เฉลย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

หน้าหลัก 02 ตำราราม ชีทราม สรุป-ข้อสอบ POL(pa) ข้อสอบ POL 2200 / PS 120 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

ลดราคา!

เฉลย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

  • รายละเอียดเพิ่มเติม
  • ข้อมูลเพิ่มเติม

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อสอบ POL 2200 / PS 120 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น

เฉลยข้อสอบ 6 ภาคล่าสุด 1/64, S/63: 1/63 : S/62 : 1/62 : S/61 

เฉลยข้อสอบ 5 ภาคล่าสุด ข้อสอบเป็นปรนัยมีทั้งหมด 100 ข้อ
วิเคราห์และอธิบายคำตอบโดยละเอียดมีความถูกต้องและแม่นยำ
เข้าใจง่าย อธิบายคำตอบอ้างอิงจากหนังสือที่ใช้เรียนเล่มล่าสุด


ข้อมูลเพิ่มเติม

น้ำหนักไม่ระบุ
รูปแบบสินค้า

หนังสือกระดาษ, ไฟล์ pdf

เฉลยข้อสอบภาคใหม่ล่าสุด S/64 : 1/64 : S/63  ฯลฯ

เฉลยข้อสอบ 5 ภาคล่าสุด
อธิบายคำตอบโดยละเอียดทุกภาค ข้อสอบปรนัย มีทั้งหมด 100 ข้อ
อธิบายคำตอบโดยละเอียดทุกภาค เข้าใจง่าย

อ้างอิงคำตอบจากตำราเรียนเล่มล่าสุด และแจ้งหน้าที่ใช้อ้างอิง

****** เป็นรูปเล่ม ไม่มีเป็นไฟล์ *****

เรื่อง  การดำเนินนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

วิดีโอ YouTube

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International  Relations :IR)

      ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  คือ การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก  
      การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ต้องเน้นผลประโยชน์แห่งชาติ  ความมั่นคง และเศรษฐกิจ  เป็นสำคัญ
      รูปแบบความสัมพันธ์
     
1)  ด้านการเมือง  แลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการทูต การทหาร
     
2)  ด้านเศรษฐกิจ  ซื้อขายสินค้าและบริการ  การกู้ยืมเงิน  การลงทุน
     
3)  ด้านกฎหมาย  ทำข้อตกลงกำหนดระเบียบ  ทำสนธิสัญญา  อนุสัญญา  ความตกลง  กฎบัตร
     
4)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  การศึกษา  ศาสนา  การท่องเที่ยว
     
5)  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นโยบายต่างประเทศของไทย
     
1)  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  เกิดภาวะสงครามเย็น  ไทยเป็นพันธมิตรกับค่ายเสรีประชาธิปไตย  มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาอย่างมาก  ส่งผลให้มีความห่างเหินกับประเทศเพื่อนบ้าน  ซึ่งปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
     
2)  กรณีเขาพระวิหาร พ.ศ. 2505  ระหว่างไทยกับกัมพูชา  จนต้องนำคดีเข้าสู่ศาลโลก  หัวหน้าทีมทนายความ
ฝ่ายไทย คือ ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช  ตรงกับสมัยจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์  เป็นนายกรัฐมนตรี  ในที่สุดศาลโลกตัดสิน
ให้กัมพูชาเป็นฝ่ายชนะคดี
     
3)  ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน พ.ศ. 2518  สมัย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมช  เป็นนายกรัฐมนตรี
     
4)  นโยบายแปรสนามรบเป็นสนามการค้า  เป็นการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน  คือ กลุ่มประเทศอินโดจีน (เวียดนาม  กัมพูชาและลาว)  สมัย พล.อ.ชาติชาย  ชุณหะวัณ  เป็นนายกรัฐมนตรี
     
5)  นโยบายเสี้ยววงเดือนแห่งโอกาส  ระหว่างไทยกับกัมพูชา  เพื่อพัฒนาเขตชายแดน
     
6)  นโยบายการทูตแบบเกี่ยวพันเชิงสร้างสรรค์  (Constructive  Engagement)  เป็นความพยายามของไทยใน        7)  นโยบายการทูตเชิงรุก  (Forward  Engagement)  และนโยบายมองตะวันตก (Look  West  Policy)  เกิดขึ้นในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร
     
8)  ไทยเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศ  เช่น UN, APEC, ASEAN, AFTA, GMS, BIMSTEC

การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ
     
1)  องค์การสหประชาชาติ (The  United  Nations: UN
          จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 24  ตุลาคม  พ.ศ. 2488(ค.ศ. 1945 ) หลังสงครามโลกยุติ  มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่
กรุงนิวยอร์ก  สหรัฐอเมริกา
          มีวัตถุประสงค์ คือ  ธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกันของโลก  ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน  และเป็นศูนย์กลางการประสานงานของชาติต่าง ๆ

      2)  สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of  Southeast  Asian Nation

           ก่อตั้งเมื่อวันที่  สิงหาคม  พ.ศ.  2510  (ค.ศ. 1967) โดยมีสมาชิแรกเริ่ม  5 ประเทศ  คือ  ไทย มาเลเซีย
อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  และสิงคโปร์ 
           ปัจจุบันมีสมาชิก
10 ประเทศ  โดยมีสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไน  เวียดนาม  ลาว  เมียนมาร์  และกัมพูชา
มีสำนักงานใหญ่อยู่กรุงจาการ์ตา  ประเทศอินโดนีเซีย
           มีวัตถุประสงค์เพื่อ  เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
     
     
3)  เขตการค้าเสรีอาเซียน  (Asean  Free  Trade  Area : AFTA
           ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2535  โดยเป็นความคิดริเริ่มของนายอานันท์  ปันยารชุน  นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น 
           มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนขยายตัวเร็วขึ้น  มีอัตราภาษีต่ำ  เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ 

      4)  ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (Asia – Pacific  Economic  Cooperation : APEC)
           ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)  ตามข้อเสนอของนายบ๊อบ  ฮอร์ก (Bob  Hawke)  อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรเลีย 
           มีจุดมุ่งหมาย  เพื่อเป็นเวทีสำหรับให้สมาชิกปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันทางด้านเศรษฐกิจ
เพื่อส่งเสริมให้การค้าการลงทุนเป็นไปอย่างเสรีและขจัดอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ
          ข้อดีของการเข้าเป็นสมาชิกเอเปกของไทย  ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสขยายการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิกซึ่งเป็นตลาดใหญ่มากยิ่งขึ้น
5)  องค์การการค้าโลก  (World  Trade  Organization : WTO)
           ก่อตั้งเมื่อวันที่  1  มกราคม  พ.ศ. 2538  ตามข้อตกลงว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATT)
           วัตถุประสงค์  เพื่อเป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้า และจัดทำกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน
           ข้อดีของการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก  คือ  ทำให้สินค้าสำคัญของไทย  โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร  อาหารแปรรูป  สิ่งทอและเสื้อผ้า  ถูกกีดกันทางการค้าน้อยลง  การคิดอัตราภาษีนำเข้าในแต่ละประเทศ
เป็นระบบเดียวกัน  และในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ต้องเปิดเสรีให้กับประเทศอื่น ๆ ได้ส่งสินค้าเข้ามาในประเทศเช่นกัน  รวมทั้งไทยต้องปรับปรุงมาตรฐานการผลิตสินค้าและบริการให้เป็นไปตามหลักสากลมากขึ้น  เช่น  สินค้าต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน  ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ