ภาษาเครื่องเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคใด


                                                 ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์

                   ภาษาคอมพิวเตอร์มีการพัฒนา หรือมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ ซึ่งจะสามารถแบ่งออกเป็น
    ยุคของภาษา (Generation) ซึ่งในยุคหลังๆ จะมีการพัฒนาภาษาให้มีความสะดวกในการอ่าน และเขียน
    ง่ายขึ้นกว่าภาษาในยุคแรกๆ เนื่องจากจะมีโครงสร้างภาษาใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่
    มนุษย์เข้าใจได้

ภาษาเครื่องเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคใด


                                                            ระดับภาษาคอมพิวเตอร์
                   อ้างอิง : https://sites.google.com/site/benzthitiya/radab-khxng-phasa-khxmphiwtexrภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ยุค ดังนี้1. ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจได้ยาก เพราะใช้เลขฐาน-
    สอง แทนข้อมูล คือ (0 และ 1) แทนลักษณะของการปิด (Off) และเปิด (On) และคำสั่งต่างๆ ทั้งหมด
    จะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ คือ แต่ละเครื่องก็จะมี
    รูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อ
    แทนคำสั่งต่างๆ เป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการพัฒนามาก ภาษาชนิดนี้ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี
 

ภาษาเครื่องเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคใด


                                                          ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์
                     อ้างอิง : https://sites.google.com/site/benzthitiya/radab-khxng-phasa-khxmphiwtexr

                     2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) เป็นภาษาที่มีการใช้ตัวอักษรในภาษา -
    อังกฤษ มาแทนคำสั่งที่เป็นเลขฐานสอง (0 , 1) และเรียกอักษรสัญลักษณ์ที่เป็นคำสั่งนี้ว่า สัญลักษณ์
    ข้อความ (mnemonic codes) เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากกว่าภาษาเครื่อง ภาษาแอส -
    เซมบลี ยังจัดเป็นภาษาระดับต่ำ (Low-level language) มีการใช้สัญลักษณ์มาใช้ในการเขียนโปรแกรม

ภาษาเครื่องเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคใด

                            อ้างอิง : https://milerdev.blogspot.com/2016/11/2-assembly-language.html

                     สัญลักษณ์เหล่านี้จะไม่ใช่คำที่มีความหมายในภาษาอังกฤษ แต่สามารถทำให้นักเขียน
    โปรแกรม สามารถเขียนโปรแกรมได้สะดวกสบายมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องจดจำเลข 0 และ 1 ของ
    เลขฐานสองอีก นอกจากนี้ภาษาแอสเซมบลี ยังให้ผู้เขียนใช้ตัวแปรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการเก็บค่าข้อมูล
    ใดๆ เช่น X, Y, RATE หรือ TOTAL แทนการอ้างถึงตำแหน่งที่เก็บข้อมูลจริงๆ ภายในหน่วยความจำ
                     การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสเซมบลีนั้น เมื่อนำมาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่อง-
    คอมพิวเตอร์ จะไม่สามารถที่จะเข้าใจภาษาแอสเซมบลีได้ จึงต้องมีการแปลภาษาแอสเซมบลีนั้นให้
    กลายเป็นภาษาเครื่องก่อน โดยใช้ตัวแปลภาษาแอสเซมบลีที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์(Assembler)
    เป็นตัวแปล นอกจากนี้ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง
    ของฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีเนื่องจากจะต้องควบคุมการทำงานของหน่วยความจำ หรืออุปกรณ์ภายใน
    เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ดังนั้นภาษาแอสเซมบลีจึงเหมาะที่จะใช้เขียนงานที่ต้องการความเร็วในการ
    ทำงานสูงๆ เช่น งานทางด้านกราฟิก หรือ งานพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบต่างๆ
                     ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ภาษาแอสเซมบลีจะเป็นภาษาที่ง่ายกว่าการเขียนด้วยภาษาเครื่อง
    แต่ก็ยังถือว่าเป็นภาษาระดับต่ำที่ยากต่อการเขียนของนักพัฒนาโปรแกรมมาก จึงไม่เป็นที่นิยมในการ
    นำมาพัฒนาโปรแกรมมากนัก
                                                       ตัวอย่างภาษาแอสเซมบลีแสดงดังนี้

                                                                                                                                  B80103 mov ax,00301
                                                                    B90100 mov cx,00001
                                                                    BA8000 mov dx,00080
                                                                    CD12 int 013
                                                                    C3 retn

ภาษาเครื่องเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคใด

                                                                การแปลภาษาแอสเซมบลี
                 อ้างอิง : https://sites.google.com/site/benzthitiya/radab-khxng-phasa-khxmphiwtexr

                     3. ภาษาระดับสูง (High-level Language) เป็นภาษารุ่นที่ (3rd Generation Language
    หรือ 3GLs) เป็นภาษาที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนและอ่านโปรแกรมได้ง่ายขึ้นเนื่องจากมีลักษณะ
    เหมือนภาษาอังกฤษ และที่สำคัญ คือ ผู้เขียนโปรแกรม ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์
    แต่อย่างใด ตัวอย่างของภาษาประเภทนี้ ได้แก่ ภาษาฟอร์แทรน (Fortran) โคบอล (Cobol) เบสิก (Ba-
    sic) ปาสคาล (Pascal) ซี (C) เป็นต้น
                     โปรแกรมที่ถูกเขียนด้วยภาษาประเภทนี้จะทำงานได้เมื่อมีการแปลให้เป็นภาษาเครื่องก่อน
    ซึ่งวิธีการแปลจากภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องทำโดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่า คอมไพเลอร์
    (Compiler) หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) อย่างใดอย่างหนึ่งในการแปลภาษาโดยภาษาระดับสูง
    แต่ละภาษาจะมีตัวแปลภาษาเฉพาะของตัวเอง ดังนั้น จึงไม่สามารถนำตัวแปลของภาษาหนึ่งไปใช้กับ
    อีกภาษาหนึ่งได้ เช่น ภาษาโคบอลจะมีตัวแปลภาษาที่เรียกว่า โคบอลคอมไพเลอร์ ไม่สามารถนำ
    คอมไพเลอร์ของภาษาโคบอลนี้ไปใช้แปลภาษาปาสคาลได้ เป็นต้น
                     การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาขั้นสูงนั้นนอกจากจะให้ความสะดวกแก่ผู้เขียนแล้ว ผู้เขียนยัง
    ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์มากนักก็สามารถเขียนโปรแกรมสั่งให้
    เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ นอกจากนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างคือ สามารถนำโปรแกรมที่เขียนนี้ไปใช้งาน
    บนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใดๆ ได้ไม่จำกัดเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware Independent) แต่ต้องทำการ
    แปล โปรแกรมใหม่เท่านั้น อย่างไรก็ตามภาษาเครื่องที่ได้จากการแปลภาษาระดับสูงนี้ ประสิทธิภาพ
    ของการทำงานยังไม่เท่ากับการเขียนด้วยภาษาเครื่องหรือแอสเซมบลีโดยตรง
                     ภาษาชั้นสูง จัดเป็นภาษามีแบบแผน (Procedural Language) เนื่องจากลักษณะการเขียน
    โปรแกรมจะมีโครงสร้างแบบแผนที่เป็นระเบียบ คือ งานทุกอย่างผู้เขียนโปรแกรม ต้องเขียนโปรแกรม
    ควบคุมการทำงานเองทั้งหมด และต้องเขียนคำสั่งการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
    การสร้างแบบฟอร์มกรอกข้อมูล การประมวลผลหรือการสร้างรายงาน ซึ่งโปรแกรมที่เขียนจะซับซ้อน
    และใช้เวลานานในการพัฒนานาน

ภาษาเครื่องเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคใด

                                                            ภาษาและการแปลภาษาระดับสูง
                  อ้างอิง : https://sites.google.com/site/benzthitiya/radab-khxng-phasa-khxmphiwtexr                     4. ภาษาระดับสูงมาก (Very high-level Language) เป็นภาษารุ่นที่ 4 (4GLs: Fourth-
    Generation Languages) ลักษณะของภาษาเป็นภาษาธรรมชาติคล้ายกับภาษาพูดของมนุษย์ จะช่วยใน
    เรื่องของการสร้างแบบฟอร์มบนหน้าจอ เพื่อจัดการเกี่ยวกับข้อมูลรวมไปถึงการออกรายงาน ซึ่งมีการ
    จัดการ ที่ง่ายมากไม่ยุ่งยากเหมือนภาษารุ่นที่ ตัวอย่างของภาษาในรุ่นที่ได้แก่ Informix-4GLFocus
    Sybase InGres เป็นต้น
                         ลักษณะของภาษาระดับสูงมาก (4GLs) ดังนี้
                         4.1 เป็นภาษาแบบ Nonprocedural คือ ผู้พัฒนาโปรแกรมไม่จำเป็นจะต้องเขียนโปร-
    แกรม  ในทุกส่วนเอง เพียงแต่กำหนดสิ่งต่างๆ ตามที่ต้องการแล้วให้คอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนดราย -
    ละเอียดต่างๆ ให้ เช่น การสร้างแบบฟอร์มการรับข้อมูลจากผู้ใช้งาน เขียนโปรแกรมเพียงแต่ทำการ
    ออกแบบหน้าตาของแบบฟอร์มนั้นบนโปรแกรมอิดิเตอร์ (Editor) นั้น และเซฟเป็นไฟล์ไว้ เมื่อจะเรียก
    ใช้งานแบบฟอร์มก็เพียงแต่ใช้คำสั่งเปิดไฟล์นั้นขึ้นมาแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้โดยทันที ซึ่งต่าง
    จากภาษาระดับที่ ซึ่งเป็นแบบ Procedural ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเขียนรายละเอียดของโปรแกรม
    ทั้งหมดว่าที่บรรทัดนี้ คอลัมน์จะให้แสดงข้อความหรือข้อมูลอะไรออกมา ซึ่งถ้าต่อไปจะมีการปรับเปลี่ยน
    หน้าตาของแบบฟอร์มก็จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างยิ่ง ในการสร้างรายงานด้วย 4GLs ก็สามารถทำได้
    อย่างง่าย เพียงแต่ระบุลงไปว่าต้องการรายงานอะไร มีข้อมูลใดที่จะนำมาแสดงบ้าง โดยไม่ต้องบอกถึง
    วิธีการสร้าง หรือการดึงข้อมูลแต่อย่างใด โดยการเขียนโปรแกรมภาษา 4GLs จัดการคำสั่งนั้นเป็นให้
    ตรงความต้องการของผู้เขียนโปรแกรม
                         ดังนั้นจะเห็นว่า ภาษาระดับที่ 4 เป็นภาษาที่ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่บอกว่าต้องการ
    อะไร (What) แต่ไม่ต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอย่างไร (How) แต่ภาษารุ่นที่ ผู้เขียนโปรแกรม
    ต้องบอกคอมพิวเตอร์ทั้งหมดว่าต้องการทำอะไร และต้องบอกด้วยว่าต้องทำอย่างไร ซึ่งจะต้องสั่งให้
    คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นขั้นตอนและคอมพิวเตอร์ก็จะมีหน้าที่ทำงานตามที่ผู้เขียนโปรแกรมสั่ง
                         อย่างไรก็ตาม 4GLs ก็สามารถมีรูปแบบเป็น Procedural ได้ด้วย เนื่องจากงานบางงาน
    อาจมีความซับซ้อน จึงต้องอาศัยการเขียนโปรแกรมที่เป็นแบบ Procedural เข้าช่วยด้วย จึงสรุปได้ว่า
    4GL จะมีรูปแบบผสมระหว่าง Procedural และ Nonprocedural
                         4.2 การเขียนโปรแกรมระดับสูงมาก 4GLs ส่วนใหญ่จะเขียนโปรแกรมเพื่อควบคู่
    กับระบบฐานข้อมูล โดยผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลจะสามารถจัดการฐานข้อมูลได้โดยผ่านทาง 4GLs นี้
                         ส่วนประกอบของภาษาระดับสูงมาก 4GLs โดยทั่วไปจะมีส่วนสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
                         ส่วนที่ 1 เครื่องมือช่วยสร้างรายงาน (Report Generators)  เป็นโปรแกรมสำหรับ
    ผู้ใช้ (End-users) ให้สามารถเขียนรายงานอย่างง่ายได้ด้วยตนเอง โดยผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไข
    และข้อมูลที่นำออกมาพิมพ์รายงาน รวมถึงรูปแบบของการพิมพ์ไว้ โปรแกรมช่วยสร้างรายงานนี้จะ
    ทำการพิมพ์รายงานตามรูปแบบที่กำหนดไว้ให้
                         ส่วนที่ 2 ภาษาช่วยค้นหาข้อมูล (Query Languages) เป็นภาษาที่ช่วยในการค้นหาหรือ
    ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล ภาษานี้จะง่ายต่อการใช้งานมาก เนื่องจากจะอยู่ในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับภาษา
    อังกฤษมากตัวอย่างเช่น ภาษา SQL (Structured Query Language)
                         ส่วนที่ 3 เครื่องมือช่วยสร้างโปรแกรม (Application Generators)จะมีรูปแบบการเขียน
    โปรแกรมเฉพาะตัว และสามารถเรียกใช้เครื่องมือช่วยสร้างโปรแกรมนี้ทำการแปลง 4GLs ให้กลายเป็น
    โปรแกรมภาษารุ่นที่ 3 ได้ เช่น ภาษาโคบอล หรือภาษาซี ซึ่งอาจนำภาษาโคบอล หรือภาษาซีที่แปลง
    แล้ว ไปพัฒนาต่อ เพื่อใช้งานที่ซับซ้อนมากๆ ต่อไปได้
                     5. ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) เป็นภาษาในยุคที่ 5 ที่มีรูปแบบเป็นแบบ Non-
    procedural เช่นเดียวกับภาษาระดับที่ ที่เรียกว่าภาษาธรรมชาติ เพราะสามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้
    โดยใช้ภาษามนุษย์ได้โดยตรงโดยทั่วไป คำสั่งที่มนุษย์ป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ จะอยู่ในรูปแบบของ
    ภาษาพูดมนุษย์ซึ่งอาจมีรูปแบบที่ไม่แน่นอนตายตัว แต่คอมพิวเตอร์สามารถแปลคำสั่งนั้นให้อยู่ใน
    รูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
                         ภาษาธรรมชาตินี้สร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบ (Expert System)
    ซึ่งเป็นงานที่อยู่ในสาขาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์
    เปรียบเสมือนกับเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งที่สามารถคิดและตัดสินใจได้เช่นเดียวกับมนุษย์ คอมพิวเตอร์
    สามารถตอบคำถามของมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งมีข้อแนะนำต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของ
    มนุษย์ได้ด้วย ระบบผู้เชี่ยวชาญนี้จะใช้กับงานเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ในด้านการแพทย์ ในด้าน
    พยากรณ์อากาศ ในการวิเคราะห์ทางเคมี การลงทุน ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล และข่าวสาร
    จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหล่านั้นและแปลงข้อมูล และเก็บไว้ในรูปแบบของระบบฐานข้อมูลของผู้
    เชี่ยวชาญ ที่เรียกว่าฐานความรู้ (Knowledge Base) ซึ่งจะต้องเก็บข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และให้ผู้
    ใช้ สามารถใช้กับภาษาธรรมชาติ ในการดึงข้อมูลจากฐานความรู้นี้ได้ ดังนั้นเราจึงอาจเรียกระบบผู้
    เชี่ยวชาญนี้ได้อีกอย่างว่า ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base System)

   

ภาษาเครื่องเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคใด
  คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์                                                                         
ภาษาเครื่องเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคใด
   โครงสร้างของข้อมูล