเช็คเหมือนกัน ก็ต้องดูหน่อยว่าลูกค้าที่มาใช้บริการและซื้อสินค้านั้นอยู่ในระบบ VAT ไหม หากคำตอบคือ “ใช่” ก็ควรจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่ารายได้จะไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีก็จดได้

เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ลูกค้า หากลูกค้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่เขาจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก หากธุรกิจคุณไม่ได้จดทะเบียน ลูกค้าก็จะไม่มาใช้บริการและไม่มาซื้อสินค้ากับคุณเลยก็ได้

เพราะทางฝั่งลูกค้าเขาก็เป็นบริษัท มีการยื่นภาษี มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและอาจจะต้องมีการยื่นเอกสาร ภ.พ. 30 ด้วย เวลาซื้อของก็ต้องซื้อกับร้านที่ออกใบกำกับภาษีให้ได้ ถ้าไม่มีก็นำไปทำบัญชีและภาษีต่อไม่ได้นั่นเอง ฉะนั้นถ้าคุณไม่อยากเสียลูกค้าก็จดไว้ก็ไม่เสียหายอะไร

การยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นสามารถยื่นคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการได้เลยหรือจะยื่นออนไลน์ก็ได้ ซึ่งการจดทะเบียนนั้นก็ได้ทั้งแบบบุคคลธรรมดาคือ เจ้าของมีคนเดียวหรือเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล และการจดแบบนิติบุคคลก็จะเป็นแบบบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดนั่นเอง พอจดแล้วหากรายได้ของกิจการถึง 1.8 ล้านต่อไปก็อย่าลืมยื่น ภ.พ. 30 ตามที่กรมสรรพากรกำหนดด้วย

บทสรุป

สรุปแบบให้เข้าใจง่ายที่สุดคือเอกสาร ภ.พ. 30 นั้นคนที่จะต้องยื่นคือเจ้าของกิจการหรือเจ้าของบริษัท ซึ่งกิจการนั้นจะต้องมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และมีรายได้ต่อปีของกิจการเกิน 1.8 ล้านบาท หากไม่เกินก็ยื่นภาษีอย่างเดียวไม่ต้องมีใบ ภ.พ. 30 หากจะต้องยื่นเอกสารนี้ต่อสรรพากรจะต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปและยื่นทุกเดือนเป็นการแสดงแบบภาษีซื้อและภาษีขายของกิจการที่ชัดเจนซื่อตรง