ขายดาวน์รถ เปลี่ยนสัญญา ทิ ส โก้

รู้ไว้ ! หากไม่อยากเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา

  • รู้ไว้ ! หากไม่อยากเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา
    • ซื้อรถผ่อนต่อไม่เปลี่ยนสัญญา คืออะไร? 
    • ซื้อรถผ่อนต่อไม่เปลี่ยนสัญญา สามารถทำได้จริงไหม
    • ซื้อรถผ่อนต่อไม่เปลี่ยนสัญญา มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร ?

ปัจจุบัน การดาวน์รถยนต์สักคัน แล้วค่อยมาผ่อนต่อกับสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อรถยนต์ ถือเป็นทางเลือกที่หลายคนเลือกใช้ เพื่อสานฝันของตน แต่เมื่อจู่ ๆ รถในฝันดันสร้างความเดือดร้อนให้กับชีวิต ทางออกที่บางคนเลือกใช้ คือ การตัดสินใจขายดาวน์รถ ไม่เปลี่ยนสัญญา ให้กับผู้ที่สนใจซื้อรถยนต์ของคุณ แล้วไปผ่อนต่อ โดยไม่มีการเปลี่ยนชื่อในสัญญานั่นเอง

และวันนี้ เราจะมาไขข้อข้องใจเรื่องการ “ซื้อรถผ่อนต่อไม่เปลี่ยนสัญญา” ว่า คืออะไร ?สามารถซื้อขายรถที่ยังติดไฟแนนซ์ในลักษณะนี้ได้จริงหรือ รวมถึงมีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไรบ้าง

ซื้อรถผ่อนต่อไม่เปลี่ยนสัญญา คืออะไร? 


เป็นกรณีที่คุณซึ่งอยู่ในฐานะผู้ขาย ต้องการที่จะหาคนมาผ่อนรถต่อ โดยผู้ขายอาจจะเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อเป็นเงินค่าดาวน์ตามความเหมาะสม (หรือไม่เรียกเงินค่าดาวน์ก็ได้เช่นกัน) และให้ผู้ซื้อจ่ายเงินค่างวดในแต่ละงวดแทน แต่จะไม่ได้ทำการเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองรถเป็นชื่อผู้ซื้อในสัญญาเช่าซื้อรถ แต่เป็นเพียงแค่ข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายกันเอง


ซื้อรถผ่อนต่อไม่เปลี่ยนสัญญา สามารถทำได้จริงไหม


การซื้อ-ขายรถ เพื่อนำไปผ่อนต่อ แบบไม่เปลี่ยนสัญญานั้น เป็นอีกทางเลือกสำหรับเจ้าของรถที่ผ่อนค่างวดรถต่อไม่ไหว และมีความประสงค์จะขายรถที่ยังติดไฟแนนซ์ แต่ไม่อยากรอนาน ๆ หรือไม่ต้องการขายผ่านเต็นท์รถ ประกอบกับผู้ซื้อ อาจมีเครดิตไม่ดีพอที่ทางไฟแนนซ์จะอนุมัติการเปลี่ยนชื่อของคุณ มาเป็นชื่อของผู้ซื้อ ดังนั้น ทางออกของปัญหานี้ ผู้ขายได้หรือผู้ซื้อสามารถเป็นเจ้าของรถคันนั้นได้ก็คือ “การการซื้อ-ขายรถ แบบไม่เปลี่ยนสัญญา” นั่นเอง


ซื้อรถผ่อนต่อไม่เปลี่ยนสัญญา มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร ?


หากไล่อ่านมาตั้งแต่ต้น หลายคนอาจมองว่า การซื้อ-ขายรถ โดยให้ผู้ซื้อนำไปผ่อนค่างวดต่อ แบบไม่เปลี่ยนสัญญานั้น เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่าย และรวดเร็ว เนื่องจากไม่จำเป็นต้องผ่านคนกลาง รวมถึงไม่ต้องไปนั่งลุ้นว่า “ผู้ซื้อ” เครดิตจะดีพอ ที่ไฟแนนซ์อนุมัติเปลี่ยนในสัญญาฉบับเดิมหรือไม่ ? แต่อย่างที่เรารู้กันดีว่า ขนาดเหรียญมีสองด้าน และเรื่องซื้อรถผ่อนต่อไม่เปลี่ยนสัญญา ย่อมมีสองด้านเช่นกัน ทั้งด้านดี และไม่ดีเช่นกัน

ขายดาวน์รถ เปลี่ยนสัญญา ทิ ส โก้

ขายดาวน์รถ เปลี่ยนสัญญา ทิ ส โก้

ข้อดี-ข้อเสีย ในฐานะผู้ขาย

ข้อดี

(1) การซื้อ-ขายรถ แบบไม่เปลี่ยนสัญญานั้น คุณไม่ต้องนั่งกังวลว่า ผู้ซื้อจะมีเครดิตดีพอให้ไฟแนนซ์อนุมัติสินเชื่อ และเปลี่ยนชื่อในสัญญาหรือไม่

(2) ไม่ต้องเสียเวลารอผู้ซื้อนาน เพราะกรณีนี้ ผู้ซื้อรถผ่อนต่อไม่เปลี่ยนสัญญา ส่วนใหญ่มักเป็นคนรู้จักของผู้ขาย

(3) ไม่ต้องเสียค่านายหน้า หรือค่าเปอร์เซ็นต์ให้กับเต็นท์รถที่คุณนำรถเข้าไปฝากขาย

ข้อเสีย

(1) อาจเสี่ยงติดคุก ถูกฟ้องดำเนินคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์ได้ เนื่องรถที่ผ่อนไม่หมด และยังติดไฟแนนซ์อยู่นั้น ย่อมถือว่า กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าว ยังเป็นของบริษัทไฟแนนซ์อยู่ ซึ่งคุณมีเพียงสิทธิครอบครองใช้รถยนต์เท่านั้น ฉะนั้น การซื้อ-ขายรถที่ผ่อนไม่หมด โดยไม่เปลี่ยนสัญญา นอกจากผิดสัญญาแล้ว ยังอาจผิดกฎหมายอาญา “ข้อหายักยอกทรัพย์” 

(2) ถ้าคนซื้อรถคุณไป ไม่ผ่อนชำระต่อ หรือผิดนัดชำระ คุณต้องเป็นผู้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อกับไฟแนนซ์ ด้วยการชำระค่างวดที่ค้างจนครบสัญญา หรือที่เรียกว่า “ผ่อนลม” แต่สามารถฟ้องเอาผิด และเรียกคนที่ซื้อรถต่อจากคุณมารับผิดชอบได้

(3) หากรถที่ขายต่อไปนั้น ผู้ซื้อเอาไปก่อเหตุอาชญากรรม หรือเกิดอุบัติเหตุ คนที่ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้ไปเต็ม ๆ คืเจ้าของรถ ก็คือ คุณซึ่งเป็นเจ้าของรถ เพราะเอกสารของรถยังเป็นชื่อของคุณอยู่

ข้อดี-ข้อเสีย ในฐานะผู้ซื้อ

ข้อดี

(1) เจรจาตรงกันค่อนข้างง่าย ๆ เนื่องจากผู้ขายรถในลักษณะ มักเป็นคนรู้จักหรือคนใกล้ตัวของผู้ขาย

(2) ใช้เงินไม่เยอะเท่ากับการออกรถป้ายแดง เนื่องจากผู้ขายต้องการหาคนมาผ่อนรถต่อ จึงเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อเป็นเงินค่าดาวน์ตามความเหมาะสม หรือบางคนไม่คิดเงินค่าดาวน์เลย ด้วยกลัวว่า คุณเปลี่ยนใจไปซื้อรถกับคนอื่นแทน

(3) ถึงเครดิตไม่ดี หรือติดแบล็คลิส ก็สามารถมีรถขับได้เช่นกัน

ข้อเสีย

(1) อาจมีความผิดตามกฎหมายอาญา “ในข้อหายักยอกทรัพย์” เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันที่เช่าซื้อ ยังเป็นของบริษัทไฟแนนซ์อยู่

(2)  คุณอาจต้อง“ผ่อนลม” แต่ไม่มีรถใช้ หากเมื่อผ่อนชำระครบ ปรากฏว่า ผู้ขาย ซึ่งมีชื่อระบุว่า เป็นเจ้าของรถตามสัญญาเช่าซื้อของไฟแนนซ์ ไม่มาโอนรถให้คุณ

(3) ถ้าโชคร้ายเจอผู้ขายที่เป็นมิจฉาชีพ คุณอาจโดนแจ้งความจับในข้อหาขโมยรถได้เช่นกัน

และสุดท้าย จะเห็นได้ว่า “ซื้อรถผ่อนต่อไม่เปลี่ยนสัญญา” มีทั้งข้อดี และข้อเสีย แต่จะหนักไปทางข้อเสียซะมากกว่า เพราะผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีสิทธิที่จะต้องเผชิญกับความซวยทั้งคู่ ฉะนั้น หากคุณจำเป็นต้องขายรถที่ติดไฟแนนซ์ ควรขายออกไปแบบเปลี่ยนสัญญาให้เรียบร้อย ด้วยการเปลี่ยนชื่อเป็นของผู้ซื้อไปเลย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังเหมือนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้จากการขายแบบไม่เปลี่ยนสัญญา


READ MORE :

  • รีวิวจาก Pantip สินเชื่อรถผ่อนอยู่ ทิสโก้ ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ผ่อนยากไหม?
  • ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์รถ คิดจากอะไร? 9 ตัวชี้วัด ถูกหรือแพง ต้องเข้าใจ
  • สมหวัง VS เงินติดล้อ จะเอารถเข้าที่ไหนดีกว่ากัน?
  • ผ่อนรถต่อไปไม่ไหวแล้ว คืนรถได้ไหม? ควรต้องทำยังไงดี?
  • รู้ไว้เลย – รีไฟแนนซ์รถ ผ่อนยาว 72-84 งวด มีข้อดี ข้อเสียยังไงบ้าง?

ขายดาวน์รถ เปลี่ยนสัญญา ทิ ส โก้