ตารางความชื้นสัมพัทธ์กับอุณหภูมิ

การวัดค่าความชื้นในอากาศ

เมื่อ :

วันอังคาร, 27 กุมภาพันธ์ 2561

          สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดและมีความสำคัญกับเรามากเช่นกัน แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนมองไม่เห็น คืออะไร คำตอบคือ อากาศ วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องใกล้ตัวแต่มองไม่เห็นอย่างอากาศ

ตารางความชื้นสัมพัทธ์กับอุณหภูมิ

ภาพที่ 1 ความชื้น
ที่มา coyot / Pixabay

          ในสภาวะอากาศที่อยู่รอบตัวเรา เราสัมผัสกับอากาศที่มีปริมาณไอน้ำอยู่ในอากาศ  ในบริเวณที่อากาศมีความชื้นมาก นั่นหมายความว่าอากาศมีปริมาณไอน้ำปะปนอยู่มาก เช่นเดียวกันว่า ถ้าในบริเวณที่มีความชื้นน้อย หมายความว่าอากาศบริเวณนั้นมีไอน้ำปะปนอยู่น้อย ความชื้นของอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความดันและอุณหภูมิ

ค่าความชื้นในบรรยากาศนิยมวัดกันใน 2 รูปแบบดังนี้

           1. การวัดความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) คือ การวัดอัตราส่วน (เป็นร้อยละ) ของปริมาณไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศในขณะนั้น ต่อ ปริมาณไอน้ำที่อาจจะมีอยู่ได้ เมื่ออากาศนั้น อิ่มตัวด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิเดียวกัน หรือ“อัตราส่วนของความดันไอน้ำที่มีอยู่จริง ต่อ ความดันไอน้ำอิ่มตัว” มีหน่วยวัดเป็น % โดยอากาศอิ่มตัวจะมีค่าความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ 100 % หมายถึงความชื้นที่มีไอน้ำอยู่เต็มอากาศ สังเกตจากช่วงฝนตกใหม่ ๆ อาจจะมีความชื้นที่สูงเกือบ 100%

            2. การวัดความชื้นสัมบูรณ์ (absolute humidity) คือการวัดปริมาณของไอน้ำในอากาศเป็นกรัมต่อ อากาศชื้นหนัก 1 กิโลกรัม หรือ อัตราส่วนระหว่างมวลน้ำที่มีอยู่จริง ต่อ ปริมาตรอากาศ

ความชื้นและการวัดความชื้นในอากาศมีความสำคัญอย่างไร

          เพราะปริมาณไอน้ำ เป็นสิ่งที่ช่วยบอกสภาพหรืออุณหภูมิของอากาศปัจจุบัน และในอนาคตล่วงหน้าได้  ความชื้นในอากาศมีส่วนสำคัญในหลาย ๆ ด้านในการใช้ชีวิตประวันอย่างไม่รู้ตัว อนึ่งมีความสำคัญมากในด้านการเกษตร ซึ่งมีความสำคัญมากต่อสภาพแวดล้อมและการเพาะปลูกพืชต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการตากผ้า ในสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำ น้ำจะระเหยได้มากทำให้เสื้อผ้าที่ตากไว้แห้งได้เร็ว  แต่ถ้าอากาศที่มีความชื้นสูงน้ำจะระเหยได้น้อยเสื้อผ้าที่ตากไว้จะแห้งช้า ความชื้นที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตมีค่า 60 % ซึ่งเป็นความชื้นที่รู้สึกสบายตัวหากความชื้นสัมพัทธ์มีค่าน้อยกว่า 60 % จะรู้สึกว่าอากาศแห้งผิวแห้งหรือว่าแตกไปเลยก็เลยมักจะเกิดขึ้นในฤดูหนาว แต่ถ้ามากกว่า 60% จะทำให้อากาศร้อนและมีเหงื่อ เหนียวตัว อึดอัด

เครื่องมือวัดความชื้น

เครื่องมือที่นิยมใช้วัดความชื้นในอากาศมีอยู่ 2 แบบที่ด้วยกัน ดังนี้

          1. ไฮโกรมิเตอร์ชนิดกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้ง (Wet and dry hygrometer) เป็นเครื่องมืดวัดความชื้นโดยอาศัยหลักการระเหยของน้ำจะดูดความร้อนไปด้วย โดยที่การระเหยนั้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กัยความชื่นในอากาศขณะนั้น  มีลักษณะ ประกอบไปด้วยเทอร์มอมิเตอร์ 2 อันคู่ มีอันหนึ่งใช้สำหรับวัดอุณหภูมิ เป็นกระเปาะแห้ง ส่วนอีกอันใช้วัดความชื้น การหาค่าความชื้นสัมพัทธ์ทำได้โดยอ่านค่าจากตารางความชื้นสัมพัทธ์ที่แนบมาให้พร้อมเครื่องวัด วิธีใช้จะนำผ้ามามัดด้วยจุ่มน้ำในแก้วแล้วน้ำจะระเหยออกมาจะกระทั่งอุณหภูมิลดต่ำสุดที่เรียกว่ากระเปาะเปียก แล้วเปรียบเทียบระหว่างกันในตารางค่าความชื้นอีกที ทั้งนี้ยังมีไฮโกรมิเตอร์แบบดิจิตอลที่ใช้งานได้ง่ายและสามารถวัดความชื้นสัมพัทธ์ได้ในช่วงกว้างกว่าด้วย

ตารางความชื้นสัมพัทธ์กับอุณหภูมิ

ภาพที่ 2 ไฮโกรมิเตอร์แบบกระเปาะเปียก-กระเปาะแห้ง
ที่มา  http://globethailand.ipst.ac.th/?page_id=4075

         2. ไฮโกรมิเตอร์แบบเส้นผม (Hair hygrometer) คือเครื่องวัดโดยนำเส้นผมของมนุษย์ มีลักษณะเป็นตลับ  มาโดยต้องไม่มีไขมัน สำหรับการวัดนั้นใช้หลักการยืดและหดของเส้นผม  เพราะว่าความชื้นจะมีส่วนสัมพันธ์กับเส้นผม โดยเมื่ออากาศชื้นเส้นผมจะยืดยาวออก   และเมื่ออากาศแห้งเส้นผมจะหดตัว   ใช้เส้นผมที่สะอาดปราศจากไขมันของมนุษย์

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).   การตรวจวัดความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ (RELATIVE HUMIDITY: RH). สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2560, จาก
        http://globethailand.ipst.ac.th/?page_id=4075

ไพรวัลย์ วงศ์ดี.   ความชื้นของอากาศ.  สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2560, จาก
         https://www.gotoknow.org/posts/438663

ความชื้นของอากาศ (Humidity).  สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2560, จาก
         http://www.krabork.com/2014/08/19/ความชื้นของอากาศ-humidity/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

การวัดค่าความชื้นในอากาศ

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันอังคาร, 02 มกราคม 2561

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

ระดับชั้น

ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม