พระนางปชาบดีโคตมีมีความสำคัญอย่างไร

พระศาสดาไม่ทรงอนุญาต แม้พระนางเจ้าจะทูลวอนขอถึงสามครั้ง ก็ไม่สมพระประสงค์ ทรงโทมนัส ทรงพระกรรแสง เสด็จกลับพระนิเวศน์           

 เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จกลับไปประทับยังกุฎคารศาลา ป่ามหาวัน ณ พระนครไพศาลีแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยนางกษัตริย์ศากยราชวงค์เป็นอันมาก ที่ยินดีในการบรรพชา ปลงพระเกศา นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ พากันเสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ ไปเมืองไพศาลีด้วยพระบาท ตั้งพระทัยขอประทานบรรพชา ทรงดำเนินไปจนกระถึงกุฎาคารศาลา ประทับยืนกรรแสงอยู่ที่ซุ้มประตูกุฎาคารศาลา ที่พระบรมศาสดาประทับนั้น           

 ขณะนั้น พระอานนท์ออกมาพบไต่ถาม ทราบความแล้ว ก็รับเป็นภาระนำความกราบทูลขอประทานอุปสมบท ให้พระนางมหาชาบดี            

ในครั้งแรก พระบรมศาสดาไม่ทรงอนุญาต ตรัสว่า สตรีไม่ควรอุปสมบท  

ภายหลังพระอานนท์ทูลถามว่า หากสตรีบวชแล้ว จะสามารถปฎิบัติธรรมได้บรรลุอริยมรรค อริผล โดยควรแก่อุปนิสสัยหรือไม่?            

เมื่อพระศาสดาตรัสว่า “สามารถ”            

พระอานนท์ก็กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น ขอได้ทรงพระกรุณาประทานโอกาสให้พระเจ้าน้า ได้ทรงอุปสมบทเถิด       

พระนางปชาบดีโคตมี

พระนางปชาบดีโคตมีมีความสำคัญอย่างไร

     ทรงรับสั่งว่า            “อานนท์ ผิวะพระนางมหาปชาบดีโคตมี จะทรงรับปฏิบัติครุธรรม ๘ ได้บริบูรณ์ ตถาคตก็อนุญาตให้ได้”            

“อานนท์ ครุธรรม ๘ ประการนั้น ดังนี้           

 ๑. ภิกษุณีแม้จะบวชได้ 100 พรรษา ก็พึงให้ทำอัญชลี เคารพนบนอบภิกษุ แม้บวชในวันเดียวนั้น            

๒. ภิกษุณีอย่าอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ            

๓. ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับโอวาท แต่สำนักสงฆ์ทุกกึ่งเดือน            

๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้ว ให้พึงปวารณาในสำนักอุภโตสงฆ์            

๕. ภิกษุณี หากต้องอยู่ปริวาสกรรม พึงประพฤติปักขมานัต (คืออยู่มานัตถึงกึ่งเดือน) ในสำนักอุภโตสงฆ์            

๖. ภิกษุณี อุปสมบทในสำนักอุภโตสงฆ์ พึงสมาทานซึ่งวัตรปฎิบัติในธรรม ๖ ประการ คือ เว้นจากปาณาติบาต ถึงวิกาลโภชนะ เป็นต้น มิให้ล่วง และศึกษาให้รู้วัตรปฎิบัติต่าง ๆ สิ้นกาลถึงพรรษาเต็ม            

๗. ภิกษุณี อย่าพึงด่าบริภาษภิกษุสงฆ์ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง            

๘. ภิกษุณี นับแต่วันบรรพชาเป็นต้นไป พึงสดับรับโอวาทของภิกษุกล่าวสั่งสอนฝ่ายเดียว ห้ามโอวาทสั่งสอนภิกษุ ฯ            

พระอานนท์เถระ เรียนจำครุธรรม ๘ ประการนั้น จากพระบรมศาสดาแล้ว ก็ออกมาแจ้งพระพุทธบัญชานั้นแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี 

พระนางเจ้าทรงน้อมรับที่จะปฏิบัติด้วยความยินดีทุกประการ พระอานนท์ก็เข้ามากราบทูลพระบรมศาสดาให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงโปรดประทานบรรพชาอุปสมบทแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี กับศากยะขัตติยนารีด้วยกันทั้งสิ้น            

ครั้นออกพระวัสสา ปวารณาแล้ว พระบรมศาสดากับทั้งพระสงฆ์สาวกทั้งหลายก็เสด็จจากเมืองไพศาลี ไปพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร ฝ่ายข้างพระนครกบิลพัสดุ์ เมื่อพระนางเจ้ามหาปชาบดีโคตมี ทรงผนวชแล้ว บรรดามหาอำมาตย์และราชปุโรหิตทั้งหลาย ได้ประชุมพร้อมกันยก “เจ้าศากยะมหานาม” โอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เสวยราชสมบัติสืบราชสันติวงศ์            

ต่อมา พระนางพิมพาเทวี มารดาราหุลกุมาร ก็เข้าเฝ้าพระเจ้ามหานาม ทูลลาออกบรรพชา แล้วทรงพาบรรดาขัตติยนารีทั้งหลาย เดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระเชตวันวิหาร ทูลขอประทานบรรพชาอุปสมบท สมเด็จพระบรมสุคตก็ทรงประทานบรรพชาอุปสมบทแก่พระนางเจ้า และบรรดาขัตติยนารีทั้งสิ้น ด้วยครุธรรม ๘ ประการนั้น 



สงวนลิขสิทธิ์โดย ธรรมะพีเดีย.คอม
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์
อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา

www.thammapedia.com
( ศูนย์เผยแผ่พระพุทธธรรม )
Copyright © 2008 ALL RIGHTS RESERVED

พระมหาปชาบดีเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งพระนครเทวทหะ เป็น พระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) พระประยูรญาตถวายพระนามว่า “โคตมี”

ทรงเป็นทั้งพระน้านางและพระมารดาเลี้ยง พระนางสิริมหามายาทรงอภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะศากยราช
แห่งพระนครกบิลพัสดุ์ ต่อมาพระบรมโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิใน พระครรภ์ของพระนางสิริมหามายราชเทวี พอประสูติพระราชโอรส คือเจ้าชายสิทธัตถะได้เพียง ๗ วัน พระนางสิริมหามายาราชเทวี ก็สวรรคตไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสวรรค์ชั้นดุสิต

พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงมอบให้การเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะแก่พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ผู้ศักดิ์ เป็นพระมาตุจฉา (พระน้านาง) ซึ่งต่อมาได้สถาปนาพระนางไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี และ ได้ประสูติพระราชโอรสนามว่า “นันทกุมาร” และพระราชธิดานามว่า “รูปนันทา”

พระนางประชาบดีเป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า และ ทั้งยังทรงเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้าด้วย ทรงเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าในวัยเด็กมาอย่างดี

ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกผนวชได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว เสด็จไป โปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร และทรงแสดง ธรรมกถาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ในระหว่างถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระ
โสดาบัน ครั้นวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระโสดาบัน ครั้น วันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา และพระน้านางยังพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาปัตติผล และในวันรุ่งขึ้น ทรงแสดงมหาปาลชาดกโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พอจบลง พระพุทธบิดา ทรงบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี

ในวันที่ ๔ แห่งการเสด็จโปรดพระประยูรญาติ พระพุทธองค์เสด็จไปในพิธีอาวาหมงคลอภิเษกสมรส นันทกุมารพระอนุชาต่างพระมารดา กับพระนางชนปทกัลยาณี เมื่อเสร็จพิธีอาวาหมงคล พระพุทธองค์ได้นำนัทกุมาร ไปบวชในวันนั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ แห่งการ
เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงพาราหุลกุมารออกบรรพชาเป็นสามเณรอีก จึงยังความเศร้าโศกให้ บังเกิดแก่พระเจ้าสุทโธทนะยิ่งนักเพราะเกรงว่าจะขาดรัชทายาทสืบสันติวงศ์


ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วเข้าสู่ปรินิพพาน เมื่อการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นลงแล้ว

พระนางมหาปชาบดีโคตรมีรู้สึกว้าเหว่พระทัย มีพระ ประสงค์จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาจึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่นิโครธาราม กราบทูล ขออุปสมบท

แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา

พระนางกราบทูล อ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่เป็นผล รู้สึกผิดหวังเศร้าโศกโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบทูลลาเสด็จ กลับพระราชนิเวศน์

ส่วนพระบรมศาสดาประทับ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ โดยสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวาร เสด็จไปยังพระนครเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน

ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังแคว้นเวสาลี พระนางได้โกนผมเหมือนนักบวช ทรงผ้าผ้ากาสาวพัสตร์ และนำสตรีวรรณะกษัตริย์ 500 ท่าน (ผู้ซึ่งสามีได้ออกบวชแล้วไป) ออกเสด็จด้วยพระบาทไปหาพระพุทธเจ้า เพื่อขอบวชอีกครั้งนึง แต่ว่า พระพุทธเจ้าก็ยังไม่ทรงอนุญาต

พระอานนท์มาพบพระนางร้องไห้ อยุ่ที่ริมประตูจึงเข้าไปถาม เมื่อทราบความแล้ว จึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อช่วยทูลขอให้พระองค์อนุญาตให้สตรีออกบวชได้ โดยพระอานนท์ให้เหตุผลว่า สตรีทั้งหลายล้วนมีความสามารถในการบรรลุธรรมไม่ต่างจากบุรุษ และ ครั้งนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาต แต่ว่า สตรีทั้งหลายต้องรับ “ครุธรรม 8 ประการ”พระอานนท์ เรียนครุธรรม 8 ประการจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี แล้วกล่าวว่า "พระนางโคตมี ถ้าพระนางจะพึงรับครุธรรม ๘ ประการได้ นั้นก็จักเป็นอุปสัมปทา(การบวช) ของพระนาง คือ

1.ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้วได้ 100 พรรษา ก็พึงเคารพกราบไว้ พระภิกษุ แม้อุปสมบทได้วันเดียว

2.ภิกษุณี จะอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีพระภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในอาวาสที่มีพระภิกษุ

3.ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับฟังโอวาทจากสำนักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน

4.ภิกษุณี อยู่จำพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทำปวารณาในสำนักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย (ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)

5.ภิกษุณี ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรม ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย

6.ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสำนักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมานารักษา “สิกขาบท 6 ประการ” คือ ศีล 5 กับ การเว้นการรับประทานอาหารยามวิกาล ทั้ง 6 ประการนี้มิให้ขาดตกบกพร่องเป็นเวลา 2 ปี ถ้าบกพร่องในระหว่าง 2 ปี ต้องเริ่มปฏิบัติใหม่

7.ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกถาคือ ด่าบริพาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้

8.ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้โอวาทภิกษุมิได้

พระนางประชาบดี โคตมี ทรงดีพระทัยมาก ทรงรับครุธรรม 8 ประการไว้

พระพุทธองค์จึง ประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมศากยขัดติยนารีที่ติดตามมาด้วยทั้งหมด
เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้วเรียนพระ กรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา อุตสาห์บำเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาทไม่นานนักก็ได้ บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง 500 รูป และได้บำเพ็ญกิจพระศาสนาเต็มกำลัง
ความสามารถ
ลำดับต่อมา เมื่อพระศาสดาประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาภิกษุณีใน ตำแหน่งเอตทัคคะ หลายตำแหน่ง

พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นผู้มีวัยวุฒิสูง คือรู้กาลนาน มีประสบการณ์มาก รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้น

จึงทรงสถาปนาพระนางนำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้รัตตัญญู คือ ผู้รู้ ราตรีนาน