คํา พังเพย มี ความ หมาย ตรง กับ ข้อ ใด

คํา พังเพย มี ความ หมาย ตรง กับ ข้อ ใด

1. ข้อใดมีความหาย ตรงกับคำว่า "กินปูนร้อนท้อง"
ก. คนทำผิดมักกระวนกระวายใจ
ข. คนทำผิดมักจะชอบแก้ตัว
ค. คนทำผิดมักจะแสดงอาการพิรุธออกมา
ง. คนทำผิดมักจะเผลอบอกโดยไม่รู้ตัว

2. เขาเป็นคนมีอำนาจ สามารถชี้ต้นตาย ปลายเป็น ตรงกับข้อใด
ก. ใช้ให้ตายให้เป็นได้
ข. ทำอะไรก็ได้
ค. มีอำนาจคับฟ้า
ง. ว่าอย่างไรเป็นอย่างนั้น

3. การทำอะไรไปล่วงหน้า ทั้งๆที่ไม่ทราบถึงผลลัพธ์ กล่าวเป็นสำนวนอุปมา อย่างไร
ก. น้ำลอดใต้ทราย
ข. หวังน้ำบ่อหน้า
ค. หว่านพืชหวังผล
ง. ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก

4. "ปัดสวะให้พ้นตัว" มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. การเตือนให้รู้จักรักษาความสะอาดทั้งในบ้านและนอกบ้าน
ข. การมีนิสัยมักง่าย ปัดภาระให้พ้นตัว
ค. การไม่รับผิดชอบในงานที่ตนได้รับมอบหมาย
ง. การรักษาผลประโยชน์ของตนโดยไม่ใส่ใจว่าผู้อื่นจะเดือดร้อนเพราะการนั้น

5. "สิ่งที่เป็นภัยอยู่ใกล้ตัว" ใช้สำนวนว่าอย่างไร
ก. หนีเสือปะจระเข้
ข. ขว้างงูไม่พ้นคอ 
ค. หนามยอกอก
ง. ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่าเมียรัก

6. "คนที่ทำสิ่งใดโดยวิธีรุนแรง" กล่าวเป็นสำนวนได้อย่างไร
ก. น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือขวาง
ข. หักด้ามพร้าด้วยเข่า
ค. ตัดไปหัวลม
ง. ขิงก็ราข่าก็แรง

7. "หาความเดือดร้อนใส่ตัวเองโดยใช่เหตุ" กล่าวเป็นอุปมาว่าอย่างไร
ก. เอาเนื้อมาสู้เสือ
ข. เอามือซุกหีบ
ค. เอาเนื้อไปแลกกับหนัง
ง. เอาทองไปรู่กระเบื้อง

8. สำนวนใด "มุ่งสอนผู้หญิงโดยเฉพาะ"
ก. ชิงสุกก่อนห่าม
ข. ปลูกเรือนคร่อมตอ 
ค. น้ำตาลใกล้มด
ง. กินน้ำใต้ศอก

9. "อยู่ดีไม่ว่าดีไปเอาลูกเขามาเลี้ยง เป็นการ...................แท้ ๆ" 
ก. แกว่งเท้าหาเสี้ยน
ข. เอามือซุกหีบ
ค. พุ่งหอกเข้ารก
ง. หาเหาใส่หัว

10. สำนวนข้อใดมีรากฐานจากสภาพแวดล้อมที่อยู่ห่างไกลตัวเราที่สุด
ก. ติเรือทั้งโกลน
ข. ถอยหลังเข้าคลอง
ค. ชักแม่น้ำทั้งห้า
ง. ขนทรายเข้าวัด 

เฉลย. 1.ค. 2.ง. 3.ง. 4.ง. 5.ง. 6.ข. 7.ข. 8 ง. 9.ง. 10.ค. 

คำพังเพย, คำพังเพย หมายถึง, คำพังเพย คือ, คำพังเพย ความหมาย, คำพังเพย คืออะไร

คำพังเพย

         คำพังเพย  เป็นการกล่าวเปรียบเทียบ(อุปมา) ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  มีที่มาจากคำกล่าวต่อๆกันมาช้านาน จากเหตุการณ์ในวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อนๆซึ่งมีความหมายแฝง มีลักษณะคล้ายภาษิต เพื่อเป็นข้อคิดหรือแสดงความคิดเห็นทั่วๆไป หรืออาจเป็นการกล่าวเปรียบเปรยอะไรบางอย่างโดยมิได้มุ่งเน้นการสอนใจ หรืออาจเป็นการกล่าวกระทบเสียดสีก็ได้ 

ตัวอย่างคำพังเพย

          กินปูนร้อนท้อง : คำพังเพยนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู ) มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า " ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง "

        ขนมพอผสมกับน้ำยา  : ที่มาของคำพังเพยนี้เข้าใจว่ามาจาก  " ขนมจีนน้ำยา "  ที่เราเคยรับประทานกันมาแล้ว  คือ  ขนมจีนกับน้ำยาจะต้องผสมให้เข้ากันหรือได้ส่วนพอเหมาะ  จึงจะรับประทานอร่อยเรียกว่าเวลาตักน้ำยาราดขนมลงบนขนมจีน  ต้องกะส่วนให้พอลงคลุกผสมกับขนมจีนได้พอเหมาะ  หรือให้มีสัดส่วนเข้ากันพอดีทั้งสองฝ่าย  เมื่อรับประทานแล้วเกิดอร่อยไม่ใช่ว่าขนมจีนอร่อย  หรือน้ำยาอร่อยแต่อร่อยด้วยกันทั้งสองอย่าง  เรียกว่า  " พอดีกัน "  จึงเกิดเป็นสำนวนที่ตีความหมายเอาว่า  ทั้งสองฝ่ายต่างพอดีกัน  จะว่าข้างไหนดีก็ไม่ได้


คำพังเพย, คำพังเพย หมายถึง, คำพังเพย คือ, คำพังเพย ความหมาย, คำพังเพย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!