ดีเซล กับ ดีเซล b7 ต่างกันยังไง

ดีเซล B7 จะเป็นน้ำมันดีเซลทั่วไป มีสัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลประมาณ 6.6 – 7%  ส่วนที่เหลือเป็นน้ำมันดีเซล น้ำมันดีเซล B7 ยังคงมีจำหน่าย เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับรถเก่า หรือรถยุโรปที่ไม่รองรับ B10

2. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10

ดีเซล B10 จะมีการผสมน้ำมันไบโอดีเซลสัดส่วนที่ 9-10% ซึ่งปัจจุบันได้ถูกกำหนดให้เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานของประเทศไทย ช่วยสร้างเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมีการใช้ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น ทั้งยังช่วยลดมลพิษอีกด้วย

3. น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20

ดีเซล B20 มีสัดส่วนของไบโอดีเซลถึง 19 – 20% ซึ่งในปัจจุบันเป็นน้ำมันทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ และมีรถกระบะบางรุ่นที่สามารถรองรับน้ำมันประเภทนี้ได้

ดีเซล กับ ดีเซล b7 ต่างกันยังไง

ประโยชน์จากการใช้น้ำมันดีเซล B10 

1. ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ตามสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิงชีวภาพ 

2. ช่วยเกษตรกร ให้ราคาปาล์มน้ำมันราคาสูงขึ้น แก้ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ

3. ช่วยลดมลพิษ (ปริมาณฝุ่น PM 2.5)  จากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนที่สูงขึ้น

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า ยานพาหนะและการขนส่งถือเป็นแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือคิดเป็นร้อยละ 72.5 จากการศึกษาพบว่าปริมาณการระบาย PM 2.5 สูงสุดมาจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ได้แก่ รถบรรทุก 28% รถกระบะ 21% รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ดีเซล) 10% รถบัส 7% รถตู้ 1.5% (มอเตอร์ไซค์ 5% ที่ใช้เบนซิน)  หากร่วมกันหันมาใช้น้ำมัน B10 ทั้งหมด ก็จะช่วยลดมลพิษได้กว่า 40 - 50% ปัญหาฝุ่นพิษก็จะทุเลาเบาบางลง


4. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

เนื่องจากคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) จูงใจให้คนหันมาเติมน้ำมันดีเซล B10 มากขึ้น ด้วยการทำให้ราคาดีเซลB10 ถูกลงกว่าดีเซล B7 ที่ 2 บาทต่อลิตร

การใช้น้ำมันดีเซล B10เหมาะ ยี่ห้อและรถรุ่นไหนบ้าง 

การใช้น้ำมันดีเซล B 10 กับเครื่องยนต์ที่สามารถรองรับการใช้งานจะไม่มีผลกระทบกับเครื่องยนต์ ตามที่ผู้ผลิตรถยนต์ให้การรับรองการใช้งาน โดยสามารถตรวจสอบรุ่นรถ ได้จากประกาศกรมธุรกิจพลังงานเรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 หรือที่เว็บไซต์กรมธุรกิจพลังงาน ได้ที่ elaw.doeb.go.th

ณ เดือนกรกฎาคม 2562 มีรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซล ประมาณ 10.5 ล้านคัน เป็นรถที่ใช้น้ำมันดีเซล B 10 ได้ ประมาณ 5.3 ล้านคัน หรือ 50%  ได้แก่รถยี่ห้อ TOYOTA,  ISUZU, NISSAN, FORD, FUSO, Chevrolet,  MITSUBISHI,  Volvo Trucks, Hino, MAN, SCANIA, UD Trucks, Mercedes-Benz  ที่เหลือจะเป็นรถยนต์ดีเซลราคาแพง และรถเก่ามากๆ

รถที่เติม B10 ไม่ได้จะทำอย่างไร

รถยนต์ที่ไม่สามารถเติม น้ำมันดีเซล B 10 ได้ เช่น รถที่มีอายุการใช้งานมานานแล้ว รถยุโรป ได้แก่ Benz, Hyundai, Tata ,BMW, Honda, Mazda, Audi, Peugeot , Volvo  ยังสามารถเติมน้ำมันดีเซล B7 ได้ 

รู้จักน้ำมันดีเซล B5 แตกต่างอย่างไรกับ B7 ก่อนการประกาศปรับลดสูตรผสมน้ำมันไบโอดีเซล B100 เป็น B5 ตั้งแต่ 5 ก.พ. ถึง 31 มี.ค.

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา ได้เห็นชอบปรับลดสูตรผสมน้ำมันไบโอดีเซล (B100) จากปัจจุบันมี B7 เกรดเดียว ให้เป็น B5 มีผลตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565 เพื่อรักษาระดับความผันผวนของราคาน้ำมันในการตรึงราคาดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร

  • โครเอเชีย คว้าที่สาม เฉือนโมร็อกโก สมศักดิ์ศรี ฟุตบอลโลก2022
  • พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
  • เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เสด็จติดตามพระอาการ พระองค์ภาฯ ปชช.ทั่วสารทิศร่วมลงนามถวายพระพร

ก่อนหน้านี้ กบง. มีมติปรับสูตรดีเซลจาก B7 B10 และ B20 เหลือเพียง B7 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565 แต่เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นมาก จึงต้องใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุดหนุนลิตรละ 3.09 บาท ดังนั้น กบง.จึงพิจารณามาตรการใหม่เพื่อลดต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลอย่างเร่งด่วน

ขณะที่ต้นทุนน้ำมัน B100 ยังอยู่ระดับสูง ส่งผลให้ราคาน้ำมัน B100 ที่ผสมในน้ำมัน B7 พุ่งไปอยู่ที่ 2-3 บาทต่อลิตร

โดยในวันนี้ (4 ก.พ.) จะมีการแจ้งต่อคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำแห่งชาติ (กนป.) เพื่อขอความเห็นชอบ ก่อนประกาศในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565

เพื่อทำความเข้าใจแนวทางการลดต้นทุนของน้ำมันดีเซล “ประชาชาติธุรกิจ” เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างน้ำมันดีเซล B5 และ B7 ให้เข้าใจง่าย ดังนี้

ไบโอดีเซลคืออะไร

แต่ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักน้ำมันดีเซลทั้ง 2 สูตร จำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าไบโอดีเซลคืออะไร ?

ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ระบุว่า ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ใช้งานได้เหมือนน้ำมันดีเซลธรรมดา แต่ผลิตจากวัสดุทางชีวภาพ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Bio หรือ “ไบโอ” จึงได้ชื่อว่า “ไบโอดีเซล” ซึ่งทำได้โดยนำน้ำมันพืชและน้ำมันประกอบอาหารที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการทางเคมีกลายเป็นไบโอดีเซล

ประเทศไทยมีพืชน้ำมันที่สามารถใช้ผลิตไบโอดีเซลได้หลากหลายมากมาย ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ ถั่วลิงสง งา ทานตะวัน ละหุ่ง ถั่วเหลือง และมะพร้าว

โดยเราสามารถนำไบโอดีเซลมาผสมในน้ำมันดีเซลได้ตามสัดส่วนที่ต้องการ กรณีที่ใช้ไบโอดีเซลล้วน ๆ เรียกว่า “ไบโอดีเซล 100%” หรือ B100 ซึ่งเหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลรอบต่ำ หรือพวกเครื่องจักกลการเกษตร

Advertisement

ดีเซล B5 คืออะไร

แต่หากต้องการหมุนเร็วหรือใช้ในรถยนต์ก็จะผสมในสัดส่วนไบโอดีเซล 5 ส่วน ต่อน้ำมันดีเซล 95 ส่วน ได้เป็นไบโอดีเซลสูตร B5 ซึ่งเป็นสูตรที่ได้ทดลองใช้ในรถยนต์แล้วว่าสามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้เป็นอย่างดี ไม่มีปัญหา ตามข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

มีคำแนะนำจากกูรูรถยนต์ว่า ดีเซล B5 สามารถใช้ได้กับทุกเครื่องยนต์ดีเซล โดยไม่จำเป็นต้องปรับแต่งเครื่องยนต์ใด ๆ แต่หากไม่มั่นใจสามารถสอบถามผ่านศูนย์บริการแต่ละยี่ห้อได้

ส่วนกรณีที่หลายคนกังวลว่าดีเซล B5 จะสร้างปัญหาให้กับรถกลุ่มหัวฉีดไฟฟ้า เนื่องจากส่วนผสมที่เข้มข้นขึ้น แนะนำให้หมั่นทำความสะอาดหัวฉีดเป็นประจำจะช่วยชะล้างคราบสกปรกได้

สาเหตุที่เลิกใช้ดีเซล B5 ในช่วงก่อนหน้านี้ เนื่องจากกรมธุรกิจพลังงานได้ออกประกาศปรับลดสัดส่วนผสมน้ำมันไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลจากน้ำมัน B5 เป็นน้ำมัน B3 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2559 เป็นต้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปาล์มน้ำมันที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล เพราะช่วงนั้นประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งที่ต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดน้อยลง

ประกาศฉบับดังกล่าว ได้มีการปรับลดสัดส่วนผสมน้ำมันไบโอดีเซลขั้นต่ำ จากไม่ต่ำกว่า 5% เป็นไม่ต่ำกว่า 3% ซึ่งการปรับสูตรเพื่อลดการใช้น้ำมันไบโอดีเซลลง จะทำให้จำนวนการรับซื้อปาล์มจากเกษตกรลดลง ส่งผลต่อรายได้ผู้ปลูกปาล์มในประเทศ

ดีเซลสูตร B7 คืออะไร

ส่วนไบโอดีเซลสูตร B7 นั้น มีสัดส่วนของไบโอดีเซลผสมอยู่ในน้ำมันดีเซลที่ 6.6 – 7.0% หมายความว่ามีปริมาณน้ำมันดีเซลมากกว่าไบโอดีเซล เหมาะสำหรับรถเก่าและรถยุโรป

สรุปให้เข้าใจง่ายคือ ดีเซล B5 คือการผสมไบโอดีเซล 5% และ B7 คือการผสมไบโอดีเซล 7% ที่เหลือเป็นน้ำมันดีเซล ดังนั้น รถเก่าจึงเหมาะที่ใช้น้ำมันที่มีการผสมไบโอดีเซลในสัดส่วนที่น้อย

ดีเซลธรรมดากับดีเซล B7 แตกต่างกันยังไง

น้ำมันดีเซลแบบเดิมๆ ที่เราเคยใช้กันนั้น มีชื่อพ่วงท้ายเพิ่มขึ้นมาคือ ดีเซล B7 ความแตกต่างในการเรียกนั้นอยู่ที่สัดส่วนของไบโอดีเซล โดยน้ำมันดีเซล B7 มีสัดส่วนของไบโอดีเซลผสมอยู่ในน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 6.6 – 7.0% นั่นก็หมายความว่าจะมีปริมาณน้ำมันดีเซลมากกว่าไบโอดีเซลที่ใส่ลงไป เหมาะสำหรับรถเก่าและรถยุโรป ซึ่งถ้าใครไม่แน่ใจ ...

ดีเซล B7 ใช้กับรถอะไรได้บ้าง

รถยนต์ดีเซลทั่วไปที่ใช้ B10 ได้ อาทิ โตโยต้า อีซูซุ นิสสัน ฟอร์ด เอ็มจี เชฟโรเลต มิตซูบิชิ วอลโว่ (ใหญ่) ฮีโน่ บีเอ็มดับบลิว (ใหญ่) เดมเลอร์ เบนซ์ (ใหญ่) ส่วน B7 ใช้กับรถเก่า รถยุโรป อาทิ เบนซ์ ฮุนได ทาทา บีเอ็มดับบลิว ฮอนด้า มาสด้า ออดี้ เปอโยต์ วอลโว่ (เล็ก) ขณะที่ B20 ใช้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่

ดีเซลบี7คืออะไร

1. น้ำมันดีเซล B7 (น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ) ดีเซล B7 จะเป็นน้ำมันดีเซลทั่วไป มีสัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลประมาณ 6.6 – 7% ส่วนที่เหลือเป็นน้ำมันดีเซล น้ำมันดีเซล B7 ยังคงมีจำหน่าย เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับรถเก่า หรือรถยุโรปที่ไม่รองรับ B10.

ดีเซล บี7 กับ บี10 ต่างกันยังไง

โดยนโยบายส่งเสริมน้ำมัน B10 คือ การเพิ่มสัดส่วนการใช้ไบโอดีเซลให้มากขึ้น จากเดิมที่น้ำมัน B7 ผสมไบโอดีเซลในน้ำมันเพียง 7% ก็ได้เพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็น 10% หรือ B10 เพื่อช่วยแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันล้นตลาดและลดการนำเข้าน้ำมัน ซึ่งหากรถยนต์เครื่องดีเซลหันมาใช้ B10 แบบเต็มตัว จะสามารถประหยัดการนำเข้าได้มากถึง 1.8 ล้านลิตร/วัน