นิโรธ กับมรรค ต่างกันอย่างไร

นิโรธ คือ นิพพาน ใช่หรือไม่?

กระทู้โพล

ศาสนาพุทธ

คิดว่าทุกท่านในที่นี้คงทราบดีว่า อริยสัจสี่ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

อยากถามความเข้าใจแต่ละท่านนะครับว่า คำว่า "นิโรธ" คือความหมายเดียวกับ "นิพพาน" ใช่หรือไม่

1. คำว่านิโรธคือความหมายเดียวกับนิพพานใช่หรือไม่?

ใช่
ไม่ใช่
ไม่รู้

ตอบโพล ดูผลโพล

0

0

นิโรธ กับมรรค ต่างกันอย่างไร

สมาชิกหมายเลข 824809

Q

กราบเรียนถามท่านอาจารย์ครับ อาจารย์สอนให้แจ้งนิโรธแล้วเจริญมรรค ถ้าคนยังไม่สามารถแจ้งนิโรธ แล้วเจริญมรรคเลย จะได้ผลไหมครับ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :

ในธรรมจักร พระผู้มีพระภาคทรงประกาศอริยสัจสี่

มีการปฏิบัติสี่ขั้นตอน คือ 1) รู้ทุกข์  2) ละสมุทัย  3) แจ้งนิโรธ  4) เจริญมรรค

เมื่อเราเป็นทุกข์ ก็พึงกำหนดรู้ทันทีว่า เป็นธรรมชาติของการปรุงประกอบทั้งหลายที่เป็นทุกข์ สัพเพสังขาราทุกขาติ

เมื่อเราไม่อยากทุกข์ก็ละเหตุที่ทำให้ทุกข์เสีย โดยไม่ต้องเสียเวลาไปปะทะกับทุกข์

เมื่อละเหตุแห่งทุกข์ได้ ก็ได้นิโรธ ใครได้นิโรธสมบูรณ์เลย ก็สำเร็จอรหันต์เลย เช่น ท่านพระพาหิยะ และมานพทั้งสิบหกในโสฬสปัญหา ใครได้นิโรธชั่วคราว คือ ตทังควิมุตติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ได้ แต่ก็ทำให้แจ้งนิโรธแล้วว่า โอ... วิมุตติเป็นสุขอย่างนี้เองหนอ ว่างอย่างยิ่ง บริสุทธิ์จริง ๆ ครั้นแล้ว ก็เอาพระนิพพานเป็นเป้าหมาย

เมื่อมีเป้าหมายแน่นอนแล้ว ก็มาจัดระเบียบชีวิตใหม่ ทั้งระบบความเข้าใจ (vision) ระบบความตั้งใจ (mission) ระบบการพูดจา ระบบการกระทำ ระบบอาชีพ กลยุทธ์ความเพียร ธรรมยุทธ์สติ ธรรมยุทธ์สมาธิ ให้ตรงสู่ผลทั้งสิ้น เรียกว่าเจริญมรรค เมื่อรู้เป้าหมายชัด การตัดถนนก็ตรงที่สุด สั้นที่สุด ถึงเร็วที่สุด

หากยังไม่แจ้งนิโรธ ยังไม่เห็นเป้าหมาย แล้วเจริญมรรคเลย มักเกิดปรากฏการณ์ได้ 4 อย่าง คือ

1.  สร้างมรรคผิดทาง ตั้งใจไปสุขอย่างยิ่ง แต่สร้างทางไปทุกข์อย่างยิ่ง เพราะเข้าใจความดีผิดเกณฑ์ แทนที่จะไปพระนิพพานก็ไปอบาย เช่น พระเทวทัต เป็นต้น

2.  สร้างมรรควนไปวนมา เดินมากก็กลับมาที่เดิมมาก ไปไม่ถึงไหน เรียกว่าวัฏฏะสงสาร ซึ่งปรากฏแก่คนหลงโลกทั้งหลาย

3.  สร้างมรรคปรุงแต่ง พยายามทำการปฏิบัติให้วิจิตรพิสดารอลังการ เรื่องมากวุ่นวาย ขั้นตอนเยอะ ระเบียบแยะ ยิ่งปรุงแต่งมากก็ยิ่งทุกข์มาก เพราะทุกข์เป็นผลของการปรุงแต่งโดยตรง

4.  สร้างมรรคด้วยการยึดถือ แม้ตรงทาง แต่ถ้ายึดถือมาก ก็แช่อยู่ ณ ที่ยึดถือนั่นแหละ 

บ้างก็ยึดทาน เมามันกับการบุญ เอาบุญไปอวดกัน ดูหมิ่นกันเพราะบุญ

บ้างก็ยึดทิฏฐิ เอาทิฏฐิไปอวดกัน ทะเลาะกันเพราะทิฏฐิต่างกัน

บ้างก็ยึดศีล เอาศีลไปอวดกัน ทะเลาะกันเพราะศีลต่างกัน

บ้างก็ยึดรูปแบบปฏิบัติ เอารูปแบบไปอวดกัน เอาไปครอบงำกัน

บ้างก็ยึดสมาธิ เอาสมาธิไปอวดกัน ปะทะกันด้วยฤทธิ์

บ้างก็ยึดปัญญา อวดรู้ เอร็ดอร่อยกับการสร้างสรรค์และสรรเสริญ

ยึดตรงไหนก็ค้างอยู่ตรงนั้น หากไม่ยึดก็เดินไปเรื่อย ๆ จนถึงความบริสุทธิ์ได้เช่นกัน ก็มีหลายท่าน

หากไม่แจ้งนิโรธแล้วประสงค์จะเจริญมรรคเลยโดยไม่เสี่ยงก็ควรเดินตามผู้นำแท้บนมรรคาที่ปลอดภัย คือ

1.  เดินตามพระพุทธเจ้า ด้วยพุทธวิธี บนมรรควิถีที่ทรงปฏิบัติ ทรงสำเร็จ ทรงสอน ทรงนำแล้ว ซึ่งหลากหลายวิธี cover คนทุกจริต ทุกกรรม ดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

2.  เดินตามพระอรหันต์ผู้ปฏิบัติแล้ว สำเร็จแล้ว ท่านจะสามารถพาปฏิบัติตามวิธีที่ท่านสำเร็จได้ อาจจะไม่มากวิธี แต่ก็พอเอาตัวรอดได้ ถ้าจริตนิสัยของเราถูกกับวิธีของท่าน

3.  เดินตามพระนิยตโพธิสัตว์ เฉพาะพระนิยตะนะ ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ธรรมดา ท่านเหล่านี้ย่อมแตกฉานในธรรม ในกรรมฐาน ในสภาวะ และในผลหลากหลาย

นี่คือสามผู้นำที่พาปลอดภัย ควรเดินตาม

ถ้าไม่เจอผู้นำที่พาเราปลอดภัยล่ะ

ก็ศึกษาด้วยตัวเอง ปฏิบัติเอง พัฒนาเอง บรรลุเอง

ทำได้ไหม

ได้ ถ้าเคารพคุณค่าแห่งตน และไม่ดูหมิ่นตัวเอง

จิตใจแบบนี้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าจำนวนมาก เพียงแต่จะสำเร็จในสมัยที่ไร้พุทธศาสนาเท่านั้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิโรธ (อ่านว่า นิโรด) แปลว่า ความดับ (ทุกข์) คือความสำรอกออก, สลัดทิ้ง, ปลดปล่อย, ไม่มีเยื่อใยสมุทัยอันเป็นบ่อเกิดทุกข์ได้สิ้นเชิง หมายถึง การทำลายสมุทัยและดับสมุทัยคือตัวตัณหาให้สิ้นไปจนไม่เกิดขึ้นได้อีกเหมือนไฟที่สิ้นเชื้อ ด้วยอำนาจการดำเนินตามมรรคจนได้บรรลุมรรคนั้นๆ

นิโรธ จัดเป็นอริยสัจอันดับที่3ในอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยภาวะคือนิพพานนั่นเอง

นิโรธ 5[แก้]

นิโรธ 5 หมายถึง ความดับกิเลส ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้นนิโรธเป็นธรรมะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้นิโรธ มี 5 ประการ โดยมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น

  • ปหาน 5 (การละกิเลส 5 ประการ)
  • วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น 5 ประการ)
  • วิเวก 5 (ความสงัด ความปลีกออก 5 ประการ)
  • วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด ความสำรอกได้ 5 ประการ)
  • โวสสัคคะ 5 (ความสละ ความปล่อย 5 ประการ)

นิโรธ 5 ได้แก่[แก้]

  1. วิกขัมภนนิโรธ ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌานขึ้นไป ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น
  2. ตทังคนิโรธ ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ หรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกรูปนามออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ
  3. สมุจเฉทนิโรธ ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อ สมุจเฉทนิโรธ
  4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค ดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้น ชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ
  5. นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่ดับกิเลสแล้วนั้น ยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน

อ้างอิง[แก้]

  • พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
  • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".