ใบงานที่8 อารยธรรมอียิปต์โบราณ

ทั้งนี้ เมื่อวิญญาณกลับมาแล้วก็ต้องมีร่างกายอยู่ และร่างที่จะอาศัยอยู่ได้ต้องเป็นร่างกายของตนเองเท่านั้น และด้วยความเชื่อนี้เองจึงทำให้เกิดวิธีการดูแลศพ หรือที่เรารู้จักกันอย่างดีกับการทำ 

ชื่อ ............................................................ชัน ................ เลขที่ ..............

ข้อที่ ก ข ค ง คะแนนเต็ม 10
1 คะแนนที่ได้
2
3 เกณฑ์การประเมิน
4 คะแนนระหว่าง 9-10 อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก
5 คะแนนระหว่าง 7-8 อยู่ในเกณฑ์ ดี
คะแนนระหว่าง 5-6 อยู่ในเกณฑ์ พอใช้
6 คะแนนระหว่าง 0-4 อยู่ในเกณฑ์ ปรับปรุง

7
8
9
10

แบบทดสอบก่อนเรียน 12
เล่มที่ 2 เรื่อง อารยธรรมอียิปต์

คำชี้แจง
1. ข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ ใช้เวลาในการทำ 10 นาที
2. ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย

กากบาท (X) ลงในกระดาษคำตอบ

1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะภูมิศาสตร์ของแหล่งอารยธรรมอียิปต์โบราณ
ก. ติดทะเลเหมาะกับการค้าขาย
ข. มีที่ราบเดลต้าปากน้ำที่อุดมสมบูรณ์
ค. มีที่ราบหุบเขาสลับเขาสูงเหมาะกับการตั้งถิ่นฐาน
ง. มีทะเลทรายกว้างขวางเป็นด่านป้องกันตัวจากศัตรู

2. การทำมัมมี่ของชาวอียิปต์แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของความรู้และ
วิทยาการในด้านใด
ก. ความเชื่อ
ข. การแพทย์
ค. ประติมากรรม
ง. วิทยาการความรู้

3. ข้อใดต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้อง
ก. ฮอรัส = เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า
ข. สฟิงค์ = คนเฝ้าสุสาน
ค. ฟาโรห์ = เทพเจ้าสูงสุด
ง. โอซิริส = เทพีแห่งเวทมนตร์

แบบทดสอบก่อนเรียน 13
เล่มที่ 2 เรื่อง อารยธรรมอียิปต์

4. ตัวอักษรที่ชาวอียิปต์ได้พัฒนาขึ้นมามีชื่อเรียกว่าอะไร
ก. อักษรละติน
ข. อักษรคูนิฟอร์ม
ค. อักษรอัลฟาเบต
ง. อักษรเฮียโรกลิฟิก

5. สาเหตุสำคัญที่ทำให้อารยธรรมอียิปต์พัฒนาอย่างมีเอกภาพคือ
ก. มีการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว
ข. เชื้อชาติเดียวกันทั้งหมดในอาณาจักร
ค. ยึดถืออารยธรรมเดิมตามคติความเชื่อบรรพบุรุษ
ง. มีสภาพภูมิศาสตร์ที่ป้องกันการรุกรานจากภายนอก

6. คัมภีร์ใดมีความเกี่ยวข้องกับอารยธรรมอียิปต์
ก. คัมภีร์มรณะ
ข. คัมภีร์พันธสัญญาเดิม
ค. คัมภีร์พระเวท
ง. คัมภีร์กิลกาเมซ

7. ชาวอียิปต์ได้สร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรือง ยกเว้นข้อใด
ก. เรขาคณิต
ข. การทำมัมมี่
ค. อักษรคูนิฟอร์ม
ง. ทันตกรรม (ฟันปลอม)

แบบทดสอบก่อนเรียน 14
เล่มที่ 2 เรื่อง อารยธรรมอียิปต์

8. เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่า อียิปต์เป็นของขวัญจากแม่น้ำไนล์
ก. มีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนทำให้มีน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก
ข. สภาพภูมิศาสตร์ของอียิปต์โดยทั่วไปมีลักษณะร้อนและแห้งแล้ง
ค. แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำสายสำคัญถือเป็นหัวใจสำคัญของแม่น้ำสายอื่น ๆ
ง. ลักษณะที่ตั้งของอียิปต์และสภาพภูมิศาสตร์มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต

9. เพราะเหตุใดที่ราบลุ่มของอียิปต์โบราณถึงอุดมสมบูรณ์
ก. ฝนตกตลอดปี
ข. บำรุงที่ดินโดยการใช้ปุ๋ย
ค. น้ำท่วมล้นฝั่งแม่น้ำไนล์
ง. เนื้อดินซุย เหมาะแก่การไถคราด

10. ร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีของอารยธรรมอียิปต์หลงเหลือมากกว่า
อารยธรรมเมโสโปเตเมียเพราะเหตุใด
ก. ทำเลที่ตั้งเหมาะสม
ข. สร้างสิ่งก่อสร้างด้วยอิฐ
ค. สร้างสิ่งก่อสร้างด้วยหิน
ง. สิ่งก่อสร้างมีขนาดใหญ่กว่า

15

เนื้อหาและกิจกรรม
เล่มที่ 2

เรื่อง อารยธรรมอียิปต์

อารยธรรมอียิปต์ 16

1. สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ หรือ อารยธรรมอียิปต์โบราณ มีจุดกำเนิดอยู่ทางตอน
เหนือของทวีปแอฟริกา บริเวณสองฝั่งแม่น้ำไนล์ที่มีลักษณะเป็นแนวยาว ตั้งแต่ปาก
แม่น้ำไนล์ซึ่งเป็นตอนปลายสุดของแม่น้ำไปจนถึงตอนเหนือของประเทศซูดานใน
ปัจจุบัน ทำให้แบ่งลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ำไนล์แบ่งได้เป็น ๒ บริเวณ คือ

อียิปต์ล่าง (Lower Egypt) ภาพที่ 1 แผนที่อารยธรรมอียิปต์
ตั้งอยู่ที่ราบบริเวณปากแม่น้ำ ที่มา : https://sites.google.com/a/tupr.ac.th
ไนล์ มีลักษณะเป็นรูปพัดหรือ
เดลตา ซึ่งอารยธรรมโบราณ
ของอียิปต์เจริญขึ้นบริเวณนี้

อียิปต์บน (Upper Egypt)
อยู่ในบริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหล
ผ่านหุบเขาไปจนถึงต้นแม่น้ำ
ตอนในทวีป ลักษณะเป็น
ที่ราบแคบ ๆ ขนาบด้วย
หน้าผาและทะเลทราย

อารยธรรมอียิปต์ 17

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ดินแดนลุ่มน้ำไนล์ได้รับความอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอและถูกล้อมรอบ
ด้วยทะเลทรายทำให้มีปราการทางธรรมชาติป้องกันศัตรูจากภายนอก ด้วยสภาพภูมิประเทศที่
เป็นทะเลทรายและป้องกันการรุกรานจากชาติอื่น ๆ โดยธรรมชาติ ชาวอียิปต์จึงอยู่อย่าง
สันโดษ สามารถพัฒนาอารยธรรมให้มีความต่อเนื่องและมั่นคงได้เป็นระยะเวลาอันยาวนาน
มีอิทธิพลต่อความเจริญก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการของโลกตะวันตกในสมัยต่อมา กลายเป็นอู่
อารยธรรมของโลกตะวันตกคู่กับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ดังนั้นจึงมีคำกล่าวที่ว่า “Egypt is
the gift of the Nile = อียิปต์เป็นของขวัญจากแม่น้ำไนล์”

2. ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์

อารยธรรมอียิปต์ได้ชื่อว่าเป็นของขวัญจากแม่น้ำไนล์ เนื่องจากลักษณะที่ตั้งของอียิปต์
และสภาพภูมิศาสตร์มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการสร้างสรรค์
อารยธรรมอียิปต์ นอกจากนี้แล้ว ระบอบการปกครองตลอดจนภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ก็
เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์อารยธรรมของอียิปต์

ภาพที่ 2 แม่น้ำไนล์
ที่มา : https://today.line.me/th/v2/article/LD2DpV

อารยธรรมอียิปต์ 18

2.1 สภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งของอารยธรรมอียิปต์

สภาพภูมิศาสตร์ของอียิปต์โดยทั่วไปมีลักษณะร้อนและแห้งแล้ง พื้นที่ส่วน
ใหญ่เป็นเขตทะเลทรายซึ่งไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก ยกเว้นบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำไนล์ที่มักมี
น้ำท่วมขังเป็นประจำในช่วงฤดูฝน น้ำฝนและหิมะที่ละลายจากยอดเขาในเขตที่ราบสูง
เอธิโอเปียจะไหลจากต้นแม่น้ำไนล์ และท่วมล้นสองฝั่งแม่น้ำตั้งแต่เดือนกันยายนของทุก
ปี ตะกอนและโคลนที่น้ำพัดพามาทับถมกลายเป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับการเพาะปลูกบริเวณที่
ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ แต่ลักษณะธรรมชาติดังกล่าวนี้ช่วยให้ชาวอียิปต์เพาะปลูกได้เพียงปีละ
ครั้งเท่านั้น จึงต้องใช้ภูมิปัญญาแก้ไขข้อจำกัดของสภาพภูมิศาสตร์ด้วยการขุดคลองขนาด
สั้น ๆ เพื่อส่งน้ำเข้าไปในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้งจนสามารถขยายพื้นที่ทำการเกษตร
และทำการเพาะปลูกได้ปีละ 2-3 ครั้ง

นอกจากนี้ผู้นำชาวอียิปต์โบราณยังใช้วิธีคำนวณจัดแบ่งที่ดินที่สามารถเพาะ
ปลูกได้ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง กล่าวได้ว่าการทำชลประทานและระบบจัดสรรที่ดินช่วย
ให้ชาวอียิปต์ตั้งถิ่นฐาน อยู่ในดินแดนที่แห้งแล้งได้ต่อเนื่องนานถึง 6000 ปี โดยไม่
ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปแสวงหาที่ทำกินใหม่เหมือนชนชาติอื่น

อารยธรรมอียิปต์ 19

2.2 ทรัพยากรธรรมชาติ ภาพที่ 3 กระดาษปาปิรุส
ที่มา : https://www.blockdit.com
แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์จะเป็นทะเล
ทรายที่แห้งแล้ง แต่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำไนล์ก็ประกอบ
ด้วยหินแกรนิตและหินทราย ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญที่ชาว
อียิปต์ใช้ในการก่อสร้างและพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองทาง
ด้านสถาปัตยกรรม วัสดุเหล่านี้มีความคงทนแข็งแรงและ
ช่วยรักษามรดกทางด้านอารยธรรมของอียิปต์ให้ปรากฏ
แก่ชาวโลก โดยเฉพาะปาปิรุส ซึ่งขึ้นชุกชุมบริเวณสอง
ฝั่งแม่น้ำไนล์ก็กลายเป็นวัสดุธรรมชาติสำคัญที่ชาวอียิปต์
ใช้ทำกระดาษ เรียกว่า กระดาษปาปิรุส ทำให้เกิดความ
ก้าวหน้าในการบันทึกและสร้างผลงานด้านวรรณกรรม

2.3 ภูมิปัญญาของชาวอียิปต์

ชาวอียิปต์เป็นชนชาติที่มีความสามารถในการคิดค้นเทคโนโลยีและวิทยาการ
ความเจริญด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนาและการสร้างความ
เจริญรุ่งเรืองให้แก่จักรวรรดิอียิปต์ เช่น

ความรู้ทางคณิตศาสตร์
เรขาคณิต และฟิสิกส์
ส่งเสริมความเจริญในด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม
ความรู้ด้านดาราศาสตร์
การประดิษฐ์อักษรภาพที่เรียกว่า “อักษรเฮียโรกลิฟิก”
การทำมัมมี่

อารยธรรมอียิปต์ 20

2.4 ระบบการปกครอง

จักรวรรดิอียิปต์มีระบอบการปกครองที่มั่นคง ชาวอียิปต์ยอมรับอำนาจและเคารพ
นับถือฟาโรห์หรือกษัตริย์ของตนประดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง ดังนั้นฟาโรห์จึงมีอำนาจเด็จขาด
ในการปกครองและบริหารประเทศ ทั้งด้านการเมืองและศาสนา โดยมีขุนนางเป็นผู้ช่วย
ในด้านการปกครอง และมีพระเป็นผู้ช่วยด้านศาสนา การที่ฟาโรห์มีอำนาจเด็จขาดสูงสุด
ทำให้อียิปต์พัฒนาอารยธรรมของตนได้ต่อเนื่อง เพราะฟาโรห์สามารถสร้างสรรค์และ
พัฒนาความเจริญตามแนวนโยบายของตนได้เต็มที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่การเกษตรใน
เขตทะเลทรายที่แห้งแล้งด้วยการคิดค้นระบบชลประทาน การสร้างพีระมิดหรือสุสานขนาด
ใหญ่ไว้เพื่อเก็บรักษาพระศพของฟาโรห์ตามความเชื่อทางศานาของชาวอียิปต์เรื่องโลก
หลังความตายและการมีวิญญาณเป็นอมตะ และการคิดค้นปฏิทินเพื่อกำหนดฤดูกาล
สำหรับการเก็บเกี่ยว

ภาพที่ 4 การคิดค้นปฏิทิน
ที่มา :https://pantown.com

อารยธรรมอียิปต์ 21

2.5 ศาสนา

ศาสนามีอิทธิพลสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์
ความเชื่อทางศาสนาของชาวอียิปต์ผูกพันกับธรรมชาติและสภาพภูมิศาสตร์ ชาวอียิปต์
นับถือเทพเจ้าหลายองค์ทั้งที่เป็นสรรพสิ่งตามธรรมชาติและวิญญาณของอดีตฟาโรห์ โดย
บูชาสัตว์ต่างๆ เช่น แมว สุนัข หมาใน วัว เหยี่ยว แกะ ฯลฯ เพราะเชื่อว่า
สัตว์เหล่านั้นเป็นที่สิงสถิตของเทพซึ่งพิทักษ์มนุษย์ แต่เทพเจ้าที่เชื่อว่ามีอำนาจปกครอง
จักรวาลคือ เร หรือ รา (Reor Ra) ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์และเป็นหัวหน้าแห่ง
เทพเจ้าทั้งปวง เทพโอซิริส (Osiris) ซึ่งเป็นเทพแห่งแม่น้ำไนล ผู้บันดาลความอุดม
สมบูรณ์ให้แก่อียิปต์และเป็นผู้พิทักษ์ดวงวิญญาณหลังความตาย ชาวอียิปต์นับถือฟาโรห์
ของตนเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง และเชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะ จึงสร้างสุสานขนาดใหญ่
หรือพีระมิดสำหรับเก็บรักษาร่างกายที่ทำให้ไม่เน่าเปื่อยด้วย วิธีการมัมมี่ เพื่อรอวันที่
วิญญาณจะกลับมาเข้าร่างและฟื้นคืนชีพอีกครั้ง

ความเชื่อทางศาสนายังทำให้เกิดกาารบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อ และ
พิธีกรรมตามสถานที่ต่าง ๆ ที่ สำคัญได้แก่ คัมภีร์ของผู้ตายหรือคัมภีร์มรณะ (Book of
The Dead) ความเจริญด้านวิทยาการที่ชาวอียิปต์สั่งสมความเจริญให้แก่ชาวโลกหลาย
แขนง ที่สำคัญได้แก่ ความเจิญด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ การแพทย์ และอักษร
ศาสตร์

ภาพที่ 5 เทพราและเทพโอซิริส
ที่มา : https://www.sarakadeelite.com/faces/egyptian-gods/

อารยธรรมอียิปต์ 22

3. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

อารยธรรมอียิปต์เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือ 5500 ปีมาแล้ว
ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา เป็นอารยธรรมที่มีความเจริญ
รุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ อย่างมากและมีพัฒนาการสืบเนื่องต่อมาอีกหลายพันปี

3.1 อียิปต์ก่อนประวัติศาสตร์

ลักษณะชุมชนดั้งเดิมเป็นพวกเร่ร่อน ต่อมาได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ จนเกิด
ชนชั้นปกครองสังคม ขยายตัวเป็นรัฐเล็ก ๆ เรียกว่า “โมนิส” มีสัญลักษณ์ เช่น สุนัข
เหยี่ยว แมงป่อง ฯลฯ ราชวงศ์แรกที่สามารถรวมอียิปต์เป็นอาณาจักร
คือ กษัตริย์เมนิส (Menes 3000 B.C.) ถือเป็นฟาโรห์องค์แรก มีศูนย์กลางที่เมมฟิส

ภาพที่ 6 กษัตริย์เมนิส
ที่มา : https://www.catdumb.com

3.2 อียิปต์สมัยประวัติศาสตร์

ชาวอียิปต์สามารถประดิษฐ์อักษรภาพเรียกว่า “เฮียโรกลิฟิก” (hieroglyphic)
โดยแกะสลักตามฝาผนังและสุสานฟาโรห์ ต่อมาจึงพัฒนาการเขียนลงในกระดาษ
“ปาปิรุส” เรียกว่า สมัยอาณาจักรอียิปต์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น๓ ช่วง ได้แก่

อารยธรรมอียิปต์ 23

1. สมัยอาณา มีความเจริญในช่วงประมาณปี 2700 – 2200 ก่อนคริสต์
จักรเก่า ศักราช เป็นสมัยที่อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าในด้าน

วิทยาศาสตร์และศิลปกรรม มีการก่อสร้างพีระมิดซึ่งถือว่าเป็น

เอกลักษณ์โดดเด่นของอารยธรรมอียิปต์

2. สมัยอาณา ฟาโรห์มีอำนาจปกครองอยู่ในช่วงราวปี 2050 –1652 ก่อน
จักรกลาง คริสต์ศักราช ในสมัยนี้อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าทางด้าน
ทางวิทยาการและภูมิปัญญามากโดยเฉพาะด้านการ
ชลประทาน จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของอียิปต์
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยเกิดความวุ่นวายภายใน
ประเทศ จนต่างชาติเข้ามารุกรานและปกครองอียิปต์ เพราะ
สมัยปลายราชวงศ์ได้มีการพยายามเปลี่ยนความเชื่อจากการ
บูชาเทพเจ้าหลายพระองค์ ให้เหลือเพียงพระองค์เดียว
ได้แก่ สุริยเทพ Aton หรือ อะตัน ซึ่งฟาโรห์เท่านั้นจะมี
สิทธิ์ส่วนประชาชนทั่วไปให้บูชาฟาโรห์แทน นี่เป็นเหตุหนึ่ง
ที่ทำให้ชนชาติขาดความเข้มแข็ง

อารยธรรมอียิปต์ 24

3. สมัย ชาวอียิปต์สามารถขับไล่ชาวต่างชาติ และกลับมาปกครอง
อาณาจักรใหม่ ดินแดนของตนอีกครั้งหนึ่งในช่วงประมาณปี 1567 –
1085 ก่อนคริสต์ศักราช สมัยนี้ฟาโรห์มีอำนาจเด็ดขาดใน
การปกครองและขยายอาณาเขตเหนือดินแดนใกล้เคียง
จนเป็นจักรวรรดิ จากนั้นจักรวรรดิอียิปต์เริ่มเสื่อมอำนาจ
ตั้งแต่ประมาณปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยนี้ชาว
ต่างชาติ เช่น พวกอัสซีเรียนและพวกเปอร์เซียจากเอเชีย
รวมทั้งชนชาติในแอฟริกาได้เข้ามายึดครองราชวงศ์ปโตเล
มีเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองอียิปต์ ฟาโรห์องค์สุดท้าย
คือพระนางคลีโอพัตราหลังจากนั้นอียิปต์ตกอยู่ภายใต้การ
ปกครองของจักรวรรดิโรมันจนกระทั่งเสื่อมสลายในที่สุด

อารยธรรมอียิปต์ 25

4. ความเจริญด้านวิทยาการและมรดกสำคัญทางอารยธรรมอียิปต์

4.1 ด้านดาราศาสตร์

เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์แม่น้ำไนล์หลากท่วมล้นตลิ่ง เมื่อน้ำลดแล้วพื้น
ดินก็มีความเหมาะสมที่จะเพาะปลูก หลังจากชาวนาเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว น้ำในแม่น้ำ
ไนล์ก็กลับมาท่วมอีก หมุนเวียนเช่นนี้ตลอดไป ชาวอียิปต์ได้นำความรู้จากประสบการณ์
ดังกล่าวไปคำนวณปฏิทิน นับรวมเป็น 1 ปี มี 12 เดือน ในรอบ 1 ปียังแบ่งเป็น 3
ฤดูที่กำหนดตามวิถีการประกอบอาชีพ คือ ฤดูน้ำท่วม ฤดูไถหว่าน และฤดูเก็บเกี่ยว

4.2 ด้านคณิตศาสตร์

อียิปต์เป็นชาติแรกที่รู้จักใช้ความรู้ทางเรขาคณิตในการวัดที่ดินและพบสูตร
คำนวณหาพื้นที่วงกลม (Pi, R) และกำหนดค่าของ Pi = 3.14 โดยเฉพาะการคำนวณ
ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การบวก ลบ และหาร และการคำนวณพื้นที่วงกลม สี่เหลี่ยม และ
สามเหลี่ยม ความรู้ ดังกล่าวเป็นฐานของวิชาฟิสิกส์ ซึ่งชาวอียิปต์ใช้คำนวณในการ
ก่อสร้างพีระมิดวิหาร เสาหินขนาดใหญ่ ฯลฯ

4.3 ด้านการแพทย์

การแพทย์มีความก้าวหน้ามาก เอกสารที่บันทึกเมื่อ 1700 ปีก่อนคริสต์
ศักราช ระบุว่าอียิปต์มีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์หลายสาขา เช่น ทันตแพทย์
ศัลยแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ในสมัยนี้แพทย์อียิปต์
สามารถผ่าตัดคนไข้แบบง่าย ๆ ได้แล้ว นอกจากนี้ยังคิดค้นวิธีปรุงยารักษาโรคได้เป็น
จำนวนมาก โดยรวบรวมเป็นตำราซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป

อารยธรรมอียิปต์ 26

ชาวอียิปต์โบราณมีความรู้ในวิชาการแพทย์ ดังต่อไปนี้

การทำมัมมี่
พบวิธีรักษาร่างกายไม่ให้เน่า

เปื่อยโดยทำเป็นมัมมี่

ภาพที่ 7 การทำมัมมี่
ที่มา : https://minimore.com

ทันตกรรม
ทันตแพทย์อียิปต์โบราณรู้จักใช้

ฟันปลอมทำด้วยทองและ
สามารถอุดฟันผุได้

ภาพที่ 8 ทันตกรรม
ที่มา : https://www.catdumb.com

ศัลยกรรม
แพทย์อียิปต์โบราณชำนาญการผ่าตัด
กระดูก รู้จักใช้น้ำเกลือล้างแผลป้องกันการ
อักเสบและใช้น้ำด่างรักษาแผลให้หายเร็ว

ภาพที่ 9 ศัลยกรรม
ที่มา : https://www.catdumb.com

อารยธรรมอียิปต์ 27

4.4 ด้านอักษรศาสตร์

อักษรภาพเฮียโรกลิฟิก เป็นอักษรรุ่นแรกที่อียิปต์ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณปี
3100 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นอักษรภาพแสดงลักษณ์ต่างๆ ต่อมามีการพัฒนาตัวอักษร
เป็นแบบพยัญชนะเฮียโรกริฟฟิคแปลว่า “อักษรหรือรอยสลักอันศักดิ์สิทธิ์” ที่เรียกเช่น
นี้เพราะพระเป็นผู้เริ่มใช้อักษรเหล่านี้และใช้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาในระยะแรก
ชาวอียิปต์จารึกเรื่องราวด้วยการแกะสลักอักษรไว้ตามกำแพงและผนังของสิ่งก่อสร้าง เช่น
วิหารและพีระมิดต่อมาค้นพบวิธีทำกระดาษจากต้นปาปิรุส อียิปต์เป็นชาติแรกที่คิดทำ
กระดาษขึ้นใช้ กระดาษดังกล่าวทำจากต้นปาปิรุสซึ่งมีมากมายตามริมฝั่งแม่น้ำไนล์ คำว่า
paper ในภาษาอังกฤษปัจจุบันมีรากฐานมาจากคำ Papyrus เครื่องเขียนใช้ก้านอ้อ
ส่วนหมึกใช้ยางไม้ผสมเขม่า ทำให้มีการบันทึกแพร่หลายมากขึ้น ความก้าวหน้าทาง
อักษรศาสตร์จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้มนุษยชาติทราบถึงความเจริญและ
ความต่อเนื่องของอารยธรรมอียิปต์

ภาพที่ 10 อักษรภาพเฮียโรกลิฟิก
ที่มา : https://www.blockdit.com

อารยธรรมอียิปต์ 28

4.5 ด้านวรรณกรรม

งานวรรณกรรมเป็นร้อยแก้วส่วนใหญ่ วรรณกรรมที่สำคัญของอียิปต์โบราณ
เป็นวรรณกรรมทางศาสนา มักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า นิทานพื้นเมือง ภาษิต
และพงศาวดาร ผลงานด้านศาสนาที่สำคัญที่สุดคือ คัมภีร์มรณะ (Book of the
Dead) สาระสำคัญเกี่ยวกับหลักฐานแสดงคุณงามความดี และความประพฤติถูก
ทำนองคลองธรรมของผู้ตายระหว่างมีชีวิตอยู่

4.6 ด้านสถาปัตยกรรม

ผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมของชาวอียิปต์โบราณ สะท้อนถึงความ
ผูกพันและความเชื่อทางศาสนาในขณะที่การแสดงความคิดเห็นทางด้านปรัชญากลับไม่
ได้รับความสนใจมากนักและประการสำคัญ คือ เป็นการสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อชนชั้นสูง
โดยใช้แรงงานของชนชั้นต่ำในสังคมชาวอียิปต์โบราณได้รับการยกย่องเป็นสถาปนิกชั้น
ยอดของโลก สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงยิ่งของอียิปต์ ได้แก่ พีระมิด สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุค
โบราณ นอกจากนี้ยังสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของอียิปต์ ได้แก่ วิหารคาร์นัค วิหารลัก
ซอร์ วิหารอาบูซิมเบล และหุบผากษัตริย์ เป็นต้น

ภาพที่ 11 วิหารคาร์นัค
ที่มา : http://www.planet789.com

อารยธรรมอียิปต์ 29

พีระมิด

ชาวอียิปต์โบราณมีความสามารถอย่างสูงในการสร้างพีระมิดสุสานที่รักษาร่างของ
ฟาโรห์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว พีระมิดที่ใหญ่ที่สุดคือพีระมิดของพระเจ้าคีออปต์ (Cheops) ที่
เมืองกิซ่า (Gizeh) แสดงถึงความก้าวหน้าในเทคนิคการก่อสร้างความรู้ทางเรขาคณิต
เทคนิคการใช้เลื่อยสำริดตัดหินเป็นก้อนใหญ่ ๆ และการเคลื่อนย้ายหินหนักมาเรียงต่อ
กันอย่างสนิท พีระมิดสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางศาสนาและอำนาจทางการปกครอง ด้วย
ความเชื่อทางศาสนา ฟาโรห์ของอียิปต์จึงสร้างพีระมิดสำหรับหรับตนเอง สันนิษฐานว่า
พีระมิดรุ่นแรก ๆ สร้างขึ้นราวปี 2770 ก่อนคริสต์ศักราช พีระมิดขั้นบันไดแห่งซักคารา
เป็นพีระมิดแห่งแรกของอียิปต์สร้างเป็นขั้นบันได ก่อนจะพัฒนามาเป็นพีระมิดแบบ
สามเหลี่ยมด้านเท่า ความยิ่งใหญ่ของพีระมิดสะท้อนถึงอำนาจของฟาโรห์ ความสามารถ
ในการออกแบบและก่อสร้างของชาวอียิปต์

ภาพที่ 12 พีระมิด
ที่มา : https://www.tamasjewelry.com

อารยธรรมอียิปต์ 30

4.7 ด้านประติมากรรม

ชาวอียิปต์สร้างผลงานประติมากรรมไว้จำนวนมาก ทั้งที่เป็นรูปปั้นและภาพสลัก
ส่วนใหญ่ประดับอยู่ในพีระมิดและวิหารที่พบในพีระมิดมักเป็นรูปปั้นของฟาโรห์และมเหสี
ภาพสลักที่แสดงถึงเรื่องราวต่างๆ และวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ ส่วนในวิหารมักเป็นรูปปั้น
สัญลักษณ์ของเทพและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ และภาพสลักที่แสดงเรื่องราวและ
เหตุการณ์ มีลักษณะเรียบง่าย ใหญ่โต แข็งแรงถาวร และสง่างาม

ภาพที่ 13 รูปปั้นของฟาโรห์
ที่มา : https://mobile.facebook.com

งานประติมากรรมเป็นงานแกะสลักหินรูปเทพพระเจ้าและฟาโรห์ มีลักษณะ
กิริยาท่าทางและใบหน้าที่แสดงความรู้สึกเหมือนมนุษย์จริงๆ และรูปประติมากรรมที่มีชื่อ
เสียงมากที่สุดคือ สฟิงค์ หน้าเป็นมนุษย์ ตัวเป็นสิงโตหมอบหน้าพีระมิด เพื่อทำหน้าที่ใน
การเฝ้าสุสาน หรือ พีระมิดของฟาโรห์ ประติมากรรมที่มีชื่อเสียงด้านความงามได้แก่ภาพหิน
สลักหัวสฟิงค์ฟาโรห์คาฟราและพระเศียรของพระนางเนเฟอร์ติติ

อารยธรรมอียิปต์ 31

4.8 ด้านจิตรกรรม

ชาวอียิปต์มีผลงานด้านจิตรกรรมจำนวนมาก มักพบในพีระมิดและสุสานต่างๆ
ตามผนังด้านในของพีระมิดที่พื้นห้องและบนเพดาน เต็มไปด้วยภาพเขียนระบายสี
สวยงามเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ตายสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ภาพวาดของชาวอียิปต์ส่วนใหญ่มี
สีสันสดใส มีทั้งภาพสัญลักษณ์ของเทพเจ้าที่ชาวอียิปต์นับถือ พระราชกรณียกิจของ
ฟาโรห์และสมาชิกในราชวงศ์ ภาพบุคคลทั่วไปและภาพที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวอียิปต์
เช่น การเกษตรกรรม ภาพเหล่านี้นอกจากแสดงให้เห็นถึงความสามารถในด้านจิตรกรรม
และยังเป็นหลักฐานสำคัญและมีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์อีกด้วย นอกจากนี้ยัง
ปรากฏบนเครื่องใช้ หรือวาดบนแผ่นกระดาษปาปิรุส เป็นภาพเขียนตัวแบนสองมิติ ไม่มี
ส่วนลึกระยะใกล้ ระยะไกล แต่อย่างใด สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอียิปต์โบราณ
ความเชื่อทางศาสนาและภารกิจของฟาโรห์

ภาพที่ 14 จิตรกรรม
ที่มา : http://welovearttt.blogspot.com/

อารยธรรมอียิปต์ 32

4.9 ด้านเศรษฐกิจ

ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจทำให้จักรวรรดิอียิปต์มั่นคงก้าวหน้าต่อเนื่อง
เป็นเวลาหลายพันปี และเป็นพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจอียิปต์ปัจจุบัน ความรุ่งเรืองทาง
เศรษฐกิจของอียิปต์ประกอบด้วยเกษตรกรรม พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม
ด้านเกษตรกรรม เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจของจักรวรรดิอียิปต์ ประชากรส่วนใหญ่เป็น
เกษตรกรที่อาศัยน้ำจากแม่น้ำไนล์ในการเพาะปลูก ทำให้มีการคิดค้นระบบชลประทาน
ทำคลองส่งน้ำจากแม่น้ำไนล์ เข้าไปยังพื้นที่ที่ห่างจากฝั่ง ระบบชลประทานจึงเป็น
เทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรอียิปต์ดำเนินการเพาะปลูกพืชสำหรับบริโภคภายใน
จักรวรรดิและพืชเศรษฐกิจอื่นๆได้ต่อเนื่อง ไม่ต้องละทิ้งถิ่นฐานไปแสวงหาดินแดนที่
อุดมสมบูรณ์มากกว่าผลิตผลทางเกษตรที่สำคัญของชาวอียิปต์ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าว
บาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ผัก ผลไม้ ปอ และฝ้าย

อารยธรรมอียิปต์ 33

ด้านพาณิชยกรรม จักรวรรดิอียิปต์ติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นๆ ตั้งแต่ประมาณ
2000 ปีก่อนคริสต์ศักราชดินแดนที่ติดต่อค้าขายเป็นประจำ ได้แก่ เกาะครีต (Crete)
และดินแดนเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะฟีนิเชีย ปาเลสไตน์และซีเรีย สินค้าส่งออกที่
สำคัญของอียิปต์คือ ทองคำ ข้าวสาลี และผ้าลินิน ส่วนสินค้าที่นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ แร่
เงินงาช้าง และไม้ซุง

ด้านอุตสาหกรรม อียิปต์เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ประมาณ 3000 ปีก่อน
คริสต์ศักราช ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรมมของอียิปต์เติบโตคือ การมีช่างฝีมือและ
แรงงานจำนวนมาก มีเทคโนโลยีและวิทยาการที่ก้าวหน้ามีวัตถุดิบ และมีการติดต่อค้าขาย
กับดินแดนอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง ดังนั้นอียิปต์จึงสามารถพัฒนาระบบอุตสาหกรรมที่ผลิต
สินค้าได้จำนวนมาก อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การทำเหมืองแร่ การต่อเรือ การทำ
เครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องแก้ว และการทอผ้าลินิน

ภาพที่ 15 การต่อเรือ ภาพที่ 16 การทำเครื่องปั้นดินเผา
ที่มา : https://hmong.in.th ที่มา : https://www.xinhuathai.com

อารยธรรมอียิปต์ 34

4.10 ด้านการปกครองและศาสนา

กษัตริย์เป็นผู้ปกครองเรียกว่า ฟาโรห์ ชาวอียิปต์ถือ ฟาโรห์เป็นเทพเจ้าพระองค์
หนึ่ง ซึ่งได้แสดงออกโดยการสร้างสถาปัตยกรรมต่างๆ ถวายแก่ฟาโรห์ และนับถือเทพเจ้า
หลายองค์โดยมีเทพเจ้าสูงสุดคือ สุริยเทพ (Re/Ra)ชาวอียิปต์โบราณมีความเชื่อเรื่องภพ
หน้า เรื่องชีวิตหลังการตายและวิญญาณเป็นอมตะ ทำให้เก็บรักษาซากศพไม่ให้เน่าเปื่อย
ด้วยการทำมัมมี่ (Mummy) เพื่อรอคอยการกลับฟื้นคืนชีพและคืนชีวิตใหม่อีกครั้ง

ภาพที่ 17 ฟาโรห์
ที่มา : https://dekbannok.com/

ความเจริญรุ่งเรืองด้านความรู้ศิลปะวิทยาการต่างๆ ทำให้จักรวรรดิอียิปต์สามารถสั่งสม
และหล่อหลอมอารยธรรมของตนให้เจริญก้าวหน้าต่อเนื่องมายาวนาน ดินแดนอียิปต์
จึงเป็นที่หมายปองของอาณาจักรอื่นๆ ที่พยายามขยายอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดน
แห่งนี้ แม้จักรวรรดิอียิปต์เสื่อมสลายไปใน ช่วงก่อนคริสต์ศักราชแต่อารยธรรมอียิปต์
มิได้เสื่อมสลายไปด้วย หากกลายเป็นมรดกตกทอดที่ชนรุ่นหลังนำมาพัฒนาเป็น
อารยธรรมของมนุษยชาติในปัจจุบัน เพราะอียิปต์เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวัน
ตกควบคู่กับอารยธรรมของเมโสโปเตเมีย ซึ่งถ่ายทอดต่อไปให้แก่ กรีกและโรมัน ซึ่ง
ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของศิลปวัฒนธรรมของโลกตะวันตกอย่างแท้จริง

แหล่งศึกษาเพิ่มเติม 35

ประวัติศาสตร์อารยธรรมอียิปต์

https://www.youtube.com/watch?v=wRlMwij3ayU

10 ตำนานลึกลับ ของอารยธรรมอียิปต์โบราณ

https://www.youtube.com/watch?v=UD6QDjQFSwk
Luxor เงาสะท้อนยุครุ่งเรืองแห่งอารยธรรมอียิปต์โบราณ
https://www.youtube.com/watch?v=WsUdiHYp9EI

กิจกรรมที่ 1 36

แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1 อารยธรรมอียิปต์

ชื่อ –นามสกุล ............................................................. ชั้น ................. เลขที่ ................

1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีอิทธิพลต่อการ
สร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์ได้อย่างไร

...................................................................
...................................................................
...................................................................
..............................
.............................. 2. การทำมัมมี่และการสร้างพีระมิด

สะท้อนความเชื่อเรื่องใดของชาวอียิปต์
โบราณ
...................................................................
...................................................................
..............................
.............................. 3. ยกตัวอย่างการสร้างสรรค์ความเจริญ

ของอารยธรรมอียิปต์ มา 3 อย่าง

...................................................................
...................................................................
...................................................................
...................................................................
...................................................................

กิจกรรมที่ 2 37

คำชี้แจง : ให้นักเรียนแปลงชื่อของตนเองเป็นอักษรเฮียโรกลิฟฟิค
โดยการเทียบพยัญชนะจากตารางด้านล่างนี้

ชื่อ-สกุล.............................................................

38

กระดาษคำตอบแบบทดสอบหลังเรียน
ชุด อารยธรรมโลกยุคโบราณ
เล่มที่ 2 เรื่อง อารยธรรมอียิปต์

ชื่อ ............................................................ชัน ................ เลขที่ ..............

ข้อที่ ก ข ค ง คะแนนเต็ม 10
1 คะแนนที่ได้
2
3 เกณฑ์การประเมิน
4 คะแนนระหว่าง 9-10 อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก
5 คะแนนระหว่าง 7-8 อยู่ในเกณฑ์ ดี
คะแนนระหว่าง 5-6 อยู่ในเกณฑ์ พอใช้
6 คะแนนระหว่าง 0-4 อยู่ในเกณฑ์ ปรับปรุง

7
8
9
10

แบบทดสอบหลังเรียน 39
เล่มที่ 2 เรื่อง อารยธรรมอียิปต์

คำชี้แจง
1. ข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ ใช้เวลาในการทำ 10 นาที
2. ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมาย

กากบาท (X) ลงในกระดาษคำตอบ

1. เพราะเหตุใดที่ราบลุ่มของอียิปต์โบราณถึงอุดมสมบูรณ์
ก. ฝนตกตลอดปี
ข. บำรุงที่ดินโดยการใช้ปุ๋ย
ค. น้ำท่วมล้นฝั่งแม่น้ำไนล์
ง. เนื้อดินซุย เหมาะแก่การไถคราด

2. ข้อใดต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้อง
ก. ฮอรัส = เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า
ข. สฟิงค์ = คนเฝ้าสุสาน
ค. ฟาโรห์ = เทพเจ้าสูงสุด
ง. โอซิริส = เทพีแห่งเวทมนตร์

3. การทำมัมมี่ของชาวอียิปต์แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของความรู้และ
วิทยาการ
ในด้านใด
ก. ความเชื่อ
ข. การแพทย์
ค. ประติมากรรม
ง. วิทยาการความรู้

แบบทดสอบหลังเรียน 40
เล่มที่ 2 เรื่อง อารยธรรมอียิปต์

4. เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่า อียิปต์เป็นของขวัญจากแม่น้ำไนล์
ก. มีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนทำให้มีน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก
ข. สภาพภูมิศาสตร์ของอียิปต์โดยทั่วไปมีลักษณะร้อนและแห้งแล้ง
ค. แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำสายหลักถือเป็นหัวใจสำคัญของแม่น้ำสายอื่น ๆ
ง. ลักษณะที่ตั้งของอียิปต์และสภาพภูมิศาสตร์มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต

5. ชาวอียิปต์ได้สร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรือง ยกเว้นข้อใด
ก. เรขาคณิต
ข. การทำมัมมี่
ค. อักษรคูนิฟอร์ม
ง. ทันตกรรม (ฟันปลอม)

6. ตัวอักษรที่ชาวอียิปต์ได้พัฒนาขึ้นมามีชื่อเรียกว่าอะไร
ก. อักษรละติน
ข. อักษรคูนิฟอร์ม
ค. อักษรอัลฟาเบต
ง. อักษรเฮียโรกลิฟิก

7. ร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีของอารยธรรมอียิปต์หลงเหลือมากกว่าอารย
ธรรมเมโสโปเตเมียเพราะเหตุใด
ก. ทำเลที่ตั้งเหมาะสม
ข. สร้างสิ่งก่อสร้างด้วยอิฐ
ค. สร้างสิ่งก่อสร้างด้วยหิน
ง. สิ่งก่อสร้างมีขนาดใหญ่กว่า

แบบทดสอบหลังเรียน 41
เล่มที่ 2 เรื่อง อารยธรรมอียิปต์

8. คัมภีร์ใดมีความเกี่ยวข้องกับอารยธรรมอียิปต์
ก. คัมภีร์มรณะ
ข. คัมภีร์พันธสัญญาเดิม
ค. คัมภีร์พระเวท
ง. คัมภีร์กิลกาเมซ

9. สาเหตุสำคัญที่ทำให้อารยธรรมอียิปต์พัฒนาอย่างมีเอกภาพคือ
ก. มีการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว
ข. เชื้อชาติเดียวกันทั้งหมดในอาณาจักร
ค. ยึดถืออารยธรรมเดิมตามคติความเชื่อบรรพบุรุษ
ง. มีสภาพภูมิศาสตร์ที่ป้องกันการรุกรานจากภายนอก

10. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะภูมิศาสตร์ของแหล่งอารยธรรมอียิปต์โบราณ
ก. ติดทะเลเหมาะกับการค้าขาย
ข. มีที่ราบเดลต้าปากน้ำที่อุดมสมบูรณ์
ค. มีที่ราบหุบเขาสลับเขาสูงเหมาะกับการตั้งถิ่นฐาน
ง. มีทะเลทรายกว้างขวางเป็นด่านป้องกันตัวจากศัตรู

บรรณนานุกรม 42

ไพฑูรย์ มีกุศลและคณะ. ประวัติศาสตร์สากล ม.๔-๖. กรุงเทพฯ : วัฒนา
พานิช จำกัด, ม.ป.ป

ษุรพีฐ์ บุญคง . อารยธรรมอียิปต์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
https://www.kroobannok.com/news_file/p69766341757.
pdf. 15 กรกฎาคม 2565

สัญชัย สุวังบุตร และคณะ. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์
สากล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์,
2557

ภาคผนวก

เฉลยแบบทดสอบก่อน-เรียนหลังเรียน 44

ข้อที่ ก่อนเรียน หลังเรียน

1ค ค

2ข

3ก ก

4ง ง

5ง ค

6ก ง

7ค ค

8ง ก

9ค ง

10 ค ค

เฉลยกิจกรรมที่ 1 45

แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1 อารยธรรมอียิปต์

ชื่อ –นามสกุล ............................................................. ชั้น ................. เลขที่ ................

1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีอิทธิพลต่อการ
สร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์ได้อย่างไร

...................................................................
...................................................................
...................................................................
..............................

......................ก...า..ร..พ. ิจ..โ.2.ส....าบ.....ะ....ร....ทรก....ณ....้า....อา....ณ....รน........าท....ค....คำ........วมำ........ัา....มตม........ม....เีอ....่....ชแื....บ่....อ....ล....เอ....ะ....ร..ืก่ย..อู..่..างใ..ร..ใ...สน...3ขด......รอ....้ดข.า..ง.ุ..ยอง...อล...กพ...งา...ียต.ช..รร...ั.ย..วาะพ......อวธิม...ิ...อนยร.ด..ี่...ิรยา...ิม.จ..งป......กอข...ีต...ยา.์..อิ...รป....ส..ง...ต.รค์.้.า.มรง.ู.สผ.า.ู.้ร.3สร..ค.อ์.อ.ค.นย.ว่.า.า.งม...เ.จ..ร.ิ.ญ........