เส้นประสาทคู่ที่ 5 ทำหน้าที่อะไร

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเกิดจากกการที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ห้าที่ไปเลี้ยงบริเวณใบหน้าถูกกดทับจากสาเหตุต่างๆ โดยส่วนมากมักเกิดจากเส้นเลือดสมองที่อยู่ใกล้เคียงไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้การทำงานของเส้นประสาทผิดปกติและไวต่อการกระตุ้นมากเกินไป นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ก้อนเนื้องอกหรือซีสต์ในสมองกดเบียดเส้นประสาท มีการอักเสบของเส้นประสาทจากโรค multiple sclerosis  การบาดเจ็บของเส้นประสาทจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

Show

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยกลางคนจนถึงผู้สูงอายุ พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังบริเวณใบหน้าและอาจมีอาการรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเกิดจากอะไร ?

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเกิดจากกการที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ห้าที่ไปเลี้ยงบริเวณใบหน้าถูกกดทับจากสาเหตุต่างๆ โดยส่วนมากมักเกิดจากเส้นเลือดสมองที่อยู่ใกล้เคียงไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้การทำงานของเส้นประสาทผิดปกติและไวต่อการกระตุ้นมากเกินไป นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ก้อนเนื้องอกหรือซีสต์ในสมองกดเบียดเส้นประสาท มีการอักเสบของเส้นประสาทจากโรค multiple sclerosis  การบาดเจ็บของเส้นประสาทจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

อาการของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเป็นอย่างไร ?

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่ใบหน้าด้านใดด้านหนึ่ง ลักษณะปวดแปล็บคล้ายไฟช็อตหรือถูกเข็มแทง อาจมีอาการปวดคล้ายปวดฟันหรือปวดเหงือก อาการปวดจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน มักมีอาการเป็นช่วงๆ ช่วงเวลาสั้นๆ เป็นซ้ำตลอดวัน โดยจะมีอาการมากเมื่อถูกกระตุ้นโดยการสัมผัส เช่น ลมพัด ล้างหน้า แปรงฟัน การทานอาหาร เมื่อเวลาผ่านไปอาการปวดอาจเป็นบ่อยหรือปวดรุนแรงขึ้นจนทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าวินิจฉัยได้อย่างไร ?

การวินิจฉัยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยละเอียด และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI scan) เพื่อดูการกดทับของเส้นประสาทจากสาเหตุต่างๆ เช่น เนื้องอกสมอง หรือการอักเสบของเส้นประสาทจากโรค multiple sclerosis

วิธีการรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

สำหรับผู้ที่มีอาการในระยะแรกๆมักตอบสนองต่อยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเส้นประสาท เช่น Dilantin Carbamazepine Gabapentin Baclofen แต่เนื่องจากการใช้ยาไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุของโรค ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีอาการปวดอีกหลังหยุดทานยาและยาอาจได้ผลลดลงในระยะหลังๆ

  1. การรักษาโดยการทำลายเส้นประสาท

การรักษาโดยการทำลายเส้นประสาทสมองคู่ที่ห้าโดยวิธีต่างๆ เช่น การฉายรังสี การใช้ความร้อน หรือการฉีดสารกลีเซอรอลทำลายเส้นประสาท สามารถทำให้อาการปวดลดลงแต่จะเกิดผลข้างเคียงคืออาการชาบริเวณใบหน้าซึ่งอาจเกิดขึ้นถาวรได้  ข้อดีของการรักษาวิธีนี้ คือ ไม่ต้องได้รับการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้

โดยการผ่าตัดเพื่อเคลื่อนย้ายเส้นเลือดที่กดทับเส้นประสาทออก เป็นการแก้ไขที่สาเหตุจึงมีโอกาสหายขาดจากโรคสูง ความเสี่ยงจากการผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น เลือดออกบริเวณแผลผ่าตัด การติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนขณะดมยาสลบ

     แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าได้โดยการซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด ร่วมกับทำการตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI (magnetic resonance imaging) เพื่อแยกโรคออกจากโรคอื่นๆ ที่มีลักษณะอาการคล้ายคลึงกันและช่วยให้การวินิจฉัยถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น

อาการปวดศีรษะ (Headache) เป็นอาการทางระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุด ไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยปวดศีรษะ แต่โชคดีที่อาการปวดศีรษะส่วนใหญ่นั้น มีสาเหตุไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะไมเกรน ปวดศีรษะจากความเครียด เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เวลามีอาการปวดศีรษะ จึงนิยมซื้อยาทานเองเพื่อแก้อาการปวดศีรษะ จนบางครั้งกว่าจะมาพบแพทย์ก็มีอาการรุนแรงจนไม่สามารถแก้ไขได้

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สนใจดูแลสุขภาพตนเองได้ทราบว่า สัญญาณอันตรายของอาการปวดศีรษะคืออะไร และเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ นำเสนอแบบ ถาม-ตอบ เพื่อความเข้าใจที่ง่าย ตรงประเด็น

เส้นประสาทคู่ที่ 5 ทำหน้าที่อะไร

อาการปวดศีรษะที่ร้ายแรงคืออะไร?

หลายคนเคยสงสัยว่า อยู่ดีๆก็มีการปวดเสียวแปล๊บบริเวณใบหน้า บริเวณแก้ม เป็นๆหาย ๆ ลักษณะคล้ายปวดฟัน ไปพบทันตแพทย์ก็ตรวจไม่พบความผิดปกติ หรืออาจตรวจพบฟันผุ รักษาฟันผุเรียบร้อยก็ไม่หายปวด ปวดแต่ละครั้งรุนแรงจนน้ำตาไหล เพราะปวดรุนแรงมาก ไปตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ เราเป็นอะไรกันแน่ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น คือโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal neuralgia) เราลองมาติดตามรายละเอียดของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าดูนะครับ

เส้นประสาทใบหน้าคืออะไร?

เส้นประสาทใบหน้า คือ เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 โดยเส้นประสาทสมองของมนุษย์นั้นมีทั้งหมด 12 คู่ เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ทำหน้าที่นำความรู้สึกมาเลี้ยงบริเวณบริเวณใบหน้า โดยต้นกำเนิดของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 นี้อยู่บริเวณก้านสมอง

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าพบได้บ่อยไหม? พบในอายุเท่าไร?

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าพบได้ไม่บ่อย โดยพบได้ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย กลุ่มอายุที่พบบ่อยคือ ตั้งแต่วัยกลางคนถึงผู้สูงอายุ

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้ามีกลุ่มปัจจัยเสี่ยงไหม?

โรคนี้พบได้ในคนทั่วไป ไม่มีกลุ่มเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคนี้โดยเฉพาะ

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้ามีอาการอย่างไร?

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้ามีอาการปวดที่ใบหน้าด้านใดด้านหนึ่ง จะไม่เป็นพร้อมกันทั้ง 2 ด้าน (โอกาสเกิดในด้านซ้ายและด้านขวาใกล้เคียงกัน) หรืออาจปวดบริเวณแก้ม กระพุ้งแก้ม เหงือกและฟันด้านใดด้านหนึ่งได้อย่างรุนแรง

อาการปวดจะเป็นขึ้นมาเองโดยฉับพลัน โดยผู้ป่วยจะปวดเหมือนถูกเข็มแทง ไฟช็อต หรือ ปวดแสบร้อนบริเวณใบหน้า รวมทั้งเหงือก บางรายเข้าใจว่าปวดฟัน จึงไปพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาฟันผุ รักษาเหงือกอักเสบ หรือบางรายถูกถอนฟันไปหลายซี่ อาการก็ไม่หายปวด

อาการปวดเส้นประสาทใบหน้าเป็นบ่อยหรือไม่?

อาการปวดมักจะเกิดอย่างรุนแรงเป็นพักๆ ช่วงสั้นๆ ไม่กี่วินาทีและหายได้เอง แต่จะเป็นซ้ำๆ ถี่ๆ ตลอดทั้งวัน ทำให้ผู้ป่วยทรมานอย่างมาก บางรายไม่สามารถสัมผัสบริเวณใบหน้าได้ หรือไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ แปรงฟัน หรือโกนหนวดไม่ได้ ซึ่งรบกวนการดำรงชีวิตอย่างมาก บางคนทานอาหารไม่ได้จนผอมลงอย่างมาก จนกลัวว่าตนเองจะเป็นโรคมะเร็ง

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเกิดจากอะไร?

สาเหตุของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า เกิดจากหลอดเลือดสมองไปกดทับเส้นประสาทใบหน้า (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5) ในบริเวณก้านสมอง นอกจากนี้อาจเกิดจากเนื้องอกสมอง หรือ ปลอกประสาทเสื่อม หรือ บ่อยครั้งแพทย์หาสาเหตุไม่พบ

ทำไมจึงมีอาการผิดปกติดังกล่าว?

เนื่องจากเส้นประสาทใบหน้าทำหน้าที่รับความรู้สึกจากบริเวณใบหน้าและช่องปาก เมื่อเกิดอาการผิดปกติต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ผู้ป่วยจึงมีอาการดังกล่าว

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์?

โรคนี้ไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่ผู้ป่วยจะรำคาญและทรมานจากอาการปวดที่รุนแรง ดังนั้นผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติและอาการดังกล่าวส่งผลรบกวนการดำรงชีวิต

แพทย์วินิจฉัยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าได้อย่างไร?

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า แพทย์ให้การวินิจฉัย โดยการสอบถามอาการร่วมกับการตรวจร่างกาย ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องตรวจไม่พบมีความผิดปกติทางระบบประสาทส่วนอื่นๆเลย แพทย์ก็สามารถวินิจฉัยได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หรือแม่เหล็กไฟฟ้า/เอมอาร์ไอสมอง

เมื่อใดต้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองหรือแม่เหล็กไฟฟ้า/เอมอาร์ไอสมอง?

แพทย์จะส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หรือแม่เหล็กไฟฟ้า/เอมอาร์ไอสมอง กรณีที่ตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาทอื่นๆร่วมด้วย หรือกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาแล้วไม่ตอบสนองต่อการรักษา และ/หรือมีอาการดังกล่าวแล้วในหัวข้อ อาการ มานานโดยไม่มีช่วงที่หายจากอาการเลย

รักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าทำอย่างไร?

การรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าได้ผลดีด้วยยาคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) กรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนอง อาจต้องเพิ่มขนาดยา หรือเพิ่มยาชนิดอื่นๆ เช่น ยาไตรเล็บทอล (Tri leptal) ยากาบาเพ็นติน (Gabapentin) หรือ ยาแบคโคลเฟน (Baclofen) โดยยาจะรักษาอา การปวดเท่านั้น ไม่ได้รักษาสาเหตุ ดังนั้นอาการอาจไม่หายขาด เมื่อหยุดยาก็อาจมีโอกาสเป็นซ้ำได้

ต้องทานยานานเท่าไหร่?

ยาที่ใช้รักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าได้ผลดีที่สุดคือ ยาคาร์บามาซิปีน โดยแพทย์จะเริ่มให้ขนาดต่ำๆก่อนเสมอ เพื่อดูการตอบสนองและการแพ้ยา เมื่ออาการดีขึ้น แพทย์ก็จะค่อยๆลดขนาดยาลง ถ้าไม่มีอาการอีก แพทย์ก็จะหยุดยา แต่ถ้ามีอาการกลับเป็นซ้ำ แพทย์ก็จะเริ่มให้ยาใหม่ ระยะเวลาที่ทานยานั้นก็ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของอาการ

กรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาทานจะทำอย่างไร?

ยาที่ใช้รักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้ามีหลายชนิด ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาชนิดใด แพทย์ก็จะเลือกชนิดยาใหม่ และค่อยๆปรับขนาดยา ผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับยาหลายชนิดร่วมกัน แต่ถ้าไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต่างๆเลย แพทย์อาจส่งตรวจเอกซ เรย์คอมพิวเตอร์สมอง หรือแม่เหล็กไฟฟ้า/เอมอาร์ไอสมองเพื่อหาสาเหตุต่อไป

ผู้ป่วยจำเป็นต้องผ่าตัดทุกรายหรือไม่?

การผ่าตัดในโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า จำเป็นในกรณีที่เกิดจากสาเหตุเนื้องอกสมอง หรือ หลอดเลือดสมองไปกดเบียดเส้นประสาทเส้นที่ 5 มาก หรือโรคที่จำเป็นต้องผ่าตัด เช่น ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเลย

การผ่าตัดรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้ามีกี่แบบ?

การผ่าตัดรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้ามีหลายวิธี ได้แก่

  1. การทำลายเส้นประสาทเส้นที่ 5 โดยความร้อน
  2. การทำลายเส้นประสาทเส้นที่ 5 โดยการฉายรังสีรักษา
  3. การผ่าตัดสมองเพื่อเข้าไปนำก้อนเนื้องอกสมองออกมา หรือ การโยกเปลี่ยนตำแหน่งของหลอดเลือดที่กดทับเส้นประสาทเส้นที่ 5 ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสหายขาดสูง เพราะเป็นการรักษาสาเหตุโดยตรง

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้ารักษาหายไหม?

โรคนี้เป็นโรคที่มีโอกาสเป็นซ้ำได้สูง เพราะสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีหลอดเลือดบริเวณก้านสมองไปกดทับหรือเบียดเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ถึงแม้ว่าผลการรักษาด้วยยาจะได้ ผลดี แต่ก็ไม่ได้ทำให้หายขาด การรักษาที่ทำให้หายขาด คือ การผ่าตัด เพื่อโยกหลอดเลือดบริเวณก้านสมองที่กดทับ หรือเปลี่ยนย้ายเส้นประสาทสมองให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ให้มีการกดเบียดทับเส้นประสาทสมอง

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้ามีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

โรคนี้เป็นโรคที่มีโอกาสเป็นซ้ำได้สูง เพราะสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีหลอดเลือดบริเวณก้านสมองไปกดทับหรือเบียดเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ถึงแม้ว่าผลการรักษาด้วยยาจะได้ ผลดี แต่ก็ไม่ได้ทำให้หายขาด การรักษาที่ทำให้หายขาด คือ การผ่าตัด เพื่อโยกหลอดเลือดบริเวณก้านสมองที่กดทับ หรือเปลี่ยนย้ายเส้นประสาทสมองให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ให้มีการกดเบียดทับเส้นประสาทสมอง

ควรดูแลตนเองอย่างไร? เมื่อไหร่ควรพบแพทย์ก่อนนัด?

ในโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า กรณีที่ผู้ป่วยได้ทานยารักษาโรคนี้ สิ่งที่สำคัญ คือต้องดู แลตนเองให้ดีในด้านการใช้ยา เพราะยาที่ทานอยู่นั้นคือ ยากันชัก ซึ่งมีผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย ๆ คือ ง่วงซึม เดินเซ วิงเวียนศีรษะ หรือแม้กระทั่งการแพ้ยาอย่างรุนแรง เกิดผื่นลอกทั้งตัว ดังจะเห็นได้จากแพทย์จะค่อยๆเริ่มให้ทานยาขนาดต่ำๆก่อนเสมอ และค่อยๆปรับยาเพิ่มขึ้นตามอา การปวด และถ้าอาการดีแล้ว แพทย์จะคงขนาดยานั้นไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง และจะค่อยๆลดขนาดยาลงอีก ในผู้ป่วยบางรายที่เพิ่งเริ่มทานยาใหม่ๆ อาจเกิดอาการแพ้ได้ง่าย ดังนั้นผู้ป่วยต้องสังเกตอาการว่า หลังจากที่ทานยาไปแล้วมีอาการผิดปกติอะไรบ้าง เช่น ผื่นคัน ผื่นลมพิษ เดินเซ วิงเวียนศีรษะ ถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรหยุดยาที่ทานทันที และรีบมาพบแพทย์ทันทีเช่นกัน

กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงกว่าเดิมในขณะที่ทานยาอยู่แล้วนั้น ก็ไม่ควรปรับยาเองตามอาการ เพราะยาดังกล่าวมีช่วงระดับยาที่ได้ผลกับที่เป็นพิษใกล้เคียงกันมาก จึงไม่แนะนำให้ปรับขนาดยาเอง ยกเว้นแพทย์ได้แนะนำให้ปรับขนาดเองในตอนแรกของการเริ่มใช้ยาเท่านั้น

ดังนั้นถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติต่างๆก็ควรต้องรีบมาพบแพทย์ก่อนนัด อีกเรื่องที่สำคัญคือ ถ้าผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วย และต้องได้รับการรักษาด้วยยาชนิดอื่นๆเพิ่มเติม ต้องบอกให้แพทย์ทราบด้วยเสมอว่า ผู้ป่วยทานยารักษาโรคนี้อยู่ วิธีที่ดีที่สุดคือ นำยาที่ผู้ป่วยทาน ไปให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง

สามารถป้องกันโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าได้ไหม?

โรคนี้ไม่สามารถป้องกันได้ บางท่านมีความเชื่อว่าการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆหรือบางชนิด จะสามารถช่วยป้องกันโรคนี้ได้ ซึ่งไม่เป็นความจริงครับ

เส้นประสาทคู่ที่5อักเสบเกิดจากอะไร

อาการปวดหน้า จากเส้นประสาทคู่ที่ 5 มักพบในผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แต่ก็พบได้บ้างในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย โดยสาเหตุเกิดจากการกดหรือระคายต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในช่องกะโหลกศีรษะ ทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสบริเวณใบหน้า อาการปวดที่เกิดขึ้นอาจมาจากเส้นเลือดแดงในช่องกะโหลกศีรษะที่อยู่ใกล้รากของเส้น ...

เส้นประสาทสมองคู่ใดทำหน้าที่สั่งการ

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เป็นเส้นประสาทผสม (mixed nerve) ทำหน้าที่ 1. สั่งการกล้ามเนื้อที่ใช้แสดงความรู้สึกบนใบหน้าและกล้ามเนื้อเสริมที่ช่วยการเคี้ยวและ กลืนอาหาร 2. รับความรู้สึกจากช่องหูตอนนอก ใบหู เยื่อแก้วหู เพดานอ่อนและคอหอยบริเวณใกล้เคียงและรับรสจากสองในสามทางด้านหน้าของลิ้น

เส้นประสาทสมองมีกี่คู่แต่ละคู่ทำหน้าที่อะไรบ้าง

เส้นประสาทสมอง หมายถึงเส้นประสาทส่วนปลายที่ต่อมาจากต้นกำเนิดของเซลล์ประสาทสมองคู่ต่างๆ โดยเส้นประสาทสมองมีทั้งหมด 12 คู่ ทำหน้าที่ทั้งด้านความรู้สึกและกำลัง รวมทั้งระบบประสาทอัตโนมัติของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย เปรียบเสมือนสายไฟที่เดินไปตามจุดปลั๊กไฟ เพื่อการเชื่อมต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ

ประสาทเฟรนิก ทําหน้าที่อะไร

เส้นประสาทเฟเชียล หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 (อังกฤษ: Facial nerve) เป็นหนึ่งในเส้นประสาทสมองจากจำนวนทั้งหมด 12 คู่ เส้นประสาทนี้ออกมาจากก้านสมองที่ระหว่างพอนส์และเมดัลลา ออบลองกาตา และทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อแสดงสีหน้า และรับรสจากส่วนด้านหน้า 2/3 ของลิ้นและช่องปาก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เลี้ยงใยประสาทก่อนปมประสาทของ ...