การอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม มีอะไรบ้าง

สังคมพหุวัฒนธรรม คือ สังคมที่ผู้คนอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายและความแตกต่างอย่างกลมกลืนกัน...

Posted by ประชาสัมพันธ์จังหวัดกระบี่ on Tuesday, December 8, 2020

พหุวัฒนธรรม (MULTICULTURAL) คือ การอยู่รวมกลุ่มของคนที่มีความหลากหลายทางด้านต่างๆ เช่น ภาษา ศาสนา การแต่งกาย หรือสิ่งที่มีความหลาหลายมาผสมกลมกลืนกัน แต่อาจจะไม่กลมกลืนกันสักทีเดียว ซึ่งพหุวัฒนธรรมถูกนำมาเปรียบเทียบเป็นสิ่งต่างๆเพื่อให้เกิดภาพอย่างชัดเจน เช่น มีการเปรียบเทียบว่าเป็น พิซซ่า ที่มีการผสมโดยใช้ส่วนผสมต่างๆ และทำให้เกิดความรู้สึกว่าสิ่งนี้ คือ พิซซ่า หรือในแคนาดา มีการเปรียบเทียบว่าคือ สลัด ที่มีการผสมกันของผัก ที่หลากสีหลากรสชาติ และถูกมองว่าสิ่งนี้คือสลัด หากลองพิจารณาอย่างประเทศไทย พื้นที่ภาคใต้มีการเรียกชุมชนบางชุมชนว่า “ชุมชนไข่แดง” ซึ่งผู้เขียนคิดว่าการเปรียบเทียบลักษณะนี้มีความคล้ายคลึงกับการเปรียบเทียบของชาติตะวันตก 

การอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม มีอะไรบ้าง

ชุมชนไข่แดง ในที่นี้คือ พื้นที่ภาคใต้บางหมู่บ้านมีชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่เปรียบเสมือนไข่ขาวที่มีมากกว่าไข่แดง ส่วนไข่แดงนั้นเปรียบเสมือน ชาวพุทธ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างกลมกลืม หากไม่มองในประเด็นความรุนแรงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในคำเปรียบเทียบดังกล่าวนี้คือ ทั้งไข่แดงและไข่ขาวมีการรวมกันและถูกมองอย่างกลมกลืมว่า คือ ไข่ แต่หากมองในความรุนแรงนั้น การที่มีการผลิตซ้ำ ว่า ภาคใต้ทะเลาะกันทางศาสนา ผู้เขียนเห็นว่าประเด็นนี้เป็นปัจจัยที่น้อยมาก และสื่อที่นำเสนอก็อาจจะไม่เสนอข้อมูลในพื้นที่ที่เป็นความจริงแต่ต้องเชื่อฟังคำสั่งรัฐบาลหรือทหารมากกว่า ทำให้คนนอกพื้นที่เกิดภาพลบกับพื้นที่ภาคใต้ และปัจจุบันพูดถึงภาคใต้คนก็นึกถึงระเบิด ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วความเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้และคนท้องถิ่นมีความแตกต่างจากสื่อมากจากการได้ลงพื้นที่ไปสัมผัสจริง แท้จริงแล้วความหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถที่จะรวมกันได้เป็นหนึ่งเดียวแม้ว่าจะไม่กลมกลืนแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการยอมรับ รับฟัง เคารพ และไม่ตัดสินว่าใครแตกต่าง หรือไม่ดูถูกเหยียดหยามว่าคนนั้นต่ำ ด้อยกว่าตน 

ทั้งนี้อัตลักษณ์จึงมีความสำคัญในการที่ปัจเจกมีความสำคัญกับสังคม กำหนดบทบาทหน้าที่และคุณค่า ซึ่งมีการใช้สัญลักษณ์(Symbols) โดยการแสดงออกซึ่งความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องในมิติภายใน มีการแบ่ง อัตลักษณ์ทางสังคมออกเป็นสองระดับ คือ อัตลักษณ์บุคคล(Personal identity) และอัตลักษณ์ทางสังคม(Social identity) ทั้งนี้อัตลักษณ์ สามารถแสดงออกมา ทั้งสิ่งที่เป็นตัวเองและสิ่งที่ถูกคนอื่นมอง อธิบายง่ายๆ คือสิ่งนี้ คือตัวเรา แบบของเรา ส่วนสิ่งที่คนอื่นมองหรือตัดสินเรามาอาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ถือเป็นลักษณะส่วนบุคคล (Personality) เช่นเดียวกัน อัตลักษณ์ทางสังคมของแต่พื้นที่มีความแตกต่างกัน

การอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม มีอะไรบ้าง

ประเด็นที่น่าสนใจนอกจากการที่ทุกสังคมมีความหลากหลายวัฒนธรรม สิ่งที่ในสื่อตะวันตกได้จัดทำนั้นบางอย่างที่เกินจริงในอดีต กลายเป็นจริงแล้วในปัจจุบัน และจะสมจริงมากกกว่านี้ในอนาคต โดยเฉพาะหุ่นยนต์สมัยใหม่ที่ความเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น และเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในนามของ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) คือการสร้างสิ่งไม่มีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นจากวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรม และศาสตร์อื่นๆให้เหมือนสิ่งมีชีวิตจริงๆ ที่ปัจจุบันปี 2018 มีความก้าวหน้าจนรู้สึกว่า ล้ำหน้าและน่ากลัวในขณะเดียวกัน อาทิ Sophia the Robot ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ถูกออกแบบให้มีการแสดงหน้าตาได้หลายอารมณ์และโต้ตอบได้ ทั้งนี้ยังเป็นหุ่นยนต์ที่ได้รับสัญชาติ ซาอุดิอาระเบีย และได้รับสัมภาษณ์ ผ่านรายการโทรทัศน์ แต่แน่นอนว่า ถูกนิยามว่าเป็นหุ่นยนต์ ไม่ใช่คน ซึ่งตรงนี้เป็นการสะท้อนสังคมเช่นกัน ขนาดมนุษย์ด้วยกันเองยังคงมีการเหยียด และดูถูกกัน และเลือกที่จะไม่ยอมรับในคนบางกลุ่มเช่นกัน หากอนาคต มีหุ่นยนต์มากขึ้นจริงๆ สังคมจะเป็นเช่นไร

นอกจากนี้มีเรื่องของ การพ้นความเป็นมนุษย์ (Transhumanism) หากใช้คำว่าพ้นมนุษย์อาจจะดูรุนแรงไป transhumanism มีความน่าสนใจและหวาดเสียวในขณะเดียวกัน คือ มีการคิดค้นการฝังบางสิ่งที่ล้ำหน้า ลงในร่างกายเพื่อใช้ควบคุมสิ่งต่างในชีวิตประจำวันเพื่อความสะดวกรวดเร็วและแก้ปัญหา เช่นฝังอุปกรณ์ลงในร่างกาย(Cybernatics) เพื่อแก้ไขปัญหาการลืมกุญแจ ซึ่งเกิดขึ้นจริงแล้ว ส่วนตัวมองว่าในความเป็นจริงต้องขนาดนี้หรือไม่ แต่หากมองอีกมุมมันสะท้อนให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์และสมองของมนุษย์ถูกพัฒนาให้ก้าวหน้ามากขึ้น จากสิ่งที่เคยเป็นจินตนาการอาจเป็นไปไม่ได้แต่ก็เป็นไปได้แล้ว ถือว่ามนุษย์ประสบความสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง 

สังคมพหุวัฒนธรรม (Multicultural society) ก็เป็นเหมือนกับทุกเรื่อง มันมี “ด้านที่ดี” และ “ด้านที่ไม่ดี” มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะพบสถานที่ๆ มีเพียงวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเพียงไม่กี่ชนิด โลกเสรีที่เราอาศัยอยู่ทำให้เรามีทางเลือกมายในการใช้ชีวิต ซึ่งมีประโยชน์มากมาย แต่มีข้อเสียเช่นกัน บางอย่างก็อาจเพิ่มคุณค่าชีวิตของเรา ในขณะที่บางอย่างก็อาจทำให้เราอยู่ในความเสี่ยง

ข้อดีของสังคมแบบพหุวัฒนธรรม

การอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม มีอะไรบ้าง
อยู่สังคมร่วมกันอย่างมีความสุข

1.นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลาย ผู้อพยพจากประเทศต่างๆ จะนำแหล่งความรู้ประสบการณ์ที่หลากหลายเข้ามาเผยแพร่ พวกเขาช่วยปรับปรุงการค้า นำความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมมาสู่ประเทศ

2.การเติบโตทางเศรษฐกิจ การทำธุรกิจกับผู้คนต่างวัฒนธรรม เช่น ผู้อพยพ อาจเป็นสิ่งที่นำทักษะใหม่มาใช้ในธุรกิจ สิ่งนี้จะช่วยให้ธุรกิจเข้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ

3.เข้าใจผู้คนมากขึ้น ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น มันช่วยให้เราทราบวิธีที่จะโต้ตอบกับผู้คนจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

4.การซึมซับวัฒนธรรม เราจะได้เห็นประเพณีใหม่ๆ ที่มีความงดงาม มีความหมายต่อผู้คน เป็นโอกาสที่จะเฝ้าดูเพื่อนำมาปรับใช้ร่วมกับวัฒนธรรมของประเทศ

5.เรียนรู้ภาษาที่แตกต่าง คุณสามารถเป็นเพื่อนกับผู้คนจากประเทศต่างๆ เมื่อได้สนทนากับพวกเขา คุณจะมีโอกาสที่จะเรียนรู้ภาษาของพวกเขาด้วย

6.แรงงานข้ามชาติที่มีทักษะ ประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เป็นบ้านของผู้อพยพที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีทักษะสูง พวกเขาเหล่านี้มีความสามารถที่จะมาเป็นแรงงานที่ดีให้แก่ประเทศ หรือเป็นผู้สอนบุคคลากรที่ดี

7.โอกาสทางการศึกษา ถือเป็นเรื่องที่ดีเมื่อเด็กๆ จะได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างของผู้คน ช่วยให้มองเห็นมุมมองที่ต่างกันออกไป ลดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ

8.ได้รู้จักประเพณีใหม่ๆ สังคมพหุวัฒนธรรมช่วยให้เราได้มีส่วนร่วมกับประเพณีใหม่ วัฒนธรรมใหม่ ได้เข้าถึงวิถีชีวิตของคนต่างถิ่น

ข้อเสียของสังคมแบบพหุวัฒนธรรม

1.ความขัดแย้งทางศาสนา ด้วยความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกัน นำมาซึ่งความขัดแย้งมากมายภายในชุมชน จากตัวอย่างที่เห็นมากมายในประวัติศาสตร์

2.อุปสรรคทางภาษา ผู้คนที่มาจากต่างวัฒนธรรม ย่อมมีภาษาท้องถิ่นเป็นของตัวเอง บางครั้งก็เป็นอุปสรรคสำคัญในการสื่อสารให้เข้าใจ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถพูดภาษาต่างถิ่นได้

3.วัฒนธรรมที่แตกต่าง เป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะรับมือกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อที่จะทำทำความเข้าใจความเชื่อและบรรทัดฐานของพวกเขา

4.ความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางสังคม อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลักความเชื่อที่ต่างกัน วิถีชีวิตบางอย่างอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่ม

5.นำความแตกต่างมาสู่สังคม คนจากต่างถิ่นมักจะนำข้าวของจากบ้านเกิดมาด้วย มีแนวโน้มที่คนท้องถิ่นจะไม่พอใจกับสิ่งเหล่านี้

6.การจัดการแรงงานที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องยาก มันเป็นเรื่องที่ท้าทายที่จะควบคุมแรงงานจากต่างถิ่น โดยเฉพาะผู้ที่มีความเชื่อแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะให้แรงงานทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มันเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้คนจะได้พบเจอกับความหลากหลาย ทำให้พวกเขาได้มีมุมมองที่แตกต่างออกไป แต่บ้างครั้งหลายคนก็เกิดความกลัวว่า วัฒนธรรมดั้งเดิมของพวกเขาจะถูกกลืนกินหรือเปล่า แม้ว่าทุกวันนี้เราจะเห็นผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนาอยู่ร่วมกัน แต่ในความคิดของพวกเขาก็ยังคงมีความแตกต่างตามหลักคำสอนของแต่ละวัฒนธรรม มีเพียงสิ่งเดียวที่ทุกคนมีร่วมกัน คือ “ความเป็นเพื่อนมนุษย์ที่ดีต่อกัน” ที่ทุกสังคมและศาสนาสอนให้เป็น สมัคร betflix