ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน คิดยังไง

ไปเที่ยวต่างประเทศทั้งที สาว ๆ คงวางแผนจะชอปให้กระจาย แต่สาวยุคใหม่ต้องฉลาดช้อปด้วยบัตรเครดิต รูดซื้อของได้ถูกใจในราคาสุดคุ้ม

วันนี้มาเอาใจขาช้อปกันหน่อยดีกว่า ขาช้อปแบบเรา ๆ แน่นอนว่าการได้ไปช้อปปิ้งที่ต่างประเทศเป็นอะไรที่เลิศสุด ๆ เพราะว่าของหลายอย่าง สินค้าหลายตัว ราคาถูกกว่าเมืองไทยเป็นไหน ๆ แต่ถ้าจะให้เราถือเงินสดก้อนใหญ่เพื่อเตรียมช้อปปิ้งโดยเฉพาะ ก็น่าจะเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไป การพก "บัตรเครดิต" ไปทริปต่างประเทศด้วยเลยเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้อย่างตรงจุดพอดิบพอดี

"บัตรเครดิต" ถือเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนี่งเวลาที่เราจะไปช้อปปิ้งในต่างประเทศ เพราะนอกจากเราไม่ต้องพกเงินสดติดตัวเยอะ ๆ แล้ว บางทีก็ยังได้โปรโมชั่นดี ๆ จากการรูดบัตรเครดิตอีกด้วย แต่ก่อนจะไปรูดปรื๊ด ๆ สิ่งที่ต้องระวังก็คือ นักช้อปหลายคนมักจะลืมตัวจนกระเป๋าฉีกกลับมาก็ไม่น้อย เพราะเวลาที่เราไปใช้บัตรเครดิตที่ต่างประเทศ นอกเหนือจากที่เราต้องแลกเงินเป็นสกุลเงินของประเทศนั้น ๆ แล้ว ก็ยังมีเรื่อง "ค่าธรรมเนียม" ที่เราต้องระวังด้วย

หลายคนไม่รู้ว่ามีค่าธรรมเนียมเวลาที่เราไปรูดบัตรเครดิตที่ต่างประเทศด้วย เป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกว่า "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" หรือ "ค่าธรรมเนียมแลกเงิน" โดยทั่วไปทางธนาคารเจ้าของบัตรจะคิดที่ 2 - 2.5% ของยอดเงินที่เราใช้จ่าย เพราะธนาคารต้องมีการป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่เรารู้กันว่าขยับกันแทบจะทุกวินาทีอยู่แล้ว แล้วถ้าเราไม่คำนวณให้ดีไม่แน่ว่าการที่เราไปช้อปที่ต่างประเทศไป ๆ มา ๆ อาจจะแพงกว่าซื้อที่ประเทศไทยก็เป็นไปได้

ดังนั้นเลยแนะนำว่า ก่อนเดินทางอย่าลืมเช็กด้วยว่า "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" ของบัตรเครดิตที่เราจะนำไปใช้เค้าคิดเท่าไหร่ แล้วถ้าเรามีบัตรเครดิตหลายใบก็ควรลองเปรียบเทียบดูว่าเจ้าไหนค่าธรรมเนียมถูกที่สุด ไม่แน่ว่าอาจจะมีโปรโมชั่นลดค่าธรรมเนียมบางช่วงเวลา บางเจ้าอาจจะมีโปรโมชั่นพิเศษที่ตรงกับความต้องการในการใช้จ่ายต่างประเทศของเรา เช่น เครดิตเงินคืนเมื่อใช้จ่ายต่างประเทศ รับคะแนนสะสม 2-3 เท่าเมื่อใช้จ่ายในต่างประเทศ สิทธิ์ฟรีค่าที่พัก เป็นต้น หลังจากทีเราเลือกบัตรเครดิตได้แล้ว เวลารูดบัตรเครดิตเราสามารถคำนวณจำนวนเงินที่จะถูกเรียกเก็บได้ โดยเริ่มจาก

  • รู้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินประเทศที่ไปท่องเที่ยวแปลงเป็นค่าเงินบาทก่อน แต่ต้องดูเรทที่ตรงกับวันที่เรารูดบัตรเครดิตด้วยนะ ซึ่งสามารถเข้าไปเช็กจากเว็บไซต์ตามประเภทของบัตรเครดิตที่เราถือ เช่น VISA Mastercard AMEX JCB UnionPay เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเภทก็มีอัตราแลกเปลี่ยนถูกแพงต่างกัน
  • หลังจากที่เราได้จำนวนเงินที่แปลงเป็นบาทแล้วก็เอาไปคูณกับ "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" ก็จะได้ค่าธรรมเนียมที่เราต้องจ่าย
  • เอายอดราคาสินค้าที่แปลงเป็นเงินบาทบวกกับค่าธรรมเนียม ก็จะได้จำนวนเงินที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคาร

การพกบัตรเครดิตที่ดีที่ทำให้เรา รูดได้ แลกง่าย สะดวก ไม่มีค่าธรรมเนียม จึงทำให้เราเที่ยวทั่วโลกได้อย่างสุขใจ แต่ขอแนะนำว่าก่อนเดินทาง เราควรโทรไปแจ้ง หรือสอบถามกับทางธนาคารก่อนด้วยเสมอนะว่าจะเดินทางไปประเทศอะไรบ้าง จะใช้บัตรใบไหนอย่างไร ถ้าหากเราลืมแจ้งแล้วไปรูดใช้ในต่างประเทศ เราอาจโดนระงับบัตรโดยไม่รู้ตัว เพราะธนาคารจะคิดว่าบัตรเราอาจโดนขโมยไปใช้ เนื่องจากอยู่ ๆ ก็มีการรูดในต่างประเทศ หลายคนอาจจะมองว่าวุ่นวาย แต่จริง ๆ แล้วเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อตัวเราเองทั้งนั้น ดังนั้นห้ามลืมเด็ดขาดไม่อย่างงั้นไปเที่ยวแล้วมีเงินไม่พอช้อปปิ้งจะหมดสนุกเอาได้

สุดท้ายมีเคล็ดไม่ลับสำหรับขาช้อปเวลาที่เราไปช้อปปิ้งที่ต่างประเทศมาฝากกัน นั่นก็คือ อย่าลืมไปขอภาษีคืน (Tax Refund) เนื่องจากเราไม่ใช่คนของประเทศเค้า เราก็ไม่มีหน้าที่จะต้องไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax - VAT) เราสามารถขอภาษีส่วนตรงนี้คืนได้

ดังนั้นอย่าลืมศึกษากฎหมายเรื่องนี้ของแต่ละประเทศที่เราจะไปช้อปปิ้งด้วยเพราะเราจะเหมือนว่าได้ส่วนลดมาไม่น้อยเลยทีเดียว การคำนวณทุกอย่างก่อนรูดบัตรทุกครั้งจะเป็นตัวช่วยคอยป้องกันไม่ให้กระเป๋าฉีกได้เป็นอย่างดี

เชื่อว่าการได้ไปท่องเที่ยวเปิดหูเปิดตาที่ต่างประเทศนั้นเป็นความฝันและความชื่นชอบของใครหลายๆ คน ซึ่งในการไปเที่ยวหรือช้อปปิ้งในต่างแดน หลายๆ คนก็นิยมใช้ "บัตรเครดิต" ซะส่วนใหญ่ เพราะนอกจากจะไม่ต้องพกเงินสดเยอะๆ แล้ว ยังจะได้รับโปรโมชั่นดีๆ จากการรูดบัตรเครดิตอีกด้วย ปกติเวลาเราใช้บัตรเครดิตที่ต่างประเทศ จะโดนชาร์จค่าธรรมเนียมที่เรียกว่า "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า เอ๊ะ.. โดนแบบนี้รวมไปรวมมาจะซื้อของได้ราคาถูกหรือแพงกว่าที่เมืองไทยกันแน่? วันนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลมาให้เพื่อนๆ ดูกันแล้วว่า แต่ละธนาคารชาร์จ "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" กันเท่าไหร่บ้าง? พร้อมกับวิธีการคำนวณง่ายๆ ซึ่งจะทำให้เราคำนวณได้เองคร่าวๆ ว่า ตกลงที่เราใช้บัตรเครดิตซื้อของที่เมืองนอกนั้น จริงๆ แล้วจะออกมาถูกหรือแพงแค่ไหน ถ้าหากต้องบวกค่าธรรมเนียมพวกนี้เข้าไปด้วยค่ะ

เทรนด์เมืองท่องเที่ยวต่างประเทศ 10 เมืองดัง ที่มาวินในครึ่งปีแรก 2559

ก่อนที่จะไปดูเรื่อง "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินเวลาใช้บัตรเครดิตต่างแดน" เรามาดูเรื่องเบาๆ กันก่อนว่า ประเทศไหน เมืองไหนที่คนนิยมไปท่องเที่ยวมากที่สุดในช่วงต้นปีแรก 2559 เราขออ้างอิงข้อมูลสถิติจากเว็บไซต์ www.skyscanner.co.th ค่ะ ลองมาดูกันว่า 10 อันดับเมืองฮิตที่มาวินที่สุดนั้นเป็นเมืองไหนบ้าง? ดูจากภาพด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน คิดยังไง

สูตรการคำนวณเป็นบาทเวลารูดต่างประเทศ พร้อมตัวอย่าง

เข้าสู่หลักการกันเลยนะคะ.. เวลาเราใช้บัตรเครดิตไปรูดซื้อของที่ต่างประเทศ เราจะไม่ได้เสียแค่เงินค่าซื้อของเท่านั้น เราจะต้องเสียค่าธรรมเนียมความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินด้วย ซึ่งทุกธนาคารจะชาร์จพวกนี้หมด เพราะถือว่าธนาคารก็ต้องลดความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นๆ ลงๆ ทุกวันด้วยเช่นกัน ส่วนสูตรการคำนวณคร่าวๆ จะเป็นไปตามตารางข้างล่างนี้ค่ะ 

  สูตรการคำนวณ:  รูดบัตรเครดิตต่างประเทศจะคิดออกมาเป็น "เงินบาท" เท่าไร ?1.   รูดบัตรฯ เป็นเงินตราต่างประเทศอะไรก็ตาม ถ้าไม่ได้รูดเป็น US Dollars จะต้องนำไปแปลงเป็น US Dollars ก่อนเสมอ2.  โดยการแปลงเป็น US Dollars ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามแบรนด์บัตรเครดิตที่เรารูดไป โดยดูอัตราแลกเปลี่ยนได้จากเว็บไซต์เหล่านี้
VISA CARD, MASTERCARD, UNION PAY, JCB, AMEX3.  นำจำนวนเงินที่รูด ไปคูณกับอัตราแลกเปลี่ยน (USD-Baht) ที่ได้จากเว็บไซต์ตามข้อ 2 เพื่อให้ตัวเลขออกมาเป็นเงินบาท4.  หลังจากนั้น ให้นำจำนวนเงินที่ได้จากข้อ 3 ไปคูณกับ "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" (%) ตามที่แต่ละธนาคารกำหนด โดยมีรายละเอียดสำหรับแต่ละธนาคารในตารางด้านล่าง เพื่อให้ได้ตัวเลขค่าธรรมเนียมความเสี่ยง5.  นำจำนวนเงินที่ได้ในข้อ 3 รวมกับที่ได้ในข้อ 4 จะเท่ากับจำนวนเงินทั้งหมดที่ถือว่าเรารูดบัตรเครดิตเป็นเงินบาทไป และเราต้องจ่ายคืนให้แก่ธนาคาร

ยกตัวอย่างวิธีการคำนวณ : ถ้า น.ส.โอ๋ ใช้บัตรเครดิต KTC JCB เพื่อรูดซื้อของที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเงินจำนวน 25,000 เยน ในวันที่ 30 ธันวาคม 2560 ถามว่า น.ส.โอ๋ จะต้องชำระเงินให้กับบริษัท บัตรกรุงไทย (KTC) เป็นเงินไทยบาทเท่าไร ณ วันที่บริษัทฯ เรียกเก็บ?

วิธีการคำนวณ

  • Step 1 และ Step 2 : แปลงค่าสกุลเงิน JPY เป็นสกุลเงิน USD ก่อน โดยดูจากตารางใน website ของ JCB โดยเลือกดูอัตราแลกเปลี่ยนตามวันที่ที่เราทำรายการ (30/12/2559)
    - อัตราแลกเปลี่ยน USD 1 = JPY 116.350 ดังนั้น JPY 25,000 จะเท่ากับ 25,000 หาร 116.350 = USD 214.869
  • Step 3 : อัตราแลกเปลี่ยน USD 1 = THB 35.707 ดังนั้น USD 214.869 จะเท่ากับ 214.869 คูณ 35.707 = 7,672.327 บาท
  • Step 4 : บริษัทบัตรกรุงไทย (KTC) กำหนดค่าความเสี่ยงฯ อยู่ที่ไม่เกิน 2.0% ดังนั้น นำ 7,672.327 x 2% = 153.447 บาท
  • Step 5 : ยอดค่าใช้จ่ายผ่านบัตร KTC JCB จำนวนเงิน 25,000 เยน จะถูกเรียกเก็บเป็นเงินไทยทั้งหมด 7,672.327 + 153.447 = 7,825.774 บาท โดยประมาณ

ตารางแสดง "ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" ของบัตรเครดิตแต่ละสถาบันการเงิน

"ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน" ของแต่ละธนาคาร หรือสถาบันการเงินในไทย จะเป็นไปตามตารางข้างล่างนี้ค่ะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 2.0% - 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย แต่บางช่วงเวลา บางธนาคารก็จะมีโปรโมชั่นส่วนลดค่าธรรมเนียมความเสี่ยงฯ ให้เราได้ช้อปปิ้งกันแบบชิลๆ ค่ะ ซึ่งก็ต้องคอยติดตามโปรโมชั่นของแต่ละแบงก์กันดู ส่วนค่าธรรมเนียมความเสี่ยงฯ หลักๆ จะเป็นดังตารางด้านล่างนี้

ธนาคาร/สถาบันการเงินค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน (ปกติ)Promotion
ธนาคารกรุงเทพไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย-
ธนาคารกสิกรไทยไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย-
ธนาคารซิตี้แบงก์ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย- 

ค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน คิดยังไง

เซ็นทรัล เดอะวัน เครดิตคาร์ดไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย-
ธนาคารทหารไทยไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย- 
เทสโก้ คาร์ดไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย -
ธนาคารไทยพาณิชย์ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย -
ธนาคารธนชาตไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย- 
แบงค์ออฟไชน่าไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย-
บัตรกรุงไทยไม่เกิน 2.0% ของยอดค่าใช้จ่าย-
บัตรกรุงศรีอยุธยาไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย-
เฟิร์สช้อยส์ไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย-
ธนาคารยูโอบีไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย -
ออล-เวย์สไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย- 
อเมริกัน เอ็กซ์เพรสไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย- 
ธนาคารออมสินไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย-
อิออนไม่เกิน 2.5% ของยอดค่าใช้จ่าย-
ธนาคารไอซีบีซี (ไทย)ไม่เกิน 2.0% ของยอดค่าใช้จ่าย -

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับวิธีการคำนวณค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินคร่าวๆ และอัตราค่าความเสี่ยงฯ ของแต่ละสถาบันการเงินที่เรานำมาให้ดู ทางทีมงานก็หวังว่าเพื่อนๆ จะได้ประโยชน์จากข้อมูล และสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายได้เองเบื้องต้นนะคะ ส่วนใครที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวในต่างประเทศและใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตอยู่เป็นประจำ ก็อย่าลืมเลือกสมัครบัตรเครดิตให้เหมาะและตรงกับความต้องการของเรา หรืออาจจะใช้บัตรเครดิตที่มีค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงินน้อยๆ เข้าไว้ เพื่อความประหยัดและคุ้มค่าที่สุดของการใช้จ่ายค่ะ