ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

โวลต์มิเตอร์ คือ เครื่องมือวัดไฟฟ้า ที่ใช้วัดแรงดันไฟฟ้าระหว่างจุด 2จุด ในวงจรความต้านทานภายในของเครื่องโวลต์มิเตอร์มีค่าสูง วิธีใช ้ต้องต่อขนานกับวงจรเครื่องมือที่ใช้วัดค่าความต่างศักย์ในวงจรไฟฟ้า ค่าที่วัดได้มีหน่วย โวลต์ (V) โวลต์มิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ดัดแปลงมากจากแกลแวนอมิเตอร์ โดยต่อความต้านทาน แบบอนุกรม กับแกลแวนอมิเตอร์ และใช้วัดความต่างศักย์ในวงจรโดยต่อแบบขนานกับวงจรที่ต้องการวัด

โวลต์มิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดแรงดันไฟฟ้า ระหว่างจุดสองจุด ในวงจร ความจริงแล้วโวลต์มิเตอร์ก็คือแอมมิเตอร์นั่นเอง เพราะขณะวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจร หรือแหล่ง จ่ายแรงดันจะต้องมี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมิเตอร์จึงทำให้เข็มมิเตอร์บ่ายเบนไป และการที่กระแสไฟฟ้าจะไหล ผ่าน เข้าโวลต์มิเตอร์ได้ ก็ต้องมี แรงดันไฟฟ้าป้อนเข้ามา นั่นเองกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน กระแสไฟฟ้าไหลได้มากน้อยถ้า จ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้ามาน้อย กระแสไฟฟ้าไหลน้อย เข็มชี้บ่ายเบนไปน้อยถ้าจ่าย แรงดันไฟฟ้าเข้ามามาก กระแสไฟฟ้าไหลมาก เข็มชี้บ่ายเบนไปมาก การวัด แรงดันไฟฟ้าด้วยโวลต์มิเตอร์

โวลต์มิเตอร์สร้างขึ้นมาเพื่อวัดค่าความแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายแรงดัน หรือวัดค่าแรงดันไฟฟ้าตกคร่อม ระหว่างจุดสองจุดในวงจร การวัดแรงดันไฟฟ้าด้วย โวลต์มิเตอร์ เหมือนกับการวัดความดันของน้ำในท่อส่ง น้ำด้วยเกจ วัดความดัน โดยต้องต่อท่อเพิ่มจากท่อเดิมไปยังเกจวัดในทำนองเดียวกัน กับการวัดแรงดันไฟฟ้า ใน วงจร ต้องใช้โวลต์มิเตอร์ไปต่อขนานกับจุดวัดในตำแหน่งที่ต้องการวัด เสมอ

  1. โอห์มมิเตอร์  (ohm  meter)  เครื่องวัดค่าความต้านทาน

การใช้มิเตอร์วัดค่าความต้านทาน  โอห์มมิเตอร์  (ohm  meter)

             ในมิเตอร์ ยี่ฮ้อ sanwa รุ่นนี้แบ่ง  range  (ย่าน) การวัดค่าความต้านทานออกเป็น 4 range  คือ  R x 1,   R x 10 ,  R x 1 K,   R x 10  K

             ก่อนจะวัดจะต้องตั้งมิเตอร์ให้ถูกต้องจะวัดในเครื่องขณะเครื่องเปิดไม่ได้  เครื่องจะต้องดับและต้องปลดอุปกรณ์ที่จะวัดออกมา  จะวัดทั้งที่ต่ออยู่ในเครื่องไม่ได้  และต้องตั้ง  range  ให้เหมาะสมกับค่าความต้านทานที่วัดในการวัดค่าความต้านทานนั้น  ถ้าให้ละเอียดนิยมให้เข็มขึ้นอยู่ระหว่างกึ่งกลางถึง  0  เพราะว่าในช่วงนี้   scale  แบ่งไว้ละเอียดทำให้อ่านค่าได้แน่นนอน  ส่วนเกินครึ่งไปแล้ว  scale  จะเริ่มหยาบ  อ่านค่าไม่ค่อยตรงกับความจริงต้องการพยายามปรับหรือตั้ง  range  ให้อยู่ในระหว่างกึ่งกลางถึงขวามือ  ความคลาดเคลื่อนจะได้น้อยลง

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

วิธีการปฏิบัติในการวัด

–ถ้าตั้ง R x 1 หมายความว่าค่าที่อ่านได้บน scale  ที่เข็มชี้มีค่าเท่าใดคูณด้วย 1

–ถ้าตั้ง R x 10 หมายความว่าค่าที่อ่านได้บน scale  ที่เข็มชี้มีค่าเท่าใดคูณด้วย 10

–ถ้าตั้ง R x 1 K หมายความว่าค่าที่อ่านได้บน scale  ที่เข็มชี้มีค่าเท่าใดคูณด้วย 1 K 

–ถ้าตั้ง R x 10 K หมายความว่าค่าที่อ่านได้บน scale  ที่เข็มชี้มีค่าเท่าใดคูณด้วย 10 K 

            เมื่อเริ่มวัดให้จับสาย + และ – ของ มิเตอร์ มาช็อตกันแล้วปรับ zero ให้เข็มตกถึง 0 ของแต่

ละ range ที่วัดหมายความว่าถ้าเราตั้ง R x 1 ก่อนจะวัดก็ต้องจับสาย + และ – มาช็อตหรือแตะกันแล้วปรับ  zero  ให้เข็มตกถึง 0  แล้วจึงจะทำการวัดอย่าลืมว่าอุปกรณ์ที่วัดต้องไม่มีแรงไฟหรือกระแสไฟคั่งค้างอยู่ ต้องเอาออกให้หมด  มิฉะนั้นมิเตอร์จะพัง  เวลาจะวัดอย่าเอามือทั้งสองข้างไปแตะอุปกรณ์ที่วัดจะทำให้ได้ค่าที่คลาดเคลื่อนตามรูปแล้วอ่านค่าบน scale  ที่เข็มชี้และคูณด้วย range ที่เราตั้ง  ถ้าเราพิจารณาจาก  scale  บนหน้าปัดจะเห็นว่ายังแบ่งออกเป็นช่องย่อยๆ อีกซึ่งแต่ละช่องนั้นมีค่าต่างๆ กัน  ขอให้พิจารณาให้ละเอียด  เช่น  จาก 1 ถึง 2 แบ่งออกเป็น 5 ช่อง  แต่ละช่องมีค่าเท่ากับ 0.2 ดังนั้นจาก 1 ถึง 2 ก็จะแบ่งออกเป็นช่องย่อยๆ เป็น 1.2,1.4,1.6,1.8  และ 2 หรือจาก 10 ถึง 20 แบ่งออกเป็น 10 ช่อง แต่ละช่องมีค่า 1 ค่า ที่อยู่ระหว่างนี้ก็จะเป็น 10,11,12,13,14  ไปเลื่อยๆ  จนถึง 20 ซึ่งนับว่าไม่เป็นการยาก

            ภายในมิเตอร์นี้มีถ่านไฟฉายอยู่ 2 ชุด คือชุดที่ 1 มี 9 โวลต์ จำนวน 1 ก้อน และชุดที่ 2 มี 1.5 โวลต์ จำนวน 2 ก้อน  เพื่อเอาไฟไปเลี้ยงขดลวด  moving   coil  ถ้าเราจับสาย + และ – มาช็อตกันแล้วเข็มไม่ตกถึง 0  แสดงว่าถ่านอ่อนหรือกระแสไม่พอต้องเปลี่ยนใหม่  ถ้าไม่เปลี่ยนค่าที่วัดได้จะคลาดเคลื่อนหมด

2.  เอ  ซี  โวลต์  มิเตอร์    ( A.C. volt  meter )    เครื่องวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ

การใช้มิเตอร์วัดไฟ  เอ  ซี  โวลต์  มิเตอร์   ( A.C. volt  meter )

            Range  switch  A.C. volt   meter  แบ่งย่านการวัดออกเป็น 4  range  คือ 10 v, 50v, 250v และ 1,000v

 

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

           จากรูปถ้าอ่านค่าที่สเกลบน  เข็มชี้ที่เลข 4 ถ้าตั้งมาตร 10 v จุดที่วัดจะมีค่า  4 v  ถ้าตั้งมาตร  1,000 v  จุดที่วัดจะมีค่า 400 v  (ค่าที่อ่านให้คูณด้วย  100)   ถ้าอ่านค่าที่สเกลกลาง  เข็มชี้ที่เลข 20  เมื่อตั้ง  range  50 v  จุดที่วัดจะมีค่า  20 v  ถ้าอ่านค่าที่สเกลล่าง  เข็มชี้ที่เลข 100  เมื่อตั้ง  range  250 v  จุดที่วัดจะมีค่า 100 v 

           ถ้าตั้ง     range  switch   ไปที่ 10 v หมายความว่าวัดไฟ A.C. ได้ไม่เกิน 10 v ถ้าไฟที่เราจะวัดเกินกว่าที่  range  switch   ตั้งไว้  meter ก็พัง  สรุปได้ว่า  ตั้ง  range เท่าใดไฟที่วัดต้องไม่เกิน  range  ที่วัด

           เวลาจะวัดก็วัดคร่อมหรือขนานกับไฟที่จะวัด  คือสาย –  (กราวนด์หรือดิน)  สาย +  จี้ไปยังจุดที่จะวัด (ไม่ต้องคำนึงถึงขั้ว + ขั้ว – เพราะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ)

           ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  10 v  หมายความว่าวัดไฟ  A.C.  ได้ไม่เกิน  10 v  ให้อ่านสเกล  0 – 10  ในแต่ละช่องมีค่าเท่ากับ  0.2  v 

           ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  50 v  หมายความว่าวัดไฟ  A.C.  ได้ไม่เกิน  50 v  ให้อ่านสเกล  0 – 50  ในแต่ละช่องมีค่าเท่ากับ  1

           ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  250 v  หมายความว่าวัดไฟ  A.C.  ได้ไม่เกิน  250 v  ให้อ่านสเกล  0 – 250  ในแต่ละช่องมีค่าเท่ากับ  5

           ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  1,000 v  หมายความว่าวัดไฟ  A.C.  ได้ไม่เกิน  1,000 v  ให้อ่านสเกล  0 – 10  ได้เท่าไรให้คูณด้วย  100

3.   ดี  ซี  โวลต์  มิเตอร์  ( D.C. volt  meter )   เครื่องวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง

การใช้มิเตอร์วัดไฟ  ดี  ซี  โวลต์  มิเตอร์  ( D.C. volt  meter )

           Range  switch  D.C. volt   meter  แบ่งย่านการวัดออกเป็น 7  range  คือ 0.1v, 0.5v ,2.5v , 10 v, 50v, 250v และ 1,000 v

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

วิธีวัด  ขั้ว – ของ meter  คือกราวด์หรือดิน  ขั้ว +  จี้ไปยังจุดที่เป็นไฟ + ที่จะวัด  ก่อนจะวัดต้องพิจารณาให้ดีว่าไฟที่จะวัดนั้นต้องไม่เกิน  range  ที่ตั้ง  เพื่อความปลอดภัยควรตั้ง  range  สูงไว้ก่อนถ้าเข็มขึ้นเล็กน้อยจึงค่อยๆลด  range  switch  ลงมา 

          ถ้าตั้ง     range  switch   ไปที่ 10 v หมายความว่าวัดไฟ D.C. ได้ไม่เกิน 10 v ถ้าไฟที่เราจะวัดเกินกว่าที่  range  switch   ตั้งไว้  meter ก็พัง  สรุปได้ว่า  ตั้ง  range เท่าใดไฟที่วัดต้องไม่เกิน  range  ที่วัด

           เวลาจะวัดก็วัดคร่อมหรือขนานกับไฟที่จะวัด  คือสาย –  (กราวนด์หรือดิน)  สาย +  จี้ไปยังจุดที่เป็นไฟ + ที่จะวัด ( ต้องคำนึงถึงขั้ว +  ขั้ว –  เพราะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง  ให้ขั้วหรือสายของเครื่องวัดตรงกับขั้วของวงจรหรือแหล่งจ่ายไฟที่เราจะวัด)

           ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  0.1 v  หมายความว่าวัดไฟ  D.C.  ได้ไม่เกิน  0.1 v  ให้อ่านสเกล  0 – 10  และอ่านให้เป็นสเกล  0 – 0.1  

           ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  0.5 v  หมายความว่าวัดไฟ  D.C.  ได้ไม่เกิน  0.5 v  ให้อ่านสเกล  0 – 50  และอ่านให้เป็นสเกล  0 – 0.5  

           ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  2.5 v  หมายความว่าวัดไฟ  D.C.  ได้ไม่เกิน  2.5 v  ให้อ่านสเกล  0 – 250  และอ่านให้เป็นสเกล  0 – 2.5   

           ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  10 v  หมายความว่าวัดไฟ  D.C.  ได้ไม่เกิน  10 v  ให้อ่านสเกล  0 – 10  ในแต่ละช่องมีค่าเท่ากับ  0.2  v 

           ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  50 v  หมายความว่าวัดไฟ  D.C.  ได้ไม่เกิน  50 v  ให้อ่านสเกล  0 – 50  ในแต่ละช่องมีค่าเท่ากับ  1

           ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  250 v  หมายความว่าวัดไฟ  D.C.  ได้ไม่เกิน  250 v  ให้อ่านสเกล  0 – 250  ในแต่ละช่องมีค่าเท่ากับ  5

           ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  1,000 v  หมายความว่าวัดไฟ  D.C.  ได้ไม่เกิน  1,000 v  ให้อ่านสเกล  0 – 10  ได้เท่าไรให้คูณด้วย  100   หรือ อ่านสเกล 0 – 10  ให้เป็นสเกล 0 – 1,000

4.   ดี.ซี.  มิลลิแอมป์ มิเตอร์  ( D.C.  Milliamp meter )   เครื่องวัดไฟฟ้ากระแสตรง

การใช้มิเตอร์  วัดไฟฟ้ากระแสตรง  ดี.ซี.  มิลลิแอมป์ มิเตอร์  ( D.C.  Milliamp meter )

           Range  switch  D.C.  Milliamp  meter  แบ่งย่านการวัดออกเป็น 4  range  คือ  50 uA,  2.5 MA,  25  MA และ  0.25 A  (หรือ  500 MA)

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

              Selector  switch  ที่เราบิดไปที่  range  ใดก็หมายความว่าวัดได้สูงสุดไม่เกินนั้น วิธีวัด เสียบสายให้เรียบร้อยลงในมิเตอร์ตั้ง  selector  switch  ในตำแหน่งย่ายที่วัดกระแสไฟ  D.C.  เพื่อความไม่ประมาทถ้าหากไม่รู้ว่ากระแสที่วัดนั้นมีค่ามากน้อยขนาดไหน  ให้ตั้งที่ย่านวัดสูงๆ ไว้ก่อนแล้วค่อยๆลด  selector  switch  ลงมา  จากนั้นให้ตัดวงจรที่จะวัดออกแล้วนำสายวัดทั้งสองที่ปลายสายของวงจรที่ถูกตัดซึ่งการวัดในลักษณะนี้ก็คือการวัดโดยต่อมิเตอร์อันดับกับวงจรที่วัดและจะต้องต่อสายวัดให้ถูกขั้วกับการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรด้วย  ถ้าต่อผิดขั้วเข็มมิเตอร์จะตีกลับทำให้มิเตอร์เสีย

การอ่านค่าบนสเกลนั้นใช้สเกลเดียวกับ   D.C. volt   meter

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

          ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  50 uA  หมายความว่าวัดกระแสไฟ  D.C.  ได้ไม่เกิน  50 uA  ให้อ่านสเกล  0 – 50  และอ่านให้เป็นสเกล  0 – 0.5   uA

          ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  2.5  MA  หมายความว่าวัดกระแสไฟ  D.C.  ได้ไม่เกิน  2.5  MA  ให้อ่านสเกล  0 – 250  และอ่านให้เป็นสเกล  0 – 2.5   M A 

          ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  25 M A  หมายความว่าวัดกระแสไฟ  D.C.  ได้ไม่เกิน  25  M A  ให้อ่านสเกล  0 – 250    และอ่านให้เป็นสเกล  0 – 25   M A 

          ถ้าตั้ง  range  switch   ไปที่  0.25  A  หมายความว่าวัดกระแสไฟ  D.C.  ได้ไม่เกิน  0.25 A  ให้อ่านสเกล  0 – 250   และอ่านให้เป็นสเกล  0 – 0.25    A 

3.การขยายย่านวัดไฟฟ้า

1.  ขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวร

                        โครงสร้างของมิเตอร์เบื้องต้นจะใช้รูปแบบของดาร์สันวาลมิเตอร์ตามที่กล่าวในหน่วยที่ เรื่องขดลวดเคลื่อนที่ จะอาศัยการทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าจ่ายเข้ามิเตอร์แต่เนื่องจากโครงสร้างมีขนาดเล็กขดลวดเคลื่อนที่จึงรับกระแสไฟฟ้าได้จำกัดค่าหนึ่งซึ่งน้อยมากแต่เกิดความคล่องตัวในการทำงานในขณะบ่ายเบนไปของอาร์เมเจอร์จะเกิดแรงเสียดทานน้อยช่วยให้การวัดค่าเกิดความเที่ยงตรงมากขึ้นด้วยข้อจำกัดของโครงสร้างจึงทำให้ดาร์สันวาลมิเตอร์ถูกจำกัดการใช้งานในวงแคบๆแต่ถ้าต้องการวัดกระแสไฟฟ้าปริมาณสูงเกินค่าจำกัดของกระแสไฟฟ้า จึงต้องหาตัวต้านทานมาต่อขนานเพื่อแบ่งกระแสไฟฟ้าส่วนที่เกินค่าจำกัดมาต่อ โครงสร้างของดาร์สันวาลมิเตอร์จะเป็นขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnet Moving Coil: PMMC) แสดงดังรูปที่ 2.22

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

                        จากรูปที่ 2.22 แสดงแม่เหล็กถาวรรูปเกือกม้ากับแกนเหล็กอ่อนทรงกระบอกที่ติดกับแม่เหล็กถาวรระหว่างขั้วเหนือใต้ โดยมีขดลวดเล็ก ๆ พันอยู่รอบ ๆ เรียกว่า ขดลวดอามาเจอร์(Armature) หรือขดลวดเคลื่อนที่ ขดลวดนี้จะพันบนรอบเหล็กสี่เหลี่ยมที่มีน้ำหนักเบามาก ๆ และติดยึดอยู่บนเดือยเพื่อให้สามารถเกิดการหมุนได้ เข็มชี้จะถูกยึดติดอยู่กับขดลวด เข็มชี้จะบ่ายเบนเมื่อขดลวดเคลื่อนที่เกิดการหมุน

                        2.  ตัวต้านทานชันต์

                            การสร้างมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าตรงแต่ละชนิดมีข้อจำกัดคือขดลวดของเครื่องวัดเล็กมากจึงรับกระแสไฟฟ้าได้ค่าจำกัดค่าหนึ่งซึ่งน้อยมาก เมื่อต้องการวัดกระแสไฟฟ้าที่มีปริมาณสูงเกินค่าจำกัดของกระแสไฟฟ้า จึงต้องหาตัวต้านทานมาต่อขนานหรือเรียกว่า ตัวต้านทานชันต์ (Shunt Resistor: RSh)” มาต่อขนานเข้ากับดาร์สันวาลมิเตอร์ตัวต้านทานขนานจะทำหน้าที่แบ่งกระแสไฟฟ้าส่วนเกินที่ดาร์–สันวาลมิเตอร์รับไม่ได้ให้ผ่านตัวต้านทานขนานนั้นไปลักษณะของตัวต้านทานชันต์ที่ใช้ต่อขนานกับ ดาร์สันวาลมิเตอร์แสดงดังรูปที่ 2.23 ซึ่งสามารถต่อเพิ่มเข้าไปจากภายนอกมิเตอร์ได้เพื่อช่วยเพิ่มให้แอมมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าได้สูงมากขึ้น

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

       2.3.2 การขยายย่านวัดของแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

                   การขยายย่านวัดของขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวรเพื่อทำเป็นแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง มี วิธี คือใช้ตัวต้านทานชันต์แบบตัวเดียวหรือแบบซิงเกิลชันต์ และใช้ตัวต้านทานแบบอาร์ตันชันต์

                   1.  การขยายย่านวัดของแอมมิเตอร์แบบซิงเกิลชันต์

                        การขยายย่านวัดของแอมมิเตอร์ย่านวัดเดียวแบบซิงเกิลชันต์ (Single Shunt Type of Ammeter) ใช้หลักการของการขนาน โดยนำตัวต้านทานชันต์ (ShuntResistor: RSh) มาต่อขนานดังรูปที่ 2.24 เพื่อแบ่งกระแสไฟฟ้าเข้าแอมมิเตอร์ไม่ให้เกินกระแสไฟฟ้าเต็มสเกล

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

                        จากรูปที่ 2.24 เมื่อนำมาเขียนเป็นวงจรไฟฟ้าของแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Ammeter Circuit) ได้ดังรูปที่ 2.25 และเป็นพื้นฐานของการขยายย่านวัดของแอมมิเตอร์ประกอบด้วยขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวรและตัวต้านทานชันต์ซึ่งมีค่าความต้านทานต่ำกระแสมิเตอร์(IM)หรือกระแสไฟฟ้าขดลวดจะเป็นสัดส่วนที่ส่งผลไปยังกระแสชันต์ (ISh) ดังนั้นกระแสไฟฟ้า จึงเป็นย่านวัด (Range) ของแอมมิเตอร์

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

            จากรูปที่ 2.25 โดยเพิ่ม RS ต่อขนานกับดาร์สันวาลมิเตอร์ RM เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้ามาในวงจร กระแสไฟฟ้าถูกแบ่งออกเป็น ส่วน ส่วนหนึ่งผ่านดาร์สันวาลมิเตอร์ อีกส่วนหนึ่งผ่านตัวต้านทานชันต์อักษรย่อต่างๆ กำหนดไว้ดังนี้

                           RM     =    ความต้านทานของขดลวดเคลื่อนที่(ความต้านทานภายใน) หน่วยโอห์ม (W)

RSh    =    ความต้านทานชันต์ หน่วยโอห์ม(W)                                                    

IM       =    กระแสไฟฟ้าสูงสุดเต็มสเกลของขดลวดเคลื่อนที่ หน่วยแอมแปร์ (A)

ISh     =    กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวต้านทานชันต์หน่วยแอมแปร์ (A)

I        =     กระแสไฟตรงรวมที่ไหลผ่านเข้าวงจรไฟฟ้าของแอมมิเตอร์ หน่วยแอมแปร์

                หรือกระแสไฟฟ้าสูงสุดเต็มสเกล (Full Scale Deflection Current: FSD) ของแอมมิเตอร์ (กระแสไฟฟ้านี้จะไหลไปยังโห

                ที่ต้องการวัด)

         เนื่องจากตัวต้านทานชันต์ (RSh) ต่อเป็นวงจรขนานกับดาร์สันวาลมิเตอร์มีความต้านทาน RMดังนั้นแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมตัวต้านทานชันต์เท่ากับแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมดาร์สันวาลมิเตอร์ ตามคุณสมบัติของวงจรขนาน เขียนสมการได้เป็น

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

         ในการออกแบบการขยายย่านวัดแอมมิเตอร์จะออกแบบให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานชันต์ (ISh) มีค่ามากกว่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามิเตอร์ (IM) มาก ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวรชำรุด

       ตัวอย่างที่ 2.11  จากรูปที่ 2.26 แอมมิเตอร์เป็นแบบขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวร มีความต้านทานขดลวด (ภายใน) RM= 99 W ที่เข็มชี้เต็มสเกลมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด 0.1 mA ความต้านทานชันต์RSh= 1 W จงหาค่าต่อไปนี้(Bell, David A., 1994: 41)

                                   ก)  กระแสไฟฟ้ารวมไหลเข้าแอมมิเตอร์ขณะเข็มชี้เต็มสเกล

                                   ข)  กระแสไฟฟ้ารวมไหลเข้าแอมมิเตอร์ขณะเข็มชี้ที่ 0.5 ของเต็มสเกล 

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

ตัวอย่างที่ 2.12      จากรูปที่ 2.27 แอมมิเตอร์ขนาด 1 mA มีความต้านทานขดลวด 100 Wต้องการ ทำให้เป็นแอมมิเตอร์ ขนาด 0–100 mA 

                            จงหาค่าความต้านทานชันต์ที่จะนำมาต่อขนาน

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

       2.3.3 การขยายย่านวัดของแอมมิเตอร์หลายย่านวัดแบบซิงเกิลชันต์

         แอมมิเตอร์หลายย่านวัด (Multi–Range Ammeters) แบบซิงเกิลชันต์ ดังรูปที่ 2.28 ใช้ในกรณีที่ต้องการแอมมิเตอร์เพื่อให้สามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้หลายค่าในเครื่องเดียวกัน ตัวต้านทานชันต์แต่ละย่านวัด จะแยกอิสระต่อกันและใช้สวิตช์เลือก (Selector Switch) เป็นตัวเปลี่ยนย่านวัด แต่มีข้อเสียคือเมื่อนำแอมมิเตอร์ไปวัดกระแสไฟฟ้าของวงจรใด ๆ แล้ว ขณะเปลี่ยนย่านวัดไปยังย่านวัดต่อไปทำให้กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรไหลเข้าขดลวดเคลื่อนที่ จนทำให้เกิดความเสียหายได้ 

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

         2.3.4 การขยายย่านวัดของแอมมิเตอร์แบบอาร์ตันชันต์

                   การขยายย่านวัดของแอมมิเตอร์แบบอาร์ตันชันต์ (Ayrton Shunt) หรือเรียกว่ายูนิเวอร์เซลชันต์ (Universal Shunt) ใช้หลักการของวงจรขนานเหมือนกับแบบซิงเกิลชันต์โดยใช้ตัวต้านทานชันต์    ย่านวัดต่ำสุดให้ถูกแบ่งไปให้ย่านวัดถัดไปตามลำดับจนถึงย่านวัดสูงสุด ดังรูปที่ 2.29 ทำให้ไม่มีปัญหาเหมือนกับการเปลี่ยนย่านวัดของแอมมิเตอร์หลายย่านวัดแบบซิงเกิลชันต์ เนื่องจากมีตัวต้านทานชันต์ต่อขนานอยู่กับขดลวดเคลื่อนที่เพื่อแบ่งกระแสไฟฟ้าส่วนที่เกินอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ทำให้ขดลวดเคลื่อนที่เกิดความเสียหายเนื่องจากกระแสไฟฟ้าเกิน (Jones, Larry D. & Chin, Foster A. 1991: 26)

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

                   จากรูปที่ 2.29 อาร์ตันชันต์ประกอบด้วย RSh2, RSh2และ RSh3 และอธิบายทิศทางกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมได้ดังรูปที่ 2.30

ความต้านทานชันต์:      RShT     =    RSh2+ RSh2+RSh3       ........... (2.6)

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

                        ถ้าสวิตช์เลือกอยู่ตำแหน่ง ดังรูปที่ 2.30 ข) เป็นผลให้ RSh2 + RSh3 ต่อขนานกับ RM+ RSh2 แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมสาขาที่ขนานกันจะเท่ากัน ในเทอมของกระแสไฟฟ้าและความต้านทาน จะได้

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

       ตัวอย่างที่ 2.13  จากรูปที่ 2.31 แอมมิเตอร์แบบ PMMCจงหาความต้านทานชันต์(Jones, Larry  D. & Chin, Foster A. 1991: 27)

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร

ความหมายของคลาสของเครื่องวัดคืออะไร