ข้อใดไม่ใช่ โปรแกรมที่ใช้สร้าง cms

วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งของผมที่ได้มีโอกาสพักผ่อน และใช้เวลาว่างให้กับตัวเองมากยิ่งขึ้น แต่กระนั้นแล้วก็ยังไม่วายที่จะหาข้อมูลต่างๆ เพื่อเอาไว้ใช้อำนวยความสะดวกให้กับการทำงานของผมในเวลาทำงานครั้งต่อๆไป

โดยข้อมูลที่ว่านั้นก็จะมีอยู่หลายประเภทด้วยกันคือ ข้อมูลเกี่ยวกับการทำ Internet Marketing และข้อมูลใหม่ๆที่ใช้ในการอ้างอิง หรือจัดทำแอพพลิเคชั่นบนเว็บไซต์ ส่วนใหญ่นั้นข้อมูลที่ได้นี้ ผมจะศึกษาและหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ซึ่งผมมองว่าเนื้อหาหรือข้อมูลของเว็บไซต์ต่างประเทศนั้นมีความน่าเชื่อถือได้สูงมากกว่าข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ในประเทศไทยเราเอง เนื่องจากว่าถ้าเพื่อนๆลองสังเกตหลายๆเว็บไซต์ของต่างประเทศ เขาจะมีการวิเคราะห์วิจัยและตั้งสมมติฐานจาก นั้นเขาจะทำการทดลองด้วยข้อมูลต่างๆที่เขามี และสุดท้ายก็ยังมีผลสรุปให้เราได้อ่านการเป็นตัวอย่าง และเพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิงหากเรามีแนวคิดคล้ายๆกับพวกเขาเหล่านั้นได้อีกด้วย

เอาล่ะครับนอกเรื่องไปซะนาน มาเข้าเรื่องหรือประเด็นของบทความนี้กันดีกว่า ซึ่งในบทความนี้ผมจะมาอธิบายเกี่ยวกับ cms ว่า cms มันคืออะไร จริงๆแล้วผมเชื่อว่าเพื่อนๆหลายท่านคงจะรู้จัก cms หรือ Content management System กันดีอยู่แล้ว ว่าความหมายของมันคืออะไร แต่สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่รู้จักกับ CMS วันนี้เรามาทำความรู้จักกับมันกันดีกว่าครับ

ข้อใดไม่ใช่ โปรแกรมที่ใช้สร้าง cms

CMS หรือ Content management System นั้นก็คือระบบจัดการข้อมูลทางด้านเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้กระทั่งวีดีโอต่างๆโดยผู้ใช้ cms นี้ไม่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนหรือพัฒนาเว็บไซต์อย่างใดทั้งสิ้น เพียงแค่เรารู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตแค่นั้น ก็ถือได้ว่ามีความเพียงพอต่อการใช้ CMS แล้ว

ข้อดีของ CMS คือมันจะช่วยให้เราสร้างหน้าเว็บเพจได้อย่างดายเพียงปลายนิ้ว เพียงแค่เรา คลิ๊ก ลากและวาง หรือใส่ข้อมูลตามที่เราต้องการแค่นั้น เราก็สามารถที่จะทำเว็บไซต์ง่ายๆเป็นของเราเองได้แล้ว ซึ่งปัจจุบันนี้ CMS จะมีให้เราได้ใช้ทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่าย ในส่วนของ cms ที่เสียค่าใช้จ่ายนั้นผมจะไม่ขอลงรายละเอียดมากนัก เพราะคิดว่าเพื่อนๆบางท่านอาจจะยังไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่ผมจะมาโฟกัสในเรื่องของ cms แบบที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อมาติดตั้งเพื่อใช้งานกันดีกว่า

ข้อดีของ CMS

  1. ผู้ใช้ระบบ cms นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมเชิง Web Application ก็ได้
  2. สะดวกต่อการจัดการข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลในโลกออนไลน์เพียงไม่กี่ชั่วโมงเจ้าก็สามารถมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองออนไลน์ได้แล้ว
  3. ช่วยลดระยะเวลาในการจัดทำเว็บไซต์ซึ่งบางท่านจะเห็นว่าเว็บส่วนใหญ่นั้นจะเป็น cms ซะเป็นส่วนใหญ่ซึ่งในปัจจุบันนี้ผู้คนให้ความสนใจกับ css มากยิ่งขึ้นเพราะมันสามารถช่วยลดระยะเวลาในการทำเว็บไซต์ได้และเขาเหล่านั้นต้องการนำเวลาในการทำงานในส่วนที่เหลือไปใช้ในการโปรโมทเว็บไซต์หรือทำในเรื่องของ Internet Marketing แทน

เราควรใช้ CMS ในการจัดทำเว็บไซต์หรือไม่

อันนี้ผมคงตอบเพื่อนๆไม่ได้เนื่องจากว่าความจริงนั้นเว็บไซต์จะมีอยู่ด้วยกันหลายประเภทซึ่งถ้าเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเป็นเว็บไซต์ง่ายๆไม่เน้นอะไรมากมายแล้วล่ะก็เราสามารถที่จะใช้ cms มาช่วยลดระยะเวลาในการจัดทำเว็บไซต์ให้กับเราได้แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราต้องการทำเว็บไซต์สำหรับโปรโมทสินค้าหรือข้อมูลบริษัทของเราผมแนะนำว่าให้ท่านเลือกใช้ cms ที่มีคุณภาพสูงใช้งานได้ง่ายหรือถ้าเป็นไปได้ให้ท่านเลือกใช้บริการกลับผู้ที่รับจัดทำเว็บไซต์จะดีกว่าเพราะมันจะช่วยให้ท่านลดระยะเวลาในการจัดทำเว็บไซต์ลงไปได้เยอะเลยทีเดียวครับ

ใช้ CMS ตัวไหนดีล่ะเนี่ย

เอาล่ะครับทีนี้ผมจะมาแนะนำ CMS ประเภทต่างๆให้เพื่อนๆได้รู้จักกันว่ามี cms ตัวไหนบ้างที่หน้าใช้งานโดย cms ที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้จะเป็น cms ที่คิดว่าเพื่อนๆหลายท่านคงจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ผมคิดว่าอาจจะมีบางตัวที่เพื่อนๆหลายท่านยังไม่รู้จัก มาแนะนำให้รู้จักกันในวันนี้ครับ

ข้อใดไม่ใช่ โปรแกรมที่ใช้สร้าง cms

1 – WordPress wordpress นี้จะเป็น cms ยอดนิยมตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ cms ตัวนี้จะมีผู้ใช้งานอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งในบ้านเราและต่างประเทศ ข้อดีของ wordpress ก็คือโครงสร้างพื้นฐานของระบบนั้นจะเป็น cms เต็มรูปแบบ สามารถปรับแต่งข้อมูลต่างๆได้เอง แม้ว่าผู้ที่ปรับแต่งนั้นจะไม่มีความรู้ในเรื่องการจัดทำเว็บไซต์เลยก็ตาม แต่ข้อเสียตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหาที่ผมไม่ชอบเลยคือ มันโหลดช้าครับ เว็บไซต์มีไม่กี่บทความมันเล่นโหลด 5-10 วินาที เผลอๆถ้าลงพวก plugins หรือ template ห่วยๆนี่ชีวิต wordpress เราจบทันทีเลยครับ(อันนี้มือใหม่ต้องระวังนิดหนึ่งนะจ๊ะ) และปัญหาอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน หลังๆมานี่ผมเลิกใช้เลย กลับไปเลี้ยงควายที่ทุ่งนายังจะสนุกกว่าทำเว็บด้วย wordpress (แต่แปลกว่าทำไมบล็อกแห่งนี้มันเป็น wordpress? คำตอบก็มันฟรีไง ตะเอง!!)

wordpress นั้นจะมีหลายๆอย่างที่ค่อนข้างครอบคลุมเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลของเว็บไซต์ เราสามารถดาวน์โหลด wordpress มาติดตั้งที่เว็บไซต์หรือโฮสติ้งของเราได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากนั้นเราก็จะทำการปรับแต่งข้อมูลต่างๆได้ตามความพอใจได้เลยในทันที อีกทั้งเรายังสามารถดาวน์โหลด plugins, template หรือ Extension อื่นๆมาช่วยเสริมระบบ cms ใน wordpress ของเราได้เรียกได้ว่า wordpress นี้มีความยืดหยุ่นอยู่พอสมควรถ้าเทียบกับ cms ตัวอื่นๆที่ผมจะแนะนำต่อไป ถ้าเพื่อนๆคนไหนชอบทำเว็บไซต์ แบบง่ายๆ ไม่ต้องมีอะไรมากมาย wordpress ตอบโจทย์แน่นอนครับ

2 – Joomla Joomla นี้จะเป็น cms ยอดนิยมอีกตัวหนึ่งไม่แพ้กับ wordpress ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งที่ hosting ของเราได้ฟรีเหมือนกับ wordpress อีกทั้งเรายังสามารถ Download Extension component หรือปลั๊กอินต่างๆมาติดตั้งเสริมเหมือนกับ wordpress ได้เลยในทันที อีกทั้ง Joomla นี้ยังรองรับการติดตั้งหรือปรับแต่ง template ได้อีกด้วย(ผมเห็นเว็บไซต์พวก อบต. วัด สำนักสงฆ์ หรือหน่วยงานรัฐของไทยเราใช้กันเยอะมาก ไม่รู้ทำไม)

3 – Drupal drupal นี้จะเป็น cms ที่ยอดนิยมอีกตัวหนึ่งที่ผมชอบใช้เหมือนกัน เนื่องจากว่ามันสามารถสเกลไปสู่ระบบ cms ในขั้น advance ได้ง่ายไม่เหมือนกับ wordpress หรือ joomla ซึ่ง 2 ตัวหลังนี่ถ้าจะเอากันจริงๆในระดับ enterprise นี่ผมว่าคงไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่ เนื่องจากว่าออปชั่น และฟังก์ชั่นโดยรวมนั้นไม่ค่อยยืดหยุ่นหรือพัฒนาเพิ่มเติมเท่าใดนัก ทั้งในเรื่องความช้าแบบควายเคี้ยวหญ้าของ wordpress และรูให้เจาะกันแบบสนุกสนานของ joomla โดย 2 ตัวหลังนี่ผมไม่ค่อยจะนำมาใช้ทำเว็บไซต์แบบจริงๆจังสักทีเนื่องด้วยเหตุผลหลายประการครับ แต่ถ้าจะทำเว็บง่ายๆโง่ๆ ขึ้นมาสักเว็บในระยะเวลาที่มีอยู่จำกัดเพียงไม่กี่ชั่วโมงแล้วล่ะก็ wordpress กับ joomla นี่โคตรโดนเลยครับ ขอบอก แต่ยังไงก็แล้วแต่ในระดับ business หรือ enterprise ผมแนะนำให้ใช้ drupal นะครับจะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลานในอนาคต

4 – PHP-Nuke ตัวนี้จะเป็น cms อีกตัวหนึ่งที่มี blogger ต่างประเทศใช้กันหลายเว็บไซต์อยู่เหมือนกัน เนื่องจากว่าระบบโดยรวมนั้นค่อนข้างใช้งานง่าย อีกทั้งยังสามารถรองรับภาษาไทยได้ด้วย แต่ในบ้านเรายังไม่ค่อยเป็นที่นิยมสักเท่าไหร่ เพราะในระดับลึกๆแล้วยังถือว่า user ยังเข้าถึงได้ยาก อีกทั้งออปชั่นต่างๆยังน้อยกว่าถ้าเทียบกับ wordpress, joomla, drupal ครับ แต่ถ้าเพื่อนๆท่านไหนเป็นนักพัฒนาระบบ cms และอยากดาวน์โหลดระบบ cms ที่มีระบบง่ายๆมาทดสอบเพื่อพัฒนาต่อล่ะก็ PHP-Nuke นี่เหมาะสมมากครับ

5 – Subrion เจ้า subrion นี้เพิ่งเกิดใหม่ครับ ผมชอบในเรื่องของการดีไซน์ระบบแอดมิน cms ตัวนี้มาก เพราะจะออกแบบในลักษณะ UNIX-UI ครับ ใช้งานง่ายคล้ายๆกับ wordpress เลย ผมยังไม่เคยลองติดตั้งเพื่อใช้งานจริงๆนะครับ แต่โดยรวมแล้วออปชั่นต่างๆถือว่าทำออกมาได้ดีเยี่ยมเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น plugins, extensions, templates และส่วนอื่นๆ แบบว่าเอาอยู่ครับ แต่เสียอย่างเดียวระบบแอดมินยังไม่มีภาษาไทยให้ใช้ครับ สำหรับมือใหม่ที่ยังงงกับภาษาอังกฤษนี่คงต้องใช้เวลาสักพัก แต่ไม่ยากครับ ลองดู

6 – TEXTPATTERN cmsตัวนี้จะมาในแนวเรียบง่ายครับ แต่มีความยืดหยุ่นด้านการใช้งานและพัฒนาต่ออยู่พอสมควร แต่ข้อเสียคือยังมีคนใช้น้อย เพราะยังไม่มีคนพัฒนาพวก template, plugins หรือ extension มาเสียบเข้าระบบเหมือนกับ wordpress, joomla หรือ drupal

7 – CONCRETE5 cms ตัวนี้เป็นอีกตัวหนึ่งที่ผมเคยเอามาทดสอบเพื่อจะพัฒนาต่อ เพราะว่าระบบโดยรวมทำได้ยืดหยุ่นมาก และง่ายต่อการพัฒนาต่อยอด เพราะโครงสร้างนั้นจะไม่เหมือนกับ wordpress หรือ joomla หรือ drupal เพราะ CONCRETE5 นี้จะมาในแนวของ framework เลยซึ่งผู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อที่มีความชำนาญในเรื่องของ framework เป็นทุนเดิมอยู่แล้วนี่ง่ายเลยครับกับ CONCRETE5

Last Moment

เป็นไงกับบ้างล่ะครับ สำหรับ CMS ยอดนิยม(สำหรับคนทั่วไป) สำหรับผมนั้นไม่ว่าจะเป็นตัวไหนก็ไม่แตกต่างครับ มันอยู่ที่ว่าเราจะทำอะไร ด้วยอะไร และเพื่ออะไรมากกว่า บางครั้งง่ายไปก็ไม่ดี ยากเกินไปก็ดูน่าปวดหัว ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องดูความเหมาะสมทั้งในระยะสั้นและยาวของเราด้วยนะครับ ว่าเหมาะสมกับ CMS หรือไม่หรือตัวไหน ถ้ามือใหม่ เล่นไปเหอะ wordpress ขี้หมูขี้หมาก็เอาอยู่(ประมาณว่าเข้าร้านอาหารแล้วนึกอะไรไม่ออก เฮ้ยน้อง ขอเป็นกระเพราไก่ไข่ดาวแล้วกัน ง่ายดี), business หรือ enterprise หน่อยก็ drupal ครับ แต่ถ้าสำหรับ developer อย่างผมล่ะก็ ผมเขียนเองครับ สนุกกว่าใช้ของคนอื่นเยอะเลย

โปรแกรมที่ใช้งานในรูปแบบ CMS มีอะไรบ้าง

ข้อดีของการสร้างเว็บไซต์ด้วย CMS.
ใช้งานง่าย ... .
ประหยัดเวลา ... .
มีเครื่องมือที่ครบครัน ... .
WordPress. ... .
HubSpot CMS Hub. ... .
Joomla. ... .
Adobe Commerce. ... .

โปรแกรมข้อใดถูกจัดอยู่ในประเภท CMS

CMS คือ software ที่มีผู้พัฒนามาจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเว็บไซต์ เช่น PHP , Python , ASP , JSP ซึ่งในปัจจุบันมีคนใจดีพัฒนา CMS ฟรีขึ้นมามากมายอย่าง เช่น Mambo , Joomla , Wordpress.

CMS มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ อะไรบ้าง

CMS ประเภท เว็บบอร์ด ได้แก่ SMF, phpBB (ปัจจุบันจะไม่ค่อยได้พบเห็นแล้ว เนื่องจากความนิยมของ Social Media) CMS ประเภท E-Learning เช่น Moodle, Sakai. CMS ประเภท E-Commerce แบบมีตะกร้าขายของอย่าง Shopee, Lazada เช่น Magento, VirtueMart, osCommerce, phpShop.

โปรแกรม CMS ส่วนใหญ่ถูกพัฒนาด้วยภาษาใด

CMS หมายถึง โปรแกรมทาง Computer ที่ถูกใช้งานอยู่บน Web Server โดยพัฒนามาจากภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กัน อาทิเช่น PHP, ASP หรือ JPS แต่ที่นิยมกันมากที่สุดก็คือ PHP.