การแสดงที่เป็นเรื่องราว มีอะไรบ้าง

นาฏศิลป์ไทย จัดเป็นศิลปะการแสดงอันเต็มไปด้วยความงดงาม , อ่อนช้อย อีกทั้งยังเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ซึ่งอยู่คู่กับประเทศไทยมาเนิ่นนาน นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการแสดงนาฏศิลป์ไทย จะต้องมีองค์ประกอบที่ช่วยให้การแสดงเต็มไปด้วยความงดงามสมบูรณ์ ได้แก่

การแสดงที่เป็นเรื่องราว มีอะไรบ้าง

ลีลาท่าทางร่ายรำ

การแสดงนาฏศิลป์ไทยมีเอกลักษณ์ คือ เป็นการแสดงที่มีท่าทางร่ายรำสวยงาม ด้วยการประดิษฐ์ท่ารำต่างๆ ให้เป็นระเบียบแบบแผน ใช้ในการถ่ายทอดเรื่องราว รวมทั้งสื่อความหมายในการแสดง เช่น ระบำพรหมาสตร์ คือ ท่าทางร่ายรำแบบนางฟ้า เป็นต้น

จังหวะใช้ในการแสดง

จังหวะคือการฝึกขั้นพื้นฐาน ที่ใช้แสดงนาฏศิลป์ โดยผู้แสดงนาฏศิลป์ จะต้องทำความเข้าใจกับจังหวะ , ดนตรี อย่างลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถร่ายรำ ออกท่าทางได้ถูกต้องตามจังหวะ ถ้าคุณแสดงไม่ถูกต้องตามจังหวะ จะทำให้การแสดงไม่สวยงาม

ดนตรีใช้ประกอบการแสดง

ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงเพื่อประกอบการแสดง โดยบทเพลงที่ใช้บรรเลงเพลง จะต้องนำมาประกอบกับกิริยาท่าทางของแต่ล่ะตัว โดยตัวละครสามารถแบ่งออกเป็น หน้าพาทย์ธรรมดากับหน้าพาทย์ชั้นสูง ส่วนใหญ่แล้วจะบรรเลงด้วยไม่มีเนื้อร้อง นอกจากนี้การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ จะต้องบรรเลงโดยดูจากความหมายและอารมณ์ของตัวละครในบริบทนั้นๆด้วย

คำร้องหรือเนื้อร้อง

ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย จะประกอบด้วยชุดการแสดงที่มีทั้งบทร้องและไม่มีบทร้อง ซึ่งการแสดงแบบมีเนื้อร้องจะทำให้ผู้ชมเข้าใจการแสดงมากขึ้น โดยทางผู้ประดิษฐ์ท่ารำ ให้เหมาะสมกับคำร้องเพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องประดิษฐ์ให้มีความเหมาะสมกับคำร้อง เพื่อให้ผู้แสดงถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างถูกต้องและมีความสวยงามอีกด้วย เช่น ระบำดาวดึงส์ ที่ต้องแสดงให้เห็นถึงความยินดีปรีดา เป็นต้น

แต่งกาย – แต่งหน้า

การแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์ไทย จะเป็นการแสดงที่มีความสวยงามและบ่งบอกถึงความเป็นไทย จึงทำให้การแสดงมีเอกลักษณ์ เช่น การแสดงโขนซึ่งมีการแต่งกายอันงดงาม มีโขนที่นำมาสวมศีรษะพร้อมตกแต่งลวดลายประดิษฐ์ขึ้นมาอย่างวิจิตร โดยโขนก็จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของตัวละคร

อุปกรณ์ใช้ประกอบการแสดง

อุปกรณ์จัดเป็นองค์ประกอบนาฏศิลป์ที่มีความสำคัญอีกหนึ่งชนิดหนึ่ง ที่ทำให้การแสดงมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ แต่อย่างไรก็ตามการแสดงนาฏศิลป์ไทยในบางชุด อาจไม่มีอุปกรณ์ประกอบก็ได้ หากแต่บางชุดก็มีอุปกรณ์ประกอบการแสดงเข้ามา ทำให้การแสดงมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น รำฟ้อนเทียน มีอุปกรณ์สำคัญ คือ เทียน โดยจะนิยมแสดงในช่วงกลางคืน แสงเทียนที่สว่างไสวท่ามกลางความมืด จะทำให้การแสดงมีความงดงามมาก

รู้หรือไม่ว่า เมื่อกล่าวถึงนาฏศิลป์ไทยไทยแล้ว คนจำนวนมากก็จะนึกถึงเฉพาะ การรำ ฟ้อนรำ หากแต่จริงแล้วนาฏศิลป์ไทยมีความหมายที่กว้างกว่านั้น โดย รวมไปถึงงานศิลปะพวก ละคร หรือ งานมโหรศพ อีกด้วย เรามาศึกษาถึงประเภทของนาฏศิลป์ไทยกัน

นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท

  1. รำ คือการแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ดนตรี ไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราว รำบางชุดเป็นการชมความงาม บางชุดตัดตอนมาจากวรรณคดี หรือบางทีก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเนื้อเพลงเช่นการรำหน้าพาทย์เป็นต้น รำจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้

    1. รำเดี่ยว เป็นการแสดงที่มุ่งอวดศิลปะทางนาฏศิลป์อย่างแท้จริงชึ่งผู้รำจะต้อมมีผีมือดีเยี่ยม เพราะเป็นการแสดงที่แสดงแต่เพียงผู้เดียว รำเดี่ยวโดยส่วนมากก็จะเป็นการรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายเบญจกาย ฉุยฉายวันทอง ฯลฯ เป็นต้น
    2. รำคู่ การแสดงชุดนี้ไม่จำเป็นจะต้องพร้อมเพียงกันแต่อาจมีท่าที่เหมือนก็ได้ เพราะการรำคู่นี้เป็นการใช้ลีลาที่แตกต่างกันระหว่างผู้แสดงสองคน เช่นตัวพระ กับตัวนาง หรือบทบาทของตัวแสดงนั้น รำคู่นี้ก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
      1. รำคู่สวยงามจากวรรณคดี เช่น หนุมานจับนาสุพรรณมัจฉา เป็นต้น
      2. รำมุ่งอวดการใช้อุปกรณ์ เช่น การรำอาวุธ รำกระบี่กระบอง
    3. รำหมู่ รำชุดนี้เป็นการรำที่เน้นความพร้อมเพรียง เช่นรำอวยพรชุดต่างๆ
    4. รำละคร คือการรำที่ใช้ในการแสดงละครหรือโขน เป็นการแสดงท่าท่างสื่อความหมายไปกับบทร้อง หรือบทละคร และเพลงหน้าพาทย์ต่างๆในการแสดงละคร
  2. ระบำ คือการแสดงที่มีความหมายในตัวใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป คือผู้คิดได้มีวิสัยทัศน์และต้องการสื่อการแสดงชุดนั้นผ่านทางบทร้อง เพลง หรือการแต่งกายแบบ ที่มาจากแรงบัลดาลใจ จากเรื่องต่างๆ เช่นวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการแสดงที่จบในชุดๆ เดียว เป็นต้น ระบำ จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ

    1. ระบำมาตรฐาน เป็นระบำที่บรมครูทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นไว้ ทั้งเรื่องเพลง บทร้อง การแต่งกาย ท่ารำ ซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ระบำมาตรฐานจะมีอยู่ทั้งหมด 6 ชุด คือ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิดหรือยู่หงิด ระบำพรมมาตร ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤษดา ระบำเทพบันเทิง
    2. ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นระบำที่บรมครูหรือผู้รู้ทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นและปรับปรุงชึ้นมาใหม่ ชึ่งสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาส อาจเป็นระบำที่ได้แรงบัลดาลใจที่ผู้ประดิษฐ์ต้องการสื่ออาจเป็นเรื่องของการแต่งกาย วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ระบำปรับปรุงมีอยู่หลากหลายเช่น ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำไกรราศสำเริง ระบำไก่ ระบำสุโขทัย ฯลฯ เป็นต้น

      ฟ้อน และ เซิ้ง ก็จัดว่าเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เพราะผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นขึ้นมา มีการแต่งการตามท้องถิ่นเพราะการแสดงแต่ละชุดได้เกิดขึ้นมาจากแรงบัลดาลใจของผู้คิดที่จะถ่ายทอดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต การแต่งกาย ดนตรี เพลง และการเรียกชื่อการแสดงนั้น จะเรียกตาม ภาษาท้องถิ่น และการแต่งกายก็แต่งกายตามท้องถิ่น เช่นภาคเหนือก็จะเรียกว่าฟ้อน เช่นฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ภาคอิสานก็จะเรียกและแต่งกายตามท้องถิ่น ทางภาคอิสานเช่น เซิ้งกะติ๊บข้าว เซิ้งสวิง เป็นต้น การแสดงต่างๆล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาจากท้องถิ่นและแต่งกายตามท้องถิ่นไม่ได้มีหลักหรือ เกณฑ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในวงการนาฏศิลป์ไทยทั่วประเทศสามารถปรับปรุงหรื่อเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสที่แสดง จึงถือว่า การฟ้อนและการเซิ้งเป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่

  3. ละคร คือการแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่างดำเนินเรื่องมีผูกเหตุหรือการผูกปมของเรื่อง ละครอาจประกอบไปด้วยศิลปะหลายแขนงเช่น การรำ ร้อง หรือดนตรี ละครจะแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่

    1. ละครแบบดั้งเดิม มีอยู่สามประเภท คือ โนห์ราชาตรี ละครนอก ละครใน
    2. ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีอยู่หกประเภท ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด ละครร้อง ละครสังคีต
  4. มหรสพ คือการแสดงรื่นเริง หรือการแสดงที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ มีรูปแบบและวิธีการแสดงที่เป็นแบบแผน เช่น การแสดงโขน หนังใหญ่เป็นต้น

    การแสดงเป็นเรื่องราว มีอะไรบ้าง

    การแสดง เป็นเรื่องราว การแสดง เป็นชุดเป็นตอน เป็นการแสดงตั้งแต่2 คนขึ้นไป • ใช้เพลงบรรเลงประกอบการแสดงทั้งที่มีเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง • เน้นความพร้อมเพรียง ความสมดุลในการแสดง • เรียกว่า “ระบา” ซึ่งรวมไปถึง “เซิ้งและฟ้อน” เพราะมีรูปแบบ การแสดงที่เหมือนกัน แต่แสดงออกถึงความแตกต่างของแต่ละท้องถิ่น

    การแสดงใดที่ผูกเป็นเรื่องราว

    ศิลปะการแสดงที่ผูกเป็นเรื่องราว เป็นการแสดงที่มีการผูกเรื่องราว อาจเป็นการแสดงชุดสั้นๆ หรือยาวๆ ก็ได้ การแสดงประเภทนี้จะมีความซับซ้อนขององค์ประกอบศิลป์หลายอย่าง ตัวอย่างศิลปะการแสดงประเภทนี้ ได้แก่ โขน ละคร หุ่น หนังใหญ่ ภาพยนตร์ และบัลเล่ต์ เป็นต้น โดยในที่นี้จะขอยกตัวอย่างประเภทของ ศิลปะการแสดงตามสาขาการศึกษาของ ...

    ลักษณะการแสดง มี อะไร บ้าง

    รูปแบบการแสดง.
    การแสดงเดียว การแสดงเดี่ยว คือ การแสดงที่มีผู้แสดงเพียงคนเดียว มุ่งเน้นความสวยงามของการเคลื่อนไหวไหวร่างกาย เป็นการแสดงฝีมือของผู้แสดงที่ร่ายรำถูกต้องตามท่วงทำนอง จังหวะเพลง และงดงามตามแบบแผน เช่น ... .
    การแสดงหมู่ ... .
    การแสดงเป็นชุดเป็นตอน ... .
    การแสดงละคร.

    การแสดงเป็นหมู่ มีอะไรบ้าง

    การรำหมู่ คือ การแสดงที่ใช้ผู้แสดงมากกว่า ๒ คนขึ้นไป มุ่งความงามของท่ารำและความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เช่น รำโคม รำพัด รำซัดชาตรี เป็นต้น ในกรณีที่นำการแสดงที่ตัดตอนมาจากการแสดงละคร และการรำนั้นเป็นการรำของตัวละครตัวเดียวมาก่อน เมื่อนำมารำเป็นหมู่ก็ยังคงเรียกว่ารำตามเดิม เช่น รำสีนวล รำแม่บท