ภาพกราฟิกแบบ raster มีหลายนามสกุลข้อใดไม่ใช่

จะพาทุกคนไปรู้จักรูปแบบของไฟล์ภาพพร้อมศึกษาข้อดี ข้อเสียของแต่ละชนิดไฟล์กัน เพื่อให้เราสามารถเลือกใช้ไฟล์ภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดตามรูปแบบงานที่เราต้องทำ แต่ก่อนจะไปทำความรู้จักกับรูปแบบไฟล์ทั้ง 10 ชนิด เรามาดูความต่างของรูปแบบไฟล์ภาพ Raster กับ Vector ก่อน

ไฟล์ภาพแแบบ Raster และ Vector ต่างกันอย่างไร

ในเบื้องต้นสามารแยกไฟล์ออกได้เป็นสองรูปแบบใหญ่ๆคือ Raster กับ Vector โดยทั้งสองรูปแบบไฟล์คือการสร้างขึ้นมาจากคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ทั้งสองมีความนิยมใช้งานพอๆกัน

Raster (Bitmap) เป็นแบบตัว Pixel ที่รวมกันเป็นภาพขนาดใหญ่ วิธีสังเกตง่ายๆคือ เมื่อเราขยายหรือซูมภาพเยอะ ๆ จะเห็นเป็นสี่เหลี่ยมสีจำนวนมากต่อกัน Raster จึงเป็นไฟล์ภาพที่ซับซ้อนที่มีการไล่ระดับสีได้อย่างราบลื่น แต่หากใช้การย่อ หรือ เพิ่มขนาด จะเริ่มเห็นความแตกของ Pixel ไฟล์ประเภท Raster เช่น JPEG, PSD, PNG และ TIFF

Vector images เป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่แสดงในรูปแบบของรูปทรงเรขาคณิต ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรมกราฟฟิก รูปแบบภาพจะถูกกำหนดโดยชุดของพารามิเตอร์ทางคณิตศาสตร์จึงสามารถปรับขนาดขึ้นหรือลงได้โดยไม่เสียคุณภาพ ตัวอย่างของไฟล์ Vector เช่น AI, EPS และ SVG

ภาพกราฟิกแบบ raster มีหลายนามสกุลข้อใดไม่ใช่
ภาพ – iT24Hrs

ชนิดไฟล์ที่เป็นที่รู้จัก

  • JPEG หรือ JPG เป็นรูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะไฟล์ภาพที่มาจากกล้องถ่ายรูป หรือสามารถอัปโหลดใน social media ต่าง ๆ รวมถึงสามารถปริ้นท์ได้เช่น

จุดเด่น : ใช้กันแพร่หลายเป็นที่นิยม โปรแกรมเกือบทุกโปรแกรมรองรับ JPG และที่สำคัญมีขนาดไฟล์ที่น้อย ทำให้ประหยัดพื้นที่จัดเก็บ

จุดด้อย : ถ้าเซฟรูปมาแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ คุณภาพไฟล์ค่อนข้างมีข้อจำกัด ดังนั้นเวลานำไปใช้งาน อาจพบเจอปัญหาภาพแตก

  • TIFF เป็นรูปแบบไฟล์คุณภาพสูง นิยมใช้การอุตสาหกรรมการพิมพ์งานที่ต้องใช้ความละเอียดสูง หรือ ขนาดใหญ่

จุดเด่น : ด้วยความที่มีการบีบอัดภาพที่น้อย ทำให้ไฟล์มีคุณภาพมาก รองรับโปรแกรมเกือบทุกโปรแกรม ที่สำคัญคือสามารถทำพื้นหลังให้โปร่งใสได้

จุดด้อย : ตัวไฟล์จะมีขนาดใหญ่มาก ทำให้ในบางครั้งอาจจะใหญ่กว่าไฟล์ Raw และ JPEG

  • PNG เป็นรูปแบบไฟล์ที่นิยมที่สุด มักนิยมในการใช้งานบนเว็บไซต์ ไม่เหมาะกับงานพิมพ์ ไฟล์ PNG ถูกออกแบบมาเพื่อแทนที่ไฟล์ GIF ด้วยการบีบอัดที่ไม่เสียคุณภาพ ทำให้มีความนิยมมากกว่าไฟล์ GIF

จุดเด่น : รองรับสีมากกว่าไฟล์ GIF มีการบีบอัดโดยไม่สูญเสียคุณภาพ สามารถบันทึกภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้

จุดด้อย :​ เนื่องจากเหมาะกับไฟล์ สี RGB มากกว่า ทำให้ไม่เหมาะกับการพิมพ์

  • GIFเป็นรูปแบบไฟล์ที่มักจะถูกทำให้เป็นภาพเคลื่อนไหว และแบนเนอร์เว็บไซต์ มักจะถูกใช้ในสื่อโซเชียล

จุดเด่น : โหลดได้อย่างเร็ว สามารถเคลื่อนไหวได้ ขนาดไฟล์เล็กมาก และยังทำพื้นหลังโปร่งใสได้

จุดด้อย :​ ความจำกัดเรื่องสีของภาพ (Max 256) ไม่รองรับ CMYK

  • PSD เป็นรูปแบบไฟล์ที่เกิดจากโปรแกรม Photoshop นิยมใช้การพิมพ์ เพราะสามารถจัดการไฟล์ได้อย่างยืดหยุ่นสำหรับโรงพิมพ์ 

จุดเด่น :  รองรับพื้นหลังโปร่งใส สามารถปรับแต่งไฟล์ได้อิสระ และยังสามารถทำงานได้ทั้ง Raster และ Vector

จุดด้อย :​   ไม่เหมาะกับงานที่ภาพขนาดเล็กเพาะไฟล์จะใหญ่มาก เหมาะเฉพาะสำหรับงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น บิลบอร์ดบนทางด่วน เนื่องจากต้องใช้ไฟล์ที่มีความละเอียดสูง

  • RAWเป็นรูปแบบไฟล์ที่นิยมสำหรับวงการช่างถ่ายภาพมืออาชีพ เพราะสามารถจัดการไฟล์ภาพและสามารถแก้ไขภาพได้อย่างสูงสุด

จุดเด่น :  การแก้ไขไฟล์ชนิดนี้มีประสิทธิภาพมาก เพราะการจัดเก็บข้อมูลของไฟล์ มีคุณภาพที่สูงมากแม้ถูกแก้ไขหรือปรับแต่ง

จุดด้อย :​  ไฟล์มีขนาดใหญ่มาก และในบางโปรแกรมไม่รองรับไฟล์ชนิดนี้ อาจต้องเสียเวลาแปลงไฟล์ให้เป็นรูปแบบอื่นก่อนถึงจะสามารถใช้งานได้

  • EPS เป็นรูปแบบไฟล์หนึง่ของ Vector ที่มักจะถูกใช้กับ Logo หรือ Icon

จุดเด่น :  สามารถใช้ได้ทุกขนาดไม่ว่าจะเล็ก กลาง ใหญ่ โปรแกรมส่วนใหญ่รองรับไฟล์ชนิดนี้ อีกทั้งยังสามารถแปลงเป็น Raster ได้ง่ายอีกด้วย

จุดด้อย :  ถึงแม้จะสามารถแก้ไขได้ แต่ก็มีเพียงแค่โปรแกรมไม่กี่โปรแกรมที่สามารถจัดการหรือแก้ไขไฟล์นี้ได้ เช่น Illustrator

ภาพกราฟิกแบบ raster มีหลายนามสกุลข้อใดไม่ใช่
ภาพ – iT24Hrs

  • SVG เป็นรูปแบบไฟล์เหมาะกับการทำเว็บไซต์ Responsive อย่างมาก 

จุดเด่น : สามารถใช้งานเป็น Raster หรือ Vector ก็ได้ สามารถปรับขนาดได้ โดยไม่เสียความคุณภาพและความละเอียดของภาพ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มโดยตรงไปยัง HTML โดยไม่ต้องลิงค์รูปภาพและสำหรับ CSS ค้นหาและบีบอัดได้ง่าย

จุดด้อย :​  ไม่เหมาะกับงานภาพที่มีความลึกสีสูงๆ หรือ งานพิมพ์

  • PDF เป็นรูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้อย่างมากในงานที่เกี่ยวกับเอกสาร แต่บ่อยครั้งจะพบเห็นในการใช้พิมพ์ไฟล์ภาพขนาดใหญ่ 

จุดเด่น : สามารถแสดงผลได้ทั้ง Vector, Raster และข้อความ รองรับโปรแกรมที่หลากหลาย อีกทั้งยังสามารถมีรูปภาพหรือข้อมูลมากกว่าหนึ่งหน้า

จุดด้อย :​  เป็นเรื่องที่ยากถ้าอยากจะแก้ไขงาน และไม่เหมาะกับการใช้งานบนเว็บ

  • BMP ไม่ค่อยนิยมใช้งานในปัจจุบัน เนื่องจากจำกัดเฉพาะ Windows OS

จุดเด่น : คุณภาพสูงมาก เนื่องจากไม่มีการบีบอัดเลย 

จุดด้อย :  ขนาดไฟล์ค่อนข้างใหญ่ และไม่รองรับงาน CMYK เลย ทำให้ไม่เหมาะกับการพิมพ์ อีกทั้งยังจำกัดใช้ได้แค่เพียง Windows OS เท่านั้น เพราะรูปแบบไฟล์นี้ ถูกพัฒนามาจากบริษัท Microsoft นั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างกับรูปแบบไฟล์ทั้งหมดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ต่อไปนี้ถ้าเราต้องทำงานร่วมกับ กราฟฟิกดีไซน์หรือนักออกแบบมืออาชีพ เราจะได้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลลัพธ์ที่ออกมาดีที่สุด ตรงกับความต้องการมากที่สุด

ภาพกราฟิกแบบ Raster มีหลายนามสกุลข้อใด

นามสกุลที่ใช้เก็บแฟ้มภาพกราฟิกแบบ Raster มีหลายนามสกุล เช่น . BMP, . DIB, . JPG, .

นามสกุลไฟล์ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ มีอะไรบ้าง

ประเภทไฟล์เวกเตอร์ที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ AI (Adobe Illustrator), EPS (Encapsulated PostScript), PDF (Portable Document Format) และ SVG (Scalable Vector Graphics)

ภาพ Raster มีอะไรบ้าง

ไฟล์ราสเตอร์ประเภทต่างๆ.
Joint Photographic Experts Group (JPEG).
Portable Network Graphics (PNG).
Graphics Interchange Format (GIF).
Bitmap Image File (BMP).
Tagged Image File Format (TIFF).
Adobe Photoshop File (PSD).

นามสกุลที่ใช้ในการสร้างภาพกราฟิก คืออะไร

ไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File) ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer's Experts Group) ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)