ดีเซลบี7กับดีเซลต่างกันอย่างไร

เปลี่ยนชื่อ 1 ต.ค. นี้ B10 = ดีเซล = B7 เติมให้ถูก อย่าสับสน มาทำความรู้จัก B10 คืออะไร แล้ว B7 กับ B20 ล่ะ รถรุ่นไหนใช้ได้บ้าง

เริ่มแล้วกับการดำเนินการสื่อสารผู้บริโภคให้รับทราบข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 กับการที่กรมธุรกิจพลังงานได้ออกประกาศให้ น้ำมัน ดีเซล บี10 (B10) เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานของประเทศ และให้เรียกชื่อน้ำมันว่า ดีเซล ส่วนน้ำมัน ดีเซล บี7 (B7) ที่จำหน่ายในชื่อ ดีเซล อยู่นั้นจะต้องเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น ดีเซล บี7 (B7) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป

นายบุญมา พนธนกรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (โออาร์) เปิดเผยว่า ได้เตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนป้ายชื่อผลิตภัณฑ์กลุ่มดีเซลที่ตู้จ่าย และป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามประกาศ โดยจะเริ่มดำเนินการและสื่อสารให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลให้แล้วเสร็จครบทุกสถานีบริการทั่วประเทศภายในวันที่ 1 ต.ค. โดยชื่อผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนไป มีดังนี้

 

- น้ำมัน อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี10 (UltraForce Diesel B10) เปลี่ยนชื่อเป็น อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล (UltraForce Diesel)

- น้ำมัน อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล (UltraForce Diesel) เปลี่ยนชื่อเป็น อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี7 (UltraForce Diesel B7)

- น้ำมัน อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล พรีเมียม (UltraForce Diesel Premium) เปลี่ยนชื่อเป็น อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล พรีเมียม บี7 (UltraForce Diesel Premium B7)

ทั้งนี้ หลังจากรัฐบาลประกาศให้น้ำมัน ดีเซล หมุนเร็ว B10 เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานของประเทศไทย โดยมีน้ำมัน ดีเซล หมุนเร็ว B7 เป็นน้ำมันทางเลือกสำหรับรถเก่าและรถยุโรป และน้ำมัน ดีเซล หมุนเร็ว B20 เป็นน้ำมันทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทำให้ผู้ใช้รถยนต์ดีเซลต่างตั้งคำถามว่า รถที่ตัวเองมีอยู่สามารถใช้ได้หรือไม่ และแตกต่างจากของเดิมอย่างไร

 

รถยนต์รุ่นไหนสามารถใช้น้ำมัน B10 ได้บ้าง ??

ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานออกมาสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถยนต์อย่างต่อเนื่อง ยืนยัน การใช้น้ำมัน ดีเซล B10 กับเครื่องยนต์ที่สามารถรองรับการใช้งานจะไม่มีผลกระทบกับเครื่องยนต์ เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ให้การรับรองการใช้งานไว้เรียบร้อยแล้ว

จากข้อมูล ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงพลังงานดีเซลกว่า 10 ล้านคัน เป็นรถที่ใช้น้ำมัน ดีเซล B10 ได้กว่า 5 ล้านคัน หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของรถดีเซลที่มีอยู่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะเป็นรถยนต์ดีเซลราคาแพง และรถเก่ามากๆ ที่ใช้งานมานานมาก ซึ่งรถรุ่นที่ไม่สามารถเติมน้ำมัน B10 ได้ ก็ยังสามารถเติมน้ำมัน ดีเซล B7 ได้เหมือนเดิม และยังมีจำหน่ายตามสถานีบริการน้ำมันทั่วไป

 

รถยนต์ดีเซลทั่วไปที่ใช้ B10 ได้ อาทิ โตโยต้า อีซูซุ นิสสัน ฟอร์ด เอ็มจี เชฟโรเลต มิตซูบิชิ วอลโว่ (ใหญ่) ฮีโน่ บีเอ็มดับบลิว (ใหญ่) เดมเลอร์ เบนซ์ (ใหญ่) ส่วน B7 ใช้กับรถเก่า รถยุโรป อาทิ เบนซ์ ฮุนได ทาทา บีเอ็มดับบลิว ฮอนด้า มาสด้า ออดี้ เปอโยต์ วอลโว่ (เล็ก) ขณะที่ B20 ใช้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่

สำหรับผู้บริโภคที่ไม่ทราบข้อมูลรุ่นรถ และต้องการทราบรถยนต์ที่ตนเองมีอยู่ใช้กับน้ำมัน B10 ได้หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมธุรกิจพลังงาน www.doeb.go.th หรือติดต่อสอบถามโดยตรงที่ศูนย์บริการหรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละยี่ห้อ

อ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้ว หลายคนอาจจะมีคำถามตามมาว่า ในเมื่อน้ำมัน ดีเซล ธรรมดา B7 ใช้งานได้อยู่แล้ว เหตุใดรัฐบาลต้องกำหนดให้ B10 เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานใหม่ … คราวนี้ เราลองมาไล่เลียงกันดูทีละข้อๆ

 

ประการแรก ข้อดีของการใช้น้ำมัน ดีเซล B10 ก็เพื่อสร้างสมดุลปาล์มน้ำมันทั้งระบบในประเทศ คือ ปริมาณการใช้ ภาคพลังงานและเพื่อการบริโภค

ประการที่ 2 การใช้ B10 จะช่วยสร้างเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน ทำให้ราคาสูงขึ้น พี่น้องชาวสวนปาล์มจะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เห็นได้จากภายหลังรัฐบาลประกาศผลักดันน้ำมัน B10 เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐาน ส่งผลให้ราคาปาล์มพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ประการสุดท้าย การใช้ B10 จะช่วยลดมลพิษ (ปริมาณฝุ่น PM 2.5) เนื่องจากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนที่สูงขึ้น เราก็จะหายใจได้โล่งปอดกันมากขึ้น

 

ท้ายที่สุด สิ่งที่ทุกคนอยากรู้ก็คือ น้ำมัน ดีเซล B10 ราคาจะถูกลงกว่าของเดิมหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมัน B10 ขายอยู่ที่ 18.79 บาท / ลิตร B7 21.79 / ลิตร และ B20 18.54 บาท / ลิตร มีส่วนต่างจาก B7 ถึง 3 บาท (อ้างอิงจาก ปตท. ณ วันที่ 1 กันยายน 2563)

ในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 นี้ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน หรือ  กบง. มีมติปรับสูตรน้ำมันดีเซลจากที่มีหลายสูตรทั้ง ดีเซล B7, ดีเซลธรรมดา, ดีเซล B20 และดีเซลพรีเมียม เหลือเพียงดีเซล​ B7 เท่านั้น พร้อมกับคอยกำกับดูแลราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร

 

มติของ กบง. ในครั้งนี้จะมีผลกระทบกับผู้บริโภคอย่างไร

จากข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่า การใช้น้ำมันดีเซลในประเทศไทย (อ้างอิงข้อมูลมกราคม-กันยายน 2564) พบว่าประเทศไทยใช้น้ำมันดีเซลเฉลี่ยที่ 61.09 ล้านลิตรต่อวัน

แบ่งเป็น

ดีเซล B7 35.23 ล้านลิตร

ดีเซลธรรมดา  22.64 ล้านลิตร

ดีเซล B20 1.06 ล้านลิตร

และอื่น ๆ 2.16 ล้านลิตร

ดีเซลบี7กับดีเซลต่างกันอย่างไร
ดีเซลบี7กับดีเซลต่างกันอย่างไร

จากข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงาน พบว่าการใช้งานดีเซล B7 กินสัดส่วนประมาณ 57.7% ของการใช้น้ำมันดีเซลทั้งหมด

ส่วนดีเซล หรือบางคนเรียกว่าดีเซลธรรมดา ซึ่งเป็นน้ำมันดีเซลที่เปลี่ยนชื่อมาจาก B10 เมื่อ 1 ตุลาคม 2563 มีปริมาณการใช้เป็นอันดับสอง ด้วยการใช้มากถึง 22.64 ล้านลิตร หรือคิดเป็นสัดส่วน 37.1%

และที่เหลือเป็นดีเซล B20 ดีเซลพรีเมียม และอื่น ๆ

ซึ่งราคาปลีกของดีเซลธรรมดาที่มีสัดส่วนการใช้อันดับสองรองจากดีเซล B7 มีราคาจำหน่ายต่อลิตรที่ต่ำกว่าดีเซล B7 รวมถึงดีเซล B20 ด้วยเช่นกัน

มีเพียงดีเซลพรีเมียมเท่านั้นที่มีราคาสูงกว่าดีเซล B7

อ้างอิงจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานราคาขายปลีกดีเซลสถานีบริการน้ำมัน PTT และบางจาก ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 พบว่า

ราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันดีเซล B7 ลิตรละ 28.84 บาท

ดีเซล ลิตรละ 28.69 บาท

ดีเซลธรรมดา B20 ลิตรละ 28.59 บาท

ดีเซลพรีเมียม ลิตรละ 34.46 บาท

ถ้าเรายังคงอ้างอิงจากราคาจำหน่ายดีเซล B7 ในปัจจุบัน เท่ากับว่าจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องจ่ายค่าน้ำมันเพิ่มจากเดิมที่เคยเติมดีเซลธรรมดา และดีเซล B20

 

สิ่งที่ทำให้ดีเซลธรรมดา และดีเซล B20 มีราคาถูกกว่า ดีเซล B7 มาจากดีเซล B7 มีค่าใช้จ่ายระหว่างทางจากราคาหน้าโรงกลั่นไปจนถึงถังน้ำมันรถผู้บริโภคที่สูงกว่าน้ำมันดีเซลธรรมดาและ B20 ทั้ง ๆ ที่ราคาหน้าโรงกลั่นถูกกว่า

อ้างอิง 25 พฤศจิกายน 2564 (ตัวเลขปัดเป็น 2 ตำแหน่ง)

น้ำมันดีเซล B7 ราคาหน้าโรงกลั่น ราคาลิตรละ 20.82 บาท

จ่ายภาษีสรรพสามิต 5.99 บาท

ภาษีเทศบาล 0.59 บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.79 บาท

ค่าการตลาด 1.44 บาท

ภาษีค่าการตลาด 0.10 บาท

 

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 0.10 บาท ซึ่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนี้น้ำมันทุกประเภทจ่ายเท่ากันหมด

 

 

รวมค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มจากราคาหน้าโรงกลั่น 10.01 บาท

 

และได้รับการสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1.99 บาท

 

 

ส่วนน้ำมันดีเซลธรรมดา

ราคาหน้าโรงกลั่น ราคาลิตรละ 21.49 บาท

จ่ายภาษีสรรพสามิต 5.80 บาท

ภาษีเทศบาล 0.58 บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.78 บาท

ค่าการตลาด 1.41 บาท

ภาษีค่าการตลาด 0.10 บาท

 

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 0.10 บาท

 

รวมค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มจากราคาหน้าโรงกลั่น 9.77 บาท

 

และได้รับการสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 2.56 บาท

 

ค่าใช้จ่ายระหว่างทางและเงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่น้อยกว่านี่เองทำให้ดีเซล B7 มีราคาที่แพงกว่าดีเซลธรรมดา

 

ส่วนมาตรการลดน้ำมันดีเซลเหลือเพียง B7 จะมาพร้อมกับโครงสร้างราคาน้ำมันอย่างไร เราคงต้องดูต่อไปในวันที่ 1 ธันวาคม 2564

ดีเซล B7 กับดีเซลธรรมดาแตกต่างกันอย่างไร

น้ำมัน ดีเซล B7 คืออะไร น้ำมันดีเซล B7 มีสัดส่วนของไบโอดีเซลผสมอยู่ในน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 6.6 – 7.0% นั่นก็หมายความว่าจะมีปริมาณน้ำมันดีเซลมากกว่าไบโอดีเซลที่ใส่ลงไป ซึ่ง ดีเซล B7 เหมาะสำหรับรถเก่าและรถยุโรป หากไม่แน่ใจว่ารถรุ่นของเราสามารถใช้ B10 ได้หรือไม่ ให้ใช้แบบ B7 แน่นอนที่สุด

น้ํามันดีเซล B7 กับ B20 ต่างกันยังไง

น้ำมันดีเซล B20 มีความแตกต่างจาก น้ำมัน B7 และน้ำมัน B10 ตรงที่มีสัดส่วนไบโอดีเซลที่มากกว่า หรืออยู่ที่ 20% ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณที่มากกว่าการใช้งานทั่วไป เช่น รถบรรทุก ขสมก. ISUZU, SCANIA เป็นต้น

ดีเซลบี7คืออะไร

1. น้ำมันดีเซล B7 (น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ) ดีเซล B7 จะเป็นน้ำมันดีเซลทั่วไป มีสัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลประมาณ 6.6 – 7% ส่วนที่เหลือเป็นน้ำมันดีเซล น้ำมันดีเซล B7 ยังคงมีจำหน่าย เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับรถเก่า หรือรถยุโรปที่ไม่รองรับ B10.

น้ำมันดีเซลปัจจุบัน B อะไร

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา ได้เห็นชอบปรับลดสูตรผสมน้ำมันไบโอดีเซล (B100) จากปัจจุบันมี B7 เกรดเดียว ให้เป็น B5 มีผลตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565 เพื่อรักษาระดับความผันผวนของราคา ...