เปรียญธรรม 9 ประโยค มีใครบ้าง

พระภิกษุสามเณรผู้สอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค จะได้รับประกาศนียบัตร พระราชทานพัดยศเปรียญธรรม ทรงตั้งเป็น "เปรียญ 9 ประโยค" มีศักดิ์และสิทธิ์ เทียบเท่าผู้สอบได้ปริญญาตรี ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้ง 2 แห่ง
ตามโบราณราชประเพณีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานประกาศนียบัตรพัดยศ และไตรจีวรด้วยพระองค์เอง ณ พระวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมาร  เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการทรงตั้งเปรียญ
ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ก่อนวันวิสาขบูชา ๑ วัน
(พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชา) เป็นประจำทุกปี

พระเปรียญธรรม 9 ประโยค มีสมณศักดิ์อันดับในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี
เหนือกว่า พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (จล.ชท.)

ลักษณะพัดยศเปรียญธรรม 9 ประโยค เป็นพัดหน้านาง ประโยค ป.ธ. 9
พื้นสักหลาดสีเหลืองด้ามสีขาว ปักดิ้นเลื่อมตรงกลางว่าง ไม่มีเลข

ธนาคารจัดพิธีแสดงมุทิตาสักการะฉลองพระเปรียญธรรม 9 ประโยค ติดต่อกันเป็นปีที่ 48 และ 49 ในคราวเดียวกัน แด่พระภิกษุสามเณรที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ปี 2564-2565 เพื่อถวายเป็นมุทิตาสักการะหรือการแสดงความชื่นชมยินดีแด่พระภิกษุและสามเณรที่มีความมานะพากเพียรจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรคณะสงฆ์ กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรเกิดความวิริยะอุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เพื่อเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาในการบริหารกิจการของคณะสงฆ์ต่อไป

ในปี 2564-2565 มีพระภิกษุสามเณรสอบได้รวม 116 รูป เป็นพระภิกษุ 93 รูป และสามเณร 23 รูป ซึ่งจะได้รับพระราชานุเคราะห์ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงตามโบราณราชประเพณี ถือเป็นความภาคภูมิใจของธนาคารที่ได้มีส่วนอุปถัมภ์บำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 5 เมษายน 2564  ที่ศาลาอบรมสงฆ์ วัดสามพระยาวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระพรหมโมลี กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นประธานในการประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี พ.ศ. 2564 ชั้นเปรียญธรรม 7 – 9 ประโยค ส่วนประโยค 1-2 ถึงประโยค 6  มีการติดประกาศที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ  สำหรับปีนี้มีเข้าสอบและสอบได้ดังนี้

ป.ธ.9 ส่งสอบ 407 รูป สอบผ่าน 64 รูป
ป.ธ.8 ส่งสอบ 741 รูป สอบผ่าน 69 รูป
ป.ธ.7 ส่งสอบ 904 รูป สอบผ่าน 158 รูป
ป.ธ.6 ส่งสอบ 1,007 รูป สอบผ่าน 255 รูป
ป.ธ.5 ส่งสอบ 1,309 รูป สอบผ่าน 212 รูป
ป.ธ.4 ส่งสอบ 2,510 รูป สอบผ่าน 574 รูป
ป.ธ.3 ส่งสอบ 4,283 รูป สอบผ่าน 751 รูป
ประโยค 1-2 ส่งสอบ 17,233 รูป สอบผ่าน 1362 รูป

สำหรับรายชื่อผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคจำนวน 64 รูป มีดังนี้ 

เปรียญธรรม 9 ประโยค มีใครบ้าง
เปรียญธรรม 9 ประโยค มีใครบ้าง
เปรียญธรรม 9 ประโยค มีใครบ้าง

"เปรียญธรรม 9 ประโยค" ไขข้อข้องใจ ทำไม "ฆราวาส-อุบาสิกา" สอบเปรียญแบบพระได้ เปิดที่มา "สุกัญญา เจริญวีรกุล" ยังไม่ใช่ มหาเปรียญหญิงคนแรก

จากกรณีที่มีการเปิดประวัติของ "สุกัญญา เจริญวีรกุล" อุบาสิกา หรือหญิงไทยที่สามารถสอบ "เปรียญธรรม 9 ประโยค" ได้ตั้งแต่อายุเพียง 25 ปี โดยใช้เวลา 10 ปีเท่านั้น นอกจากนี้ พบว่า ยังมีอุบาสิกาอีก 3 คน ที่สามารถสอบเปรียญธรรม 9 ประโยคได้ ไล่เรียงลำดับกันมา ดังนี้

 

 

  • บ.ศ.9 คนแรกของประเทศไทย แม่ชีสมศรี จารุเพ็ง บ.ศ.9 วัดชนะสงคราม สอบได้ พ.ศ.2528
  • บ.ศ.9 คนแรกที่ไม่ใช่แม่ชี อุบาสิกาชนิดา จันทราศรีไศล บ.ศ.9 วัดพระธรรมกาย สอบได้ พ.ศ.2543
  • บ.ศ.9 คนแรกในสมัยที่กองบาลีสนามหลวงจัดสอบบาลีศึกษาอุบาสิกาสิรินุช บุสโร บ.ศ.9 วัดพระธรรมกาย สอบได้ พ.ศ.2559
  • บ.ศ.9 คนแรกของสำนักเรียนวัดสามพระยา ทันตแพทย์หญิงศิริพร ชุติปาโร บ.ศ.9 วัดสามพระยา สอบได้ พ.ศ.2557
  • บ.ศ.9 สุกัญญา เจริญวีรกุล สำนักเรียนวัดสามพระยา สอบได้ พ.ศ.2563 

จากการสอบ "เปรียญธรรม" ของอุบาสิกา จึงเป็นที่มาของคำถามว่า ฆราวาส โดยเฉพาะผู้หญิง สามารถสอบเปรียญธรรม เฉกเช่นเดียวกับพระภิกษุ สามเณรได้ด้วยหรือ จากประเด็นนี้ พระสุทธิพงษ์ อภิปุญฺโญ เคยโพสต์ข้อความ ไขข้อข้องใจไว้ว่า "ฆราวาส" สามารถสมัครเรียนได้ทุกคนตามวัดที่เป็นสำนักเรียน ไม่จำกัดแค่พระ หรือเณร ฆราวาสก็สามารถเรียนได้ ถ้าทนได้ ปัญญาดี เพราะการเรียนปริยัติธรรมเป็นเรื่องยาก ต้องท่องจำจนแตกฉาน โดยการเรียนปริยัติธรรม มีสองแผนก คือ สายธรรม กับสายบาลี สายธรรมจะจบที่นักธรรมชั้นเอก สายบาลีจะจบที่ เปรียญธรรม 9 ประโยค 
  

 

 

"สายธรรม" หากเป็นพระ หรือเณร สอบได้ จะเรียกนักธรรม ชั้นตรี โท หรือเอก หากฆราวาสสอบได้ จะเรียกธรรมศึกษา ชั้นตรี โท หรือเอก 
"สายบาลี" หากเป็นพระ หรือเณรสอบได้ จะเรียก ประโยค 1-2 ถึง ประโยค 9 หากฆราวาสสอบได้ จะเรียกบาลีศึกษา ประโยค 1-2 ถึงประโยค 9 การเรียนรวมกันกับพระ เรียนเหมือนกัน สอบด้วยกัน รับพระราชทานพัดยศแบบเดียว และที่เดียวกัน ส่วนพัดยศของพระหรือเณร เมื่อรับแล้วจะนำไปใช้งานได้ ส่วนของฆราวาสนั้น ให้เพื่อเป็นที่ระลึก เพื่อให้รู้ว่ามีคุณสมบัติชั้นนั้น จึงขอสรุปว่า ประชาชนและฆราวาสทั่วไปเรียนได้
 

 

ส่วนพัดยศนั้น หากเป็นผู้ชาย และเป็นพระ หรือเณร พัดที่ได้รับจะเป็นพัดสีเหลืองด้ามดำ เหมือนที่พระถืออยู่ด้านหลัง หากเป็นสตรี จะเป็นพัดสีขาว

 

 

เปรียญธรรม 9 ประโยค มีใครบ้าง

อย่างไรก็ตาม การสอบพระปริยัติธรรม ถือเป็นการวัดความรู้ชั้นสูงของคณะสงฆ์ไทย สืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตราบจนถึงปัจจุบัน การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี มี 8 ระดับ คือ การศึกษาระดับประโยค 1-2 และเปรียญธรรม 3 ประโยค เรียกว่า เปรียญตรี คือ ผู้ที่จะมีสิทธิสอบประโยค 1-2 ขึ้นไปจะต้องสอบได้นักธรรมชั้นตรีก่อน
    

  • ระดับเปรียญธรรม 4-6 ประโยค เรียกว่า เปรียญโท คือ ผู้ที่จะมีสิทธิสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค ขึ้นไปจะต้องสอบได้นักธรรมชั้นโทก่อน
  • ระดับเปรียญธรรม 7-9 ประโยค เรียกว่า เปรียญเอก คือ ผู้ที่จะมีสิทธิสอบเปรียญธรรม 7 ประโยคขึ้นไปจะต้องสอบได้นักธรรมชั้นเอกก่อน 

 

 

ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9) ราชบัณฑิต และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้ให้ความหมายของคำว่า "เปรียญ" (อ่านว่า ปะเรียน) บาเรียน ก็เรียก เป็นคำใช้เรียกภิกษุสามเณรผู้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรตั้งแต่ 3 ประโยค ขึ้นไปจนถึง 9 ประโยค เรียกว่า พระเปรียญ หรือพระเปรียญธรรม สามเณรเปรียญ หรือสามเณรเปรียญธรรม มีอักษรย่อว่า ป. หรือ ป.ธ.
     

 

สันนิษฐานว่ามาจากการผสมคำว่า บาลี + เรียน = บาเรียน หมายถึง "พระที่ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมบาลี" หรือ "พระนักเรียนบาลี" นั่นเอง 

เปรียญธรรม 9 ประโยค มีกี่คน

พระเปรียญธรรม 9: 1,693 รูป | สามเณรเปรียญธรรม 9: 256 รูป | แม่ชีบาลีศึกษา 9: 27 คน | ฆราวาสบาลีศึกษา 9: 13 คน | รวมเปรียญธรรม 9 ประโยค ทั้งหมด 1,989 รูป/คน นายสมนึก แดงเรืองรัมย์ ป.ธ.9 วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร

เปรียญธรรม 9 ประโยคเทียบเท่าวุฒิอะไร

กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับรองให้ผู้สำเร็จวิชาเรียน ป.ธ. 9 เทียบเท่ากับการสำเร็จปริญญาตรี เพราะเมื่อเปรียบเทียบวิชาในหลักสูตรที่มีอยู่ การสำเร็จ ป.ธ.9 ก็เสมือนกับการสำเร็จวิชาการศึกษาภาษาศาสตร์วิชาหนึ่งเท่านั้น ที่สามารถแปลความได้ แต่งบทความได้ สื่อสารได้ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีความพยายามที่จะผลักดันให้ ป.ธ.9 เทียบเท่า ...

ใครเป็นสามเณรรูปแรกที่สอบเปรียญธรรม 9 ประโยคได้

เปิดประวัติ“พระมหาไพรวัลย์” ฉายาสามเณรเปรียญธรรม 9 ประโยครูปแรก ในรอบ 200 ปี | Attention please - YouTube.

พระมหาเปรียญธรรมกี่ประโยค

มหา ในคำวัดหมายถึง สมณศักดิ์ที่ใช้นำหน้าชื่อภิกษุที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไป เป็นคำพระราชทาน เพราะทรงโปรดแต่งตั้งที่เรียกว่า ทรงตั้งเปรียญ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มหาเปรียญ และเรียกภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งว่า พระมหาเปรียญ เช่น พระมหาไว พระมหาวุฒิ