Sustainable development goals sdgs 17 ข อ ม อะไรบ าง

แก่นสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) สามารถสรุปได้ด้วยวลีสั้น ๆ ว่า “การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้ในทุกภาระกิจของสหประชาชาติในประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม 2565 ทีมสหประชาชาติประจำประเทศไทยได้ลงนามในกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระปี พ.ศ. 2565-2569 (UNSDCF) กับรัฐบาลไทย กรอบความร่วมมือฯ นี้แจกแจงการสนับสนุนด้านการพัฒนาที่ระบบสหประชาชาติมอบให้กับประเทศไทยเพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายอันสูงส่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใน ค.ศ. 2030 และก้าวขึ้นเป็นประเทศรายได้สูง มีการพัฒนาที่ครอบคลุม ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤต กรอบความร่วมมือฯ ได้รับการออกแบบโดยอิงหลักการของสหประชาชาติที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หลักสิทธิมนุษยชน หลักความเสมอภาคทางเพศ หลักความยั่งยืน และหลักภูมิคุ้มกันต่อวิกฤต จึงมีความสอดคล้องในระดับสูงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทย และร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน ประเทศไทย

ทีมงานสหประชาชาติในประเทศไทยมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย โดยเน้นความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG localization) เพื่อนำวาระการพัฒนาระดับโลกสู่ชุมชนท้องถิ่นให้บรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล ผลการดำเนินงานที่มีความโดดเด่นที่ผ่านมา ได้แก่ ความพยายามในการส่งเสริมระบบการคุ้มครองทางสังคมแบบบูรณาการสำหรับทุกคน (เป้าหมาย 1.3) การแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เป้าหมายที่ 3.4) การให้การศึกษาที่ครอบคลุมซึ่งรวมถึงเด็กในกลุ่มผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (เป้าหมาย 3.4) และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรี (เป้าหมาย 5.5) อีกทั้งยังมุ่งเสริมพลังและความเข้มแข็งแก่วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม และส่งเสริมนวัตกรรมจากคนรุ่นใหม่โดยเน้นสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจและการพลิกโฉมวิสาหกิจด้วยระบบดิจิทัล (เป้าหมาย 8.3) การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมซึ่งรวมถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศสภาพ (LGBTI) (เป้าหมาย 10.2) รวมถึงการดำเนินงานด้านการอภิบาลแรงงานข้ามชาติเพื่อส่งเสริมให้เป็นไปอย่างปลอดภัย ถูกกฎหมาย และมีระเบียบที่ชัดเจน (เป้าหมาย 10.7) นอกจากนั้น องค์การสหประชาชาติยังได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (เป้าหมาย 13.2) การจัดการขยะมูลฝอย (เป้าหมาย 11.6) และการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมสีเขียว โดยมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำและภาคการเงินและการลงทุนที่เกื้อหนุนอุตสาหกรรมสีเขียวในหมู่วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เป้าหมาย 7.2) สนับสนุนสิทธิการเป็นพลเมืองที่ครอบคลุมเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิของประชาชน (เป้าหมาย 16.9) และแบ่งปันประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศของไทยกับนานาประเทศ ผ่านความร่วมมือไตรภาคีแบบใต้-ใต้ (เป้าหมาย 17.9) สู่การพลิกโฉมสังคมไทยไปพร้อมกับทุกภาคส่วน ให้มีความรุ่งเรือง มั่งคั่ง ยั่งยืน และครอบคลุม

GC ในฐานะองค์กรคาร์บอนต่ำ มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่มีความยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) โดยประเมินความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ และกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร เข้ากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประจำทุกปี ดังนี้

เป้าหมายรอง

เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีน้ำสะอาดไว้ใช้บริโภคและทำการผลิตในชุมชน GC มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการใช้น้ำอย่างมีความรับผิดชอบ ผ่านการดำเนินการโครงการด้านการจัดการน้ำอย่างเข้มข้น การบูรณาการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำ

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ 6 อาทิ

  • โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด
  • โครงการ Our Khung Bangkachao
  • โครงการถังน้ำ InnoPlus
  • โครงการ 3Rs

GC มีบทบาทอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมความร่วมมือด้านความยั่งยืนกับองค์กรชั้นนำต่าง ๆ โดยการยกระดับความรู้ และกำหนดแนวทางที่มีประสิทธิภาพซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของ GC พร้อมตอกย้ำวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในระดับโลก

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ 17 อาทิ

  • โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand
  • โครงการ Luffala
  • โครงการเชฟชุมชนชวนกินถิ่นระยอง

GC สนับสนุนการขจัดปัญหาความยากจนทุกรูปแบบมาโดยตลอด ผ่านการดำเนินงานวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise หรือ SE) และโครงการที่สร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างบริษัทฯ ชุมชน สังคม ตลอดจนการมอบทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมให้กับพนักงาน

โครงการ หรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ 1 อาทิ

  • โครงการ Luffala
  • โครงการเชฟชุมชนชวนกินถิ่นระยอง
  • โครงการเสริมสร้าง Local SMEs Entrepreneur

GC ร่วมกับองค์กรชั้นนำ เพื่อค้นหา ทางเลือก เพื่อขจัดความหิวโหย รวมถึงปรับเปลี่ยนการผลิตอาหารและการเกษตรในระดับโลกให้มีความยั่งยืน โดย GC ดำเนินโครงการเพื่อให้ความรู้พันธมิตร ภายในประเทศ และผู้ผลิตอาหารรายย่อย เพื่อให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ2 อาทิ

  • โครงการแด่น้องผู้มีความหวัง

GC ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ตลอดจนความปลอดภัยของสังคม โดยเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ GC ได้ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้มั่นใจว่า ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียม โดยการบริจาคและส่งมอบนวัตกรรมทางการแพทย์ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ 3 อาทิ

  • โครงการความร่วมมือกับพัธมิตรในการให้การปกป้องและดูแลบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในสถานการณ์ COVID-19
  • โครงการ Luffala
  • โครงการฮาวทูแยก..แยกอย่างไร ไม่ให้ติดเชื้อ
  • เครื่องบำบัดอากาศมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5
  • นโยบาย Work-from-home

เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนจะได้รับการศึกอย่างเท่าเทียม GC จึงสนับสนุนทุนการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ ในกลุ่ม STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) โดยมอบให้กับนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาทั่วประเทศ โดย GC ร่วมงานกับภาครัฐและภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนในชุมชนได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษา

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ 4 อาทิ

  • โครงการ Connext ED
  • โครงการโรงเรียนวัดเขาสาปโมเดล
  • การบริจาคเพื่อสนับสนุนสถาบันการศึกษาต่างๆ
  • การบริจาคเพื่อสนับสนุนองค์กรยูนิเซฟ
  • KVIS / VISTEC

GC ให้ความสำคัญในด้านความเท่าเทียมทางเพศ ทั้งภายในองค์กรของ GC และตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อรับประกันว่า ไม่มีการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนใด ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ 5 อาทิ

  • สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม
  • นโยบายจรรยาบรรณธุรกิจ และนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • การรับเรื่องร้องเรียน

แม้ว่าธุรกิจของ GC จะไม่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้า แต่ GC พร้อมแสดงความรับผิดชอบด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน และบูรณาการโครงการริเริ่มเพื่อสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับการปฏิบัติการในธุรกิจโดยตั้งเป้าลดการใช้พลังงานฟอสซิล

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ 7 อาทิ

  • โครงการโซลาร์ชนิดลอยน้ำทะเล

GC สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และสนับสนุนธุรกิจเกื้อกูลสังคม (Inclusive Business) ผ่านนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนา โครงการส่งเสริมการจ้างงาน โครงการพัฒนาอาชีพ โครงการยกระดับทักษะ (Upskill) และปรับเปลี่ยนทักษะ (Reskill) และโครงการปรับปรุงความรู้

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ 8 อาทิ

  • โครงการ Luffala
  • โครงการเชฟชุมชนชวนกินถิ่นระยอง
  • โครงการ SMEs Entrepreneur Project
  • โครงการปลุกฝันปั้นดาว

GC ยึดมั่นในนโยบายสิทธิมนุษยชน ควบคู่กับกระบวนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างเข้มแข็งของ GC โดยพนักงานและผู้รับจ้างตลอดห่วงโซ่อุปทานจะได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันในทุกภาคส่วน

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ 10 อาทิ

  • นโยบายสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม
  • การบริจาคสนับสนุนองค์กรยูนิเซฟ

นอกจากการจัดทำโครงการเพื่อสังคมต่าง ๆ ที่มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเชิดชูมรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่ที่ GC ดำเนินกิจการอยู่แล้วนั้น แผนธุรกิจต่างๆ จะต้องไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสินทรัพย์ซึ่งเป็นมรดกของชุมชนด้วย

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ 11 อาทิ

  • โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand
  • โครงการเส้นทางแห่งความสุข
  • โครงการ Chiang Rai Waste Management

GC มุ่งมั่นในการปกป้องทรัพยากรทางทะเล โดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ

โครงการหรือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

ที่สนับสนุน SDGs ข้อ 14 อาทิ

  • Upcycling the Oceans, Thailand
  • โครงการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดระยอง (ร่วมกับกลุ่มประมง)
  • โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด
  • โครงการ Our Khung BangKachao
  • โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ
  • โครงการธนาคารปู

แม้ว่า GC จะไม่ได้ดำเนินธุรกิจในพื้นที่เขตมรดกโลก แต่ GC ดำเนินการเพื่อลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่บริษัทดำเนินกิจการ ผ่านโครงการปลูกป่า

SDGs 17 หมายถึงอะไร

สำหรับ SDGs หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยองค์การสหประชาชาติแบ่งทั้ง 17 ข้อ ออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มีทั้งหมดกี่เป้าหมาย

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 17 เป้าหมาย ประกอบไปด้วย 169 เป้าหมายย่อย (SDG Targets) ที่มีความเป็นสากล เชื่อมโยงและเกื้อหนุนกัน และกำหนดให้มี 247 ตัวชี้วัด เพื่อใช้ติดตามและประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา โดยสามารถจัดกลุ่ม SDGs ตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ (5P) ได้แก่ (1) การพัฒนาคน (People) ให้ความสำคัญกับ ...

SDGs คืออะไร และมีความสําคัญอย่างไร และทําหน้าที่อะไรบ้าง

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกหลังปี 2015 ที่ได้รับการรับรองจาก 193 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2015 ครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่ต้องบรรลุภายใน 15 ปี ได้เป็นทิศทางการพัฒนาที่ทุกประเทศที่ต้องดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปีค.ศ.

SDGs คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน.

ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่.

ขจัดความหิวโหย.

มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี.

การศึกษาที่เท่าเทียม.

ความเท่าเทียมทางเพศ.

การจัดการน้ำและสุขาภิบาล.

พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้.

การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ.