เง นสงเคาะห บ ตรอบต.ส ทธ ประก นส งคมได ม ย

คุณแม่จะเบิกสิทธิประกันสังคมได้ ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน และภายใน 15 เดือน ก่อนการคลอดบุตร โดยกระกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 15,000 บาท

คุณแม่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร โดยเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน (หากเป็นบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้สิทธินี้)

หากคุณแม่และพ่อ เป็นผู้ประกันตนประกันสังคมทั้งคู่ สามารถใช้สิทธิการเบิกคลอดบุตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตรและครั้ง

สำนักงานประกันสังคม ขอแจ้งให้ผู้ประกันตนรีบดำเนินการยื่นเรื่องแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือสถานะของผู้ประกันตนเพื่อการรับเงินสงเคราะห์บุตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อขอใช้ “สิทธิบุตรคนเดิม” กับสำนักงานประกันสังคม โดยผู้ประกันตนสามารถดาวน์โหลดหนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน ได้ที่ www.sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคม พร้อมนำบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา กรอกข้อมูลให้ครบ พร้อมทั้งเซ็นเอกสาร และแนบสำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารที่จะใช้รับเงินสงเคราะห์บุตร ณ ปัจจุบัน (ในกรณีต้องการเปลี่ยนธนาคาร) มายื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)

เชื่อว่าหลายคนอาจเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับ "เงินอุดหนุนบุตร" และ "เงินสงเคราะห์บุตร" ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และให้ความช่วยเหลือคนกลุ่มไหนบ้าง จำนวนเงินที่จะได้รับกี่บาท Sanook Money ได้รวบรวมข้อมูล และสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

เงินสงเคราะห์บุตร

เป็นของกองทุนประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ที่จะให้สิทธิ์กับผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยจะต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนวันที่จะได้รับสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 เป็นต้นไป ซึ่งจะได้รับ 800 บาทต่อเดือน

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานดูแลหลัก โดยจะให้สิทธิ์กับเด็กที่อยู่กับครอบครัวที่มีรายได้น้อย เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อคนต่อปี และไม่ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ โดยจะได้รับเดือนละ 600 บาท

ประกันสังคม "เงินสงเคราะห์บุตร-เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด" สามารถรับทั้ง 2 อย่างได้หรือเปล่า?

ผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน และมีบุตรแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้ อีกทั้งยังมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด หากผู้ประกันตนอยู่ในครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อคนต่อปี และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ก็สามารถลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดได้ด้วย

ดังนั้น ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือทั้ง 2 ทาง คือ เงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด รวมแล้วจะได้รับเงินช่วยเหลือ 1,400 บาทต่อเดือน ต่อบุตร 1 คน

เบิกเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร : เบิกได้ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน)

  • เบิกค่าชดเชย กรณีแท้งบุตร : ต้องอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์
  • เบิกเงินสงเคราะห์เพื่อเลี้ยงดูบุตร : เบิกได้ 800 บาท ต่อเดือน (ตั้งแต่เกิดจนถึง 6 ปี)

ค่าคลอดบุตร

  • คุณแม่จะเบิกสิทธิประกันสังคมได้ ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน และภายใน 15 เดือน ก่อนการคลอดบุตร โดยกระกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 15,000 บาท
  • คุณแม่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร โดยเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน (หากเป็นบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้สิทธินี้)
  • หากคุณแม่และพ่อ เป็นผู้ประกันตนประกันสังคมทั้งคู่ สามารถใช้สิทธิการเบิกคลอดบุตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตรและครั้ง

ค่าฝากครรภ์

ประกันสังคมจะจ่ายค่าฝากครรภ์ให้คุณแม่โดยปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์ 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท (จากเดิม 3 ครั้ง 1,000 บาท) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รัฐบาลเคาะจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มเป็นเดือนละ 800 บาท สำหรับคุณแม่ประกันสังคม ขอใช้สิทธิได้แล้ววันนี้

ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม เมื่อคลอดบุตรแล้วสามารถใช้สิทธิในการรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท จากประกันสังคมต่อบุตร 1 คน ตั้งแต่แรกเกิดไปจบครบ 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนไม่เกิน 3 คน ซึ่งเดิมได้รับเดือนละ 600 บาท เป็น 800 บาท ตามประกาศกฎกระทรวงแรงงาน เรื่องการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 มาแล้ว

การเพิ่มจำนวนเงินสงเคราะห์บุตร เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรของผู้ประกันตนและภาคแรงงาน ให้สามารถเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาประเทศชาติต่อไป

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับสิทธิ์

  • ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 (ลูกจ้างประจำ) มาตรา 39 (ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ) และมาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3)
  • จ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน จ่ายประกันสังคมมามากกว่า 12 เดือนแล้ว ภายในเวลา 36 เดือน
  • ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
  • อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร

  • เมื่อบุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ทั้งนี้คุณแม่ผู้ประกันตนสามารถยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาที่ท่านสะดวก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สายด่วน 1506 และ www.sso.go.th