การสร้างอุปนิสัยใหม่จะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

อุปนิสัยที่ 6 นี้จะเป็นเรื่องของการสร้างทีมงาน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดผลแบบทวีคูณ แบบที่เรียกว่า 1+1 ต้องได้มากกว่า 2 โดยต้องอาศัยการคิดแบบ Win-win เข้ามาประกอบ และก็ต้องอาศัยเรื่องของการเข้าใจผู้อื่นก่อน เข้ามาช่วย พูดง่ายๆ ก็คือ ต้องนำเอาอุปนิสัยที่ 4 และ 5 เข้ามาประกอบด้วย จากนั้น ก็คือ เราจะต้องคิดต่อยอดออกไปให้ได้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์แบบที่ไม่เหมือนเดิม

การที่เราทำงานเป็นทีม แต่ผลที่ออกมาไม่ต่างกับการที่เราทำงานคนเดียว นั่นแปลว่า ไม่เกิด Synergy กรณีแบบนี้มักเกิดขึ้นบ่อยๆ กับ หัวหน้าทีมที่พยายามจะให้ลูกน้องคิดเหมือนตนเอง ทำในแบบที่ตนเองต้องการ และเมื่อทั้งทีมเชื่อฟังเราในฐานะหัวหน้า เราก็รู้สึกว่านี่แหละคือ การผสานพลังเพื่อให้เกิด Synergy แต่จริงๆ ตามหลักการของ 7 habits แล้วไม่ใช่เลยครับ เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้น ก็เหมือนกับการที่หัวหน้าคิดคนเดียว ทำคนเดียว คนอื่นเป็นเพียงผู้ติดตาม และคอยทำตามคำสั่งเท่านั้น

ดังนั้นคำว่า Synergy ก็คือ การที่ทุกคนในทีมจะต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ช่วยกันคิด ต่อยอดจากสิ่งที่เคยทำๆ กันมา เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือเพื่อให้เกิดผลงานแบบทวีคูณได้ นี่คือทีมงานที่มี Synergy จริงๆ

ดังนั้นคนที่มีประสิทธิผลสูง ก็คือ คนที่สามารถดึงเอาความสามารถของคนอื่นออกมาใช้ และยังต้องสามารถผสมผสานความสามารถของแค่ละคนที่มีความแตกต่างกัน ให้เข้ามาเอื้อต่อผลสำเร็จตามเป้าหมายได้อีกด้วย ดังนั้นคนที่จะสามารถสร้าง Synergy ได้จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • Communication คือ การสื่อสาร จะต้องเป็นคนที่คุยกับคนอื่นรู้เรื่อง สามารถที่จะสื่อภาษายากๆ ให้เป็นภาษาเข้าใจง่ายๆ ได้ เพื่อที่จะทำให้คนอื่นเห็นภาพเป้าหมาย เพื่อที่จะได้ช่วยกันสรรหาวิธีการไปสู่เป้าหมายแบบใหม่ๆ ได้นั่นเอง หลายๆ คนที่ไม่สามารถสร้าง Synergy ได้สาเหตุก็มาจากการที่เขาพูดไม่รู้เรื่อง พูดโดยใช้แต่คำศัพท์ที่เลิศหรู ภาษาเทพ ซึ่งทำให้ทีมงานงงเป็นไก่ตาแตก แล้วแบบนี้ใครจะมาช่วยคิดอะไรใหม่ๆ ได้ เพราะแค่เป้าหมายยังมองไม่เห็นเลย แล้วจะไปหาวิธีการไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร
  • Cooperation คือ การประสานและร่วมมือกัน การที่จะสร้าง Synergy ได้ คนที่เป็นผู้นำ หรือหัวหน้าทีม จะต้องมองเห็นจุดเด่นของทุกคนในทีม และสามารถที่จะดึงเอาจุดเด่นของแต่ละคนเข้ามาประสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ผิดกับหัวหน้างานบางคนที่พอเห็นลูกน้องบางคนบริหารยาก เป็นคนที่นิสัยไม่ค่อยดี ก็จะพยายามไม่ให้ลูกน้องคนนี้เข้ามามีส่วนร่วมกับงาน ทั้งๆที่เขาอาจจะมีอะไรดีๆ ก็ได้ ดังนั้นคนที่จะสร้าง Synergy ได้ก็คือ จะต้องไม่มองคนแบบฉาบฉวย แต่ต้องมองให้ลึกลงไป หาต้องหาจุดดีของแต่ละคนให้เจอ หรือบางคนคิดแค่เพียงว่า ถ้าใครคิดไม่เหมือนกับเรา ก็ไม่ต้องมาทำงานร่วมกัน แบบนี้ไม่ใช่คนที่จะสร้าง Synergy ได้เลยครับ

6 อุปนิสัยผ่านไป จะเห็นว่า การที่เราต้องการที่จะเป็นคนที่มีประสิทธิผลสูงตามแนวทางของ 7 Habits แล้ว ไม่ใช่แค่การสร้างตัวเองเท่านั้น จะไม่เหมือนกับตำราในการพัฒนาตนเองให้ไปสู่ความสำเร็จ ที่ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ตัวเราเองมาก แต่ 7 Habits นั้น นอกจากสร้างตัวเองแล้ว เรายังต้องไปสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นด้วย เพราะในการทำงานของเรานั้น เราไม่สามารถทำงานคนเดียวได้อย่างแน่นอน จะต้องมีเพื่อน มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นด้วย เพราะคนเราเป็นสัตว์สังคมนั่นเองครับ และที่สำคัญเราจะประสบความสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

คุณเคยสงสัยไหมว่านิสัยคืออะไร? เกิดมาจากอะไร? แล้วทำไมแต่ละคนจึงมีนิสัยที่แตกต่างกัน วันนี้ Cariber มีคำตอบของคำถามเหล่านี้มาให้ และจะพาทุกคนไปรู้จักกับการสร้างหรือเปลี่ยนแปลงนิสัย เพราะนิสัยที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของตัวเราเองในเวอร์ชันที่ดีกว่า

การสร้างนิสัยคืออะไร?

การสร้างนิสัยคือกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมของเราเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยอัตโนมัติหรือเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว นิสัยสามารถเกิดขึ้นได้โดยที่บางทีเราไม่ได้ตั้งใจที่จะรับมา แต่ก็สามารถปลูกฝัง พัฒนานิสัยที่ดี หรือขจัดนิสัยที่ไม่ดีออกไปได้เช่นกัน

นิสัยเกิดขึ้นจากอะไร?

ผู้คนได้รับและพัฒนานิสัยมานับไม่ถ้วนในระหว่างการใช้ชีวิตตามปกติโดยไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ซึ่งธรรมชาติของนิสัยเหล่านี้ทำให้ผู้คนตอบสนองต่อความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทว่าความจริงที่ว่านิสัยจะฝังรากลึกไปในสมองของเรานั้นแปลว่าบางนิสัยอาจจะสร้างปัญหามากกว่าข้อดี และนิสัยนั้นก็สามารถทำลายได้ยาก ดังนั้นการทำความเข้าใจก่อนว่านิสัยเกิดขึ้นมาได้อย่างไรน่าจะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้นก่อนที่เราจะพยายามกำจัดนิสัยบางอย่างที่ไม่ดีออกไป

ตัวอย่างของนิสัย

นิสัยมีทั้งที่ดีและไม่ดี การเผลอเอื้อมมือไปหยิบบุหรี่หลังจากตื่นนอนตอนเช้านับเป็นนิสัย หรือการที่หยิบรองเท้าวิ่งหลังจากกลับบ้านเพื่อเตรียมไปออกกำลังกายก็นับเป็นนิสัยเช่นกัน

แล้วทำไมคนเราถึงมีนิสัยล่ะ?

เหตุผลหนึ่งคือมนุษย์และนิสัยเป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กัน คนเราสามารถแสดงพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้โดยไม่รู้สึกเสียเวลาหรือพลังงานไปกับการพิจารณาว่าจะต้องทำอย่างไร และคนเรามีแนวโน้มที่จะสามารถตอบสนองอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพได้

อะไรที่ทำให้เกิดนิสัยแย่ๆ?

นิสัยถูกสร้างขึ้นจากการเรียนรู้และการทำสิ่งเดิมซ้ำๆ หลายคนพยายามพัฒนานิสัยของตนเพื่อไล่ตามเป้าหมาย เช่น การขับรถไปเที่ยวที่ไกลๆ หรือการได้ทานอาหารที่อร่อย โดยเริ่มเชื่อมโยงความต้องการบางอย่างกับการตอบรับที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การเลี้ยวรถไปบนถนนบางเส้นอย่างเคยชิน หรือการแวะกินข้าวที่ร้านประจำ และเมื่อเวลาผ่านไปความคิดและพฤติกรรมของเรามักจะถูกกระตุ้นโดยตัวชี้นำเหล่านั้นจนเคยชิน

HabitLoopคืออะไร?

Habit loop หรือวงจรของนิสัยเป็นวิธีการอธิบายองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนิสัย ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ถูกเรียกว่า ความต้องการ (หรือสิ่งกระตุ้น), กิจวัตร (หรือพฤติกรรม) และรางวัล ตัวอย่างเช่น ความเครียด (ซึ่งนับเป็นสิ่งกระตุ้น) อาจทำให้คนเราตอบสนองด้วยการกินมากขึ้น อาจสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ (พฤติกรรม) ซึ่งให้ผลตอบแทนคือความเครียดที่ลดลง (รางวัล) แม้อาจเป็นแบบชั่วคราวก็ตาม และผู้คนก็มักจะวนอยู่ในวงจรนี้ไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ตัว

นิสัยและกิจวัตรแตกต่างกันอย่างไร?

แม้ว่ากิจวัตรจะรวมถึงพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทำเพื่อตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเสมอเหมือนนิสัย กิจวัตรคือการที่เราล้างจานเป็นประจำหรือไปออกกำลังกาย โดยไม่ได้รู้สึกว่ามีแรงกระตุ้น แต่ทำไปเพราะความรู้สึกที่ว่าเราจำเป็นต้องทำสิ่งเหล่านี้

นิสัยที่ไม่ดีที่พบได้บ่อยที่สุดคืออะไร?

นิสัยที่พบเห็นได้มากที่สุด ได้แก่ การดื่มหรือกินมากกว่าปกติ การสูบบุหรี่ และการใช้ยาในทางที่ผิด ส่วนพฤติกรรมทั่วไปที่อาจเป็นอันตรายอื่นๆ เช่น การใช้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ มากเกินไป ทำให้นอนหลับยาก

ทำไมจึงเป็นเรื่องยากที่จะทำลายนิสัยที่ไม่ดี?

คนเราอาจไม่ได้ตระหนักถึงวิธีการทำงานของนิสัยของตัวเอง เพราะนิสัยถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนเราทำสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ได้คิดถึงสิ่งเหล่านั้นมากจนเกินไป เพราะฉะนั้นการที่เราต้องการจะเลิกทำนิสัยที่ไม่ดีไม่สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้ ซึ่งต้องอาศัยสติ การพิจารณาและความพยายามรวมเข้าด้วยกัน

การสร้างนิสัยที่ดี

นิสัยเก่าๆ นั้นยากที่จะแก้ และนิสัยที่ดีก็มักพัฒนาได้ยาก แต่การทำซ้ำๆ ก็สามารถสร้างและรักษานิสัยใหม่ไว้ได้ แม้แต่นิสัยที่ไม่ดีที่สั่งสมมายาวนานของคนๆ หนึ่งก็สามารถถูกทำลายลงได้ด้วยความมุ่งมั่นที่เพียงพอบวกกับวิธีการที่ชาญฉลาด

แล้วมีวิธีใดบ้างที่จะช่วยสร้างนิสัยที่ดีได้?

เมื่อพิจารณาจากบริบทและแรงกระตุ้นที่จะนำไปสู่การสร้างนิสัย การสร้างนิสัยที่ดีอาจรวมถึงการทำให้ตัวเองอยู่ในสถานการณ์ที่เรามีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการจะเป็นและทำซ้ำพฤติกรรมเหล่านั้น หลังจากนั้นเราจึงให้รางวัลเล็กน้อยกับตัวเอง เช่น การดูทีวีหรือฟังเพลงขณะออกกำลังกาย หรือเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นคือการที่เราเอาตัวเองไปไว้ในสภาพแวดล้อมที่ดีหรืออยู่ใกล้กับคนที่อยากจะเป็นนั่นเอง

แรงจูงใจช่วยสร้างนิสัยได้อย่างไร?

ในขณะที่แรงจูงใจจากภายในมีส่วนช่วยผลักดันให้ตัวเราเกิดพฤติกรรมต่างๆ แล้ว แรงจูงใจยังสามารถเป็นรางวัลที่ช่วยเราในการสร้างนิสัยได้ด้วยเช่นกัน โดยการทำให้ตัวเราเริ่มพยายามที่จะมีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่คาดหวัง จนเกิดเป็นนิสัยในท้ายที่สุด เช่น การคาดหวังที่จะออกกำลังกายเป็นประจำ เมื่อเราทำสำเร็จเราจะรู้สึกว่าข้อดีต่างๆ ของการออกกำลังกายเป็นรางวัลของความพยายาม

การจะสร้างนิสัยใช้เวลานานแค่ไหน?

จริงๆ แล้ว ระยะเวลาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงตัวบุคคลและพฤติกรรมที่คาดหวัง แม้ว่างานวิจัยบางชิ้นจะระบุว่าการสร้างนิสัยที่ดีอาจใช้เวลาหลายเดือน แต่บางคนอาจจะสามารถสร้างนิสัยใหม่ได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์

ทำไมการเปลี่ยนแปลงนิสัยที่ไม่ดีจึงเป็นเรื่องยาก?

อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนแรกว่านิสัยคือพฤติกรรมที่ทำงานโดยอัตโนมัติ สมองของเราจึงยังไม่ทันพิจารณาว่าทำไมนิสัยที่ไม่ดีถึงเกิดขึ้นกับตัวเรา ดังนั้น นิสัยที่ไม่ดีก็ยังคงฝังแน่นและอยู่กับตัวเราในขณะที่เราก็(เคย)เผลอให้รางวัลกับนิสัยที่ไม่ดีเช่นกัน

แล้วสุดท้ายเราจะหยุดทำนิสัย(ที่ไม่ดี)ได้อย่างไร?

การพยายามพิจารณาอย่างมีสติว่า ‘ทำไมตัวเราถึงมีนิสัยที่ไม่ดี?’ รวมถึงพิจารณาตัวเลือกอื่นๆที่เราสามารถทำได้อาจช่วยได้ ดังนั้นเราอาจะใช้เวลาสักครู่หนึ่งเพื่อคิดทบทวนว่าอะไรคือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ตัวเราเกิดนิสัยที่ไม่ดี และลองประเมินสิ่งนั้นอีกครั้งหนึ่งว่าเราได้ (หรือไม่ได้) อะไรจากมัน หลังจากนั้นจึงพิจารณาและพึงระลึกไว้เสมอว่าทำไมเราถึงต้องการเปลี่ยนแปลงนิสัยนี้ รวมถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องสะท้อนค่านิยมของตัวเราออกมาด้วยเช่นกัน

“การที่เรามีนิสัยแบบนึง พฤติกรรมแบบนึงก็จะพาเราไปสู่โลกแบบนึง ถ้าเราเริ่มเปลี่ยนนิสัย หรือสร้างนิสัยที่ดีขึ้นสักวันละ 1% ใน 1 ปี ตัวเราจะดีขึ้นประมาณ 37 เท่า” – กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร