ประกันภัย รถยนต์ ประเภท 5 คือ อะไร

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความพึงพอใจของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อทำด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับโดยกฎหมาย

ประเภทความคุ้มครอง

  1. ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury: TPBI) ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 100,000 บาทต่อคน และ 10,000 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้จํานวนเงินจํากัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  2. ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage: TPPD) ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 200,000 บาทต่อครั้ง
  3. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (Own Damage: OD) ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างเวลาประกันภัยต่อรถยนต์ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ แต่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 50,000 บาท (รถจักรยานยนต์ 5,000 บาท) ทั้งนี้การรับประกันภัยตัวรถยนต์ไม่ควรรับประกันภัยในจํานวนเงินจํากัดความรับผิดต่ำกว่า 80% ของราคารถยนต์ในวันเริ่มการประกันภัย เว้นแต้รถยนต์ที่ไม่มีการเสียภาษีขาเข้า
  4. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (Fire and Theft: F&T) ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ที่ถูกไฟไหม้ หรือสูญหายไป

    ไฟไหม้ในที่นี้ หมายถึง ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เป็นผลมาจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมันเองหรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่น

    การสูญหายในที่นี้ รวมถึงความเสียหายต่อรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจําอยู่กับตัวรถยนต์ ที่เป็นผลมาจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเป็นผลมาจากการพยายามกระทำดังกล่าวนั้น

  5. ความคุ้มครองเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 3 ความคุ้มครองหลักๆ ดังนี้

    - การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)
    บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต่อความสูญเสียอันเกิดจากความบาดเจ็บของผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสาร ซึ่งอยู่ในรถหรือกำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ โดยอุบัติเหตุ

    - การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (Medical Expense)
    บริษัทจะชดใช้ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด และค่าบริการอื่นๆ ตามที่จ่ายจริง ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเกิดอุบัติเหตุ เพื่อผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย ซึ่งได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย เนื่องจากอุบัติเหตุในขณะอยู่ในรถ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ แต่ทั้งนี้ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย

    - การประกันตัวผู้ขับขี่ (Bail Bond)
    บริษัทจะประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลใดซึ่งขับรถยนต์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย ในกรณีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เกิดอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้บุคคลดังกล่าวถูกควบคุมตัวในคดีอาญา

ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย

ประกันภัย รถยนต์ ประเภท 5 คือ อะไร

-

  1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (Comprehensive)

    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่นๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้
    1.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
    1.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
    1.3 คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์
    1.4 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์

  2. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (Third Party Liability, Fire and Theft)

    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้
    2.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
    2.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
    2.3 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์

  3. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability)

    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้
    3.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
    3.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

  4. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (Third Party Property Damage Only)

    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง

  5. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5

    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

    แบบประกัน 2 พลัส (2+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
    - คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
    - คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
    - คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
    - คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

    แบบประกัน 3 พลัส (3+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
    - คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
    - คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
    - คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก

    ของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ทั้งประกัน 2 พลัส และประกัน 3 พลัส คือ
    1. ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
    2. ต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

ความเสียหายส่วนแรก (Excess / Deductible)

ประกันภัย รถยนต์ ประเภท 5 คือ อะไร

+

ความเสียหายส่วนแรก (Excess / Deductible) คือ ส่วนแรกของความรับผิดที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ตามที่ระบุในข้อสัญญาหรือเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเรียกเก็บเงินค่าเสียหายส่วนแรกขึ้น เพื่อให้บริษัทประกันภัยทุกแห่งยึดถือปฏิบัติเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน

วัตถุประสงค์ในการกำหนด “ค่าเสียหายส่วนแรก” เพื่อป้องกันการแจ้งเคลมซ่อมรถทั้งที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง และเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ขับขี่ประมาท เพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่มากขึ้น เนื่องจากบางคนคิดว่าได้ทำประกันภัยรถยนต์ไว้แล้ว หากเกิดความเสียหายก็สามารถแจ้งเคลมกับบริษัทประกันเมื่อใดก็ได้ ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิดสำหรับผู้เอาประกันภัย เพราะการกระทำแบบนี้จะส่งผลให้ยอดค่าสินไหมของประกันภัยรถยนต์ทั้งระบบสูงขึ้น จนบริษัทประกันภัยต้องปรับอัตราเบี้ยให้สูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ผู้เอาประกันภัยส่วนใหญ่ต้องแบกรับภาระเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้น ซึ่งจะไม่เป็นธรรมกับผู้เอาประกันภัยรายอื่น

ค่าเสียหายส่วนแรกทั้ง Excess และ Deductible จะมีผลก็ต่อเมื่อการเกิดเหตุนั้น ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด หรือ ผิดสัญญาเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 2 แบบ

  1. ค่าเสียหายส่วนแรกตามข้อกำหนด (Excess)

    ค่าเสียหายส่วนแรกตามข้อกำหนด (Excess) หรือที่เรียกกันว่า ค่าเอ็กเซส หมายถึง ค่าเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายตามข้อกำหนดของสำนักงาน คปภ. เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถยนต์คันที่เอาประกันภัย แบ่งเป็น 2 กรณี

    (1) กรณีที่ไม่สามารถหาคู่กรณีได้ หรือแจ้งสาเหตุไม่ชัดเจน ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกเองเป็นเงิน 1,000 บาท ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง เช่น รถถูกขีดข่วน หิน หรือวัสดุอื่นๆ กระเด็นใส่ - อุบัติเหตุจากการเฉี่ยวกิ่งไม้ สายไฟ หรือลวดหนาม เหยียบตะปู วัสดุมีคม หรือยางฉีก
    - รถถูกละอองสี หรือมีวัสดุใดหล่นมาโดน กระจกรถแตก
    - ไถลตกข้างทางแต่ไม่พลิกคว่ำ
    - ภัยธรรมชาติ/ น้ำท่วม
    - รถถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วน
    - รถตกหลุม/ครูดพื้นถนน
    - รถตกหลุม/ครูดพื้นถนน

    การเคลมที่ไม่ต้องจ่ายค่า Excess นั้น ต้องเกิดจากการชนที่เห็นร่องรอยชัดเจน เช่น บุบ แตกหัก รอยร้าว เป็นต้น ไม่ใช่การครูด การเฉี่ยว หรือถลอก

    (2) กรณีซื้อกรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ไว้ แต่ให้บุคคลอื่นนำรถไปใช้ โดยที่ไม่ใช่ชื่อผู้ขับที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุและเป็นฝ่ายผิด ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกทันที (ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในกรมธรรม์ ซึ่งมีทั้งแบบระบุและไม่ระบุชื่อผู้ขับ)
    ตัวอย่าง

    นายดำขับรถแล้วถูกหินกระเด็นใส่กระจกหน้าแตก นายดำจึงพยายามขับรถต่อไปเพื่อหาปั๊มน้ำมันจอดรถตรวจสอบความเสียหาย ระหว่างขับไปอยู่นั้นได้ชนสุนัข ทำให้กันชนหน้าและหน้ากระจังแตก นายดำจึงจอดรถข้างทางลงไปดูความเสียหาย ระหว่างนั้นได้มีกิ่งไม้ลอยมาจากไหนไม่รู้มาโดนรถ ทำให้หลังคาบุบ เหตุดังกล่าวเมื่อแจ้งเคลมประกันจะเรียกเก็บค่าความเสียหายส่วนแรกจำนวน 2,000 บาท แยกเป็นหินกระเด็นใส่ 1,000 บาท และโดนกิ่งไม้ 1,000 บาท เนื่องจากความเสียหายเกิดจาก 2 เหตุการณ์และไม่เกี่ยวกับการชน แต่สำหรับแผลที่ชนสุนัขไม่ต้องเสียค่าความเสียหายส่วนแรก เพราะเกิดจากการชน

  2. ค่าเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ (Deductible)

    ค่าเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ (Deductible) หมายถึง ผู้เอาประกันภัยยอมรับจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกเอง เป็นข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ ซึ่งจะปรากฏในตัวกรมธรรม์ประกันภัย อาจจะมีหรืออาจจะไม่มีก็ได้ ส่วนใหญ่จะมีในรถยนต์สาธารณะ รถยนต์เช่า หรือรถยนต์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยจะมีการกำหนดจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอาไว้ในกรมธรรม์เลย เช่น 1,000, 2,000, 3,000, 5,000 บาท แล้วแต่จะตกลงกันระหว่างผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย ซึ่งจำนวนเงินที่กำหนดนี้สามารถนำไปลดเบี้ยประกันได้อีกด้วย

    ตัวอย่าง

    เอาประกันภัยได้ทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งโดยมีการกำหนดค่าเบี้ยประกันอยู่ที่ 18,000 บาท โดยตกลงกำหนดค่าเสียหายส่วนแรกไว้ในกรมธรรม์ 3,000 บาท ผู้เอาประกันภัยก็จะได้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัย 3,000 บาท (จ่ายค่าเบี้ยทำประกันรถยนต์แค่ 15,000 บาท) ต่อมาหากเกิดอุบัติเหตุและผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด แล้วบริษัทประเมินค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่าย "ค่าเสียหายส่วนแรก" ก่อน 3,000 บาท ตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้ในกรมธรรม์ ส่วนค่าเสียหายที่เหลืออีก 7,000 บาท บริษัทประกันภัยจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ แต่ถ้าหากความเสียหายไม่เกิน 3,000 บาท ผู้เอาประกันภัยก็จ่ายให้คู่กรณีตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

    ประกันภัย รถยนต์ ประเภท 5 คือ อะไร

คำแนะนำการเลือกซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

ประกันภัย รถยนต์ ประเภท 5 คือ อะไร

+

  1. เลือกบริษัทประกันจากหลายๆ แห่ง

    ก่อนตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ ควรพิจารณาเปรียบเทียบบริษัทประกันจากหลายๆ แห่ง โดยในเบื้องต้นควรพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้

    - ฐานะทางการเงินของบริษัทที่มั่นคง
    - มีสถานที่ตั้งชัดเจน น่าเชื่อถือ
    - มีสาขา หรือศูนย์บริการทั่วประเทศ เพื่อสะดวกในการติดต่อรับค่าสินไหมทดแทน
    - มีการบริการหลังการขายที่ดี
    - มีความรวดเร็วในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
    - มีตัวแทนหรือนายหน้าที่มีความรู้และให้คำปรึกษาได้ดี
    - ความสะดวกในการติดต่อ และความยากง่ายในการร้องเรียนเรื่องต่างๆ
    - มีระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย
    - มีข้อเสนอหรือของสมนาคุณอื่นๆ เพิ่มเติม

  2. เลือกแบบประกันภัยรถยนต์ที่ต้องการ

    ก่อนที่จะเลือกแบบประกันภัยรถยนต์ ควรพิจารณาก่อนว่าการขับขี่รถในชีวิตประจำวันนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด จากนั้นจึงเลือกแบบประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ให้ความคุ้มครองและราคาเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้มาก โดยพิจารณาจาก

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1
    เหมาะสำหรับรถใหม่ รถที่ใช้งานหนักเป็นประจำ และผู้ขับขี่มือใหม่ยังไม่คล่องในการขับรถยนต์ ควรเลือกทำประกันภัยชั้น 1 เพราะครอบคลุมเรื่องความคุ้มครองทุกกรณี โดยจะให้ความคุ้มครองต่อรถยนต์คันเอาประกันและคันคู่กรณี คุ้มครองทั้งบุคคลภายในรถและบุคคลภายนอก รวมถึงให้ความคุ้มครองความเสียหายเนื่องจากไฟไหม้ น้ำท่วม และรถถูกโจรกรรม

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2
    เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้รถยนต์ไม่บ่อยมาก เป็นผู้ขับขี่ที่มีประสบการณ์ ไม่ขับรถเร็ว มีความระมัดระวังในการขับขี่ เพราะประกันภัยชั้น 2 ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกัน ส่วนความคุ้มครองด้านอื่นๆ ยังคงเหมือนกับประกันภัยชั้น 1

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3
    เหมาะสำหรับผู้ขับขี่ที่ใช้รถน้อยและขับอย่างระมัดระวัง ไม่เฉี่ยวชนใครบ่อยๆ หรือรถเก่าอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไป และรถยนต์ที่ไม่ได้จอดในพื้นที่เสี่ยงต่อการโจรกรรม เพราะประกันภัยชั้น 3 ให้ความคุ้มครองเฉพาะรถยนต์คันคู่กรณีเท่านั้น ส่วนรถยนต์คันเอาประกันภัยจะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ ทั้งสิ้น

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4
    เป็นประกันภัยรถยนต์ที่มีความคุ้มครองน้อยที่สุด โดยจะให้ความคุ้มครองเฉพาะทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เหมาะสำหรับเจ้าของรถที่ใช้รถน้อยถึงน้อยมากๆ เช่น ใช้รถสำหรับขับไปจ่ายกับข้าว ซื้อของ หรือส่งลูกไปโรงเรียน เป็นต้น หรือเป็นผู้ที่ใช้รถในเส้นทางที่มีการสัญจรน้อยตามชนบทหรือในต่างจังหวัด

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 พลัส (2+)
    เหมาะสำหรับรถที่ใช้งานเป็นประจำ จำเป็นต้องจอดรถในพื้นที่เสี่ยงต่อการโจรกรรม และรถยนต์ที่ไม่มีที่จอดรถในรั้วรอบขอบชิด เช่น ต้องจอดรถไว้หน้าบ้าน หรือต้องจอดรถไว้ริมถนน เป็นต้น เพราะประกันภัยชั้น 2 พลัส ให้ความคุ้มครองในระดับค่อนข้างสูงเหมือนประกันภัยชั้น 1 แต่จะต่างจากประกันภัยชั้น 1 ตรงที่ไม่มีความคุ้มครองในส่วนของความเสียหายทั่วๆ ไป ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือไม่มีคู่กรณี

    - ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 พลัส (3+)
    เหมาะสำหรับรถเก่าที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป และรถที่ใช้งานเป็นประจำ แต่มีที่จอดรถที่ปลอดภัยไม่มีความเสี่ยงเรื่องการโจรกรรม ประกันภัยชั้น 3 พลัสให้ความคุ้มครองน้อยกว่าประกันภัยชั้น 2 พลัส โดยไม่คุ้มครองการสูญหายหรือถูกไฟไหม้ และไม่คุ้มครองความเสียหายทั่วๆ ไป ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือไม่มีคู่กรณี

    เปรียบเทียบความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

    ประกันภัย รถยนต์ ประเภท 5 คือ อะไร
    ความคุ้มครองความเสียภายต่อรถผู้เอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก และสามารถแจ้งคู่กรณีได้

  3. เลือกเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมกับการคุ้มครองที่ได้รับ

    เบี้ยประกันภัยรถยนต์ คือจำนวนเงินที่ผู้ทำประกันจะต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันภัย เพื่อแลกกับความคุ้มครองที่จะได้รับ ซึ่งเบี้ยประกันภัยรถยนต์นี้จะคิดเป็นรายปี ส่วนจำนวนเบี้ยนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัย ความคุ้มครอง และทุนประกันของตัวรถที่ผู้ทำประกันได้เลือกไว้

    การเลือกเบี้ยประกันให้เหมาะสมกับการคุ้มครอง ควรคำนึงถึงอัตราเงินเดือนและค่าใช้จ่ายของตัวผู้ทำประกันเอง ประกอบกับความต้องการที่จะให้ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองในส่วนต่างๆ เมื่อพิจารณาปัจจัยดังกล่าวแล้ว จึงค่อยเลือกดูว่ามีประกันประเภทใดและบริษัทใดบ้างที่สามารถรองรับความต้องการทั้งทางด้านการจ่ายเบี้ยประกันและทางด้านความคุ้มครองตามที่ต้องการได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด

    ประเภท 5 คืออะไร

    เมื่อได้ทราบไปแล้วว่า ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ก็คือ ประกันรถยนต์ชั้น 2+ และประกันรถยนต์ชั้น 3+ ซึ่งมีความคุ้มครองที่คล้ายกันมาก ต่างกันที่ ประกันรถยนต์ชั้น 3+ จะไม่คุ้มครองกรณีรถหาย หรือรถถูกไฟไหม้ ซึ่งแต่ละกรมธรรม์อาจมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยในส่วนของวงเงินความคุ้มครองที่ใช้ชดเชยค่าเสียหาย หากใครที่ต้องการทำประกันรถยนต์ ...

    ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 คืออะไร

    กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (Third Party Property Damage Only) กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง

    ประกันภัย รถยนต์ ชั้น 1 วิริยะ คุ้มครอง อะไร บ้าง

    ประกันรถยนต์ชั้น 1 ให้ความคุ้มครองต่อรถที่ทำประกันรวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งรถด้วย ซึ่งจะให้ความคุ้มครองทั้งรถที่ทำประกันและรถของคู่กรณี และในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณีด้วย นอกจากนี้ยังให้ความคุ้มครองในเรื่องของรถสูญหาย น้ำท่วม ไฟไหม้ อีกด้วย

    ประกันชั้น 4 วิริยะ คุ้มครองอะไรบ้าง

    ประกันสุขภาพ 1ประกันสุขภาพเฉพาะโรคOpen submenu. 4ประกันภัยอุบัติเหตุOpen submenu. ... 1,055 บาท.