Sdlc คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง

การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนการการวางแผนงานโดย กำหนดรูปแบบของซอฟต์แวร์ ประมาณการต้นทุนในการพัฒนาระบบ กำหนดแนวทางของการพัฒนาระบบ กำหนดระยะเวลา เป็นต้น

การวิเคราะห์ความต้องการ (Analysis) เป็นขั้นตอนของการค้นหาความต้องการของระบบ และวิเคราะห์ความต้องการนั้น เพื่อให้เข้าใจภาพรวมและหน้าที่การทำงานของระบบ

การออกแบบ (Design) เป็นขั้นตอนการออกแบบส่วนประกอบต่างๆของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว

การเขียนโปรแกรม (Development) เป็นขั้นตอนการสร้างระบบโดยการเขียนโปรแกรม ตามแนวทางการออกแบบจากขั้นตอนที่ผ่านมา

การทดสอบ (Testing) เป็นขั้นตอนการนำระบบที่ทำมาทดสอบการใช้งาน ว่าทำงานถูกต้องตามความต้องการที่ได้หรือไม่ ซึ่งการทดสอบนี้จะรวมถึงการทดสอบการเชื่อมโยงกับระบบซอฟต์แวร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย

การประเมิน เป็นขั้นตอนการประเมินว่าระบบที่ผ่านการทดสอบแล้ว เหมาะสมที่จะนำไปใช้งานได้หรือไม่

การโอนย้ายข้อมูล (Data Conversion) เป็นขั้นตอนการนำข้อมูลเก่าเข้าระบบใหม่ก่อนการนำระบบไปใช้จริง

การนำไปใช้งานงานจริง (Production) เป็นขั้นตอนที่นำระบบที่พัฒนาสำเร็จและผ่านการทดสอบแล้วไปใช้งาน โดยทำการติดตั้ง และสอนวิธีการใช้งานแก่ผู้ใช้

การให้ความช่วยเหลือ (Support) เป็นขั้นตอนของการให้ความช่วยเหลือต่อผู้ใช้ เมื่อพบปัญหา โดยหากปัญหาที่เกิดไม่สามารถแก้ไขได้ จะต้องทำการพัฒนาระบบเพิ่มเติม ก็จะเริ่มวนไปที่ขั้นตอนแรกใหม่

ระยะที่ 1 การกำหนดปัญหา

  • นักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษาเพื่อค้นหาปัญหา ข้อเท็จจริงที่แท้จริง ซึ่งหากปัญหาที่ค้นพบ มิใช่ปัญหาที่แท้จริง ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาก็จะตอบสนองการใช้งานไม่ครบถ้วน

    ปัญหาหนึ่งของระบบงานที่ใช้ในปัจจุบันคือ    โปรแกรมที่ใช้งานในระบบงานเดิมเหล่านั้นถูกนำมาใช้งานในระยะเวลาที่เนิ่นนานอาจเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อติดตามผลงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น  ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกันเป็นระบบ  ดังนั้น   นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานที่จะพัฒนา   แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหา   ซึ่งอาจมีแนวทางหลายแนวทาง และคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในครั้งนี้

    อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ดีที่สุดอาจไม่ถูกเลือกเพื่อมาใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณสูง   ดังนั้น  แนวทางที่ดีที่สุดในที่นี้คงไม่ใช่ระบบที่ต้องใช้งบประมาณแพงลิบลิ่ว แต่เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขในสถานการณ์นั้นๆ เป็นหลักสำคัญ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของงบประมาณค่าใช้จ่าย  และเวลาที่จำกัด อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการกำหนดปัญหานี้ หากเป็นโครงการขนาดใหญ่อาจเรียกขั้นตอนนี้ว่า ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้

    สรุปขั้นตอนของระยะการกำหนดปัญหา

    1. รับรู้สภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น

    2. ค้นหาต้นเหตุของปัญหา รวบรวมปัญหาของระบบงานเดิม

    3. ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาระบบ

    4. จัดเตรียมทีมงาน และกำหนดเวลาในการทำโครงการ

    5. ลงมือดำเนินการ

    ระยะที่ 2 การวิเคราะห์

    การวิเคราะห์   จะต้องรวบรวมข้อมูลความต้องการ   (Requirements)   ต่างๆ  มาให้มากที่สุด ซึ่งการสืบค้นความต้องการของผู้ใช้สามารถดำเนินการได้จากการรวบรวมเอกสารการสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถาม และการสังเกตการณ์บนสภาพแวดล้อมการทำงานจริง

    เมื่อได้นำความต้องการมาผ่านการวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นข้อกำหนดที่ชัดเจนแล้ว ขั้นตอนต่อไปของนักวิเคราะห์ระบบก็คือ การนำข้อกำหนดเหล่านั้นไปพัฒนาเป็นความต้องการของระบบใหม่ด้วยการพัฒนาเป็นแบบจำลองขึ้นมา ซึ่งได้แก่ แบบจำลองกระบวนการ (Data Flow Diagram) และแบบจำลองข้อมูล (Data Model) เป็นต้น

    สรุปขั้นตอนของระยะการวิเคราะห์

    1. วิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน

    2. รวบรวมความต้องการ และกำหนดความต้องการของระบบใหม่

    3. วิเคราะห์ความต้องการเพื่อสรุปเป็นข้อกำหนด

    4. สร้างแผนภาพ DFD และแผนภาพ E-R

    ระยะที่ 3 การออกแบบ

    เป็นระยะที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์  ที่เป็นแบบจำลองเชิงตรรกะมาพัฒนาเป็นแบบจำลองเชิงกายภาพ     โดยแบบจำลองเชิงตรรกะที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์    มุ่งเน้นว่ามีอะไรที่ต้องทำในระบบในขณะที่แบบจำลองเชิงกายภาพจะนำแบบจำลองเชิงตรรกะมาพัฒนา ต่อด้วยการมุ่งเน้นว่าระบบดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดผลตามต้องการ  งานออกแบบระบบประกอบด้วยงานออกแบบสถาปัตยกรรมระบบที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์  และระบบ เครือข่าย   การออกแบบรายงาน  การออกแบบหน้าจออินพุตข้อมูล  การออกแบบผังงานระบบ การออกแบบฐานข้อมูล และการออกแบบโปรแกรม เป็นต้น

    สรุปขั้นตอนของระยะการออกแบบ

    1. พิจารณาแนวทางในการพัฒนาระบบ

    2. ออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ

    3. ออกแบบรายงาน

    4. ออกแบบหน้าจออินพุตข้อมูล

    5. ออกแบบผังงานระบบ

    6. ออกแบบฐานข้อมูล

    7. การสร้างต้นแบบ

    8. การออกแบบโปรแกรม

    ระยะที่ 4 การพัฒนา

    เป็นระยะที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม  โดยทีมงานโปรแกรมเมอร์จะต้องพัฒนาโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้  การเขียนชุดคำสั่งเพื่อสร้างเป็นระบบงานทางคอมพิวเตอร์ขึ้นมา โดยโปรแกรมเมอร์สามารถนำเครื่องมือเข้ามาช่วยในการพัฒนาโปรแกรมได้เพื่อช่วยให้ระบบงานพัฒนาได้เร็วขึ้นและมีคุณภาพ

    สรุปขั้นตอนของระยะการพัฒนา

    1. พัฒนาโปรแกรม

    2. เลือกภาษาโปรแกรมที่เหมาะสม

    3. สามารถนำเครื่องมือมาช่วยพัฒนาโปรแกรมได้

    4. สร้างเอกสารประกอบโปรแกรม

    ระยะที่ 5 การทดสอบ

    เมื่อโปรแกรมได้พัฒนาขึ้นมาแล้ว ยังไม่สามารถนำระบบไปใช้งานได้ทันทีจำเป็นต้องดำเนินการทดสอบระบบก่อนที่จะนำไปใช้งานจริงเสมอ  ควรมีการทดสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อน ด้วยการสร้างข้อมูลจำลองขึ้นมาเพื่อใช้ตรวจสอบการทำงานของระบบงาน หากพบข้อผิดพลาดก็ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง  การทดสอบระบบจะมีการตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาเขียน  และตรวจสอบว่าระบบตรงกับความต้องการของผู้ใช้หรือไม่

    สรุปขั้นตอนของระยะการทดสอบ

    1. ทดสอบไวยากรณ์ภาษาคอมพิวเตอร์

    2. ทดสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้

    3. ทดสอบว่าระบบที่พัฒนาตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือไม่

    ระยะที่ 6 การนำระบบไปใช้

    เมื่อดำเนินการทดสอบระบบจนมั่นใจว่าระบบที่ได้รับการทดสอบนั้นพร้อมที่จะนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานบนสถานการณ์จริง  ขั้นตอนการนำระบบไปใช้งานอาจเกิดปัญหา  จากการที่ระบบที่พัฒนาใหม่ไม่สามารถนำไปใช้งานแทนระบบงานเดิมได้ทันที  จึงมีความจำเป็นต้องแปลงข้อมูลระบบเดิมให้อยู่ในรูปแบบที่ระบบใหม่สามารถนำไปใช้งานได้เสียก่อน หรืออาจพบข้อผิดพลาดที่ไม่คาดคิดเมื่อนำไปใช้ในสถานการณ์จริง ครั้นเมื่อระบบสามารถรันได้จนเป็นที่น่าพอใจทั้งสองฝ่าย ก็จะต้องจัดทำเอกสารคู่มือระบบ รวมถึงการฝึกอบรมผู้ใช้

    สรุปขั้นตอนของระยะการนำระบบไปใช้

    1. ศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ก่อนที่จะนำระบบไปติดตั้ง

    2. ติดตั้งระบบให้เป็นไปปตามสถาปัตยกรรมที่ออกแบบไว้

    3. จัดทำคู่มือระบบ

    4. ฝึกอบรมผู้ใช้

    5. ดำเนินการใช้ระบบงานใหม่

    6. ประเมินผลการใช้งานของระบบใหม่

    ระยะที่ 7 การบำรุงรักษา

    หลังจากระบบงานที่พัฒนาขึ้นใหม่ได้ถูกนำไปใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการบำรุงรักษาจึงเกิดขึ้น   ทั้งนี้ข้อบกพร่องในด้านการทำงานของโปรแกรมอาจเพิ่งค้นพบได้   ซึ่งจะต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องรวมถึงกรณีที่ข้อมูลที่จัดเก็บมีปริมาณที่มากขึ้นต้องวางแผนการรองรับเหตุการณ์นี้ด้วย นอกจากนี้งานบำรุงรักษายังเกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมกรณีที่ผู้ใช้มีความต้องการเพิ่มขึ้น

    SDLC ย่อมาจากคำว่าอะไร

    วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) คือ การแบ่งขั้นตอนกระบวนการพัฒนาระบบงาน หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจหรือตอบสนองความต้องการขององค์กรโดยระบบที่จะพัฒนานั้นอาจเป็นการพัฒนาระบบใหม่หรือการปรับปรุงระบบเดิมให้ดีขึ้นก็ได้ การพัฒนาระบบแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้

    SDLC มีกี่ประเภท

    ⚙️ SDLC คือ Software Development Life Cycle เป็นขั้นตอน หรือวงจรชีวิตของกระบวนการในการพัฒนาระบบงาน เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจหรือตอบสนองความต้องการขององค์กรนั่นเอง . ซึ่งเจ้า SDLC นั้นมีโมเดลที่ถูกกำหนดเพื่อกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่ 6 ประเภทนั่นเอง แต่ละประเภทมีรายละเอียดยังไงบ้าง ไปติดตามกันเลยจ้า .

    องค์ประกอบของวงจรการพัฒนาโปรแกรม (Software Development Life Cycle : SDLC) มีกี่รูปแบบได้แก่อะไรบ้าง *

    SDLC มีอยู่หลายโมเดล ได้แก่ Waterfall model, V-shaped model, Iterative model, Agile model และ Spiral model ซึ่งแต่ละโมเดลมีกระบวนการทำงานที่ต่างกันบ้าง แต่ว่าทุกโมเดลล้วนเป็นขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมจนสำเร็จทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับเราเลือกใช้

    วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ 4 ขั้น ได้แก่อะไรบ้าง

    1. เข้าใจปัญหา ( Problem Recognition) 2. ศึกษาความเป็นไปได้ ( Feasibility Study) 3. วิเคราะห์ ( Analysis) 4. ออกแบบ ( Design)