บทประพันธ์ในข้อใดมิใช่ผลงานของผู้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง มัทนะพาธา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระนามแฝง มากกว่า 100 พระนาม พระราชประสงค์ในการทรงใช้พระนามแฝงนั้น มิใช่เพื่อการปกปิดแต่ประการใด เพราะพระนามแฝงเป็นจำนวนมากเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นของผู้ใด


พระนามแฝงภาษาไทย สำหรับบทละครทรงใช้ พระขรรค์เพชร ศรีอยุธยา นายกท.ป.ส.(ทวีปัญญาสโมสร) ไก่เขียว เจ้าเงอะ (2พระนามแฝงหลังใช้สำหรับละครร้องสลับพูด)

ส่วนบทละครภาษาอังกฤษที่ทรงแปลจากบทละครภาษาไทยของพระองค์ ทรงใช้พระนามแฝงว่า Sri Ayudhya, Sri Ayoothya, Phra Khan Bejra

พระนามแฝงที่ทรงใช้สำหรับบทความ ได้แก่  อัศวพาหุ Asvabhahu รามวชิราวุธป.ร.รามวชิราวุธ รามพันธ์ รามจิต รามสูร ราม ร. ราม ณ กรุงเทพ วชิราวุธ วชิราวุธโธ วชิราวุธป.ร. ว.ป.ร. มงกุฎเกล้า ม.ว. ม.ว.ร. ว.ร. ร.ร. M.V. V. V.R.

รามจิตติ เป็นพระนามแฝงที่ทรงใช้เมื่อทรงพระราชนิพนธ์นิทานเรื่องยาวที่ทรงแปลจากภาษาอังกฤษ บางครั้งทรงใช้ย่อว่า ร.จ.

พันแหลม เป็นพระนามแฝงสำหรับเรื่องเกี่ยวกับทหารเรือ และสุครีพ ทรงใช้สำหรับนิทานเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับทหารเรือ

พระนามแฝงที่มักทรงใช้ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตได้แก่ จุลสมิต มหาสมิต วรสมิต วิริยสมิต วิภาสสมิต วรรณะสมิต และโสตสมิต

นอกจากนี้ยังทรงมีพระนามแฝงอื่น ๆ เช่น คอแดง คอยุโรป น.พ.ส. ความเห็นเอกชน ไทยอีกคนหนึ่ง ไทยศรีวิลัย นักเรียนเก่า นักเรียนคนหนึ่ง น.ภ. เนติบัณฑิตไทยผู้หนึ่ง น.ร. พรานบุญ พาลี พันตา ศ.ธนญชัย ศารทูล เสือเหลือง สภานายก อุบาสก เอกชน ศรีธนญชัย สารจิตต์ สุริยงส่องฟ้า โสต หัตถชัย หนานแก้วเมืองบูรณ์ อัญชัญ Khon Thai Sri Dhanya และ Oxonian


ขอขอบคุณที่มา : http://www.dek-d.com/board/view/1023588/

 246,404 total views,  176 views today

พระนามแฝง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

คำสั่ง  จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

๑.  ผู้แต่งเรื่อง “มัทนะพาธา” คือใคร

    ก.  รัชกาลที่  ๖            ข. รัชกาลที่  ๕

    ค.  รัชกาลที่  ๔             ง.  รัชกาลที่  ๓

๒.   เรื่อง“มัทนะพาธา”  เป็นงานเขียนชนิดใด

    ก.  บทละคร                  ข.  บทละครรำ

   ค.  บทละครร้อง           ง.  บทละครพูด

๓.  ผู้แต่ง เรื่อง “มัทนะพาธา” แต่งขณะที่ตนเอง กำลังอยู่ในเหตุการณ์ใด

    ก.    แต่งขณะอยู่ต่างประเทศ ข.    แต่งขณะอยู่ในประเทศไทย

    ค.    แต่งขณะอยู่บนเครื่องบิน ง.   แต่งขณะที่กำลังมีความรัก

๔.  เรื่อง “มัทนะพาธา”  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร 

   ก.    ตำนานแห่งดอกไม้ ข.    ตำนานแห่งความผิดหวัง

   ค.    ตำนานแห่งดอกกุหลาบ ง.    ตำนานแห่งความรัก

๕.   ข้อใดคือฉากของเรื่อง “มัทนะพาธา”

            ก.  บนสวรรค์                         ข. โลกมนุษย์

          ค. ประเทศอินเดียโบราณ         ง.  ถูกทุกข้อ

        ๖.   แก่นเรื่องของมัทนะพาธาคือข้อใด

                ก.   พิษของความรัก   

       ข.   ความรักคือยาพิษ

                ค.   ความรักเหมือนสีดำ               

                ง. ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนแห่งความรัก

๗.    ข้อใดไม่ใช่คำประพันธ์ที่ใช้แต่ง  เรื่องมัทนะพาธา

     ก.  ฉันท์                          ข.  กาพย์

     ค.  กลอน                         ง.  ร้อยแก้ว

๘.    เทพธิดามัทนาถูกสาปให้ไปเกิดเป็นอะไร

    ก.  ดอกไม้                        ข. ผีเสื้อ

    ค.  นางยักษ์                      ง.  ดอกกุหลาบ

        ๙.    ใครเป็นผู้สาปมัทนา

     ก.    เทพบุตร           ข.    วิทยาธร

    ค.    เทพบุตรสุเทษณ์          ง.    วิทยาธรมายาวิน

๑๐.    เทพธิดามัทนาถูกสาปเพราะสาเหตุใด

     ก.   มีความงามเกินไป           ข.   เจรจาไม่รู้เรื่อง

     ค.   มีเวทมนตร์          ง.   ปฏิเสธความรัก

๑๑.  เทพธิดามัทนาถูกสาปให้ไปเกิดที่ใด        

    ก.  ในนรก                         ข.  บนสวรรค์

   ค.  ในโลกมนุษย์               ง.  ในเมืองบาดาล

๑๒.  เทพธิดามัทนาจะพ้นคำสาปเมื่อใด

    ก.  มีความรัก       ข.  มีความทุกข์

     ค.  มีความสุข                   ง.   มีความทุกข์เพราะรัก

๑๓.  เมื่อมัทนาพ้นคำสาปได้พบรักกับใคร

     ก.   ท้าวชัยเสน                ข.  ศุภางค์

     ค.   มายาวิน                      ง.  สุเทษณ์

 ๑๔.   มัทนาขอร้องให้สุเทษณ์รับนางกลับขึ้นไปบนสวรรค์อีกหลังเกิดเหตุการณ์ใด

        ก.   หนีท้าวชัยเสนมาป่าหิมะวัน         

        ข.   ไม่รับรักท้าวชัยเสน

                ค.   ท้าวชัยเสนตามมาพบ

ง.   ถูกใส่ร้ายว่าไปกับศุภางค์ทหารเอก

         ๑๕.   ท้าวชัยเสนสั่งประหารชีวิตมัทนาจริงหรือไม่  เพราะเหตุใด

        ก. จริง   เพราะหลงเชื่อว่านางมัทนาไปรัก กับ ศุภางค์ทหารเอกของท้าวชัยเสน

        ข. จริง  เพราะนางจัณฑีมเหสีของท้าวชัยเสน ถูกมัทนาทำร้ายร่างกาย

       ค. ไม่จริง  เพราะท้าวชัยเสนมีใจเสน่หาต่อ มัทนามากถึงขั้นได้สาบานรักต่อกันแล้ว

         ง. ไม่จริง  เพราะมัทนาไม่มีความผิดเพียงแต่ถูกใส่ร้ายจากพระนางจันฑี มเหสีของท้าวชัยเสนด้วยความหึงหวงเท่านั้น

          ๑๖. สุเทษณ์ปฏิบัติอย่างไร เมื่อมัทนาไม่รับรัก   เป็นครั้งที่สอง

    ก.  สาปให้นางเป็นปีศาจตลอดไป

ข.  สาปให้นางไปอยู่ในนรกตลอดไป

   ค.  สาปให้นางเป็นดอกกุหลาบตลอดไป    

ง.  สาปให้นางกลายเป็นหญิงอัปลักษณ์ทุกชาติไป 

  ๑๗.   คำกล่าวในข้อใดชี้ให้เห็นทาสของความรัก

    ก. ที่ใดมีรัก   ที่นั่นมีทุกข์      ข.  ความรักทำให้คนตาบอด

    ค. ยามรักน้ำต้มผักขมยังชมว่าหวาน  ง.  ถูกทั้งข้อ  ก  และ  ข

  ๑๘.   “มัทนะพาธา” แปลว่าอะไร

    ก.  ทุกข์เพราะรัก          ข.  ความรักสีดำ

ค. ความรักเหมือนโคถึก          ง.  ความเจ็บปวดและความเดือดร้อนเพราะรัก

  ๑๙.   ข้อใดแปลว่า  “นางผู้น่ารักใคร่อย่างยิ่ง”

       ก.   ธาดา                        ข.  มิลักขู

        ค.   อภิระตี                      ง.  ประติชญา

  ๒๐. ข้อใดตรงกับความเห็นของคณะกรรมการ วรรณคดีสโมสรที่ยกย่องพระราชนิพนธ์ เรื่อง  มัทนะพาธา

    ก.   เป็นวรรณคดีคำฉันท์เรื่องแรกซึ่งนับว่าแต่งได้ยาก

  ข.   เป็นวรรณคดีที่ดัดแปลงจากตำนานโบราณของอินเดีย

   ค.  กวีทรงปรุงศัพท์ให้มีจังหวะของคำครุ  ลหุ   ได้เหมาะสม กวีทรงสร้างตัวละครและฉากสอดคล้องกับวัฒนธรรมของอินเดีย

                ง.  ถูกทุกข้อ

บทประพันธ์ในข้อใดมิใช่ผลงานของผู้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง มัทนะพาธา

เฉลย

                                                    

                                                  ๑๐

๑๑             ๑๒            ๑๓            ๑๔            ๑๕

๑๖            ๑๗            ๑๘            ๑๙             ๒๐

เรื่องใดเป็นผลงานของผู้แต่งเรื่องมัทนะพาธา

มัทนะพาธาเป็นพระราชนิพนธ์บทละครพูดคำฉันท์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชนิพนธ์จากจินตนาการของพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2466 บทละครพูดคำฉันท์ เรื่องนี้มักรู้จักกันในนาม “ตำนานแห่งดอกกุหลาบ” ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2467 และได้รับการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้รับการสร้างสรรค์ในรูปแบบละคร ...

ข้อใดคือแก่นของเรื่องมัทนะพาธา

มัทนะพาธาเป็นเรื่องที่สมมุติว่าเป็นกำเนิดของต้นกุหลาบ มีการผูกเรื่องให้เกิดความ ขัดแย้งซึ่งเป็นปมปัญหาของเรื่อง กล่าวคือ สุเทษณ์หลงรักมัทนา แต่มัทนาไม่รับรัก สุเทษณ์จึงกริ้ว มัทนาต้องลงมาเกิดในโลกมนุษย์เป็นการชดใช้โทษ เมื่อพบรักกับชัยเสน ความรักก็ไม่ราบรื่น

ข้อใด คือ คำประพันธ์ที่ใช้แต่ง เรื่องมัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องก์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นทั้งหมดด้วยพระองค์เองโดยไม่ได้อิงเนื้อหามาจากที่อื่น ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งเริ่มและจบลงในปี พ.ศ. 2466 เล่าเรื่องว่าด้วยตำนานเกี่ยวกับดอกกุหลาบ และความเจ็บปวดจากความรัก

มัทนะพาธาสะท้อนในเรื่องใด

จากการศึกษาวรรณคดีเรื่องมัทนะพาธา สะท้อนให้เห็นว่า การก าหนดพื้นที่การด าเนินชีวิตของผู้หญิง ท าให้ภาพลักษณ์ของผู้หญิงกลายเป็นผู้ถูกกระท าและตกอยู่ในอ านาจของผู้ชายจนไม่สามารถปฏิเสธหรือ เรียกร้องได้ตามความต้องการ ดังเช่นที่ตัวละครหญิงถูกกดขี่จากตัวละครชาย ซึ่งบางครั้งตัวละครหญิงในเรื่อง พยายามที่จะมีพื้นที่ของตนเอง ...