การอ่านบทร้อยกรองอ่านได้กี่แบบ

การอ่านบทร้อยกรองอ่านได้กี่แบบ

 การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
            การอ่านออกเสียงร้อยกรอง เป็นการอ่านที่มุ่งให้เกิดความเพลิดเพลินซาบซึ้งในรสของคำประพันธ์ ซึ่งจะต้องอ่านอย่างมีจังหวะ ลีลา และท่วงทำนองตามลักษณะคำประพันธ์เเต่ละชนิด
การอ่านบทร้อยกรอง อ่านได้ ๒ แบบ ดังนี้
            1. อ่านออกเสียงธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูด ตามปกติเหมือนกับอ่านร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน
            2. อ่านเป็นทำนองเสนาะ เป็นการอ่านมีสำเนียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้นเป็นทำนองเหมือนเสียงดนตรี มีการเอื้อนเสียง เน้นสัมผัส ตามจังหวะ ลีลาและท่วงทำนองตามลักษณะบังคับของบทประพันธ์ให้ชัดเจนเเละเหมาะสม
 หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยกรอง
            1. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การเเบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์ เสียงหนักเบา เป็นต้น
            2. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์
            3. อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน
            4. อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
            5. คำที่รับสัมผัสกันต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดเจน ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา
            6. มีศิลปะในการใช้เสียง เอื้อนเสียง และทอดจังหวะให้ช้าจนจบบท
 ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยกรอง
        การอ่านบทร้อยกรอง หรือทำนองเสนาะ ให้ไพเราะและประทับใจผู้ฟังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
            1. ก่อนอ่านทำนองเสนาะควรรักษาสุขภาพให้ดี มีความพร้อมทั้งกายและใจ จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้น
            2. ตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตื่นเต้น ตกใจ หรือประหม่า ควรมีสมาธิก่อนอ่านเเละขณะกำลังอ่าน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
            3. ก่อนอ่านควรตรวจดูบทอ่านอย่างคร่าวๆ และรวดเร็วเพื่อพิจารณาคำยาก หรือการผัวรรณยุกต์ และอื่นๆ
            4. พิจารณาบทที่จะอ่าน เพื่อตัดสินใจ เลือกใส่อารมณ์ในบทอ่านให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ
            5. หมั่นศึกษาและฝึกฝนการอ่านทำนองเสนาะจากผู้รู้เกี่ยวกับกลวิธีต่างๆอยู่เสมอ จึงจะทำให้สามารถอ่านทำนองเสนาะได้อย่างไพเราะ
 คุณค่าของการอ่านทำนองเสนาะ
            1. ผู้ฟังเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน
            2. ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง
            3. เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
            4. จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วเเม่นยำ
            5. ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยน
            6. ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกของชาติ
 วิธีการอ่านทำนองเสนาะจากคำประพันธ์
            กลอนสุภาพ นิยมอ่านเสียงสูง ๒ วรรค และเสียงต่ำ ๒ วรรค

            การเเบ่งจังหวะวรรคในการอ่าน มีดังนี้

                วรรคละ ๖ คำ อ่าน ๒/๒/๒ OO/OO/OO
                วรรคละ ๗ คำ อ่าน ๒/๒/๓ OO/OO/OOO
                วรรคละ ๘ คำ อ่าน ๓/๒/๓ OOO/OO/OOO
                วรคคละ ๙ คำ อ่าน ๓/๓/๓ OOO/OOO/OOO

ตัวอย่าง

การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๖ คำ
            ไผ่ซอ/อ้อเสียด/เบียดออด//                   ลมลอด/ไล่เลี้ยว/เยวไผ่//
            ออดเเอด/แอดออด/ยอดไกว//                แพใบ/ไล้น้ำ/ลำคลอง//

การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๘ คำ
            เเล้วสอนว่า/อย่าไว้/ใจมนุษย์                มันเเสนสุด/ลึกล้ำ/เหลือกำหนด
            ถึงเถาวัลย/พันเกี่ยว/ที่เลี้ยวลด//            ก็ไม่คด/เหมือนหนึ่งใน/น้ำใจคน//

กาพย์ยานี ๑๑ มีจำนวนคำ ๑๑ คำ นิยมอ่านเสียงสูงกว่าปกติจึงจะเกิดความไพเราะ

 การเเบ่งจังหวะวรรดในการอ่าน มีดังนี้
            วรรคหน้า ๕ คำ อ่าน ๒/๓ OO/OOO
            วรรคหลัง ๖ คำ อ่าน ๓/๓ OOO/OOO

ตัวอย่าง การเเบ่งจังหวะกาพย์ยานี ๑๑

            เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน//                       ทิพากร/จะตกต่ำ//
            สนธยา/จะใกล้ค่ำ//                            คำนึงหน้า/เจ้าตราตรู
            เรื่อยเรื่อย/มาเรียงเรียง//                      นกบินเฉียง/ไปทั้งหมู่//
            ตัวเดียว/มาพลัดคู่//                           เหมือนพี่อยู่/ผู้เดียวดาย//


การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

            การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว หมายถึง การอ่านถ้อยคำที่มีผู้เรียบเรียงหรือประพันธ์ไว้ โดยการเปล่งเสียง และวางจังหวะเสียงให้เป็นไปตามความนิยม และเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไปกับเรื่องราว หรือรสประพันธ์ที่อ่าน

 หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

            1. ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจ เพื่อเเบ่งวรรคตอน
            2. อ่านให้คล่อง และเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง
            3. อ่านให้คล่องและถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะ ร ล คำควบกล้ำต้องออกเสียงให้ชัดเจน
            4. เน้นเสียงและถ้อยคำ ตามน้ำหนักความสำคัญของใจความ ใช้เสียงและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ดุ อ้อนวอน จริงจัง ฯลฯ
            5. อ่านออกเสียงให้เหมาะสมกับประเภทของเรื่อง เช่น ถ้าอ่านเรื่องที่ให้ข้อเท็จจริงทั่วไป จะอ่านออกเสียงธรรมดาให้ชัดเจน
            6. ในระหว่างที่อ่าน ควรกวาดสายตามองตัวอักษร สลับกับการเงยหน้าขึ้นมาสบตาผู้ฟัง ในลักษณะที่เหมาะสม และดูเป็นธรรมชาติ
            7. ถ้าอ่านในที่ประชุม ต้องยืนทรงตัวในท่าทางที่สง่า มือที่จับกระดาษอยู่ในท่าทางทีเหมาะ ไม่เกร็ง ไม่ยกกระดาษ หรือเอกสารบังหน้า หรือไม่ถือไว้ต่ำเกินไปจนต้องก้มลง


 วิธีการอ่านออกเสียงข้อความที่เป็นร้อยแก้ว        สร้างวัฒนธรรมคนรุ่นใหม่ให้เป็นนักอ่าน
  ในปัจจุบันกล่าวกันว่า/ เรากำลังอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ หรือเรียกอีกอย่างว่าโลกไร้พรมแดน// แต่จะเรียกอย่างไรก็ตามเถิด/การอ่าน/ ก็เป็นกระบวนการสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคนในทศวรรษนี้/ เพราะโลกของการศึกษา/ มิได้จำกัดอยู่ภายในห้องเรียน/ ที่มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมเเคบๆ เท่านั้น/ เเต่ข้อมูลข้าวสารสารสนเทศต่างๆ /ได้ย่อโลกให้เล็กลงเท่าที่เราอยากรู้ได้รวดเร็ว/ ในชั่วลัดนิ้วมือเดียวอย่างที่คนโบราณกล่าวไว้/ จะมีสื่อให้อ่านอย่างหลากหลายให้เลือก/ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ที่เราคุ้นเคย/ ไปจนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" เพราะการต่อสู้รุกรานกันของมนุษย์ยุคใหม่/ จะใช้ข้อมูล/ สติ/ ปัญญา/ และคุณภาพของคนในชาติ/ มากกว่าการใช้กำลังอาวุธเข้าประหัตประหารกัน// หากคนในชาติด้อยคุณภาพ/ ขาดการเรียนรู้/ จะถูกครอบงำทางปัญญาได้ง่ายๆ / จากสื่อต่างๆ จากชาติที่พัฒนาเเล้ว
            หากคนไม่อ่านหนังสือ/ ก็ยากที่จะพัฒนาสติปัญญา และความรู้ได้/ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา/ จะต้องทุ่มเทให้คนมีนิสัยรักการอ่าน/ มีทักษะในการอ่าน/ และพัฒนาวิธีการอ่านให้เป็นนักอ่านที่ดี// นักอ่านที่ดีจะมีภูมิคุ้มกันการครอบงำทางปัญญาได้เป็นอย่าง/ รู้เท่ากันคน และสามารถแก้ปัญหาได้ดี

ชาติก้าวไกลด้วยคนไทยรักการอ่าน : มานพ ศรีเทียม

* เครื่องหมาย / หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะสั้นๆ
  เครื่องหมาย // หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะที่ยาวกว่าเครื่องหมาย /
  เครื่องหมาย ____ หมายถึง การเน้น การเพิ่มน้ำหนักของเสียง



sites.google.com
            

การอ่านบทร้อยกรองอ่านได้กี่แบบ

sites.google.com

ประเภทของการอ่าน

            การอ่านแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การอ่านในใจและการอ่านออกเสียง

การอ่านในใจ 

            การอ่านในใจ คือการแปลความหมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิด ความเข้าใจ และนำความคิดความเข้าใจที่ได้นั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ประเภทของการอ่านดังต่อไปนี้คือ

1. การอ่านจับใจความ

การอ่านจับใจความเป็นพื้นฐานของการอ่านในใจที่มุ่งคุณค่าทางสติปัญญา แบ่งการอ่านชนิดนี้ออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.1 การอ่านจับใจความส่วนรวม เป็นการอ่านเพื่อเข้าใจเนื้อหาส่วนรวม เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการอ่านอย่างรวดเร็ว

วิธีการอ่าน

1) สังเกตส่วนประกอบของงานเขียน เช่น ชื่อเรื่อง คำนำวัตถุประสงค์ ของผู้เขียนว่าเป็นงานเกี่ยวกับอะไร และเขียนเพื่ออะไร

 2) วิเคราะห์จุดมุ่งหมายงานเขียนว่าเขียนด้วยวัตถุประสงค์ใด

        3) จัดลำดับเนื้อหาใหม่ตามความสำคัญ

 4) ใช้การตั้งคำถามกว้าง ๆ ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และทำไม เพื่อหาความสัมพันธ์ในการดำเนินเรื่อง

การอ่านออกเสียง

            การอ่านออกเสียง หมายถึงการอ่านข้อความโดยการเปล่งเสียงออกมาเพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ข้อความนั้น ๆ ด้วยการอ่านออกเสียงแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

           1. การอ่านออกเสียงปกติเป็นการอ่านออกเสียงตามปกติทั่วไป อ่านได้ทั้งบทร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น อ่านข่าว อ่านประกาศ อ่านตีบท อ่านสารคดี อ่านข้อความประกอบภาพนิ่ง หรืออ่านบทภาพยนตร์ ฯลฯ

ข้อควรปฏิบัติในการอ่านออกเสียงตามปกติ

 - ทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอ่านก่อนการอ่านจริง

 - ออกเสียงชัดเจน ดังพอประมาณ มีลีลาจังหวะในการอ่านอย่างเหมาะสม

 - แบ่งวรรคตอนได้ถูกต้อง

 - อ่านออกเสียงถูกต้องตามอักขรวิธี

            2. อ่านทำนองเสนาะ การอ่านทำนองเสนาะเป็นการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองหรือวรรณคดีไทยให้ไพเราะน่าฟัง มุ่งให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง เกิดอารมณ์ จินตนาการ คล้อยตามบทร้อยกรองนั้น ๆ ด้วย

หลักเกณฑ์ในการอ่านทำนองเสนาะ

 - ต้องรู้จักลักษณะคำประพันธ์ที่จะอ่านก่อนว่าบังคับฉันทลักษณ์อย่างไร

 - อ่านให้ถูกทำนอง

   - ควรมีน้ำเสียงและลีลาในการอ่านที่ดี

     - ออกเสียงแต่ละคำถูกต้องชัดเจน

https://sites.google.com/site/phasathiykabkarchi/bth-thi-4-kar-subkhn-laea-karna-senx/3-3-prapheth-khxng-kar-xan

การอ่านบทร้อยกรองอ่านได้กี่แบบ

krupatom.com


จุดประสงค์ของการอ่าน

     ในการอ่านบุคคลแต่ละคนจะมีจุดประสงค์ของตนเอง คนที่อ่านข้อความเดียวกันอาจมีจุดประสงค์หรือความคิดต่างกัน โดยทั่วไปจุดประสงค์ของการอ่านมี 3 ประการ คือ
       1)  การอ่านเพื่อความรู้ ได้แก่ การอ่านหนังสือประเภทตำรา สารคดี วารสาร หนังสือพิมพ์ และข้อความต่าง ๆ เพื่อให้ทราบเรื่องราวอันเป็นข้อความรู้ หรือเหตุการณ์บ้านเมือง การอ่านเพื่อความรอบรู้เป็นการอ่านที่จำเป็นที่สุดสำหรับครู เพราะความรู้ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอยู่ทุกขณะ แม้จะได้ศึกษามามากจากสถาบันการศึกษาระดับสูง ก็ยังมีสิ่งที่ยังไม่รู้และต้องค้นคว้าเพิ่มเติมให้ทันต่อความก้าวหน้าของโลกข้อความรู้ต่าง ๆ อาจมิได้ปรากฏชัดเจนในตำรา แต่แทรกอยู่ในหนังสือประเภทต่าง ๆแม้ในหนังสือประเภทบันเทิงคดีก็จะให้เกร็ดความรู้ควบคู่กับความบันเทิงเสมอ
       2)  การอ่านเพื่อความคิดแนวความคิดทางปรัชญา วัฒนธรรม จริยธรรม และความคิดเห็นทั่วไป มักแทรกอยู่ในหนังสือแทบทุกประเภท มิใช่หนังสือประเภทปรัชญา หรือจริยธรรมโดยตรงเท่านั้น การศึกษาแนวคิดของผู้อื่น เป็นแนวทางความคิดของตนเองและอาจนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตผู้อ่านจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกนำความคิดที่ได้อ่านมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในบางเรื่องผู้อ่านอาจเสนอความคิดโดยยกตัวอย่างคนที่มีความคิดผิดพลาดเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้ผู้อ่านได้ความยั้งคิด เช่น เรื่องพระลอแสดงความรักอันฝืนทำนองคลองธรรมจึงต้องประสบเคราะห์กรรมในที่สุดผู้อ่านที่ขาดวิจารณญาณมีความคิดเป็นเรื่องจูงใจให้คนทำความผิดนับว่าขาดประโยชน์ทางความคิดที่ควรได้ไปอย่างน่าเสียดายการอ่านประเภทนี้จึงต้องอาศัยการศึกษาและการชี้แนะที่ถูกต้องจากผู้มีประสบการณ์ในการอ่านมากกว่าครูจึงต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านเพื่อความคิดของตนเองและเพื่อชี้แนะหรือสนับสนุนนักเรียนให้พัฒนาการอ่านประเภทนี้
       3)  การอ่านเพื่อความบันเทิงเป็นการอ่านเพื่อฆ่าเวลา เช่น ระหว่างที่คอยบุคคลที่นัดหมาย คอยเวลารถไฟออก เป็นต้น หรืออ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดีในเวลาว่าง บางคนที่มีนิสัยรักการอ่านหากรู้สึกเครียดจากการอ่านหนังสือเพื่อความรู้ อาจอ่านหนังสือประเภทเบาสมองเพื่อการพักผ่อน หนังสือประเภทที่สนองจุดประสงค์ของการอ่านประเภทนี้มีจำนวนมาก เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย การ์ตูน วรรณคดีประเทืองอารมณ์เป็นต้นจุดประสงค์ในการอ่านทั้ง ประการดังกล่าว อาจรวมอยู่ในการอ่านครั้งเดียวกันก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแยกจากกันอย่างชัดเจน


jennykr.wordpress.com

การอ่านบทร้อยกรองอ่านได้กี่แบบ

med.mahidol.ac.th

องค์ประกอบของการอ่าน

            การอ่านเป็นกระบวนการที่สำคัญและมีความซับซ้อน โดยมีองค์ประกอบหลายชนิดที่ช่วยให้การอ่านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้คือ

 1. การเข้าใจความหมายของคำผู้อ่านต้องมีความเข้าใจในความหมายที่ถูกต้องของคำศัพท์ ทุกคำ

 2. การเข้าใจความหมายของกลุ่มคำ ความหมายของกลุ่มคำนั้นจะช่วยทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของเนื้อความอย่างต่อเนื่อง

    3. การเข้าใจประโยค หมายถึงการนำความหมายของกลุ่มคำแต่ละกลุ่มมาสัมพันธ์กัน จนได้ความหมายเป็นประโยค

4. การเข้าใจย่อหน้า ผู้อ่านต้องเข้าใจข้อความในแต่ละย่อหน้า และสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของย่อหน้าทุกย่อหน้าอันจะทำให้เข้าใจความสำคัญของเรื่องได้ทั้งหมด

เมื่อทราบเรื่ององค์ประกอบของการอ่านแล้ว ผู้อ่านที่ดีจะต้องพยายามศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้ชัดเจน ตามองค์ประกอบนั้น ๆ การอ่านจึงจะเกิดประสิทธิภาพตามที่ต้องการ ความสำเร็จของการอ่านประกอบด้วยปัจจัยต่อไปนี้

1) ความรู้เกี่ยวกับระบบการเขียน รู้จักย่อหน้า ข้อความที่เน้นด้วยการขีดเส้น หรือพิมพ์อักษรทึบ การวรรคตอน ประโยคใจความสำคัญ ประโยคขยาย

   2) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา ในการใช้คำ โวหาร ภาพพจน์ สุภาษิต

 3) ความสามารถในการตีความ หมายถึง ความเข้าใจเนื้อหา เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประโยค และติดตามความคิดของผู้เขียนได้

4) ความรู้รอบตัวของผู้อ่าน ผู้อ่านที่มีความรู้รอบตัวมาก ๆ อาจเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ หากสัมพันธ์กับเรื่องที่อ่านแล้ว จะทำให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

5) เหตุผลในการอ่าน ผู้อ่านที่ดีต้องรู้เหตุผลในการอ่านว่าจะอ่านไปทำไมเพื่อจะได้เลือกวิธีการอ่านได้อย่างเหมาะสม

เมื่อรู้องค์ประกอบของการอ่านข้างต้นแล้ว ผู้อ่านที่มีความรู้เรื่องพื้นฐานในการอ่านจะรู้สึกได้ว่าการอ่านมีคุณค่าต่อชีวิตอย่างมากมาย ซึ่งสามารถนำมาสรุปได้ดังต่อไปนี้

1) การอ่านทำให้เกิดความพอใจ เช่น การอ่านเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ฯ

 2) การอ่านช่วยสนองความต้องการเรื่องราวต่าง ๆ ของตนได้อย่างกว้างขวาง เช่น การอ่านเพื่อฆ่าเวลา และยังทำให้ใช้เวลาว่างได้อย่างมีประโยชน์

3) การอ่านทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

  4) การอ่านทำให้รู้ทันความคิดของผู้อื่น ทันโลก และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

 5) การอ่านช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การอ่าน เพื่อการศึกษาเล่าเรียน

  6) การอ่านสามารถเสริมสร้างบุคลิกภาพของบุคคลได้


การอ่านบทร้อยกรองอ่านได้กี่แบบ

gotoknow.org

 ลักษณะของนักอ่านที่ดี

การเป็นนักอ่านที่ดีนั้นย่อมให้ประโยชน์แก่บุคคลนั้นๆอย่างสูงสุด ซึ่งก่อนที่จะเป็นนักอ่านที่ดีได้ ผู้อ่านควรมีความรู้เกี่ยวกับการอ่านเบื้องต้นว่าต้องมีความสามารถทางภาษา รู้คำ รู้จัก ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ รู้ว่าหนังสือประเภทใดควรใช้การอ่านอย่างไร รู้จักเลือกหนังสืออ่าน และรู้แหล่งของหนังสืออีกด้วย การมีความรู้เรื่องเหล่านี้จะช่วยพัฒนาให้เป็นนักอ่านที่ดีได้ ซึ่งนักอ่านที่ดีนั้น สมบัติ จำปาเงิน และสำเนียง มณีกาญจน์ (2545 , หน้า 6-7) ได้กล่าวไว้ดังนี้

  1. มีความตั้งใจ หรือมีสมาธิแน่วแน่ในการอ่าน

2. มีความอดทน หมายถึง สามารถอ่านหนังสือได้ในระยะเวลานานโดยไม่เบื่อ

3. อ่านได้เร็วและเข้าใจความหมายของคำ

 4. มีความรู้พื้นฐานพอสมควร ทั้งด้านความรู้ทั่วไป ถ้อยคำ สำนวนโวหาร ฯลฯ

5. มีนิสัยจดบันทึก รวบรวมความรู้ความคิดที่ได้จากการอ่าน

6. มีความจำดี คือ จำข้อมูลของเรื่องได้

7. มีความรู้เรื่องการหาข้อมูลจากห้องสมุด เพราะจะช่วยประหยัดเวลาในการหาข้อมูล

 8. ชอบสนทนากับผู้มีความรู้และนักอ่านด้วยกัน.

 9. หมั่นทบทวน ติดตามความรู้ที่ต้องการทราบหรือข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

 10. มีวิจารณญาณในการอ่าน คือ แยกเนื้อหาข้อเท็จจริง เพื่อกันสิ่งที่เป็นประโยชน์ไว้ใช้ต่อไปในอนาคตความมุ่งหมายในการอ่าน

การรู้ความมุ่งหมายในการอ่าน เป็นองค์ประกอบหนึ่งของทักษะการอ่านเร็ว และการอ่านเพื่อได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ การที่ผู้อ่านรู้ว่าอ่านเพื่ออะไร จะทำให้สามารถเลือกสื่อการอ่านได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และทำให้การอ่านมีสมาธิ

โดยทั่วไปการอ่านมีความมุ่งหมายดังนี้

1. อ่านเพื่อความรู้ เน้นการอ่านเรื่องราวต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดความรู้ ซึ่งการอ่านเพื่อความรู้นี้มีหลายลักษณะ เช่น

1.1 อ่านเพื่อหาคำตอบ เช่น อ่านกฎ ระเบียบ คำแนะนำ ตำรา หนังสืออ้างอิง ฯลฯ

1.2 อ่านเพื่อรู้ข่าวสารและข้อมูล เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร เอกสารโฆษณา และประชาสัมพันธ์

1.3 อ่านเพื่อประมวลสาร ได้แก่ อ่านเอกสาร วารสาร หนังสืออื่น ๆ เพื่อสิ่งที่ต้องการรู้และนำมาประมวลสารเข้าด้วยกัน

การอ่านเพื่อความรู้มีประโยชน์มาก เพราะนอกจากจะสนองตอบความต้องการด้านต่างๆ แล้วยังทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้และความมั่นใจอันมีผลต่อบุคลิกภาพ ในบางครั้งสารที่อ่านยังให้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพอีกด้วย

  2. อ่านเพื่อศึกษา เป็นการอ่านอย่างจริงจัง เช่น การอ่านตำรา และหนังสือวิชาการต่าง ๆ

3. อ่านเพื่อความคิดเป็นการอ่านเพื่อให้เข้าใจสาระของเนื้อเรื่องเป็นแนวทางในการริเริ่มสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นความคิดอันได้ประโยชน์จากการอ่าน

  4. อ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์ เป็นการอ่านเพื่อความรู้อย่างลึกซึ้ง ทำให้สามารถแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านได้ เช่น การอ่านบทความ ข่าว เป็นต้น

5. อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน เป็นการอ่านเพื่อเปลี่ยนแปลงกิจกรรม เป็นการผ่อนคลาย เพื่อให้เกิดความรื่นรมย์ การอ่านชนิดนี้ไม่ได้จำกัดว่าอ่านเอกสารชนิดใด ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้อ่านเป็นสำคัญ บางคนอาจชอบอ่านหนังสือธรรมะเพื่อความเพลิดเพลิน บางคนอาจชอบอ่านเรื่องสั้นนวนิยายก็ได้

การอ่านบทร้อยกรองอ่านได้กี่แบบ

WeGolnter.com

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการอ่าน

            

การอ่านที่ดีนั้นเกิดจากทักษะการฝึกฝนและการเรียนรู้ การอ่านเป็นการสื่อสารระหว่าง ผู้ส่งสารด้วยการเขียนกับผู้อ่าน โดยอาศัยตัวหนังสือเป็นสื่อ ผู้อ่านจึงเกิดความรู้ ความคิดและประสบการณ์ สามารถนำความรู้ความคิดและประสบการณ์เหล่านั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ผลจากการอ่านที่ผู้อ่านได้รับนั้นย่อมได้รับผลแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการมีความรู้เกี่ยวกับการอ่านจะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านได้


ความหมายของการอ่าน

การอ่านคือการรับรู้ความหมายจากถ้อยคำที่ตีพิมพ์จากสิ่งพิมพ์ชนิดต่าง ๆ เพื่อรับรู้ว่าผู้เรียนคิดอะไรและพูดอะไร โดยที่ผู้อ่านต้องเริ่มทำความเข้าใจวลี ประโยค ซึ่งรวมอยู่ในย่อหน้า แต่ละย่อหน้า แล้วรวมเป็นเรื่องเดียวกัน

สุพรรณี วราทร กล่าวสรุปความหมายของการอ่านว่า การอ่านเปรียบเหมือนการถอดรหัส อันเป็นผลจากการเห็นสัญลักษณ์หรือข้อความ การอ่าน เน้นกระบวนการทางสมองที่ซับซ้อ ซึ่งการอ่านนั้นเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม 3 ลักษณะ คือ

1. การรับรู้ ได้แก่การรับรู้คำ คือแปลสัญลักษณ์ที่เน้นลายลักษณ์อักษรได้

 2. การมีความเข้าใจ มี 3 นัย คือ

2.1 การประสานความหมาย คือการกำหนดความหมายให้สัญลักษณ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร

2.2 ความเข้าใจทางภาษา หมายถึง เข้าใจข้อความที่อ่านซึ่งต้องอาศัยทักษะการอ่านบางประการ

2.3 การตีความ เป็นการประมวลความคิดจากเนื้อหาต่าง ๆ ในข้อเขียน รับความเข้าใจโดยเชื่อมโยงจากสิ่งที่อ่านทั้งหมด ทำให้เกิดความเข้าใจในสารที่นำเสนอ

3. การมีปฏิกริยาต่อสิ่งที่อ่าน เป็นเรื่องของการประเมินผลซึ่งหมายถึงการพิจารณา วิเคราะห์ เพื่อหาข้อเท็จจริงจากการอ่าน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของการอ่านว่า “การอ่านตามตัวหนังสือ การออกเสียงตามตัวหนังสือ การดูหรือเข้าใจความจากตัวหนังสือ : สังเกต หรือพิจารณาดู เพื่อให้เข้าใจ : คิด นับ (ไทยเดิม)”

จากคำจำกัดความข้างต้นนี้ การอ่านในที่นี้จึงหมายถึงการอ่านในใจและการอ่านออกเสียง สมบัติ จำปาเงิน ให้ความหมายของการอ่านว่า เป็นการเก็บรวบรวมความคิดที่ปรากฏอยู่ในหนังสือที่อ่าน และสรุปว่าการอ่านที่จะได้ผลต้องพิจารณาจากพฤติกรรมพื้นฐาน 3 ด้าน คือการแปลความตีความและการขยายคาม

การแปลความ     คือ การเข้าใจเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา

การตีความ         คือ การเข้าใจเรื่องราวอย่างลึกซึ้ง และอาจแยกแยะไปได้อีกหลายแง่มุม

การขยายความ    คือ การนำเสนอความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในรูปของการอธิบายเพิ่มเติม