ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน

ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
  โครงการ ASEAN Power Grid…เติมเต็มความต้องการพลังงานไฟฟ้าของอาเซียน  
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
 
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
          การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและสังคมของภูมิภาคอาเซียน
ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรที่เข้ามามีบทบาทในภาค
แรงงาน และการขยายตัวของสังคมเมือง ประกอบกับการที่อาเซียนเป็น
ฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญของโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรม
ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้กิจกรรมทาง
เศรษฐกิจของอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็ทำให้ปริมาณ
ความต้องการใช้พลังงานโดยเฉพาะไฟฟ้าขยายตัวตาม ทั้งนี้ องค์กร
พลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency : IEA)
คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของอาเซียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยจะ
ขยายตัวราวร้อยละ 80 ในช่วงระหว่างปี 2556-2583 อย่างไรก็ตาม
ปัจจุบันราว 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดในอาเซียนยังคงประสบปัญหา
ในการเข้าถึงไฟฟ้า โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตชนบทของกัมพูชา
และเมียนมา สะท้อนได้จากอัตราการเข้าถึงไฟฟ้าในเขตชนบทของ
สองประเทศ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 18 ต่ำกว่าอัตราการเข้าถึงไฟฟ้าในเขตชนบท
เฉลี่ยของอาเซียนที่ร้อยละ 78
 
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
  อัตราการเข้าถึงไฟฟ้าของอาเซียน ปี 2558  
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
  ที่มา : IEA, World Energy Outlook 2015 “Electricity Access in Developing Asia 2015”
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
 

          ด้วยเหตุนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงร่วมกันจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแผนแม่บทการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าในอาเซียน (ASEAN
Interconnection Master Plan Study : AIMS) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากการไฟฟ้าของแต่ละประเทศ มีหน้าที่ศึกษาและวางแผน
การเชื่อมโยงระบบสายส่งกระแสไฟฟ้าในอาเซียน (ASEAN Power Grid) เพื่อจัดสรรกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพและ
รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ความคืบหน้าของโครงการ ASEAN Power Grid
          ปัจจุบันโครงการ ASEAN Power Grid เป็น 1 ใน 7 แผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงาน ปี 2559-2568 (ASEAN
Plan of Action on Energy Cooperation : APAEC 2016-2025) ซึ่งประกอบด้วยโครงการเชื่อมโยงระบบสายส่งกระแสไฟฟ้าในอาเซียน
โครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โครงการเทคโนโลยีถ่านหินและพลังงานสะอาด โครงการพลังงานหมุนเวียน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ
การใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน โครงการนโยบายและแผนพลังงานของอาเซียน และโครงการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ โดย
โครงการ ASEAN Power Grid มีแนวคิดริเริ่มมาจากความต้องการจัดสรรแหล่งพลังงานที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลายของอาเซียน ไม่ว่า
จะเป็นแหล่งพลังงานจากถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภูมิภาค โดยเฉพาะแหล่งพลังงานน้ำที่มีอยู่มากทาง
ตอนเหนือของ สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม ทั้งสามประเทศนี้จึงมีศักยภาพสูงในการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ ทั้งนี้ โครงการ ASEAN
Power Grid จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงานผ่านการซื้อขายไฟฟ้าภายในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ตาม
วิสัยทัศน์อาเซียนปี 2563 (ASEAN Vision 2020) สำหรับความคืบหน้าของโครงการดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้

 
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
  โครงการ ASEAN Power Grid (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2558)  
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
  หมายเหตุ : บาตัม สุมาตรา และกาลิมันตัน อยู่ในอินโดนีเซีย
ซาบาห์และซาราวัก อยู่ในมาเลเซีย
 
  ที่มา : “ASEAN Power Grid”, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT), 2558  
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
            ปัจจุบันอาเซียนมีโครงการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าแล้วเสร็จ (Existing APG Projects) จำนวน 6 โครงการ มีกำลังการผลิตรวม 3,489
เมกะวัตต์ ทั้งนี้ หากโครงการเชื่อมต่อโครงข่ายทั้งหมดดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนด จะส่งผลให้อาเซียนมีกำลังการผลิตไฟฟ้าภายใต้
โครงการ ASEAN Power Grid สูงถึงกว่า 30,000 เมกะวัตต์

ประโยชน์ของ ASEAN Power Grid ต่อภูมิภาคอาเซียน
          การพัฒนาความมั่นคงทางพลังงานถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลักดันให้อาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นเมื่อ
เทียบกับภูมิภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าของหลายประเทศในอาเซียนยังเผชิญกับความท้าทายในหลายด้าน
อาทิ การกำหนดราคาไฟฟ้าให้เหมาะสม การจัดหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนใหม่เพื่อลดการพึ่งพาแหล่งพลังงานเดิมอย่างถ่านหินและก๊าซ
ธรรมชาติ รวมถึงการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะในอินโดนีเซียและไทย ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียน ข้อมูลจาก
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยระบุว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 23,900 เมกะวัตต์ในปี 2554 เป็น 27,346 เมกะวัตต์ในปี 2558 นอกจากนี้ ไทยยังมีความเสี่ยงในการจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงและแหล่งพลังงานหมุนเวียนแห่งใหม่ เนื่องจากปริมาณ
ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยลดลงมาก
          โครงการ ASEAN Power Grid จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยให้การบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าในอาเซียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และช่วยให้มีปริมาณไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นมาก ทั้งนี้ นอกจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยน
พลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศแล้ว โครงการ ASEAN Power Grid ยังส่งผลดีต่อประเทศสมาชิกอาเซียนในหลายด้าน อาทิ การเพิ่มความ
สามารถในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ การเพิ่มความหลากหลายของแหล่งผลิตไฟฟ้า รวมถึงการลดเงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
แห่งใหม่ในภูมิภาค ซึ่งผลการศึกษา AIMS II ระบุว่าการใช้พลังงานร่วมกันในระยะยาวตามโครงการ ASEAN Power Grid จะทำให้แต่ละ
ประเทศสามารถลดกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกันได้ถึง 2,458 เมกะวัตต์ และสามารถลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเป็นมูลค่า 788 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออาเซียนในด้านการจัดสรรแหล่งพลังงานในระยะยาว เช่น โครงการ Laos-Thailand-
Malaysi-Singapore Power Integration Project (LTMS-PIP) ซึ่งเป็นโครงการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ผ่านสายส่งกระแส
ไฟฟ้าของไทยและมาเลเซียไปยังประเทศคู่ค้าปลายทางคือ สิงคโปร์ โดยโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากข้อตกลงซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง
สปป.ลาว ซึ่งมีปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงกว่าปริมาณที่ใช้ในประเทศ ทำให้สามารถจำหน่ายไฟฟ้าไปยังประเทศใกล้เคียงและสิงคโปร์
ซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในระดับสูง ในส่วนของประเทศไทยนอกจากได้ประโยชน์จากการได้รับจัดสรรพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว
การเป็นประเทศทางผ่านของการเชื่อมโยงระบบสายส่งกระแสไฟฟ้ายังช่วยให้ไทยมีรายได้จากค่าบริการส่งกระแสไฟฟ้า รวมถึงช่วยลดต้นทุน
การผลิตไฟฟ้าภายในประเทศด้วยการนำเข้ากระแสไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อันจะส่งผลดีต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในประเทศให้มีไฟฟ้าใช้ในราคา
ที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันไทยมีความได้เปรียบด้านราคาไฟฟ้าเหนือประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอยู่แล้ว จึงเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติ
เข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น
          การเชื่อมโยงระบบสายส่งกระแสไฟฟ้าในอาเซียนถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง
ของเศรษฐกิจอาเซียนจากการจัดสรรการใช้พลังงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้อาเซียน
มีศักยภาพทัดเทียมกับภูมิภาคอื่นๆของโลก

 
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
  Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น
โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ ไม่ว่าโดยทางใด
 
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน
ประเทศ ใด ในอาเซียน ที่มีการใช้ถ่านหิน