การประเมินความเสี่ยง มีอะไรบ้าง

การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ 

ความเสี่ยงจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
          1) ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
          2) ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
          3) ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk : OR)
          4) ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร (Compliance Risk : CR)


ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factor)
          ปัจจัยความเสี่ยง หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใดและจะเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกำหนดมาตรการความเสี่ยง ในภายหลังได้อย่างถูกต้อง

ปัจจัยความเสี่ยงพิจารณาได้จาก
          1) ปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย ฯลฯ
          2) ปัจจัยภายใน เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในองค์กร ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ระบบการทำงาน ฯลฯ


การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
          การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact)
          1) โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง
          2) ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิด เหตุการณ์ความเสี่ยง
          3) ระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก


การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
          การบริหารความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงหรือผลกระทบของความเสียหายจากเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ซึ่งการจัดการความเสี่ยงมีหลายวิธีดังนี้
          1) การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่า ในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง
          2) การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
          3) การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing) เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป
          4) เลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมากและหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการ/กิจกรรมนั้น


การควบคุม (Control)
          การควบคุม หมายถึง นโยบาย แนวทาง หรือขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งกระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินบรรลุวัตถุประสงค์ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
          1) การควบคุมเพื่อการป้องกัน (Preventive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง และข้อผิดพลาดตั้งแต่แรก
          2) การควบคุมเพื่อให้ตรวจพบ (Detective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อค้นพบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว
          3) การควบคุมโดยการชี้แนะ (Directive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
          4) การควบคุมเพื่อการแก้ไข (Corrective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องหรือเพื่อหาวิธีการแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต

ที่มา : เว็บไซต์ การบริหารความเสี่ยง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ


แนวทางการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (PDF)

การบริหารความเสี่ยงคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในตามแนวทางข้างต้น โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง และ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการ/ควบคุม

เมื่อพูดถึงการชี้บ่งอันตราย หลายๆ คนคงนึกไปถึงการประเมินความเสี่ยง แต่จริงๆแล้ว การชี้บ่งอันตราย ยังไม่ใช่การประเมินความเสี่ยง แต่เป็นเทคนิคที่เราเลือกมาเพื่อทำการชี้บ่งอันตรายในสถานประกอบกิจการของเรา ก่อนที่เราจะพุดเรื่องเทคนิคการชี้บ่งอันตรายแต่ละวิธีนั้น มาทำความเข้าใจพื้นฐานถึงความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกันก่อน

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

การชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification) หมายถึง การแจกแจงอันตรายที่มี และ ที่แอบแฝงอยู่ในทุกงาน ทุกจุดทำงาน ทุกกิจกรรม ทุกขั้นตอนงาน ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน

ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง ความน่าจะเป็น (Probability) ของการเจ็บป่วย บาดเจ็บหรือสูญเสีย อันเนื่องจากอุบัติเหตุจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง การะบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจเป็นเหตุทำให้อันตรายที่มี และ แอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย โรคจากการทำงาน หรือ อุบัติภัยร้ายแรง โดยพิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิด และ ความรุนแรงของอันตรายเหล่านั้น

 

การประเมินความเสี่ยง มีอะไรบ้าง

การชี้บ่งอันตรายมีกี่วิธี อะไรบ้าง

ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543 ได้กล่าวถึงวิธีการชี้บ่งอันตรายเอาไว้ 6 วิธี ซึ่งผู้ประกอบกิจการสามารถเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการของตนได้ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้มากกว่าหนึ่งวิธี โดยแต่ละวิธีมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้

  1. Checklist

เป็นวิธีที่ใช้ในการชี้บ่งอันตรายโดยการนำแบบทดสอบไปใช้ในการตรวจสอบการดำเนินงานของโรงงานเพื่อค้นหาอันตรายตามแบบตรวจสอบที่เรากำหนดขึ้นมาซึ่งหัวข้อการตรวจสอบอ้างอิงตามการปฎิบัติตามมาตรฐานการออกแบบมาตรฐานการปฎิบัติงานหรือกฎหมายเพื่อนำผลการตรวจสอบมาชี้บ่งอันตราย

  1. What If Analysis 

เป็นกระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายในการดำเนินงานต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้คำถาม ” จะเกิดอะไรขึ้น……..ถ้า……… (What If) ” และ หาคำตอบในคำถามเหล่านั้นเพื่อชี้บ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงานในโรงงาน

  1. Hazard and Operability (HAZOP) 

เป็นเทคนิคการศึกษาวิเคราะห์และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานในโรงงานโดยการวิเคราะห์หาอันตรายและปัญหาของระบบ อุปกรณ์ต่างๆซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการออกแบบ เลือกใช้อุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน ความล้มเหลวของอุปกรณ์เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจด้วยการตั้งคำถามที่สมมุติสถานการณ์ของการผลิตในภาวะต่างๆโดยการใช้ HAZOP Guide Words มาประกอบกับปัจจัยการผลิตที่ได้ออกแบบไว้หรือความบกพร่องและความผิดปกติในการทำงาน เช่น อัตราการไหล อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น เพื่อนำมาชี้บ่งอันตรายหรือค้นหาปัญหาในกระบวนการผลิตซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงได้

  1. Fault Tree Analysis 

เป็นเทคนิคการวิเคราะห์อันตรายที่เน้นถึงอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดเหตุซึ่งเป็นเทคนิคในการคิดย้อนกลับที่อาศัยหลักการทางตรรกวิทยาในการใช้หลักการเหตุและผลเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุหรือภัยร้ายแรงโดยเริ่มวิเคราะห์จากอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อพิจารณาหาเหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นก่อนแล้วนำมาแจกแจงขั้นตอนการเกิดเหตุการณ์แรกว่ามาจากเหตุการณ์ย่อยอะไรได้บ้าง และเหตุการณ์ย่อยเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรการสิ้นสุดการวิเคราะห์เมื่อพบว่าสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ย่อยเป็นผลเนื่องจากความบกพร่องของเครื่องจักรอุปกรณ์หรือความผิดพลาดจากการปฎิบัติงาน

  1. Failure Modes and Effects Analysis (FMEA) 

เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายที่ใช้การวิเคราะห์ในรูปแบบความล้มเหลวและผลที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นการตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องจักรอุปกรณ์ในแต่ละส่วนของระบบแล้วนำมาวิเคราะห์หาผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดความล้มเหลวของเครื่องจักรอุปกรณ์

  1. Event Tree Analysis 

เป็นเทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อวิเคราะห์และประเมินหาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุการณ์แรกขึ้น (Initiating Event) ซึ่งเป็นการคิดเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อวิเคราะห์หาผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้นเมื่อเครื่องจากอุปกรณ์เสียหายหรือคนทำงานผิดพลาดเพื่อให้ทราบสาเหตุว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรและมีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใดรวมทั้งเป็นการตรวจสอบว่าระบบความปลอดภัยที่มีอยู่มีปัญหาหรือไม่

 

การประเมินความเสี่ยง มีอะไรบ้าง

 

การเลือกใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตราย

ในการเลือกใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตราย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของสถานประกอบกิจการ ว่าควรใช้วิธีใด เพื่อให้ได้อันตรายที่แท้จริงออกมา และนำไปประเมินความเสี่ยงต่อ หลังจากนั้นนำผลการประเมินความเสี่ยงมาจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง

การประเมินความเสี่ยง มีกี่ประเภท

ความเสี่ยงจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้.
ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR).
ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk : FR).
ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk : OR).
ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร (Compliance Risk : CR).

การประเมินความเสี่ยงมีขั้นตอนอะไรบ้าง

ประเมินความเสี่ยงได้ใน 5 ขั้นตอน.
ตรวจสอบและเปิดเผยจุดเสี่ยง: การประเมินความเสี่ยงด้านข้อมูลจะสำเร็จได้โดยเริ่มที่การระบุว่าข้อมูลความเสี่ยงสูงมีอะไรบ้าง.
ถามคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับความเสี่ยง: เพื่อระบุข้อมูลความเสี่ยงสูงในองค์กร คุณควรถามคำถามต่างๆ เช่น ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลระบุตัวตนหรือไม่?.

การประเมินความเสี่ยงใช้เกณฑ์กี่เกณฑ์

ลาดับ ระดับของความเสี่ยง ช่วงคะแนน 1 ความเสี่ยงระดับสูงมาก (Extreme Risk : E) 15 - 25 คะแนน 2 ความเสี่ยงระดับสูง (High Risk : H) 9 - 14 คะแนน 3 ความเสี่ยงระดับปานกลาง (Moderate Risk : M) 5 - 8 คะแนน 4 ความเสี่ยงระดับต่า (Low Risk : L) 1 - 4 คะแนน