ก นน ำผลไม ป นแล ว ม ลมในกระเพาะ

หลังกินข้าวแล้วเกิดอาการท้องอืด จุดเสียด แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อยทุกที ทรมานจนหลายครั้งต้องพึ่งยาช่วยย่อยอาหาร ยาลดกรด แม้อาการจะดีขึ้นและหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา หรือไม่หาสาเหตุอาจกลายเป็นภาวะอาหารไม่ย่อยเรื้อรัง ก่อให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหารที่รุนแรงได้

อาหารไม่ย่อย

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอาการไม่สบายท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ช่วงระหว่างหรือหลังกินอาหาร ทำให้เกิดอาการอึดอัด ไม่สบายท้อง มีอาการหลายอย่างร่วมกัน พบได้เกือบทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่จะพบได้มากกว่าในเด็ก ส่วนโอกาสการเกิดอาการมีใกล้เคียงกันทั้งในผู้ชายและผู้หญิง บางคนเป็นครั้งคราว บางคนอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง

ต้นเหตุ...ภาวะอาหารไม่ย่อย

บ่อยครั้งที่ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่า สาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อยมาจากอะไร แต่โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก

  1. พฤติกรรมการกิน เช่น กินอาหารเร็วเกินไปซึ่งการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดจะทำให้อาหารย่อยได้ยากขึ้น หรือกินอาหารในปริมาณมากเกินไปในแต่ละมื้อซึ่งส่งผลให้น้ำย่อยอาหารไม่เพียงพอที่จะย่อยอาหารได้ รวมไปถึงการกินอาหารไม่ตรงเวลา กินอาหารมัน หรือกินอาหารที่มีรสเผ็ด ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือน้ำอัดลมมากเกินไป
  2. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน และการตั้งครรภ์
  3. ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น มีภาวะความเครียด วิตกกังวล จะส่งผลทำให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากกว่าปกติ
  4. ปัญหาด้านสุขภาพหรือการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น
    • การเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือภายในลำไส้เล็ก ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H.pylori) และจากสาเหตุอื่น
    • ภาวะท้องผูก ภาวะกรดไหลย้อนหรือเป็นโรคกรดไหลย้อน
    • อวัยวะในระบบย่อยอาหารเกิดการอักเสบ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ ลำไส้เล็กหรือตับอ่อนอักเสบ ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ย่อยอาหาร
    • ลำไส้อุดตัน ภาวะลำไส้ขาดเลือด
    • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร พบได้น้อย และส่วนใหญ่จะพบในคนอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป
  5. ผลข้างเคียงของยาบางชนิดที่มีต่อระบบย่อยอาหาร จนนำไปสู่อาการอาหารไม่ย่อยได้ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ยาแก้ปวด ยาสเตียรอยด์ และจำพวกยาต้านอักเสบ เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน และยาไดโคลฟีแนค เป็นต้น

    จุกเสียด แน่นท้อง อาการเด่นอาหารไม่ย่อย

    เมื่อเกิดภาวะอาหารไม่ย่อยจะทำให้มีอาการเด่นเลย คือ จุดเสียด แน่นท้อง ไม่สบายท้องตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ รวมทั้งมีอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว เป็นต้น โดยอาการจะเป็นเฉพาะบริเวณระดับเหนือสะดือขึ้นไป และจะไม่มีอาการปวดท้องในระดับใต้สะดือและไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายร่วมด้วย

    ทั้งนี้ อาหารไม่ย่อยที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง อาจไม่เป็นอันตรายอะไร แต่หากมีอาการอาหารไม่ย่อยมากกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป หรือร่วมกับอาการเหล่านี้ เช่น อาเจียนอย่างรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด หรืออาเจียนออกมาเป็นสีดำคล้ำ น้ำหนักลดไม่มีสาเหตุ กลืนอาหารลำบาก เป็นต้น ควรรีบมาพบแพทย์

    ตรวจเช็ค รักษาให้ถูกวิธี

    การดูแลรักษาภาวะอาหารไม่ย่อย ต้องรักษาที่ต้นเหตุตามลักษณะอาการที่เป็น โดยเบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัย จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และจากการที่ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดกรด หรือยาช่วยย่อยอาหาร ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หลังจากนั้นจะดูอาการประมาณ 3-4 สัปดาห์

    หากไม่ดีขึ้นหรือมีอาการมากขึ้น ก็อาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือด หรือการตรวจลมหายใจหาการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร และการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษที่มีกล้อง (Endoscope) ติดอยู่ตรงส่วนปลายท่อ สอดเข้าไปทางปากของผู้ป่วย แล้วตรวจดูอวัยวะภายในเพื่อหาความผิดปกติผ่านภาพจากกล้อง

    อย่างไรก็ตาม อาหารไม่ย่อยควรป้องกันที่สาเหตุและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการรับประทาน เช่น เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเผ็ด หรืออาหารสำเร็จรูป กินอาหารให้ตรงเวลาและกินพอดีไม่เยอะจนเกินไป พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีบริหารจัดการรับมือกับความเครียด หาวิธีผ่อนคลาย ก็จะช่วยให้ห่างไกลอาการอาหารไม่ย่อยได้

    ปัจจุบันนี้การใช้ชีวิตของคนเราเปลี่ยนไปอย่างมากจากเมื่อก่อน ทั้งความเครียด อาหารการกิน การออกกำลังกาย รวมถึงไลฟ์สไตล์และความเร่งรีบในแต่ละวัน โรคในระบบทางเดินอาหารจึงเป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้น

    ระบบทางเดินอาหารของคนเรา นับตั้งแต่ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก รวมถึงอวัยวะที่ช่วยผลิตน้ำย่อย ได้แก่ ตับและถุงน้ำดี ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ระบบทางเดินอาหารก็จะเริ่มแสดงอาการต่างๆ แม้อาการแสดงออกจะเป็นเพียงอาการท้องเฟ้อ เรอ ผายลม ซึ่งไม่ได้รุนแรง แต่ก็อาจรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันและสร้างความกังวลใจ หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ พยาธิในทางเดินอาหาร อาการแสบบริเวณหน้าอกซึ่งอาจเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน หรือโรคร้ายแรงอย่าง มะเร็งกระเพาะอาหาร ได้

    ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    ท้องอืด ท้องเฟ้อ คืออาการของภาวะอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) ซึ่งพบบ่อยมากถึง 25% ของคนทั่วไป จะทำให้รู้สึกปวดท้องช่วงบน เนื่องจากระบบการย่อยไม่ปกติ ส่งผลให้ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องและอึดอัด ไม่สบายตัว โดยอาการมักดีขึ้นและหายได้เอง หรือบางคนอาจมีอาการเรื้อรังจนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

    สาเหตุของอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

    มากกว่า 50% ไม่สามารถระบุสาเหตุของภาวะท้องอืดท้องเฟ้อได้ แพทย์จะให้การรักษาด้วยการรับประทานยา รวมถึงปรับเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรม อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น รวมถึงเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด ตัวเหลือง อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายอื่นๆ ซึ่งต้องมีการตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด นอกจากนี้อาการท้องอืดท้องเฟ้ออาจมาสาเหตุและปัจจัยอื่นๆ ดังนี้

    • โรคประจำตัว ภาวะอาหารไม่ย่อยอาจเกิดจากผลข้างเคียงของโรคเรื้อรัง เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะเป็นแผล การติดเชื้อพยาธิ มะเร็งทางเดินอาหารหรือลำไส้ โรคลำไส้แปรปรวน หรือเป็นการทำงานที่ผิดปกติของลำไส้ นอกจากนี้โรคทางร่างกายอื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องอืดร่วมด้วย เช่น โรคไทรอยด์และโรคเบาหวาน เป็นต้น
    • อาหาร อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รู้สึกมีลมในกระเพาะอาหาร จนอึดอัดไม่สบายตัว อาจเกิดจากอาหาร เช่น ผักผลไม้ที่มีเส้นใยมาก หากรับประทานมากเกินอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ นอกจากนี้ อาหารเผ็ด แอลกอฮอล์ อาหารไขมันสูง นมและกาแฟ และพฤติกรรมการรับประทานก็มีผลทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อได้เช่นกัน โดยเฉพาะการรับประทานอาหารเร็วเกินไป เคี้ยวน้อยและรับประทานอาหารมากเกินไป
    • ยา การรับประทานยาบางประเภทอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองของทางเดินอาหาร เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด และยาปฏิชีวนะบางชนิด

    อาการเรอ

    เรอ เป็นการขับลมจากกระเพาะอาหาร ผ่านหลอดอาหารออกมาทางปาก อาจมีแค่เสียง หรือเรอออกมาพร้อมกลิ่นอาหาร เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารเร็วและมากเกินจำเป็น

    เมื่อเรอออกมา อาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้น แต่หากเรอบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคระบบทางเดินอาหารบางชนิด โดยเฉพาะเรอเปรี้ยว ขมปากและมีอาการแสบร้อนกลางอก อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกช่วงวัยและกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น มีน้ำหนักมาก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ

    สาเหตุของอาการเรอ

    เกิดจากมีลมในกระเพาะอาหารมาก ทำให้กระเพาะอาหารพองตัวและขับลมออกมา ซึ่งการเกิดลม หรือแก๊สในกระเพาะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

    • กลืนลมหรืออากาศโดยไม่รู้ตัว เช่น รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มเร็วเกินไป พูดคุยระหว่างมื้ออาหาร การสูบบุหรี่
    • รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น อาหารไขมันและคาร์โบรไฮเดรทสูง ยีสต์ ถั่วชนิดต่างๆ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
    • ยาบางชนิดหากใช้ในปริมาณมาก อาจส่งผลให้กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบ ทำให้เรอบ่อย เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยาระบาย ยาแก้ปวด
    • โรคประจำตัว ทำให้ เรอบ่อย หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เจ็บหน้าอก จุกแน่นลิ้นปี่ อาจเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะ นอกจากนี้อาการเรอบ่อยอาจมาจากโรคอื่นๆ เช่น โรคตับอ่อน ที่ไม่สามารถผลิตน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร
    • ความเครียด ภาวะความกดดันสูง ความวิตกกังวล หรือปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ

    ตด หรือ ผายลม

    ตด หรือผายลม เป็นการปล่อยแก๊สในลำไส้ออกทางทวารหนัก ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการสะสมในระบบย่อย อาจมีเฉพาะเสียง กลิ่น หรือทั้งสองอย่าง ทางการแพทย์ระบุว่ามนุษย์ต้องตดเฉลี่ยวันละ 10-20 ครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติเป็นการระบายแก๊สที่สะสมอยู่ในร่างกายที่อาจส่งผลให้ท้องอืด แต่หากมีกลิ่นและเสียงผิดปกติ หรือเกิดขึ้นพร้อมกับอาการทางเดินอาหารอื่นๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าระบบการย่อยมีความผิดปกติ หรืออาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคลำไส้อักเสบ

    สาเหตุของการผายลม

    • อาหารบางชนิดที่ทำให้เกิดแก๊สมาก เช่น อาหารโปรตีนสูง เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว น้ำอัดลมและแอลกอฮอล์ สำหรับอาหารที่ทำให้ตดมีกลิ่นรุนแรง เช่น คะน้า กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่งและผักที่มีกลิ่นแรง
    • การกลืนอากาศระหว่างการเคี้ยวอาหาร หายใจ สูบบุหรี่
    • โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคลำไส้อักเสบ
    • อาหารไม่ย่อย
    • รับประทานอาหารในปริมาณมากและเร็วเกินไป

    ลมในท้องเยอะ ตดบ่อย ทำอย่างไร และวิธีป้องกันปัญหาท้องเฟ้อ เรอบ่อย แน่นท้อง

    ทั้งปัญหาท้องเฟ้อ เรอ ตด เกิดจากสาเหตุคล้ายคลึงกัน การป้องกันจึงสามารถทำได้คล้าย ๆ กัน ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดกรดและแก๊ส เช่น อาหารไขมันสูง ย่อยยาก ถั่ว และผักตระกูลกะหล่ำ รวมถึงกาแฟ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
    • รับประทานอาหารแต่ละครั้งไม่มากเกินไป
    • ลดการพูดคุยในระหว่างมื้ออาหาร
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ หรืออาหารที่ร่างกายย่อยไม่ได้
    • ไม่รีบรับประทานอาหารและเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
    • หลีกเลี่ยงการล้มตัวลงนอน หรืออยู่ในท่าก้มงอตัว หรือรัดเข็มขัดแน่นเกินไป หลังรับประทานอาหาร
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเฉพาะหากต้องทำงานแบบนั่งโต๊ะเป็นประจำ
    • งดสูบบุหรี่
    • ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากพบว่าสาเหตุของอาการดังกล่าวมาจากยา
    • ดูแลและควบคุมโรคประจำตัว โดยพบแพทย์ตามนัด
    • หากพบปัญหาท้องเฟ้อ เรอ ผายลม ที่ผิดปกติหรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แสบร้อนกลางอก ปวดเกร็งท้อง เจ็บหน้าอก ถ่ายเป็นเลือด ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง

    การรักษาภาวะท้องเฟ้อ เรอ ตด

    แม้ภาวะท้องเฟ้อ เรอ ตด จะเป็นเพียงอาการ ซึ่งไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากพบความผิดปกติร่วมกับอาการอื่นๆ อาจบ่งบอกถึงโรคร้ายที่ซ่อนอยู่ในระบบทางเดินอาหาร หรืออาจพัฒนาไปสู่โรคอื่นๆ ได้ ดังนั้นควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

    สำหรับผู้ที่ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรคที่อันตราย แพทย์อาจรักษาโดยการให้รับประทานยาแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรับประทานอาหาร รวมถึงนัดเพื่อติดตามอาการเป็นระยะ