ดอกเบี้ยร้อยละต่อปี คิดยังไง

1. ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่เดือนมกราคม ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท เมื่อสิ้นปีจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (365/365) = 50 บาท

2. ถ้ากรณีคิดดอกเบี้ยครึ่งปีจำนวนวันที่ฝากก็จะลดลง เหลือ 180 วัน แทนค่าในสูตรได้ 10,000* 0.5% *( 180/365) = ประมาณ 24.65 บาท

โดยปกติแล้วธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ย 2 รอบคือเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ฉะนั้นให้ใช้แบบตัวอย่างที่ 2 ก็ได้เพราะครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลังก็จะได้ดอกเบี้ยเท่ากัน

แบบที่ 2 กรณีฝากเงินไม่ได้เริ่มต้นปี

1. ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่เดือนเมษายน ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยเดือน มิถุนายน ดังนั้นตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ระยะเวลาประมาณ 90 วัน จะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 12.32 บาท

แบบที่ 3 กรณีฝากเงิน 2 รอบก่อนจ่ายดอกเบี้ยครึ่งปี

ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่ วันที่ 1 เดือนมกราคม ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท และมาฝากเงินอีก 10,000 บาท วันที่ 1 เดือนเมษายน ในคอบครึ่งปีเดือนมิถุนายนจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

1. ดอกเบี้ยจากเงินฝากก้อนแรก 10,000 บาทตั้งแต่ วันที่ 1 เดือนมกราคมมาถึงวันที่ 31 เดือนมีนาคมประมาณ 90 วันดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 12.32 บาท

2. ดอกเบี้ยจากเงินฝากเพิ่มอีก 10,000 บาทในวันที่ 1 เดือนเมษายนรวมเงินฝากก้อนเดิมอีก 10,000 บาทเป็น 20,000 บาท ไปจ่ายดอกเบี้ยในเดือน มิถุนายน รวมเวลา 90 วัน ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 20,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 24.65 บาท

ฉะนั้นในรอบเดือนมิถุนายนที่ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยก็จะได้ประมาณ  36.97 บาท

ฝากเงินอาทิตย์เดียวได้ดอกเบี้ยเบี้ยเท่าไหร่

เนื่องจากเงินฝากของเราธนาคารคิดดอกเบี้ยให้เป็นรายวันอยู่แล้วแต่จะจ่ายให้ทุกรอบกลางปีและสิ้นปี ถ้าสมมติว่าไม่นับว่าเริ่มต้นฝากเงินเดือนไหนแต่ฝากแค่ 7 วันธนาคารก็ให้ดอกเบี้ยเหมือนกัน ตัวอย่างวิธีคิดคือ

ฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท ระยะเวลา 7 วัน จะได้ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (7/365) = 0.95 บาท ครับ

หลายคนไม่รู้ว่าถ้าเรามีเงินนิ่งๆ อยู่ในธนาคาร 1 วันหรือ 2 วันเค้าก็คิดดอกเบี้ยให้แล้ว แต่อาจจะไม่ได้เยอะ ฉะนั้นอย่าทิ้งเงินไว้ในกระปุกที่บ้านเลย เอาไปฝากไว้กับธนาคารจะดีกว่า

เปลี่ยนจากฝากเงินเอาดอกเบี้ยหลักสิบเป็นความคุ้มครองหลักล้านและได้ลงทุนดีกว่า

เพื่อนๆ กำลังฝากเงินไว้ในธนาคารเพื่อเอาดอกเบี้ยที่เท่ากับเงินทอนอยู่รึป่าว หรือกำลังมองหาประกันสะสมทรัพย์เพื่อความคุ้มครองแต่ผลตอบแทนที่ได้ก็ไม่คุ้มค่า

การคิดดอกเบี้ยแบบคงที่จะคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นและระยะเวลาผ่อนชำระทั้งหมด ไม่ได้คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นที่ลดลงในแต่ละงวดเหมือนการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ดังนั้นจำนวนดอกเบี้ยทั้งหมดที่เราต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้ก็จะแตกต่างกัน จึงควรศึกษาให้เข้าใจก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อ

รู้หรือไม่... วิธีคิดดอกเบี้ยที่ต่างกัน จะทำให้จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแตกต่างกันด้วย หลายคนจำต้องจ่ายดอกเบี้ยมากมาย เพียงเพราะไม่รู้ว่าเจ้าหนี้มีวิธีคิดดอกเบี้ยอย่างไร ตัวอย่างข้างล่างนี้คงพอทำให้เข้าใจวิธีคิดดอกเบี้ยมากขึ้น...

ตัวอย่าง เงินกู้ 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี และระยะเวลาผ่อนชำระ 36 เดือนเท่ากัน ลองคำนวณดูว่า จำนวนเงินผ่อนต่องวดและจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละวิธีคิดเป็นเท่าไหร่

23-learn-how-loan-interest-works_1

จะเห็นว่า การคิดดอกเบี้ยแบบคงที่จะคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งจำนวนและระยะเวลาในการผ่อนชำระทั้งหมด แต่หากเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกจะคิดดอกเบี้ยทีละงวดจากยอดเงินต้นคงเหลือที่ทยอยลดลงในแต่ละงวด ในกรณีที่ชำระหนี้ด้วยเงินเท่ากันทุกงวด เมื่อคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแล้ว ก็จะนำมาหักออกจากจำนวนเงินงวดที่จ่าย เพื่อหาเงินต้นของงวดนั้น แล้วจึงนำเงินต้นของงวดนั้นมาหาเงินต้นคงเหลือสำหรับคำนวณดอกเบี้ยในงวดถัดไป

23-learn-how-loan-interest-works_2

จากตัวอย่างข้างต้น สถาบันการเงินจะคำนวณเงินที่ต้องผ่อนต่องวด จากนั้นจะถูกนำไปคำนวณเป็นสัดส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละงวดตามสูตรคำนวณแบบลดต้นลดดอกต่อไปดังนี้

23-learn-how-loan-interest-works_3

โดยสรุปแล้ว จากตัวอย่างข้างต้น หากจำนวนเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาผ่อนชำระเท่ากัน การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกจะมีจำนวนเงินผ่อนต่อเดือนน้อยกว่าและจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมดน้อยกว่าการคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ถึง 32,857 บาท! (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “คู่มือรู้รอบเรื่องการเงิน เป็นหนี้อย่างเป็นสุข” ธนาคารแห่งประเทศไทย คลิกที่นี่)

หากใครสนใจทดลองคำนวณจำนวนเงินผ่อนและดอกเบี้ยแบบคงที่และแบบลดต้นลดดอก สามารถใช้โปรแกรมคำนวณดังนี้

โปรแกรมคิดเงินผ่อนก่อนซื้อรถ คลิกที่นี่

โปรแกรมคิดเงินผ่อนก่อนซื้อบ้าน คลิกที่นี่

สำหรับใครที่สนใจเรียนรู้เทคนิคบริหารจัดการหนี้ ให้มีเงินเหลือใช้ และสามารถเก็บออมเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตได้