ข้อใดแสดงว่า “เงินพดด้วง” เป็นความเจริญทางเศรษฐกิจของสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย

          อาณาจักรสุโขทัยก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๗๘๑  หลังจากที่พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวรวมกำลังพลขับไล่ขอมซึ่งมีอำนาจปกครองดินแดนทั่วไปในสุวรรณภูมิได้สำเร็จ  ประกาศตนเป็นอิสระ  พ่อขุนบางกลางหาวขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัย  มีพระนามว่า  “ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์”

         อาณาจักรสุโขทัยมีอำนาจและพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญถึงขีดสุดในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ( พ.ศ. ๑๘๒๒ – ๑๘๔๒ )  และมีการขยายอาณาเขตลงไปทางตอนใต้จนตลอดแหลมมลายู  รวมทั้งส่งเสริมพระพุทธศาสนา  นำมาซึ่งการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม  สถาปัตยกรรมและประติมากรรม  ที่สำคัญ  มีการประดิษฐ์อักษรไทยหรือลายสือไทซึ่งจารึกบนหลักศิลา  สิ่งเหล่านี้ถือเป็นรากฐานแห่งความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไทยสืบมาจนทุกวันนี้

         นอกจากกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยจะทรงมีความเข้มแข็งและมีความสามารถในด้านการรบแล้ว  ยังทรงเป็นผู้นำในทางการค้า  หลักฐานที่เชื่อได้ว่าสุโขทัยเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าปรากฎข้อความในหลักศิลาจารึกว่า  “ ใครจักใคร่ค้าช้างค้า  ใครจักใคร่ค้าม้าค้า  ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า....”  และยังมีการค้นพบเตาเผาเครื่องสังคโลกจำนวนมากที่อำเภอสวรรคโลก  แสดงให้เห็นถึงปริมาณการผลิตเครื่องสังคโลก  ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของสุโขทัย

         การค้าขายในอาณาจักรสุโขทัยพบว่ามีการใช้สื่อกลางการแลกเปลี่ยนรูปแบบต่างๆ ดังปรากฏในจดหมายเหตุจีนเจินละฟุงถู่จี้ของเจ้าต๋ากวาน  ซึ่งเดินทางผ่านอาณาจักรสุโขทัยเพื่อไปเยือนอาณาจักรเขมรประมาณ พ.ศ. ๑๘๓๙ – ๑๘๔๐  ความว่า  “....การค้าเล็กน้อยจ่ายกันเป็นข้าวหรือพืชผลอื่นๆ หรือสิ่งของที่มาจากเมืองจีน  ถัดมาก็ใช้ผ้า  ส่วนการค้าใหญ่ๆ ใช้ทองและเงิน”

         แต่สื่อกลางการแลกเปลี่ยนที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวสุโขทัยคือ  เงินพดด้วง  ซึ่งเป็นเงินตราที่ชาวสุโขทัยผลิตขึ้นใช้เอง  ทำด้วยโลหะเงิน  สัณฐานกลม  ปลายขาเงินยาวแหลมและชิดกัน  มีรูขนาดใหญ่ระหว่างขา  มีตราประทับเพื่อแสดงถึงแหล่งผลิต  และรอยบากเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของเนื้อเงิน

         พดด้วงในยุคแรกมีรอยบากเล็กและไม่ค่อยเรียบร้อย  แต่ในยุคต่อมา  รอยบากใหญ่และลึกทำได้เรียบร้อยขึ้น  ปลายขาเงินงอพับเข้าหากัน  จนกระทั่งในยุคหลังจึงทำรอยบากเล็กลงที่เรียกเงินชนิดนี้ว่า  “ เงินพดด้วง”  สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า  “ ขดด้วง”  เนื่องจากมีลักษณะเหมือนตัวอ่อนของด้วงที่งอขดอยู่ในรังไหม  ภายหลังจึงเพี้ยนเสียงมาเป็นเงิน  “ พดด้วง”

          การผลิตเงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย  ทางราชการเปิดโอกาสให้เจ้าเมืองประเทศราช  ตลอดจนพ่อค้าและประชาชนผลิตขึ้นใช้เองได้  เพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการติดต่อค้าขาย  จึงพบเงินพดด้วงที่มีตราประทับแตกต่างกันหลายตรา  โดยอาจเป็นตราของผู้ผลิต  ของเจ้าเมืองหรือของผู้มีอำนาจรับรองเนื้อเงินก็ได้  ตราที่พบบนพดด้วงมีตั้งแต่ ๑ ตรา  ไปจนถึง ๗ ตรา  ตราที่พบส่วนใหญ่ได้แก่  ราชสีห์  ช้าง  หอยสังข์  ธรรมจักร  บัว  กระต่ายและราชวัติ

         นอกจากนี้  ยังพบว่าในสมัยสุโขทัยมีการนำโลหะชนิดอื่นซึ่งไม่ใช่โลหะเงิน  เช่น  ดีบุก  ตะกั่ว  สังกะสี  มาหลอมให้มีลักษณะคล้ายพดด้วง  แต่มีขนาดใหญ่กว่า  เรียกแตกต่างกัน  เช่น  พดด้วงชิน  เงินคุบ  เงินชุบ  หรือ  เงินคุก  ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเพื่อใช้เป็นน้ำหนักชั่งสิ่งของหรือเป็นเครื่องรางของขลัง

         นอกจากพดด้วงซึ่งใช้เป็นเงินหลักแล้ว  ชาวสุโขทัยยังใช้  “ เบี้ย”  เป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่ำด้วย  ดังปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง  ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นศิลาจารึกในสมัยพญาลิไท  ได้บันทึกถึงการบำเพ็ญทานว่า  “ คิดพระราชทรัพย์ที่พระราชทานคือ  ทองหมื่นหนึ่ง  เงินหมื่นหนึ่ง  เบี้ยสิบล้าน  หมากสองล้าน  จีวร๔๐๐”

         หลังจากเรืองอำนาจมาเกือบ ๒๐๐ ปี  อาณาจักรสุโขทัยได้เสื่อมลงเรื่อยๆ  จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นเมืองบริวารของกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๑  ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๔  กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย

 

ข้อใดแสดงว่า เงินพดด้วง” เป็นความเจริญทางเศรษฐกิจของสุโขทัย

(เงินตราในสมัยสุโขทัย)

ไทยผลิตเงินตราขึ้นใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย! เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนใครในโลก!!

เผยแพร่: 7 ก.ค. 2563 17:31   โดย: โรม บุนนาค


ในสมัยโบราณกาลนานมา เมื่อเริ่มมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน คนยุคนั้นใช้ทั้ง ลูกปัด เปลือกหอย อัญมณี แม้แต่เมล็ดพืช เป็นสื่อกลาง และได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ สำหรับชนชาติไทย ข้อมูลของกองกษาปณ์กล่าวว่า มีการนำโลหะมาใช้เป็นเงินตราตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรียกว่า “เงินพดด้วง” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนเงินตราใดในโลก แสดงให้เห็นถึงความเจริญของชาติไทยที่ได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้เอง และใช้ต่อมาเป็นเวลายาวนานราว ๖๐๐ปี จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีการนำเงินเหรียญและเงินกระดาษตามแบบตะวันตกมาใช้

เงินพดด้วง ทำขึ้นจากแท่งเงิน ทุบปลายงอเข้าหากัน แล้วตอกตราแผ่นดินประจำรัชกาลลงไป มีสัณฐานกลมคล้ายตัวด้วง จึงเรียกกันว่า “เงินพดด้วง” แต่ชาวต่างประเทศกลับเรียกว่า “เงินลูกปืน” (BULLET MONEY)
เงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย มีตราประทับไว้มากกว่า ๒ ดวง เป็นสัตว์ชั้นสูง เช่น วัว กระต่าย หอยสังข์ และราชสีห์ เป็นต้น

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เงินพดด้วงก็ยังมีลักษณะคล้ายกับของกรุงสุโขทัย แต่ตรงปลายที่งอจรดกันไม่แหลมเหมือนพดด้วงสุโขทัย ตราที่ประทับเป็นตราจักรและตราประจำรัชกาล เช่น ครุฑ ช้าง ราชวัตร พุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น
ในสมัยกรุงธนบุรี ก็ยังใช้เงินพดด้วง ซึ่งผลิตขึ้นใช้เพียง ๒ ชนิด คือ ตราตรีศูล และตราทวิวุธ

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เงินพดด้วงประทับตราจักร ซึ่งเป็นตราแผ่นดิน กับประทับตราประจำรัชกาล คือ รัชกาลที่ ๑ ตราบัวอุณาโลม รัชกาลที่ ๒ ตราครุฑ รัชกาลที่ ๓ ตราปราสาท รัชกาลที่ ๔ ตรามงกุฎ รัชกาลที่ ๕ ตราพระเกี้ยว
ส่วนเบี้ย ซึ่งใช้เป็นเงินตราในสมัยก่อนเหมือนกัน เป็นเปลือกหอยขนาดเล็ก พ่อค้าต่างชาติได้นำมาจากหมู่เกาะมัลดีฟส์ ใช้เป็นเงินตราซื้อสินค้าไทย และขายหอยเบี้ยให้ไทย ใช้แก้ความขัดสนที่ไม่มีเงินตราแลกเปลี่ยน แต่เงินเบี้ยเป็นเงินที่มีค่าต่ำสุดในระบบเงินตรา เหมือนเศษสตางค์ มีอัตราแลกเปลี่ยน ๑๐๐ เบี้ยต่อ ๑ อัฐ หรือ ๑ สตางค์ครึ่งเท่านั้น

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายกับไทยมากขึ้น จนเงินพดด้วงที่ทำด้วยมือไม่ทันกับความต้องการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญกษาปณ์เงินด้วยเครื่องจักรที่นำมาจากประเทศอังกฤษ ในปี ๒๔๐๑ จึงเริ่มผลิตเหรียญบาท สลึง และเฟื้อง ต่อมาเมื่อนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ามาจึงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า “โรงกษาปณ์สิทธิการ” ผลิตได้จำนวนมาก ทั้งยังผลิตเงินตราราคาต่ำด้วยดีบุกด้วยเพื่อใช้แทนเบี้ยหอย

สำหรับเงินกระดาษ หรือ ธนบัตร เพื่อใช้ชำระในมูลค่าสูงๆ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้โปรดเกล้าให้พิมพ์ออกมาใช้ตั้งแต่ปี ๒๓๙๖ เรียกว่า “หมาย” มีมูลค่าตั้งแต่ เฟื้อง สลึง บาท ตำลึง ชั่ง อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ใบพระราชทานเงินตรา หรือ “เช็ค” ขึ้นด้วย แต่ทว่าเงินกระดาษ รวมทั้งเช็คพระราชทานที่ไม่เคย “เด้ง” ก็ไม่ได้รับความนิยม จึงมีใช้เฉพาะในรัชกาลที่ ๔ เท่านั้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเงินครั้งสำคัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่ามาตราเงินของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยุ่งยาก ในปี ๒๔๔๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้เป็น บาท และสตางค์ เท่านั้น คือ ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท อันเป็นมาตราเงินไทยที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่าง คือโปรดเกล้าฯให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบนเหรียญ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นำพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ประทับลงบนเหรียญกษาปณ์

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงพยายามจะนำธนบัตรซึ่งตอนนั้นเรียกกันว่า “เงินกระดาษหลวง” ออกมาใช้ในปี ๒๔๓๖ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยม จนในปี ๒๔๔๕ เมื่อมีระบบธนาคารพาณิชย์เกิดขึ้น มีการซื้อขายกันเป็นเงินจำนวนมาก การใช้เหรียญกษาปณ์จึงยุ่งยากในการนับ ธนบัตรได้รับความนิยม จึงโปรดเกล้าฯให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติประกาศเลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๔๗ เป็นต้นมา

เราใช้เงินกระดาษกันอย่างจริงจังมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นเวลา ๑๐๐ กว่าปีแล้ว แต่วันนี้เงินกระดาษก็ทำท่าว่าจะหมดอนาคต เพราะเงินอิเล็กทรอนิกส์กำลังแทรกเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกที เห็นทีว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีก ซึ่งก็เป็นธรรมดาของโลก ใครที่ตกขบวนตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลง อย่างกดลงทะเบียนเวปคนไทยไม่ทิ้งกัน หรือเยียวยาเกษตรกรไม่เป็น ระวังถึงตอนนั้นแม้มีเงินก็อาจจะอดข้าวได้ เพราะกดไม่เป็น

ข้อใดแสดงว่า เงินพดด้วง” เป็นความเจริญทางเศรษฐกิจของสุโขทัย

เงินพดด้วง มีความสําคัญอย่างไร

เงินพดด้วง เป็นเงินตราที่เริ่มต้นผลิตมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยใช้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงสมัยศรีอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผลิตจากแท่งโลหะแบ่งน้ำหนักตามมาตรฐานน้ำหนักชัดเจนเป็นหน่วยชั่ง ตำลึง บาท สลึง เเละเฟื้อง เงินพดด้วงสามารถนำไปซื้อสินค้าในต่างอาณาจักรได้เพราะทำจากเนื้อเงินบริสุทธิ์ โดยใช้น้ำหนักเป็นตัว ...

เงินพดด้วง สมัยสุโขทัยทำมาจากแร่ชนิดใด

เงินพดด้วงนั้นยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า มีใช้กันครั้งแรกในรัชกาลใด แต่สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย เงินพดด้วงส่วนใหญ่ทำด้วยเงินบริสุทธิ์ ส่วนพดด้วงที่ทำด้วยทองคำนั้นพบในสมัยรัตนโกสินทร์เท่านั้น พดด้วงมีรูปร่างลักษณะสัณฐานกลม ปลายทั้ง ๒ ข้างงอเข้าหากันเหมือนตัวด้วงขด มีด้านต่าง ๆ คือ ...

เงินพดด้วงมีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสมัยอยุธยาอย่างไร

เงินพดด้วงทำขึ้นจากแท่งเงินทุบปลายงอเข้าหากัน จัดว่าเป็นเงินตราที่มีมูลค่าสูง เพราะกำหนดมูลค่าเท่ากับน้ำหนักของโลหะที่ใช้ผลิต จึงมักใช้ในการค้าขายระหว่างประเทศมากกว่าที่ชาวบ้านจะใช้กัน แบ่งเป็น 6 ชนิด คือ ตำลึง บาท กึ่งบาท สลึง เฟื้อง และไพ ซึ่งชนิดหนักตำลึงนั้น เนื่องจากมีมูลค่าสูงเกินไป ส่วนชนิดราคากึ่งบาทนั้นมี ...

เงินตราสมัยสุโขทัยที่ทำด้วยโลหะ ได้แก่อะไร

สมัยอาณาจักรสุโขทัย นอกจากนี้ ยังพบว่าในสมัยสุโขทัยมีการนำโลหะชนิดอื่นซึ่งไม่ใช่โลหะเงิน เช่น ดีบุก ตะกั่ว สังกะสี มาหลอมให้มีลักษณะคล้ายพดด้วงแต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียกแตกต่างกัน เช่น พดด้วงชิน เงินคุบ เงินชุบ หรือเงินคุก รวมทั้งการใช้เบี้ยเป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่ำด้วย