แนวข้อสอบ พร บ ข้าราชการพลเรือน 2551 พร้อมเฉลย

ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกําหนดไว้โดยมุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะในเรื่อง ดังต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช

Show

 ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ

 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

 การปฏิบัติหน้าที่ด้วยการรักษาความสามัคคีี

 การยึดมั่นและยืนหยัดทําในสิ่งที่ถูกต้อง

11.

ข้อใดคือความหมายของ “ข้าราชการพลเรือน”

 บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน

 บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง ทบวง กรม

 บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน

 บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน

12.

การร้องทุกข์ที่เกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ให้ร้องทุกข์ต่อข้อใด

 อ.ก.พ.กรม

 ก.พ.ค.

 อ.ก.พ.ค.

 อ.ก.พ.กระทรวง

13.

ก.พ. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช่

 พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน

 กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล

 พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 (ชุดที่ 1) from ประพันธ์ เวารัมย์

คำอธิบาย ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ข้าราชการพลเรือนโดยความเห็นชอบของหน่วยงานใด

  1. กรมบัญชีกลาง
  2. กระทรวงการคลัง
  3. สำนักงบประมาณ
  4. กระทรวงมหาดไทย

ตอบ 2. กระทรวงการคลัง

คำอธิบาย การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามข้อใด

  1. นายกรัฐมนตรี
  2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  3. รองนายกรัฐมนตรี
  4. คณะรัฐมนตรี

ตอบ  4. คณะรัฐมนตรี

คำอธิบาย  วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงข้อใด

  1. ความรู้ความสามารถของบุคคล
  2. ความเสมอภาค ความเป็นธรรม
  3. ประโยชน์ของทางราชการ
  4. ถูกทุกข้อ

ตอบ  4. ถูกทุกข้อ

คำอธิบาย การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ

ข้อใดไม่ใช่ประเด็นการพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการ

  1. ผลงาน
  2. ศักยภาพ
  3. ความคิดเห็นทางการเมือง
  4. ความประพฤติ

ตอบ 3. ความคิดเห็นทางการเมือง

คำอธิบาย การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติ และจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้

ข้อใดไม่ใช่ตำแหน่งประเภทวิชาการ

  1. ระดับปฏิบัติการ
  2. ระดับปฏิบัติงาน
  3. ระดับชำนาญการ
  4. ระดับชำนาญการพิเศษ

ตอบ 2. ระดับปฏิบัติงาน

คำอธิบาย ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังต่อไปนี้ 1.ระดับปฏิบัติการ 2. ระดับชำนาญการ 3. ระดับชำนาญการพิเศษ 4. ระดับเชี่ยวชาญ 5. ระดับทรงคุณวุฒิ

ตำแหน่งประเภททั่วไปคือข้อใด

  1. ระดับปฏิบัติงาน
  2. ระดับชำนาญงาน
  3. ระดับอาวุโส
  4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. ถูกทุกข้อ

คำอธิบาย ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังต่อไปนี้ 1. ระดับปฏิบัติงาน 2. ระดับชำนาญงาน 3. ระดับอาวุโส 4. ระดับทักษะพิเศษ

การพิจารณาเพิ่มตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญในส่วนราชการต้องคำนึงถึงข้อใด

  1. เงินงบประมาณ เงินคงคลัง
  2. ผลงาน คุณภาพ ความประพฤติ
  3. ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัด
  4. โครงสร้างองค์กร บุคลากร

ตอบ 3. ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัด

คำอธิบาย ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่ง    ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก

การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งต้องพิจารณาตามข้อใด

  1. ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน
  2. คุณภาพและปริมาณงาน
  3. ความสำคัญและความเร่งด่วนของงาน
  4. อำนาจหน้าที่ในตำแหน่ง

ตอบ 1. ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน

คำอธิบาย ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงาน

ข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ ต้องมีคุณสมบัติตามข้อใด

  1. ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ
  2. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
  3. การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
  4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. ถูกทุกข้อ

คำอธิบาย ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องรักษาจรรยาข้าราชการตามที่ส่วนราชการกำหนดไว้โดยมุ่งประสงค์ให้เป็นข้าราชการที่ดี มีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการ โดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
  2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ
  3. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
  4. การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
  5. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

กรณีที่การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ ต้องดำเนินการอย่างไร

  1. มอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำแทน
  2. เสนอความเห็นเป็นหนังสือเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่ง
  3. หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามคำสั่ง
  4. ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2. เสนอความเห็นเป็นหนังสือเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่ง

คำอธิบาย ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันที เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม

การกระทำผิดวินัยในลักษณะตามข้อใดเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  1. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมีเหตุสุดวิสัย
  2. ปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องโดยไม่เจตนา
  3. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
  4. กระทำความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ตอบ  3. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำอธิบาย การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  1. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต
  2. ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
  3. ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
  4. กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
  5. ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทำร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
  6. กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ข้อใดเรียงลำดับโทษทางวินัยจากหนักที่สุดไปเบาที่สุดตามลำดับอย่างถูกต้อง

  1. ไล่ออก ปลดออก ลดเงินเดือน ตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์
  2. ไล่ออก ปลดออก ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ภาคทัณฑ์
  3. ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
  4. ไล่ออก ปลดออก ภาคทัณฑ์ ลดเงินเดือน ตัดเงินเดือน

ตอบ 1. ไล่ออก ปลดออก ลดเงินเดือน ตัดเงินเดือน ภาคทัณฑ์

คำอธิบาย โทษทางวินัย 5 สถานดังกล่าว เรียงตามลำดับความหนักเบาของเรื่อง ดังนี้

วินัยอย่างไม่ร้ายแรง เรียงจากเบาสุดไปหนักสุดตามลำดับ คือ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน (หักเงินจากเงินเดือนเป็นการชั่วคราว) ลดเงินเดือน (ปรับลดฐานเงินเดือนมีผลตลอดไป)

วินัยอย่างร้ายแรง เรียงจากเบาสุดไปหนักสุดตามลำดับ คือ ปลดดอก (ได้รับบำเหน็จบำนาญ) ไล่ออก (ถูกจำกัดสิทธิ)

ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่ากี่วัน

  1. 15 วัน
  2. 30 วัน
  3. 45 วัน
  4. 60 วัน

ตอบ 2. 30 วัน

คำอธิบาย ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์โดยต้องยื่นเรื่องอุทธรณ์ต่อหน่วยงานใด

  1. สำนักงาน ก.พ.
  2. คณะรัฐมนตรี
  3. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
  4. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

ตอบ 3. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

คำอธิบาย ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง

ข้อใดไม่ใช่การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

  1. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  2. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
  3. มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
  4. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์

ตอบ 3. มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

คำอธิบาย การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังนี้

1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์

6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

การจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการโดยจัดทำเป็นแผนสี่ปีต้องสอดคล้องกับแผนใด

  1. แผนการจัดทำงบประมาณ
  2. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน
  3. แผนปฏิรูปองค์กร
  4. แผนนโยบายเศรษฐกิจ

ตอบ 2. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน

คำอธิบาย ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน

การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีต้องเสนอต่อตำแหน่งใดเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ

  1. นายกรัฐมนตรี
  2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  3. รัฐมนตรี
  4. คณะรัฐมนตรี

ตอบ 3. รัฐมนตรี

คำอธิบาย ในแต่ละปีงบประมาณ ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยให้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ

หน่วยงานใดจัดสรรงบประมาณให้แก่ส่วนราชการ

  1. สำนักงบประมาณ
  2. กรมบัญชีกลาง
  3. กระทรวงการคลัง
  4. กระทรวงมหาดไทย

ตอบ 1. สำนักงบประมาณ

คำอธิบาย เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใด ให้สำนักงบประมาณดำเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจตามแผนปฎิบัติราชการดังกล่าว

ข้าราชการพลเรือน มีกี่ประเภท แท่ง

เป็นการแบ่งระดับข้าราชการออกเป็นชั้นยศต่างๆ โดยข้าราชการพลเรือนสามัญจะแบ่งเป็น 5 ชั้น คือ ชั้นจัตวา ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก และชั้นพิเศษ ส่วนข้าราชการพลเรือนวิสามัญจะแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ วิสามัญประจำราชการ ชั้นจัตวา และวิสามัญกิตติมศักดิ์ ยึดระบบชั้นยศ ลำดับอาวุโส และคุณสมบัติของบุคคลเป็นหลัก (Rank in Person)

ตําแหน่งข้าราชการพลเรือน มีกี่ประเภท

ข้าราชการพลเรือนมี ๒ ประเภท คือ (๑) ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ ๔ ข้าราชการพลเรือนสามัญ (๒) ข้า ราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการ โดยได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา

ข้าราชการพลเรือน มีกี่ประเภท Pantip

ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับปัจจุบันคือ พ.ศ. 2551) แบ่งออกเป็นประเภทย่อย 4 ประเภท คือ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป

อนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) มีกี่ประเภท

(๑) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง เรียกโดยย่อว่า “... กระทรวง” โดย ออกนามกระทรวง จังหวัด และ (๓) (๒) คณะอนุกรรมการสามัญประจำกรม เรียกโดยย่อว่า “... กรม” โดยออกนามกรม (๓) คณะอนุกรรมการสามัญประจำจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “... จังหวัด” โดยออกนาม (๔) คณะอนุกรรมการสามัญประจำส่วนราชการอื่นนอกจากส่วนราชการตาม (๑) (๒)