นิยาม ของ thailand 4.0 ตรง กับ ข้อ ใด

  • พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์
  • ผู้สื่อข่าวอิสระ

6 มกราคม 2017

นิยาม ของ thailand 4.0 ตรง กับ ข้อ ใด

ที่มาของภาพ, NICOLAS ASFOURI / getty images

"ประเทศไทย 4.0" หรือ Thailand 4.0 เป็นนโยบายที่รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พยายามผลักดันให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งตาม "โรดแมป" ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงเมื่อวันที่ 1 ม.ค. ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้สั่งการให้หน่วยงานราชการทุกแห่งเข้าไปสร้างความรับรู้ความเข้าใจกับกับประชาชนในทุกระดับ ภายในระยะเวลา 6 เดือน เพื่อให้เปลี่ยนเป็น "คนไทย 4.0" ซึ่งหมายความถึงคนไทยที่มีความรู้และทักษะอาชีพที่สูงขึ้น มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย และมีความสามารถรู้จักใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการผลักดันนโยบายนี้

  • รัฐบาลเร่งสร้าง "คนไทย 4.0" รองรับโลกยุคใหม่

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคแรกในการผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 กลับเป็นเรื่องพื้นฐานอย่าง "คำจำกัดความ" ที่หลายฝ่ายยังเข้าใจไม่ตรงกัน

"สิ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิด คือคิดว่า นโยบาย Thailand 4.0 หมายถึงการใช้เทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการพัฒนาประเทศ ทั้งที่จริงๆ มันเป็นแค่พาร์ทเดียวเท่านั้น ผมอยากให้ช่วยเขียนตรงนี้ให้หน่อย" นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หนึ่งใน "สถาปนิก" ผู้ผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 คนสำคัญ กล่าวกับ 'บีบีซีไทย'

นายสุวิทย์กล่าวว่า Thailand 4.0 คือ โมเดลในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมาย "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ตามแนวคิดของ คสช. ให้เกิดผลออกมาเป็นรูปธรรม เนื่องจากขณะนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว ประเทศไทยจึงต้องเปลี่ยนตาม เพื่อให้พ้นจากกับดัก 3 อย่าง คือ 1.กับดักรายได้ปานกลาง เพราะเราใช้เครื่องยนต์เศรษฐกิจเดิมมา 50-60 ปีแล้ว ต้องเปลี่ยนมาใช้นวัตกรรมมาเพิ่มรายได้ 2.ความเหลื่อมล้ำ รวยกระจุก-จนกระจาย ต้องหาวิธีกระจายความเจริญออกไปนอกกรุงเทพฯ ซึ่งรัฐบาลก็เริ่มทำแล้วด้วยการแบ่งการพัฒนาออกเป็น 18 กลุ่มจังหวัด และ 3.การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เพราะเน้นไปที่ด้านเศรษฐกิจ ไม่ได้คำนึงถึงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

นายสุวิทย์คือผู้เปิดเผย แนวคิดเรื่อง Thailand 4.0 ต่อสาธารณชนเป็นคนแรก เมื่อ 13 สิงหาคม 2558 สมัยเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในงานส่งมอบวาระการปฏิรูปของ สปช. ให้รัฐบาลเข้ามาสานต่อ กระทั่งถูก พล.อ.ประยุทธ์ดึงเข้ามาร่วมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปลายเดือนเดียวกัน ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทีมงานเดียวกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ ก่อนจะถูกขยับมาอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ช่วงปลายปี 2559 เพื่อให้สามารถผลักดันนโยบายนี้ได้อย่างเต็มที่มากขึ้น

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang / bbc thai

คำบรรยายภาพ,

วารสารไทยคู่ฟ้าระบุว่านโยบาย Thailand 4.0 เปรียบเสมือน "ขับรถคันใหม่ที่มีสมรรถนะสูงกว่าเดิมบนถนนราบเรียบที่สามารถเหยียบคันเร่งไปข้างหน้าได้"

นายสุวิทย์กล่าวว่า มีคนถามเขาบ่อยครั้งว่า รูปธรรมของนโยบาย Thailand 4.0 คืออะไร คำตอบที่เขาให้ คือ ตอนนี้ทุกคนได้เห็นพิมพ์เขียว (blueprint) ของนโยบายนี้ไปแล้ว ต่อไปจะมีการกำหนดโครงการนำร่อง (flagship) ซึ่งแบ่งประเภทโครงการออกเป็น 3 แบบ คือ "ซ่อม" อาจใช้เวลาแค่ 6-12 เดือน "เสริม" ใช้เวลาราว 12 เดือน และ "สร้าง" ใช้เวลา 3-5 ปี โดยเชากำลังรวบรวมโครงการเพื่อเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา ก่อนเปิดเผยต่อสาธารณชน แต่ที่คิดไว้คร่าวๆ อาทิ เพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยเป็นสิบเท่า ทำให้บางจังหวัดท่องเที่ยวกลายเป็น World Class Destination เป็นต้น

"หากเราบริหารจัดการดีๆ ก็จะเริ่มเห็นโครงการนำร่องที่ส่งผลเป็นรูปธรรมออกมาได้มากมายในช่วงเวลาที่รัฐบาลนี้เหลืออยู่ บางโครงการแม้จะใช้เวลาดำเนินการหลายปี แต่ถ้าเริ่มวันนี้ก็จะสร้างโมเมนตัมให้ทุกคนรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องพัฒนา โดยไม่ต้องไปติดกับดักของเวลา" นายสุวิทย์กล่าว

ที่มาของภาพ, NICOLAS ASFOURI / getty images

วารสารไทยคู่ฟ้า ที่จัดทำโดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า นโยบาย Thailand 4.0 เปรียบเสมือน "ขับรถคันใหม่ที่มีสมรรถนะสูงกว่าเดิมบนถนนราบเรียบที่สามารถเหยียบคันเร่งไปข้างหน้าได้" ซึ่งมีสิ่งที่ทำเพื่อรองรับนโยบาย Thailand 4.0 ไปแล้ว อาทิ การส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต, การปรับจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การทำเกษตรยุคใหม่, การส่งเสริมผู้ประกอบการเริ่มใหม่ (startup), การส่งเสริมและสร้างความร่วมมือระหว่างเอกชนกับสถาบันการศึกษาและศูนย์วิจัยเพื่อให้เกิดการนำผลการศึกษาวิจัยออกมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์, แนวทางประชารัฐ ฯลฯ

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang / bbc thai

นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวกับ 'บีบีซีไทย' ว่า ในเชิงแนวคิด นโยบาย Thailand 4.0 ถือเป็นทิศทางการพัฒนาประเทศที่ถูกต้อง เนื่องจากประเทศไทยต้องการนวัตกรรมเข้ามาช่วยพัฒนา แต่เท่าที่ติดตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือนโยบายนี้มีภาพกว้าง แต่ขาดรายละเอียด

"โดยเฉพาะการพัฒนาคน ที่ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ทั้งๆ ที่รัฐบาลบอกว่า ส่วนที่สำคัญที่สุดใน Thailand 4.0 ก็คือคนไทย 4.0 ผมจึงอยากเสนอให้มีการดึงผู้เชี่ยวชาญหรือคนที่มีทักษะสูงเข้ามาทำงานในเมืองไทย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนไทย ให้ดูตัวอย่างจากประเทศสิงคโปร์ที่ดึง experts จากชาติต่างๆ เข้าไปทำงานเป็นจำนวนมาก จนสามารถพัฒนานวัตกรรมของตัวเองได้" นายสมชัยกล่าว

นายสมชัยเสริมว่า แม้รัฐบาลจะให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีไว้ค่อนข้างมาก ผ่าน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มาช่วยผลักดันนโยบายนี้ ทั้งเรื่องของ Cluster, Super Cluster หรือต่อยอด Eastern Seaboard เพื่อดึงทุนต่างชาติให้เข้ามา แต่ เท่าที่ติดตามข่าว ก็พบว่าภาคเอกชนยังไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร

ที่มาของภาพ, Wasawat lukharang / bbc thai

ทั้งนี้ 'บีบีซีไทย' ได้ตรวจสอบข้อมูลพบว่า แม้ตัวเลขคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในช่วง 5 ปีหลังจะเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในยุครัฐบาล คสช. ที่มีนโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะโครงการที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสูง ซึ่งตัวเลขคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 ล้านบาท ในปี 2558 จากเพียง 4 แสนล้านบาทในปี 2554 แต่ตัวเลขการลงทุนตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ที่แท้จริง กลับไม่ได้เพิ่มขึ้น มีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ตัวเลขเอฟดีไอ ในปี 2554 อยู่ที่ 7 หมื่นล้านบาท ปี 2555 อยู่ที่ 4 แสนล้านบาท ปี 2556 อยู่ที่ 4.9 แสนล้านบาท ปี 2557 เกิดรัฐประหาร กลับลดลงมาที่1.6 แสนล้านบาท ส่วนปี 2558 อยู่ที่ 3 แสนล้านบาท

นายสมชัยยังกล่าวถึงอุปสรรคอื่นๆ ของ Thailand 4.0 ว่า โครงสร้างพื้นฐานยังไม่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมของตัวเอง ทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล หรือ soft infrastructure เรื่องกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของธุรกิจ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงงบประมาณของภาครัฐด้านการวิจัยและพัฒนาที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก ขณะที่ภาคเอกชนที่เตรียมพร้อมสำหรับนโยบาย Thailand 4.0 ก็มีเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น ภาครัฐจึงควรเข้าไปช่วยสนับสนุนบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กให้มีศักยภาพเพียงพอต่อการพัฒนาประเทศตามแนวทางนี้

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang / bbc thai

คำบรรยายภาพ,

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ : ''นโยบาย Thailand 4.0 ตั้งเป้าหมายไว้สูง ถึงขั้นให้ประเทศไทยกลายไปเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง (ประเทศพัฒนาแล้ว) ภายในปี 2575''

แม้นโยบาย Thailand 4.0 จะถูกท้วงติงว่ายังขาดรายละเอียด ทว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้นำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่จะใช้บังคับระหว่างปี 2560-2564 ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่าจะนำนโยบาย Thailand 4.0 ไปบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ท่ามกลางเสียงคัดค้านของสมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่ให้เหตุผลว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว การนำ Thailand 4.0 ไปใส่ไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่จะใช้เวลาดำเนินการถึง 20 ปี จึงไม่เหมาะสม

ล่าสุด ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2559 ได้มีมติเห็นชอบให้อนุมัติเบิกจ่ายงบกลาง 125 ล้านบาทเศษ เพื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรม เพื่อเผยแพร่นโยบาย Thailand 4.0 ให้สาธารณชนรับทราบในวงกว้างมากขึ้น

ขณะที่ตัวผู้นำรัฐบาลอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ ก็เคยใช้รายการของรัฐบาลที่ออกอากาศทุกคืนวันศุกร์ อธิบายทั้งเรื่องแนวคิดและความคืบหน้าของนโยบาย Thailand 4.0 อยู่หลายครั้งหลายหน แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้เตรียมที่จะเดินหน้านโยบายนี้อย่างเต็มที่

ที่มาของภาพ, CHRISTOPHE ARCHAMBAULT / getty images

คำบรรยายภาพ,

ครม. มีมติเมื่อวันที่ 4 ม.ค.59 เห็นชอบให้อนุมัติเบิกจ่ายงบกลาง 125 ล้านบาทเศษ เพื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรม เพื่อเผยแพร่นโยบาย Thailand 4.0 ให้สาธารณชนรับทราบ

จึงน่าติดตาม นโยบาย Thailand 4.0 จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับประเทศไทยได้มากน้อยเพียงใด ยิ่งนายสุวิทย์เคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า นโยบาย Thailand 4.0 อาจเป็นการปฏิรูปประเทศขนานใหญ่อย่างเป็นระบบครั้งที่ 2 "ภายหลังประเทศไทยมีการปฏิรูปขนานใหญ่อย่างเป็นระบบเพียงครั้งเดียว ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5" ที่มีการปฏิรูปประเทศให้ไปสู่สังคมสมัยใหม่ ทั้งสร้างระบบราชการดึงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง รวมไปถึงการพัฒนาสาธารณูปโภคที่จำเป็น เช่น ไฟฟ้า ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ล้าหลัง จนเป็นรัฐที่ล้มเหลวไปในที่สุด พร้อมกับตั้งเป้าหมายไว้สูง ถึงขั้นให้ประเทศไทยกลายไปเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง (ประเทศพัฒนาแล้ว) ภายในปี 2575 หรือในอีก 15 ปีข้างหน้า

"สิ่งสำคัญของนโยบาย Thailand 4.0 ก็คือคนไทย ที่จะต้องพัฒนาตัวเอง ให้เป็นคนไทย 4.0 ด้วย ต้องมาร่วมกันพัฒนา อย่าหวังพึ่งแต่การช่วยเหลือของรัฐ เหมือนประชานิยมแบบเดิมๆ" รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ รายนี้ กล่าวทิ้งท้าย

ประเทศไทย 1, 2, 3, 4

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อธิบาย แนวคิดเรื่อง ประเทศไทย แต่ละยุคไว้ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อ 22 เมษายน 2559 ไว้ว่า "คงต้องย้อนกลับไป 1.0 ก่อน คือประเทศไทยมีการพัฒนาตามหลัก 3 ยุค มาแล้ว สังคมแรก ๆ สมัยก่อน ๆ นี้ หลายสิบปีมาแล้วเป็นสังคมเกษตรกรรม บ้านเมืองเป็นเกษตรกรรม แล้วใช้แรงงานอย่างเดียวยังไง ใช้เกษตรกรออกแรง ทำไร่ทำนาอะไรทำนองนี้พอ Thailand 2.0 เริ่มมีภาคอุตสาหกรรมเข้ามาแล้ว เข้ามาอาจจะเป็นอุตสาหกรรมเบาบ้าง อะไรบ้าง อันนี้ก็เอาเครื่องจักรมาช่วยงาน มาช่วยงานเกษตรกร หรือแรงงาน พอมาอีกช่วงหนึ่ง Thailand 3.0 ไปสู่การมีอุตสาหกรรมหนักเข้ามา มีการลงทุนจากต่างประเทศบ้างอะไรบ้าง"

อะไรคือกับดักรายได้ปานกลาง

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang

คำบรรยายภาพ,

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตี แถลงผลงาน 2 ปีรัฐบาล เมื่อวันที่ 15 ก.ย.59 ระบุถึงอีกหนึ่งนโยบายสำคัญปีต่อไปคือการผลักดันประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

รัฐบาลไทยหลายชุดที่ผ่านมา พูดถึงปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยว่าติดอยู่ภายใต้ "กับดักรายได้ปานกลาง" (middle income trap) มันคืออะไร

กับดักรายได้ปานกลาง เป็นศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ที่ Michael Spence นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เคยอธิบายไว้ว่า หมายถึงเหตุการณ์ที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนหนึ่งเคยประสบความสำเร็จจากการใช้ข้อได้เปรียบจากการส่งออกสินค้าที่ใช้แรงงานราคาถูก จนทำให้ประชากรมีรายได้ที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง แต่เมื่อตลาดโลกมีรูปแบบการแข่งขันที่แตกต่างและซับซ้อนมากขึ้น การผลิตในรูปแบบเดิมๆ ก็กลายเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว

แนวทางที่หลายๆ ฝ่าย พูดถึงการก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง คือการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อสร้างข้อได้เปรียบใหม่ๆ ให้กับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็อาจต้องใช้ระยะเวลา โดยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 (ใช้บังคับระหว่างปี 2560-2564) ระบุว่าการจะก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางได้ จะต้องใช้นวัตกรรมเพิ่มรายได้ต่อหัวต่อจำนวนประชากร และต้องแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ระบุว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง เปลี่ยนจากการเพิ่มมูลค่าเป็นการสร้างมูลค่า จากทำมากได้น้อย ให้เป็นทำน้อยได้มาก ซึ่งประเทศไทยยุค Thailand 4.0 จะเป็นยุคแห่งการยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เพื่อพ้นกับดักดังกล่าว

ไทยแลนด์ 4.0 คือข้อใด

Thailand 4.0 นับเป็นโมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคนี้ที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมไปด้วยกัน ช่วยกันผลักดันไปพร้อม ๆ กัน สิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้โมเดลนี้ประสบความสำเร็จก็คือ ต้องคิดให้มาก คิดให้จบ อ่านให้ขาด ต้องกล้าเปลี่ยนแปลง อย่ามัวแต่โทษกันเมื่อมีอะไรผิดพลาด เพราะทุกอย่างเปรียบเสมือนการเรียนรู้ ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงก็ ...

ข้อใดเป็นสาระสําคัญของนโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 *

Thailand 4.0เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ได้แก่ 1.เปลี่ยนจากการผลักดันสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม 2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์

ไทย แลนด์ 4.0 มีความ สํา คั ญ อย่างไร

ทั้งนี้ เป้าหมายการขับเคลื่อน 'ไทยแลนด์ 4.0' คือ การก้าวไปสู่การเป็น 'ประเทศที่มีรายได้สูง' ด้วยนวัตกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ซึ่งหากประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนไปได้จริง จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และสามารถลดการพึ่งพาต่างชาติ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำต่างๆ เป็นการสร้างความ ...

อุตสาหกรรมไทยแลนด์ 4.0 มีอะไรบ้าง

5 ธุรกิจดาวรุ่ง ไทยแลนด์ 4.0.
1.Healthcare : การดูแลสุขภาพ ... .
2.Automotive & Auto Parts : อุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ ... .
3.Transportation & Logistics : การเดินทาง และการขนส่งสินค้า ... .
4.E-commerce : ช้อปปิ้งออนไลน์ ... .
5.Food Processing : การแปรรูปอาหาร.