ใช้อะไรแทนทะเบียนบ้านตัวจริง

หลายๆท่านที่กำลังประสบปัญหาทำ ทะเบียนบ้าน ตัวจริงหาย ไม่ว่าจะด้วยลืมไว้ที่ไหนบ้าง ไปกลับน้ำบ้างในกรณีที่น้ำท่วมหรืออาจจะหายังไงก็หาไม่เจอจากการลงลืมของบรรดาผู้ใหญ่ในบ้านก็ตาม จะทำอย่างไรได้บ้างหรือจะต้องไปติดต่อที่ไหนอย่างไรและต้องเตรียมเอกสารอะไรไปบ้างนั้นวันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน

ทะเบียนบ้าน สูญหาย ต้องการขอทะเบียนบ้านใหม่ต้องทำอย่างไร

ใช้อะไรแทนทะเบียนบ้านตัวจริง

ในกรณีถ้าเราต้องการที่จะทำทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกรณี ชำรุด / สูญหาย / ถูกทำลาย อันดับแรกให้เราเตรียม  เอกสารหลักฐาน ดังนี้   1. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน  2. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องมีบัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย หนังสือผู้มอบหมาย   จากนั้นเดินทางไปที่  เขต โดยดูว่าอยู่ในพื้นที่เขตหรืออำเภอไหน เพราะต้องขอจากเขตเดิมที่ออกให้โดยจะเสียค่าธรรมเนียมในการออกเล่มใหม่ฉบับละ 20 บาท

ทะเบียนบ้านสูญหาและบ้านไม่มีเจ้าบ้าน ต้องทำอย่างไร

ใช้อะไรแทนทะเบียนบ้านตัวจริง

ในส่วนนี้ถ้าทะเบียนบ้านหาย ปกตินั้นเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน แต่มีปัญหาคือเจ้าบ้านเสียชีวิตแล้ว สิ่งแรกที่จะต้องทราบคือใครที่มีชื่อเป็นเจ้าของคนปัจุจบันดูว่ามีการโอนให้ใครแล้วหรือยังถ้าโอนแล้ว แต่อาจยังไม่ได้เปลี่ยนเจ้าบ้าน ในเล่มทะเบียนบ้าน ก็ให้คนที่เป็นเข้าของปัจจุบันไปคัดได้เลย

โดยที่เราต้องยื่นเขตที่บ้านนั้นตั้งอยู่เท่านั้นนะครับ อาทิ บ้าน อ.เมือง จ.สุโขทัย  ก็ให้เจ้าของบ้านปัจจุบันที่อยู่ที่สุโขทัยไปติดต่อขอคัด โดยใช้เอกสารแค่บัตรประชาชน1ใบและเสียค่าธรรมเนียม 20 บ. แต่ถ้าในกรณีที่ยังไม่มีการโอนหรือไม่มีเจ้าบ้าน  ให้คนที่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนี้ทำการ ดำเนินการได้ โดยนำเอกสารการถือครองกรรมสิทธิ์ไปยื่นเรื่องประกอบ แต่ถ้าเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้พาผู้มีอำนาจปกครองไปยื่นเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานยื่นยัน เจ้าของกรรมสิทธิ์

 

ทะเบียนบ้านหาย บ้านไม่มีเจ้าบ้าน มีแค่ชื่อผู้อยู่อาศัยเพียงคนเดียว จะต้องทำยังไง

ใช้อะไรแทนทะเบียนบ้านตัวจริง

ในส่วนนี้จเหมือนกันแบบที่2คือ  ให้คนที่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนี้ทำการ ดำเนินการได้ ขอทะเบียนบ้านใหม่โดยนำเอกสารการถือครองกรรมสิทธิ์ไปยื่นเรื่องประกอบ แต่ถ้าเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้พาผู้มีอำนาจปกครองไปยื่นเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานยื่นยันว่าเราเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ จากนั้นแจ้งกับเจ้าหน้าที่ ว่าจะขอเปลี่ยนชื่อเจ้าบ้านเพื่อขอทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน เอกสารหลักฐานต่างๆยื่นยัน เจ้าของกรรมสิทธิ์  โดยมี บัตรประชาชน1ใบ

 

หรือถ้าใครอยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรติดต่อได้ที่  ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐฯ สายด่วน 1111

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก…

  • TAGS
  • กรรมสิทธิ์
  • ขอทะเบียนบ้าน
  • ทะเบียนบ้าน
  • บ้าน
  • เจ้าของกรรมสิทธิ์

Previous articleข่าวดีบ้านราคาต่ำกว่าล้านคึกคัก เหล่าบริษัทอสังหาฯทั่วไทยร่วมสร้าง ขอเอี่ยวสินเชื่อธอส.

Next articleรู้จักกันไหม ค่า FAR และ OSR คืออะไร พร้อมวิธีคำนวน

About the author

ใช้อะไรแทนทะเบียนบ้านตัวจริง

Dot Property News

Stay up to date with the latest property news, ideas and tips! Want more information or have views to share? Contact [email protected]

อยากขอทะเบียนบ้าน แต่ไม่รู้ทำอย่างไร มาดูวิธีขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ และวิธีขอทะเบียนบ้านออนไลน์ เอกสารที่ต้องใช้ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน 

ใช้อะไรแทนทะเบียนบ้านตัวจริง

ทะเบียนบ้าน เป็นเอกสารสำคัญที่ทุกบ้านต้องมี หลังจากสร้างบ้านเสร็จหรือซื้อบ้านใหม่ สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยขอทะเบียนบ้าน อย่างรู้ว่าทำอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง วันนี้กระปุกดอทคอมได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขอทะเบียนบ้านมาให้แล้ว ทั้งเอกสารที่ใช้ขอทะเบียน ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านที่สำนักทะเบียน ค่าใช้จ่ายในการขอทะเบียนบ้าน และวิธีขอทะเบียนบ้านออนไลน์สำหรับคนที่ไม่สะดวกเดินทางไปที่สำนักงานด้วยตัวเอง 

ทะเบียนบ้าน  คือ เอกสารที่นายทะเบียนออกให้กับบ้านแต่ละหลังเมื่อมีการปลูกสร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอนบ้าน ซึ่งในเอกสารจะแสดงข้อมูลเลขรหัสประจำบ้านหรือเลขที่บ้าน รายการผู้อยู่อาศัยทั้งหมด โดยเจ้าบ้านจะต้องแจ้งเรื่องภายใน 15 วัน หลังสร้างบ้านแล้วเสร็จ หากไม่ดำเนินการจะถือว่ามีโทษ และปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

ในกรณีที่มีการแจ้งย้ายเข้าหรือย้ายออก เจ้าบ้านจะต้องทำเรื่องภายใน 15 วัน ตั้งแต่มีการย้ายออก หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการย้ายที่อยู่สามารถแจ้งย้ายเรื่องปลายทางอัตโนมัติได้ โดยไปยื่นเรื่องด้วยตนเองที่สำนักทะเบียน 

ทั้งนี้ เจ้าบ้าน คือ หัวหน้าครอบครัวในบ้านหลังนั้น อาจจะครอบครองในฐานะเจ้าของบ้าน ผู้เช่าบ้าน หรืออื่น ๆ ทำหน้าที่แจ้งเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร ได้แก่ แจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งการย้ายเข้า-ออก และแจ้งการปลูกสร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน โดยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อไรก็ตามที่เจ้าบ้านไม่สามารถทำหน้าที่เองได้ เช่น เจ้าบ้านไม่อยู่ ตาย หรือหายสาบสูญ ให้ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าบ้านและดำเนินการแทน

- ทะเบียนบ้าน ทร.14 (เล่มสีน้ำเงิน) : ทะเบียนบ้านสำหรับคนที่มีสัญชาติไทย และคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว

- ทะเบียนบ้าน ทร.13 (เล่มสีเหลือง) : ทะเบียนบ้านสำหรับคนต่างด้าว ไม่มีใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว ที่เข้าเมืองแบบถูกกฎหมายโดยได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง 

- ทะเบียนบ้านกลาง : ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียนที่ออกโดยผู้อำนวยการทะเบียนกลาง ที่มีการกำหนดให้ทำขึ้นเพื่อลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน 

- ทะเบียนบ้านชั่วคราว : ทะเบียนบ้านที่ออกให้กับบ้านที่สร้างขึ้นในที่สาธารณะหรือบุกรุกป่าสงวนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย สามารถใช้เป็นเอกสารราชการได้เหมือนทะเบียนบ้าน และผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราวมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลที่อยู่ในทะเบียนบ้าน 

- ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน : ทะเบียนบ้านที่ออกโดยสำนักทะเบียน ตามข้อกำหนดของผู้อำนวยการทะเบียนกลาง เพื่อใช้ลงรายการบุคคลที่แจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน ทร.14 เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ และให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน หากบ้านใดยังไม่มีให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่สร้างบ้านเสร็จ 

- บัตรประชาชนของผู้ขอทะเบียนบ้าน ทั้งนี้หากเจ้าบ้านไม่สามารถไปทำเรื่องเองได้ ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านอย่างละ 1 ชุด พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง แนบไปพร้อมใบมอบอำนาจและลงลายมือชื่อพยานจำนวน 2 คน 

- ใบ ท.ร.9 หรือ ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานในท้องที่ที่บ้านปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่ 

- หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (ถ้ามี) เช่น โฉนดที่ดิน นส.3 ส.ป.ก.4-01 และ ส.ค.1 เป็นต้น ไม่รวม ภ.บ.ท.5 หรือใบภาษีบำรุงท้องที่ 

- ใบอนุญาตก่อสร้างบ้าน (กรณีปลูกบ้านใหม่) หรือ หนังสือรับรองสิ่งปลูกบ้าน (กรณีสร้างบ้านนานแล้ว) หรือหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน (ถ้ามี) หากไม่มีเอกสารดังกล่าวให้ใช้หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดิน 

- รูปถ่ายบ้านที่สร้างแล้วเสร็จทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวา เพื่อตรวจสอบสภาพความเป็นบ้าน (ขึ้นอยู่กับสถานที่แจ้ง ควรสอบถามกับเจ้าหน้าที่ก่อน) 

ใช้อะไรแทนทะเบียนบ้านตัวจริง

1. ไปยื่นเรื่องที่สำนักทะเบียนที่ปลูกสร้างบ้าน ในกรุงเทพฯ ยื่นเรื่องได้ที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขต ต่างจังหวัดยื่นเรื่องไปที่ฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภอ 

2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ จากนั้นทำการออกเลขที่บ้านพร้อมกับจัดทำสมุดทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน 

3. ส่งมอบทะเบียนบ้านให้กับผู้แจ้งเรื่อง 

4. ทำเรื่องย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้าน 

ทั้งนี้ ในการขอทะเบียนบ้านกรณีทะเบียนบ้านเก่าหายหรือทะเบียนบ้านชำรุด จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท หรือสอบถามข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครองเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1548 

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไป ได้มีประกาศให้สามารถแจ้งขอทะเบียนบ้านออนไลน์ หรือ ทะเบียนบ้านดิจิทัล ตามขั้นตอนดังนี้ 

1. ดาวน์โหลดแอปฯ  DOPA ผ่านทาง App Store สำหรับ iOS และ Play Store สำหรับ Android 

2. นำบัตรประชาชนไปยื่นเรื่องกับนายทะเบียนด้วยตัวเอง ที่สำนักทะเบียนอำเภอ สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือตามที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด เพื่อยืนยันตัวตนผ่านลายนิ้วมือและใบหน้า และรับรหัสผ่าน (PIN) สำหรับใช้แอปฯ

3. เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบหลักฐานและข้อมูล ก่อนเข้าสู่แอปฯ และเลือกใช้บริการตามที่ต้องการ

ซึ่งในขณะนี้เปิดใช้งานแล้ว 3 บริการคือ ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบฐานข้อมูลประชาชนและบริการของรัฐ จองคิวเพื่อขอรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า และแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมจากการใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล 1 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ และจะเพิ่มการให้บริการอื่น ๆ ในลำดับถัดไป เช่น การตรวจคัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร การแจ้งย้ายเข้า-ย้ายออก การแจ้งเกิด-แจ้งตาย เป็นต้น 

ทะเบียนบ้าน ถือเป็นเอกสารสำคัญที่ต้องมีทุกบ้าน หลังการสร้างบ้านเสร็จ อีกทั้งยังใช้เอกสารสำหรับประกอบการพิจารณาเมื่อต้องติดต่อหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ฉะนั้นหากใครไม่รู้ว่าจะต้องใช้เอกสารอะไร ไปยื่นเรื่องที่ไหน ก็นำข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบการพิจารณา สำหรับเตรียมตัวก่อนทำทะเบียนบ้านกันนะคะ หรือเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้นก็มีช่องทางออนไลน์ อย่าง ทะเบียนบ้านดิจิทัล ให้เลือกใช้บริการอีกทางหนึ่งด้วยนะ