การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นหมายถึงอะไร

การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสำคัญยิ่งในการที่บุคคลจะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ดังที่ท่านปัญญานันทภิกขุก็สอนว่า “ รู้อะไรร้อยแปด แต่ยังไม่รู้จักตนเอง นี่เรียกว่ายังไม่รู้: Knowing everything is useless knowing one self” แสดงให้เห็นว่าการเห็นคุณค่าในตนเองมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต เนื่องจากเป็นการรับรู้คุณค่าของตนเองตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต และเป็นพื้นฐานการมองชีวิตให้ดำรงอยู่อย่างมีคุณค่า เสริมสร้างให้บุคคลแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ บุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเองจะสามารถเผชิญอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจ หาแนวทางแก้ปัญหาให้ผ่านไปได้ด้วยดี ดังนั้นการเห็นคุณค่าในตนเองจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทุกคนควรจะมี แต่หากบุคคลไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ไม่ยอมรับ ไม่เข้าใจในตนเองแล้ว บุคคลนั้นก็จะไม่มีความมั่นใจต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของตนและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้

🙂 ลักษณะของผู้ที่เห็นคุณค่าในตนเอง เช่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง เห็นว่าตนเองมีคุณค่า มีความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีลักษณะเป็นผู้นำมากกว่าผู้ตาม กล้าแสดงออก และสามารถปรับตัวได้ดี มีสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่แข็งแรง ฯลฯ

😦 ลักษณะของผู้ที่เห็นคุณค่าในตนเองต่ำ เช่น ผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปในทางไม่ดี มีความวิตกกังวลสูง ขาดความเชื่อมั่นใจตนเอง ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีการวางแผนชีวิต ไม่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ หมกมุ่นกับความคิดของตนเองไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ฯลฯ

แนวทางการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองนั้นสามารถพัฒนาที่ตัวบุคคลได้ โดยการเรียนรู้ที่จะยอมรับตนเอง การให้รางวัลตนเองเมื่อประสบความสำเร็จ การเลิกความคิดที่ไม่มีเหตุผล และลดการฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่สร้างสรรค์จากผู้อื่น ขณะเดียวกันยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู สามารถร่วมมือกันเสริมสร้างให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์เป็นแบบอย่างที่ดี โดยองค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยพัฒนา และเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดก็คือ “ตนเอง”

เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ผู้เขียนจึงแบ่งหลักการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองเป็น 3 กลุ่มได้แก่

การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้เรียน คิดแก้ปัญหาในทางบวก, มองโลกในแง่ดี, วิเคราะห์ และยอมรับข้อดีข้อเสียของตัวเอง, ไม่คิดเปรียบเทียบกับคนอื่น, ตั้งเป้าหมายในชีวิต, ให้เวลา และให้โอกาสกับตนเองในการเริ่มต้นใหม่, ดูแลร่างกาย และจิตใจให้สดชื่น แข็งแรงอยู่เสมอ, เลือกรับสื่อที่ดี, มองด้านดีของตัวเอง และใช้คำพูดที่ดีๆ กับตนเองอย่างสม่ำเสมอทุกวัน

บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้กับบุตรหลาน พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี ในการสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้ลูกเห็น, พ่อแม่ควรอบรมเอาใจใส่บุตรหลานด้วยความเอื้ออาทร, พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกเกิด “ปมเด่น” ตามความชอบ ความถนัดของเขา เปิดโอกาสให้ลูกแสดงออก, พ่อแม่ควรปรับปรุงความสามารถในแต่ละด้านให้แก่ลูก, พ่อแม่ควรพูดคุย รับฟังสิ่งที่ลูกพูด

บทบาทของครูในการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้กับนักเรียน ครูควรจัดสภาพแวดล้อม และบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เข้าใจ ยอมรับ ความสามารถของนักเรียนแต่ละคน, ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น, ครูควรกระตุ้นให้นักเรียนแสดงออกในทางที่เหมาะสม, ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเรียนได้เห็น และปฏิบัติตาม, ครูควรจัดวิชากลุ่มสนใจไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองชอบ, ครูสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อสังคม, ครูควรให้กำลังใจ สำหรับนักเรียนที่ทำความดี, ครูควรร่วมมือกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาของนักเรียน, ครูเป็นผู้คอยชี้แนะ กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และเห็นคุณค่าในตนเอง

จากบทความข้างต้นชี้ให้เห็นว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง รู้ว่าตนเองมีคุณค่านั้นมีประโยชน์เช่นไร ในทางพระพุทธศาสนาได้สอนว่า “คนเราต้องเข้าใจตนเอง รู้จักตนเองก่อน แล้วเราจึงจะสามารถเข้าใจคนอื่นได้” ดังนั้นถ้าบุคคลเห็นคุณค่าในตนเองแล้วก็สามารถนำไปสู่เป้าหมายของชีวิตได้อย่างมีความสุข

            มนุษย์ทุกคนมีคุณค่า หลายคนเคยได้ยินประโยคแบบนี้กันอย่างเอิกเกริก สมมุติว่าเราทำแบบสอบถามและถามประชาชนทั้งประเทศว่า คุณคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีคุณค่า ผมเชื่อว่าส่วนมากคนจะตอบว่าใช่ แต่ถ้าถามว่าคุณคิดว่าตนเองมีคุณค่าหรือไม่ คำตอบอาจจะไม่ใช่แบบเดิม ถึงแม้ว่าเราจะคิดว่าคนอื่นมีคุณค่า แต่เรากลับมองว่าตนเองอาจจะไม่มีคุณค่า หรือมีคุณค่าน้อย (อาจจะมีคนหลายคนที่มองว่าตนเองมีคุณค่า แต่คนอื่นมีคุณค่าน้อย ก็มีคนประเภทแบบนี้เช่นเดียวกัน)


            ในบทความนี้จะนำพาทุกคนมารู้จักคำว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem) ดูว่า มันคืออะไร มีลักษณะอย่างไร และมีอิทธิพลจากอะไรบ้าง

การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นหมายถึงอะไร


ความหมายของการเห็นคุณค่าในตนเอง

            Coopersmith (1981 อ้างถึงใน คาลอส บุญสุภา, 2562) ให้ความเห็นว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง การประเมินตนเองตามความรู้สึกและทัศนคติที่มีต่อตนเอง เป็นการยอมรับหรือไม่ยอมรับตนเอง เป็นการประเมินโดยพิจารณาจากประสบการณ์ที่ผ่าน ๆ มาของบุคคล ในเรื่องของความสำเร็จ ความล้มเหลว ตลอดจนการตัดสินของบุคคลที่ตนเองให้ความสำคัญ เช่น คนรอบตัวอาจมองว่าเราฉลาด หรือมองว่าเราโง่

            Lilian (1988 อ้างถึงใน คาลอส บุญสุภา, 2562) ให้ความเห็นว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง การยกย่องตนเองซึ่งมีผลมาจากการประเมินตนเองและจากผู้อื่น คนรอบข้าง ทำให้บุคคลนั้นมีความรู้สึกเป็นที่รักหรือเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ซึ่งการเห็นคุณค่าตนเองนั้นจะต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างขึ้นมา แต่เกิดจากการสะสมมาตั้งแต่อดีต ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และ สิ่งแวดล้อม

            Palladino (1989 อ้างถึงใน คาลอส บุญสุภา, 2562) ห้ความเห็นว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง แนวทางที่บุคคลคิดและรู้สึกเกี่ยวกับตนเองและบุคคลอื่น โดยวัดจากการกระทำของตนเอง โดยการประเมินจากประสบกาณ์ชีวิต เช่น การประสบความสำเร็จ ความล้มเหลว ต่อให้ในสายตาของคนอื่นไม่ได้มองว่าตนเองเป็นคนล้มเหลว แต่หากเจ้าตัวมองว่าตนเองล้มเหลวก็จะมีความเห็นคุณค่าในตนเองที่ต่ำลง

            ดังนั้นการเห็นคุณค่าในตนเองจึงเป็นการประเมินตนเอง ผ่านประสบการณ์ สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วผ่านจิตสำนึก นอกจากนั้นยังเป็นการประเมินตนเอง จากคนรอบข้าง สังคม กล่าวคือ ถ้าคนรอบข้างมองว่าการกระทำนี้เป็นการกระทำที่ดี ประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว แย่ ก็จะส่งผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ของตัวบุคคลนั้น ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน

            โดยปกติแล้วลักษณะของผู้ที่มีการเห็นคุณค่าในตนเอง ส่วนมากเรามักจะรู้กันอยู่แล้ว ว่ามีความมั่นใจในตนเอง เชื่อมั่นในตนเองสูง เช่นเดียวกับคนที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ ก็จะมีไม่มีความมั่นใจในตนเอง แต่ยังมีลักษณะอื่นๆ ที่ Satir, (1991, 2002) และ Linderfield (1995) ที่มีความเห็นสอดคล้องกันได้อธิบายเอาไว้ (อ้างถึงใน คาลอส บุญสุภา 2562)

            ลักษณะของตนที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูง

                - รักตนเอง และผู้อื่น
                - สิ่งที่แสดงออกจะสอดคล้องกับความรู้สึกภายใน
                - ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
                - มีความเชื่อมั่นในตนเอง
                - มีชีวิตชีวาและยอมรับความเป็นจริงของชีวิต
                - สามารถปรับตัวได้ดี
                - ควบคุมตนเองได้ แม้จะเผชิญความยุ่งยากก็ไม่รู้สึกหวาดกลัว
                - หากมีความกดดันสูง ก็จะแสดงความเครียดความกังวลออกมาน้อย และปรับตัวเข้าสู่ความสงบได้อย่างรวดเร็ว

            ลักษณะของคนที่เห็นคุณค่าในตนเองต่ำ

                - ต้องการเป็นที่รักของผู้อื่น บางกรณีอาจจะพยายามได้มาโดยการเอาอกเอาใจผู้อื่น
                - ยอมทำตามผู้อื่น
                - มักจะอยู่ภายใต้ความควบคุมของผู้อื่น
                - ชอบตำหนิผู้อื่นและตัดสินผู้อื่น
                - ไม่ชอบที่จะแสดงความรู้สึกภายในตนเอง
                - ไม่มีความยืดหยุ่น
                - ปรับตัวได้ยาก
                - ไม่มีอารมณ์ขัน
                - มักจะติดอยู่ในเหตุการณ์ในอดีต
                - ไม่ชอบความท้าทาย

            ดังนั้นการเห็นคุณค่าในตนเองที่สูงหรือต่ำนั้น จะส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกมา คนที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูง ก็จะแสดงพฤติกรรมออกมาเปนด้านบวก เช่น ควบคุมตนเองและปรับตัวได้ดี ตรงกันข้ามกับคนที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำก็จะแสดงพฤติกรรมเป็นด้านลบออกมา เช่น ไม่เป็นตัวของต้นเอง ต้องคอยเอาใจผู้อื่นอยู่เสมอ

สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง

            มีหลายทฤษฎีที่แบ่งองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง แต่ในบทความนี้จะแบ่งออกอย่างกว้างเป็นปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก (Coopersmith, 1984)

            1. องค์ประกอบภายใน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล

                - ลักษณะทางกายภาพ มีผลอย่างมากต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง เช่น ความสวยงาม การมีรูปร่างหน้าตาที่ดี (ตามค่านิยม) หรือลักษณะทางกายภาพบางครั้งเอื้อให้บุคคลประสบความสำเร็จในกิจกรรมที่ทำ เช่น ความแข็งแรงและความรวดเร็ว ซึ่งลักษณะทางกายภาพจะส่งผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองมากน้อยเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับค่านิยมของสังคมนั้น หรือค่านิยมในยุคนั้น ๆ เช่น ในสมัยก่อนคนนิยมผู้หญิงที่รูปร่างอวบ แตกต่างกับปัจจุบันที่นิยมผู้หญิงมีรูปร่างผอม

                - ความสามารถของบุคคล มีผลอย่างมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมภายในโรงเรียน ครอบครัวหรือสังคม โดยมีระดับสติปัญญาเป็นตัวช่วยสนับสนุนให้กิจกรรมหรือการกระทำนั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์เมื่อประสบความสำเร็จ ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองจะเพิ่มค่าขึ้นทันที แต่เมื่อใดที่ประสบกับความล้มเหลว บุคคลจะรู้สึกว่าตนเองด้อยคุณค่า

                - สภาวะทางอารมณ์ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความพึงพอใจ ความรู้สึกเป็นสุข ความวิตกกังวล เป็นต้น สภาวะทางอารมณ์จะเกิดขึ้นเมื่อเรามีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น แล้วส่งผลให้เราประเมินตนเอง กล่าวคือถ้าเราประเมินตนเองในทางที่ดี ก็จะรู้สึกดีหรือพึงพอใจ เช่น คนอื่นยิ้มให้เรา เราจึงรู้สึกมีความสุข ซึ่งมาจากที่เราประเมินตนเองออกมา แต่ถ้าคนอื่นด่า ต่อว่าเรา เราจะรู้สึกแย่ ซึ่งเช่นเดียวกัน ก็มาจากการประเมินตนเองของเราเอง การที่เรามีสภาวะทางอาณ์เป็นบวกหรือเป็นสุขก็ส่งผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง

                - ค่านิยมส่วนบุคคล เป็นการที่เราประเมินตนเองกับสิ่งที่ตนเองให้คุณค่าซึ่งคุณค่าเหล่านั้นสอดคล้องกับกับสิ่งที่สังคมรอบๆตัวเราให้คุณค่าด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราประกอบอาชีพ หมอ เรารู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูง กว่าการที่เราประกอบอาชีพ พิธีกร โปรดิวเซอร์ หรือเอเจนซี่โฆษณา นอกจากการประกอบอาชีพ ก็ยังเป็นการปฏิบัติตัวไปตามค่านิยมของสังคม เช่น การแต่งตัว การพูดการจา อย่างไรก็ตาม สังคมในปัจจุบันเริ่มมีการฉีกออกระหว่าง ช่วงวัย (Generation) ค่านิยมของสังคมแต่ละวันก็จะแตกต่างไปด้วย

                - ความทะเยอทะยาน คือ การประเมินตนเองของเราที่เปรียบเทียบระหว่างผลงานความสามารถ กับมาตรฐานส่วนตนที่ตั้งไว้ การที่เราสามารถทำผลงานหรือความสามารถได้ตามเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้ เราจะเห็นคุณค่าในตนเองสูงขึ้น ซึ่งมาตรฐานนี้จะมากขึ้นตามการประสบความสำเร็จในอดีตของเราเช่น ได้เกรด 3 สำเร็จแล้ว ต่อไปก็จะตั้งเป้าไว้สูงกว่านั้น ในทางกลับกันถ้าไม่เป็นไปตามเป้า เราจะเห็นคุณค่าในตนเองน้อยลง จึงมีคำพูดว่า ถ้าเราไม่คาดหวังกับชีวิตมาก ไม่ตั้งเป้าหมายไว้ไกลมาก เราจะมีความสุข มากขึ้น เพราะเราจะไม่มีการเห็นคุณค่าในตนเองที่ลดลง (การเห็นคุณค่าในตนเองสัมพันธ์กับความสุข (คาลอส บุญสุภา, 2562))

            2 องค์ประกอบภายนอก หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ซึ่งส่งผลให้บุคคลเกิดการเห็นคุณค่าในตนเองที่แตกต่างกันไป

                - ความสัมพันธ์กับครอบครัว เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ทั่วไปว่า สิ่งที่ทำมาในอดีตส่งผลต่อปัจจุบัน ดังนั้นประสบการณ์ที่ได้รับมาจากวัยเด็ก พ่อ แม่ หรือสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัวมีผลอย่างมากต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ยกตัวอย่างพฤติกรรมเช่น 1) การที่พ่อแม่ยอมรับความคิด ความรู้สึก สิทธิและคุณค่าของเด็ก 2) การที่พ่อแม่กำหนดขอบเขต กฎระเบียบการกระทำที่ชัดเจนและดูแลให้เด็กทำตาม ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย 3) การที่พ่อแม่ให้ความนับถือ ให้ความเป็นอิสระแก่เด็กภายในขอบเขตอันสมควร ให้มีโอกาสแสดงออกถึงความสามารถและความรับผิดชอบ

                - โรงเรียนและการศึกษา มีส่วนอย่างมาก และต่อเนื่องมาจากครอบครัว เพราะเป็นสถานที่ที่เด็กใช้เวลาเยอะรองลงมาจากที่บ้าน ประสบการณ์วัยเด็กที่ได้รับจากโรงเรียนจะเสริมให้เกิดการเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพราะโรงเรียนจะมีหน้าที่อบรมสั่งสอนให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถ มีความเชื่อมั่น มีทักษะและมีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง อย่างไรก็ตามโรงเรียนก็มีส่วนอย่างมากในการทำลายการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก เนื่องจากค่านิยมของเด็กดี คือเรียนเก่ง และด้วยบุคลิกภาพที่แตกต่างกันออกไปทำให้เด็กบางคนเรียนเก่ง เด็กบางคนเล่นกีฬาเก่ง เด็กบางคนเล่นเกมเก่ง เด็กบางคนทำอาหารเก่ง เด็กบางคนพูดเก่ง โรงเรียนจึงมีหน้าที่ให้แสดงความสามารถต่าง ๆ ออกมาและ จะต้องชูให้เด็กเหล่านั้นเห็นคุณค่าในตนเอง ออกมาให้ได้

                - สถานภาพทางสังคม เป็นสิ่งที่แสดถึงสถานภาพของตัวบุคคลในสังคม โดยจะพิจารณาจากลักษณะอาชีพ ตำแหน่งหน้าที่การงาน บทบาททางสังคม รายได้หรือสถานะทางเศรษฐกิจ บุคคลที่มาจากสถานภาพทางสังคมในระดับสูง จะได้รับการปฏิบัติทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า

            กลุ่มเพื่อน การรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองเกิดจากการที่เรารู้สึก หรือประเมินเอง โดยเราจะประเมินจากคนรอบข้าง เช่น เพื่อนของเรา (เปรียบเทียบ) ว่าตนเองมีความสามารถ ทัักษะ การเรียน ความถนัด อะไรมากกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน หากเรามีมากกว่าเราก็จะเห็นคุณค่าในตนเอง เพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราเปรียบเทียบแล้วน้อยกว่า ก็จะเห็นคุณค่าในตนเองลดลง

            การเห็นคุณค่าในตนเองจึงอยู่ที่การประเมินความรู้สึกของตัวบุคคลเอง ถ้าเราคิดว่าเรามีความสามารถ ความรู้ ความถนัด มีบุคลิกที่ดี โดยการเปรียบเทียบจากคนรอบข้างบ้าง เราก็จะเห็นคุณค่าในตนเองมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบนั้นเป็นธรรมชาติของมนุษย์แต่เราจะต้องพึงรับรู้เอาไว้ว่า มนุษย์เราแตกต่างกัน มีข้อดี นิสัย ลักษณะ ทักษะ ค่านิยม ต่างกัน เราจะต้องหาจุดเด่น ข้อด้ีของเราออกมาให้ ซึ่งสิ่งที่จะสามารถช่วยได้คือ ครอบครัว พ่อแม่อาจค้นหาทักษะให้ พัฒนา และส่งเสริม คุณครูที่โรงเรียนอาจจะช่วยทำให้เด็กเกิดการตระหนักรู้ในข้อดีของตนเอง และส่งเสริม ชมเชย ให้ทำกิจกรรม ให้เด็กมีการเห็นคุณค่าในตนเองมากยิ่งขึ้น และสุดท้าย หากเราโตแล้ว ไม่ได้อยู่ในระบบที่จะช่วยเหลือส่งเสริมเราได้ เราจะต้องมองข้อดี คุณค่าของตัวเองให้ออก และพัฒนาส่งเสริมมันให้เรารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เราก็จะมีความสุขกับการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย


การเห็นคุณค่าในตนเอง ตอนที่ 2


สามารถอ่านบทความอื่นเพิ่มเติมจากลิ้ง สารบัญ


แหล่งอ้างอิง

Coopersmith, S.  1984.  Self-Esteem Inventories.  Palo Alto, California: Counsuting Psychologist.

คาลอส บุญสภา.  2562.  การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนิสิต มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ.  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.