น้ำมันดีเซล B7 กับ น้ำมันดีเซล ต่าง กัน อย่างไร

น้ำมันดีเซล "พรีเมี่ยม" ความคุ้มค่าที่ตาเปล่ามองไม่เห็น

01 ต.ค. 2564   ผู้เข้าชม 3,050

เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้ขับขี่ได้อย่างเต็มที่ น้ำมันเชื้อเพลิงในปัจจุบัน ไม่ได้มีเพียงเกรดเดียวให้ผู้บริโภคเลือกใช้อีกต่อไป ด้วยการแข่งขันในเรื่องของคุณภาพน้ำมัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้อย่างอิสระ และมีประสิทธิภาพต่อเครื่องยนต์สูงสุด จึงทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงถูกจัดสรรเป็นเกรดต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกใช้งาน

เช่นเดียวกับน้ำมันดีเซล ในปัจจุบันได้มีตัวเลือกให้กับผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ทั้ง น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม และน้ำมันดีเซลทั่วไป ทั้งแบบ น้ำมัน B7น้ำมัน B10 และน้ำมัน B20 ซึ่งข้อสงสัยที่ตามมาสำหรับการใช้งานคือ แบบพรีเมี่ยม และทั่วไปมีความแตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้ เราพร้อมตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง และเรื่องของราคาน้ำมันดีเซลที่แตกต่างกัน

สารบัญ

  • ความแตกต่างระหว่าง น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม และ น้ำมันดีเซล ทั่วไป
    • น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม 
    • น้ำมัน B7
    • น้ำมัน B10
    • น้ำมัน B20

ความแตกต่างระหว่าง น้ำมันดีเซลพรีเมี่ยม และ น้ำมันดีเซล ทั่วไป

หากพูดถึงข้อแตกต่าง ข้อเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัดคือ อัตราในการเร่งความเร็ว และความแรงของเครื่องยนต์ แม้จะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดเดียวกัน แต่น้ำมันดีเซลพรีเมี่ยมกลับมีความพิเศษที่เหนือกว่า  

แม้ว่าราคาน้ำมันดีเซลจะมีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย นั่นเป็นเพราะสารต่าง ๆ ที่ถูกเพิ่มเติมเข้าไป ซึ่งทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าปกติ ดังนั้นราคาที่แตกต่างจึงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ในการเลือกใช้น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม

น้ำมันดีเซลพรีเมี่ยม 

มีสารต่าง ๆ ที่เพิ่มเติมเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 5 และกำมะถัน ที่มีค่าต่ำกว่า 10 ppm และมีค่าซีเทนสูงสุดในระดับที่เครื่องยนต์ต้องการ เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความทนทาน วิ่งได้ไกล สารเหล่านี้ช่วยดึงสมรรถนะของเครื่องยนต์ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ เสริมพลังขับเคลื่อนให้แรงขึ้น แรงบิดมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้หัวฉีดสะอาดขณะใช้งาน แถมยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ให้นานขึ้นอีกด้วย

น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม มีพร้อมให้บริการที่ปั๊มน้ำมันหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ปตท. (PTT) บางจาก (ฺBangchak) เชลล์ (SHELL) หรือ เอสโซ่ (ESSO) ใกล้บ้านคุณ

น้ำมันดีเซล B7 กับ น้ำมันดีเซล ต่าง กัน อย่างไร

น้ำมัน B7

ชื่อเดิมคือ น้ำมันดีเซล ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ ซึ่งต่อมาเมื่อมีการผลิตน้ำมันดีเซลหลาย ๆ เกรดเพิ่มขึ้นมา จึงมีการเปลี่ยนชื่อให้มีความแตกต่างกันไปเพื่อไม่ให้เกิดสับสนในการใช้งาน เป็น “ดีเซล B7” หรือ “น้ำมัน B7” นั่นเอง ความแตกต่างของน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ สัดส่วนของไบโอดีเซล ซึ่งจะอยู่ที่ 6.6-7.0% ถือว่ามีปริมาณของน้ำมันดีเซลมากกว่าน้ำมัน B10 โดยน้ำมันชนิดนี้จะเหมาะสำหรับรถรุ่นเก่า และรถยุโรป

น้ำมัน B10

ถูกเปลี่ยนชื่อกลายเป็น “ดีเซล” ซึ่งมีความแตกต่างจาก น้ำมัน B7 ตรงที่มีสัดส่วนไบโอดีเซลที่มากกว่า หรืออยู่ที่ 9-10% ถือเป็นเกรดน้ำมันที่ได้มาตรฐาน เหมาะสำหรับรถยนต์ทั่วไปในปัจจุบัน ที่ไม่เก่าจนเกินไป มีราคาน้ำมันดีเซลที่ถูกกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรศึกษาให้แน่ใจว่า รถยนต์ที่ใช้นั้นสามารถเติมน้ำมัน B10ได้หรือไม่ เพราะในรถยนต์บางรุ่นที่เป็นรุ่นเก่า น้ำมัน B7อาจจะเหมาะสมกว่า

น้ำมัน B20

น้ำมันดีเซล B20 มีความแตกต่างจาก น้ำมัน B7 และน้ำมัน B10 ตรงที่มีสัดส่วนไบโอดีเซลที่มากกว่า หรืออยู่ที่ 20% ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณที่มากกว่าการใช้งานทั่วไป เช่น รถบรรทุก ขสมก. ISUZU, SCANIA เป็นต้น

น้ำมันดีเซล B7 กับ น้ำมันดีเซล ต่าง กัน อย่างไร

จะเห็นได้ว่า น้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม จะมีความคุ้มค่ามากกว่า และยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้ดีกว่า แม้จะไม่ได้เห็นผลทันตา แต่ส่งผลดีต่อเครื่องยนต์ในระยะยาวอย่างแน่นอน ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลวันนี้อาจจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย แต่หากลองเทียบดูดี ๆ แล้ว ราคาระหว่างน้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซล พรีเมี่ยม ราคาจะแตกต่างกันอยู่ที่ประมาณ 3 บาท / ลิตร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ขับขี่ว่าต้องการเลือกใช้น้ำมันชนิดใด เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้งานของตนเองมากที่สุด

ในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 นี้ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน หรือ  กบง. มีมติปรับสูตรน้ำมันดีเซลจากที่มีหลายสูตรทั้ง ดีเซล B7, ดีเซลธรรมดา, ดีเซล B20 และดีเซลพรีเมียม เหลือเพียงดีเซล​ B7 เท่านั้น พร้อมกับคอยกำกับดูแลราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร

มติของ กบง. ในครั้งนี้จะมีผลกระทบกับผู้บริโภคอย่างไร

จากข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่า การใช้น้ำมันดีเซลในประเทศไทย (อ้างอิงข้อมูลมกราคม-กันยายน 2564) พบว่าประเทศไทยใช้น้ำมันดีเซลเฉลี่ยที่ 61.09 ล้านลิตรต่อวัน

แบ่งเป็น

ดีเซล B7 35.23 ล้านลิตร

ดีเซลธรรมดา  22.64 ล้านลิตร

ดีเซล B20 1.06 ล้านลิตร

และอื่น ๆ 2.16 ล้านลิตร

น้ำมันดีเซล B7 กับ น้ำมันดีเซล ต่าง กัน อย่างไร

จากข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงาน พบว่าการใช้งานดีเซล B7 กินสัดส่วนประมาณ 57.7% ของการใช้น้ำมันดีเซลทั้งหมด

ส่วนดีเซล หรือบางคนเรียกว่าดีเซลธรรมดา ซึ่งเป็นน้ำมันดีเซลที่เปลี่ยนชื่อมาจาก B10 เมื่อ 1 ตุลาคม 2563 มีปริมาณการใช้เป็นอันดับสอง ด้วยการใช้มากถึง 22.64 ล้านลิตร หรือคิดเป็นสัดส่วน 37.1%

และที่เหลือเป็นดีเซล B20 ดีเซลพรีเมียม และอื่น ๆ

ซึ่งราคาปลีกของดีเซลธรรมดาที่มีสัดส่วนการใช้อันดับสองรองจากดีเซล B7 มีราคาจำหน่ายต่อลิตรที่ต่ำกว่าดีเซล B7 รวมถึงดีเซล B20 ด้วยเช่นกัน

มีเพียงดีเซลพรีเมียมเท่านั้นที่มีราคาสูงกว่าดีเซล B7

อ้างอิงจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานราคาขายปลีกดีเซลสถานีบริการน้ำมัน PTT และบางจาก ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 พบว่า

ราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันดีเซล B7 ลิตรละ 28.84 บาท

ดีเซล ลิตรละ 28.69 บาท

ดีเซลธรรมดา B20 ลิตรละ 28.59 บาท

ดีเซลพรีเมียม ลิตรละ 34.46 บาท

ถ้าเรายังคงอ้างอิงจากราคาจำหน่ายดีเซล B7 ในปัจจุบัน เท่ากับว่าจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องจ่ายค่าน้ำมันเพิ่มจากเดิมที่เคยเติมดีเซลธรรมดา และดีเซล B20

สิ่งที่ทำให้ดีเซลธรรมดา และดีเซล B20 มีราคาถูกกว่า ดีเซล B7 มาจากดีเซล B7 มีค่าใช้จ่ายระหว่างทางจากราคาหน้าโรงกลั่นไปจนถึงถังน้ำมันรถผู้บริโภคที่สูงกว่าน้ำมันดีเซลธรรมดาและ B20 ทั้ง ๆ ที่ราคาหน้าโรงกลั่นถูกกว่า

อ้างอิง 25 พฤศจิกายน 2564 (ตัวเลขปัดเป็น 2 ตำแหน่ง)

น้ำมันดีเซล B7 ราคาหน้าโรงกลั่น ราคาลิตรละ 20.82 บาท

จ่ายภาษีสรรพสามิต 5.99 บาท

ภาษีเทศบาล 0.59 บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.79 บาท

ค่าการตลาด 1.44 บาท

ภาษีค่าการตลาด 0.10 บาท

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 0.10 บาท ซึ่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนี้น้ำมันทุกประเภทจ่ายเท่ากันหมด

รวมค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มจากราคาหน้าโรงกลั่น 10.01 บาท

และได้รับการสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.99 บาท

ส่วนน้ำมันดีเซลธรรมดา

ราคาหน้าโรงกลั่น ราคาลิตรละ 21.49 บาท

จ่ายภาษีสรรพสามิต 5.80 บาท

ภาษีเทศบาล 0.58 บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.78 บาท

ค่าการตลาด 1.41 บาท

ภาษีค่าการตลาด 0.10 บาท

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 0.10 บาท

รวมค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มจากราคาหน้าโรงกลั่น 9.77 บาท

และได้รับการสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 2.56 บาท

ค่าใช้จ่ายระหว่างทางและเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่น้อยกว่านี่เองทำให้ดีเซล B7 มีราคาที่แพงกว่าดีเซลธรรมดา

ส่วนมาตรการลดน้ำมันดีเซลเหลือเพียง B7 จะมาพร้อมกับโครงสร้างราคาน้ำมันอย่างไร เราคงต้องดูต่อไปในวันที่ 1 ธันวาคม 2564



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

น้ำมันดีเซล B7 กับ น้ำมันดีเซล ต่าง กัน อย่างไร
น้ำมันดีเซล B7 กับ น้ำมันดีเซล ต่าง กัน อย่างไร


เติมดีเซล B7ดีไหม

น้ำมันดีเซล B7 มีสัดส่วนของไบโอดีเซลผสมอยู่ในน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 6.6 – 7.0% นั่นก็หมายความว่าจะมีปริมาณน้ำมันดีเซลมากกว่าไบโอดีเซลที่ใส่ลงไป ซึ่ง ดีเซล B7 เหมาะสำหรับรถเก่าและรถยุโรป หากไม่แน่ใจว่ารถรุ่นของเราสามารถใช้ B10 ได้หรือไม่ ให้ใช้แบบ B7 แน่นอนที่สุด

ดีเซลบี7คืออะไร

1. น้ำมันดีเซล B7 (น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ) ดีเซล B7 จะเป็นน้ำมันดีเซลทั่วไป มีสัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลประมาณ 6.6 – 7% ส่วนที่เหลือเป็นน้ำมันดีเซล น้ำมันดีเซล B7 ยังคงมีจำหน่าย เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับรถเก่า หรือรถยุโรปที่ไม่รองรับ B10.

น้ํามันดีเซล B7 ใช้กับรถอะไรได้บ้าง

✔️ ดีเซล > ดีเซล B7 ที่มีส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมัน 7% - ใช้กับรถเก่า และรถยุโรป ได้แก่ เบนซ์, ฮุนได, ทาทา, บีเอ็มดับเบิ้ลยู, ฮอนด้า, มาสด้า, ออดี้, เปอโยต์, และวอลโว่ (เล็ก)

ดีเซลบี 7 สีอะไรบ้าง

น้ำมันที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล 🟡ดีเซลหมุนเร็ว B7 > สีเหลือง, 🟣ดีเซลหมุนเร็วธรรมดา > สีม่วง, 🔴ดีเซลหมุนเร็ว B 20 > สีแดง