การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือต่อผู้บาดเจ็บหรือผู้เจ็บป่วย ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ขณะนั้น หลังจากนั้นส่งผู้บาดเจ็บให้อยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์

วัตถุประสงค์ของการปฐมพยาบาล

1. เพื่อช่วยชีวิต

2. ลดความรุนแรง ภาวะไม่พึงประสงค์

3. เพื่อป้องกันความพิการ

4. บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน

5. ช่วยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม

หลักการทั่วไปสำหรับการช่วยเหลือปฐมพยาบาล คือจำเป็นจะต้องกระทำโดยเร็วที่สุด และมีสิ่งพึงระวังถึงบุคคล 2 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มผู้ช่วยเหลือ บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์อุบัติเหตุขณะนั้นส่วนมากแล้วจะเป็นผู้ช่วยเหลือ จึงควรมีหลักการช่วยเหลือ คือมองดู สำรวจระบบสำคัญของร่างกายอย่างรวดเร็ว และวางแผนช่วยเหลืออย่างมีสติ ไม่ตื่นเต้นตกใจ

ห้ามเคลื่อนย้าย

เมื่ออวัยวะต่างๆ บาดเจ็บ ร่างกายได้รับความกระกระเทือน อาจมีการฉีกขาด หัก มีเลือดออกทั้งภายในและภายนอก ซึ่งผู้ช่วยเหลืออาจมองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ได้ การเคลื่อนย้ายทันทีอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้น โดยเฉพาะถ้ากระดูกสันหลังหัก กระดูกที่หักจะตัดไขสันหลัง จะทำให้ผู้บาดเจ็บพิการตลอดชีวิตได้

ดังนั้นไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจนกว่าจะแน่ใจว่า เคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย การเคลื่อนย้ายควรทำอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันอันตราย และความพิการที่อาจเกิดขึ้น

ข้อยกเว้น

กรณีที่การบาดเจ็บเกิดขึ้นในสถานที่ที่ไม่สะดวกต่อการปฐมพยาบาล หรืออาจเกิดอันตรายมากขึ้นทั้งผู้บาดเจ็บและผู้ช่วยเหลือ จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปที่ปลอดภัยก่อน จึงทำการปฐมพยาบาลได้ เช่น อยู่ในห้องทึบ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก อยู่ในน้ำ หรืออยู่ในกองไฟ เป็นต้น แต่ต้องเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะบริเวณศีรษะ คอ และหลัง

ต้องระวัง

การให้ความช่วยเหลือด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง ควรให้ความช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญของการมีชีวิต หรือตามความรุนแรงที่ผู้บาดเจ็บได้รับ

2. กลุ่มผู้บาดเจ็บ

ผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ต่างๆ อันตรายที่ร่างกายได้รับ เรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้

1.หยุดหายใจ

2.ทางเดินหายใจอุดตัน หัวใจหยุดเต้น

3.เสียโลหิตจำนวนมากอย่างรวดเร็ว

4.หมดสติ

5.เจ็บปวด

6.อัมพาต

7.กระดูกหัก

ข้อควรจำ

การปฐมพยาบาลที่ดี ผู้ช่วยเหลือควรให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว นุ่มนวล และต้องคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้บาดเจ็บ ควรได้รับการปลอบประโลม และให้กำลังใจเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัย

ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บ

เมื่ออุบัติเหตุจราจรเกิดขึ้น เหตุการณ์ดังกล่าวจะประกอบได้ด้วยสถานการณ์ที่อันตรายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้ที่ให้การช่วยเหลือต้องตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์นั้น จะทำให้การช่วยเหลือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าหากผู้ช่วยเหลือไม่ตระหนักถึงอันตรายของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว อาจได้รับอันตรายทั้งผู้ช่วยเหลือและผู้บาดเจ็บ การไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินสภาพผู้บาดเจ็บก่อนให้การปฐมพยาบาล อาจก่อให้เกิดผลเสียและทำให้ผู้บาดเจ็บได้รับอันตรายมากยิ่งขึ้นได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

      ผู้ป่วยหมดสติ
     “การหมดสติ” เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการหมดสตินั้นจะสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยทั่วไป  การหมดสติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ การหมดสติพร้อมกับมีอาการหายใจลำบาก (หรืออาจหยุดหายใจ) และการหมดสติแต่ยังมีการหายใจ   ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทที่มีอาการชักร่วมด้วย ได้แก่ ลมบ้าหมู ซึ่งเกิดจากภาวะโลหิตเป็นพิษ  หรือเป็นการชักที่เกิดจากโรค เช่น โรคฮิสทีเรีย   เป็นต้น และประเภทที่ไม่มีอาการชักร่วมด้วย ได้แก่ การช็อค เป็นลม เมาเหล้า   เบาหวาน หรือเส้นโลหิตในสมองแตก เป็นต้น ทั้งนี้   ลักษณะการหมดสติมี 2 ลักษณะคือ มีอาการซึม มึนงง เขย่าตัวอาจตื่น  งัวเงียแล้วหลับ  พูดได้บ้างแต่ฟังไม่ได้ศัพท์ และลักษณะอาการหมดความรู้สึกทุกอย่างเป็นการหมดความรู้สึกอย่างสมบูรณ์   แม้แต่เขย่าตัวก็ไม่ฟื้น

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยหมดสติ นั้นผู้ให้การปฐมพยาบาลจะต้องดูว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่ ถ้าหยุดหายใจต้องทำการช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาหายใจให้ได้โดยเร็ว ถ้าผู้ป่วยมีเลือดออก ควรจับให้ผู้ป่วยนอนหงาย เอียงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง  เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลิ้นตกไปด้านหลังลำคอ ซึ่งจะเป็นการอุดกั้นทางเดินหายใจ และป้องกันไม่ให้อาเจียนไหลเข้าสู่หลอดลม ในส่วนของการจัดท่านอนนั้น ถ้าผู้ป่วยหน้าแดง ควรให้นอนศีรษะสูง ถ้าผู้ป่วยมีสีหน้าซีด ให้นอนราบเหยียดขาและแขน   เพราะอาจมีกระดูกหักได้ หากต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง  ไม่ให้ดื่มน้ำหรือรับประทานยาใดๆ ตรวจดูบาดแผลโดยเฉพาะบริเวณศีรษะ หากมีอาการชักให้ม้วนผ้าดามช้อนใส่เข้าไประหว่างฟันเพื่อป้องกันไม่ให้กัดลิ้นตนเอง รวมถึงให้หาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยหมดสติและประวัติการเกิดอุบัติเหตุของผู้ป่วย เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบ

การหมดสติ ไม่ใช่การนอนหลับ แต่การหมดสติ  คือ  อาการที่ไม่สามารถปลุกให้รู้สึกตัวหรืออาการที่ไม่สามารถรับรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ ข้อแตกต่างระหว่างการหมดสติ   และการนอนหลับ  ก็คือ การนอนหลับสามารถ “ปลุก” ได้ หากมีตัวกระตุ้นที่ดีพอ               เช่น   การเขย่าตัวแรงๆ หรือตะโกนดังๆ   แต่การหมดสติไม่สามารถปลุกได้  ทั้งนี้ การหมดสติอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น  จากการเจ็บป่วยบาดเจ็บ   หรือการตื่นตกใจที่รุนแรงก็ได้

ระดับการหมดสติ
การหมดสติ แบ่งออกเป็น
– การหมดสติแบบระยะสั้น เช่น หน้ามืด    วิงเวียนศีรษะ เป็นลม
– การหมดสติแบบระยะยาว ผู้ป่วยจะสามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นได้บ้าง  หรือเป็นครั้งคราวเท่านั้น
– การหมดสติแบบระยะยาวมาก ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวอย่างสิ้นเชิง ร่างกายไม่มีการเคลื่อนไหว    และไม่สามารถรับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นระยะเวลานานมาก

สาเหตุของการหมดสติ
– ได้รับสารคาร์บอนมอนออกไซด์เข้าสู่ร่างกาย
– ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ (Hypothermia)  คือ  ภาวะที่อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงซึ่งเกิดจากการที่อยู่ในสภาพแวดล้อมหรือในน้ำที่มีความเย็นมากหรือเป็นเวลานาน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

– เป็นลม- ภาวะช็อค
– โรคลมบ้าหมู (Epilepsy)
– หน้ามืด หรือ ร่างกายอ่อนเพลีย
– หมดสติอันมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน
– เลือดออกมาก
– ดื่มแอลกอฮอล์ (เมา)
– ใช้ยาเกินขนาด
– ได้รับสารพิษต่างๆ
– ศีรษะได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือน
– ปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ
– อัตราการเต้นของหัวใจช้าหรือเร็วผิดปกติ
– ภาวะหัวใจวาย
– ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
– โรคลิ้นหัวใจรั่ว

เมื่อพบผู้ที่หมดสติ  ให้หาดูว่าผู้ป่วยได้เก็บบันทึกรายละเอียดอาการป่วยของตนเองไว้ที่ใดในร่างกายบ้างหรือไม่   เช่น  ตรวจดูบริเวณกำไลข้อมือ สร้อยคอ ในกระเป๋าเงิน   บนบัตรต่างๆ    ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะระบุข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลผู้ป่วยหมดสติได้อย่างถูกต้อง

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยหมดสติ
1. เมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจ และชีพจรหยุดเต้น
ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที จากนั้นให้ดำเนินการปฐมพยาบาลเบื้องต้น   โดยทำการช่วยหายใจ โดยวิธี CPR (Cardiopulmonary Resuscitation) ด้วยการปั๊มหัวใจและผายปอด
(Mouth-to-Mouth) ให้แก่ผู้บาดเจ็บ ซึ่งจะช่วยให้เลือดได้รับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นและมีการไหลเวียนเข้าสู่สมองและอวัยวะสำคัญอื่นๆ
ก่อนที่จะถึงมือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ในกรณีที่ศีรษะ ลำคอหรือหลังของผู้บาดเจ็บได้รับการบาดเจ็บด้วย
ผู้ให้การปฐมพยาบาลจะต้องระมัดระวังไม่ให้ศีรษะ ลำคอหรือหลังของผู้บาดเจ็บมีการเคลื่อนไหว   ซึ่งทำได้โดยดึงขากรรไกรล่างหรือคางของผู้บาดเจ็บไปข้างหน้าเพื่อเปิดทางให้อากาศเดินทางเข้าได้สะดวก

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

2. เมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจ แต่ชีพจรยังคงเต้นอยู่
ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที จากนั้นให้ดำเนินการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยทำการผายปอดเพื่อช่วยให้ออกซิเจนไหลเข้าไปที่ปอดของผู้บาดเจ็บและให้ปฏิบัติเช่นนี้ไปจนกระทั่งผู้บาดเจ็บสามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง หรือจนกว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเดินทางมาถึง ทั้งนี้ ต้องควบคุมศีรษะ ลำคอหรือหลังของผู้บาดเจ็บให้ไม่มีการเคลื่อนไหวเช่นกัน
3. เมื่อผู้ป่วยมีการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือลำคอ

ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที  จากนั้นให้ดำเนินการปฐมพยาบาลเบื้องต้น  โดยให้ดำเนินการตามวิธีการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ศีรษะ   และลำคอ/หลัง

   ข้อควรจำ: ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าลำคอหรือหลังของผู้บาดเจ็บได้รับการบาดเจ็บด้วยหรือไม่      ห้ามทำให้ลำคอหรือหลังของผู้บาดเจ็บมีการเคลื่อนไหวอย่างเด็ดขาดจนกว่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเดินทางมาถึง (นอกจากจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากบริเวณที่มีความเสี่ยงอันตรายเท่านั้น) การเคลื่อนไหวของศีรษะ ลำคอหรือหลังอาจทำให้ผู้บาดเจ็บเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ ในกรณีที่จำเป็นต้องเคลื่อนย้าย  ให้ใช้มือทั้งสองข้างจับไปที่ศีรษะทั้งสองข้างของผู้บาดเจ็บ  โดยให้ศีรษะ ลำคอหรือหลังของผู้บาดเจ็บมีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
4. เมื่อผู้ป่วยมีเลือดออกเป็นจำนวนมาก

ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันทีจากนั้นให้ดำเนินการปฐมพยาบาลเบื้องต้น  โดยให้ดำเนินการตามวิธีการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีเลือดออกหรือการห้ามเลือด

5. เมื่อผู้ป่วยมีอาการต่อไปนี้ก่อนการหมดสติ (อาการของปฏิกิริยาตอบสนองต่ออินซูลิน               หรือปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ)

– ควบคุมร่างกายไม่ได้
– โกรธง่าย อารมณ์ฉุนเฉียวตลอดเวลา
– สับสน มึนงง
– ร่างกายซีดเผือด
– เหงื่อออกมาก
– ตัวสั่น ใจสั่น
– เป็นลม ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที จากนั้นให้ดำเนินการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดย
– นำน้ำตาลปริมาณหนึ่งวางไว้ใต้ลิ้นของผู้ป่วย จากนั้นตรวจดูว่าในกระเป๋าของผู้ป่วยมียาหรือวัตถุให้ความหวานหรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยอาจเก็บสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน และถ้ามี ให้นำไปใส่ไว้ใต้ลิ้นของผู้ป่วย

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

– ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกมากที่สุด
– ให้ผู้ป่วยนอนตะแคง
– ห้ามให้ดื่มน้ำหรือของเหลวใดๆ  ทั้งสิ้น

6. เมื่อผู้ป่วยมีอาการต่อไปนี้
ซึ่งเป็นสัญญาณของการหมดสติจากโรคเบาหวาน
– ชีพจรเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ
– หายใจถี่และลึก
– ตัวอุ่น ผิวแห้งและมีสีแดงเรื่อ
– ได้กลิ่นต่างๆ คล้ายผลไม้ เช่น น้ำองุ่น หรือ คล้ายน้ำยาล้างเล็บ (อาซิโตน)
– อาเจียน
ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที หรือนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
7. เมื่อผู้ป่วยถูกแมลงหรือสัตว์กัดต่อย
ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันทีจากนั้นให้ดำเนินการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยให้ดูว่าผู้บาดเจ็บได้รับการกัดหรือต่อยโดยแมลงหรือสัตว์ชนิดใด ตลอดจนดูลักษณะของบาดแผลที่เกิดขึ้น  โดยให้ดำเนินตามวิธีการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ถูกแมลงกัดหรือต่อย

8. เมื่อเขย่าตัวผู้ป่วยเป็นเวลา 2 นาทีแล้วผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีการตอบรับใดๆแต่ยังมีการหายใจอยู่ และผู้ป่วยไม่ได้บาดเจ็บรุนแรง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที  จากนั้นให้ดำเนินการปฐมพยาบาลเบื้องต้น  โดยจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่หายใจได้สะดวกมากที่สุด  (Recovery Position)

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

9. เมื่อผู้ป่วยหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม
ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที   จากนั้นให้ดำเนินการปฐมพยาบาลเบื้องต้น  โดยให้ดำเนินตามวิธีการปฐมพยาบาลผู้ป่วยหน้ามืดหรือเป็นลม
การปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธีนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยทุกๆครั้งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะ”การหมดสติ”นั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะจะสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ดังนั้นผู้ให้การปฐมพยาบาล จึงต้องปฏิบัติกับผู้ป่วยอย่างถูกวิธีและรวดเร็วทุกครั้งที่มีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้น

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี

การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังมากไม่ให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหรืออันตรายเพิ่มขึ้นอีก และผู้ที่ทำการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเอง ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ตนเองได้รับบาดเจ็บจากการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ไม่ถูกวิธีด้วย

เหตุผลสำคัญในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

1. อาการของผู้ป่วยไม่ปลอดภัย จำเป็นต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
2. สถานการณ์ในที่เกิดเหตุไม่ปลอดภัย เช่น ผู้ป่วยติดอยู่ในกองเพลิง หรือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถชน มีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปในที่ปลอดภัย หากมีอุบัติเหตุที่อาจทำให้มีการบาดเจ็บของไขสันหลัง จะต้องมีการดามกระดูกสันหลังก่อนเสมอ เช่น ผู้ป่วยตกจากที่สูง หรืออุบัติเหตุรถชน
ก่อนจะทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะต้องแก้ไขส่วนที่บาดเจ็บก่อน โดย
– ถ้าผู้ป่วยมีบาดแผล ต้องทำการห้ามเลือดก่อน
– ถ้าผู้ป่วยมีกระดูกหัก จะต้องดามกระดูกก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยบาดเจ็บมากขึ้นในระหว่างการเคลื่อนย้าย
หลักการที่จะต้องยึดถือเสมอเมื่อจะทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
1. ไม่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ยกเว้นอาการไม่ปลอดภัยหรือสถานการณ์ที่เกิดเหตุไม่ปลอดภัย
2. ไม่เคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง โดยไม่ได้ดามกระดูกก่อน
3. ไม่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยที่ยังไม่ได้แก้ไขส่วนที่บาดเจ็บ
4. ไม่ทิ้งผู้ป่วยที่หมดสติอยู่เพียงลำพัง เพราะเราไม่ทราบว่าอาการของผู้ป่วยจะทรุดหนักเมื่อไร
5. ไม่ทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บมากขึ้น
6. ไม่ทำในสิ่งที่ไม่รู้หรือไม่แน่ใจ ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าควรทำอย่างไร อย่าตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ไม่รู้โดยเด็ดขาด

กฎในการยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีหลายวิธี แต่มีหลักการเหมือนกัน คือ
1. บอกเล่าแผนการกับผู้ช่วยว่าจะทำอะไร ที่สำคัญคือ ต้องบอกผู้ป่วยด้วยว่าจะทำอะไรกับเขาบ้าง
2. ประมาณกำลังที่จะยกผู้ป่วย หากไม่แน่ใจว่าจะยกไหวต้องหาคนช่วยให้มากพอ ห้ามลองยกเด็ดขาด เพราะผู้ป่วยอาจได้รับอันตราย
3. ห้ามทำหลังงอเวลายก เพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกหลังเคลื่อน ทำให้ปวดหลัง หรือเสียวแปลบตามเส้นประสาท ต้องให้หลังตรงเสมอ
4. เวลายกผู้ป่วยต้องงอขา และหนีบแขน กำมือที่จับผู้ป่วยให้แน่นให้มือและแขนอยู่แนบลำตัวมากที่สุด จะทำให้ได้แรงมาก
5. ต้องยกผู้ป่วยโดยให้ตัวเราอยู่ในสมดุล น้ำหนักจะลงที่ศูนย์กลางลำตัว ทำให้ออกแรงได้เต็มที่ และผู้ยกเองปลอดภัย จะไม่เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
6. ต้องทำด้วยความละมุนละม่อมที่สุด

การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเล็กน้อยและ/หรือรู้สึกตัว

ผู้ช่วยเหลือ 1 คน

1. ท่าประคองเดิน
ใช้สำหรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี และพอจะช่วยตัวเองได้ ไม่มีกระดูกหรือกระดูกหลังหักและผู้ป่วยตัวใหญ่พอๆ กับผู้ช่วยเหลืออย่าลืมขั้นตอนในการเคลื่อนย้ายต้องบอกเล่าแผนการแก่ผู้ป่วยก่อนเสมอว่า เราจะช่วยทำอย่างไร จะพาเดินไปทางไหนและประมาณกำลัง ต้องให้ผู้ป่วยเดินนำหน้าเสมอ ผู้ช่วยต้องคอยมองเท้าของผู้ป่วยถ้าผู้ป่วยล้มระหว่างทางจะได้ประคองผู้ป่วยไว้ได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วยและตนเอง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

2. การอุ้ม
ถ้าผู้ป่วยตัวเล็กกว่าผู้ช่วยเหลือมาก และไม่มีกระดูกหักที่ใดๆ การอุ้มจะเป็นการเคลื่อนย้ายที่สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย แต่ถ้าผู้ป่วยตัวใหญ่และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ อาจใช้วิธียกโดยคนหลายๆ คน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

ผู้ช่วยเหลือ 2 คน

1.การประคองเดิน
ผู้ป่วยพอช่วยตัวเองได้ ไม่มีกระดูกขาหรือกระดูกสันหลังหัก

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

2.กรณีที่ผู้ป่วยตัวใหญ่ อุ้มคนเดียวไม่ไหวและไม่มีกระดูกส่วนใดหัก
การอุ้มคนละข้างของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ควรให้ผู้ป่วยเอามือโอบบ่าของผู้ช่วยเหลือทั้งสอง แต่การยกวิธีนี้จะทำได้ไม่ค่อยถนัด
การเคลื่อนย้ายโดยผู้ช่วยเหลือ 2 คน คนหนึ่งอยู่ด้านหน้าอีกคนหนึ่งอยู่ด้านหลังจะทำได้สะดวกมากกว่า ขั้นแรกต้องพยุงผู้ป่วยขึ้นมาอยู่ในท่านั่ง ผู้ช่วยคนที่1ประคองด้านหลังของผู้ป่วย โดยสอดแขนมาจับแขนของผู้ป่วยด้านหน้า ผู้ช่วยคนที่ 2สอดแขนเข้าใต้ข้อพับเข่าของผู้ป่วยแล้วลุกขึ้นยืนพร้อมกัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บรุนแรงและ/หรือไม่รู้สึกตัว

ผู้ช่วยเหลือ 1 คน

1. ท่าลาก
ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่นไฟไหม้ ผู้ป่วยสำลักควันหมดสติ หรือรถชนหมดสติอยู่กลางถนน จำเป็นต้องทำการเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุโดยเร็ว เคลื่อนย้ายในระยะทางสั้นๆ และจะต้องเป็นที่ราบเรียบ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

2. ท่าอุ้มแบก
ในกรณีที่ผู้ป่วยตัวเล็ก ผู้ช่วยเหลือตัวใหญ่ ผู้ป่วยไม่มีส่วนใดหักเลื่อนย้ายไประยะทางไกลๆได้สะดวก

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

ผู้ช่วยเหลือ 3-4 คน

ในกรณีที่ผู้ป่วยตัวใหญ่มาก จำเป็นต้องใช้ผู้ช่วยเหลือมากกว่า 2 คนในการเคลื่อนย้าย การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวิธีนี้ผู้ป่วยจะรู้สึกมั่นคงปลอดภัยมากกว่า แต่ผู้ช่วยเหลือต้องยึดหลักในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างแม่นยำ และต้องทำอย่างนุ่มนวล ที่สำคัญ คือ ต้องแน่ใจว่ายกผู้ป่วยไหว ถ้าไม่แน่ใจห้ามลองยกเด็ดขาด ต้องหาคนมาช่วยอีก ถ้าใช้คนมากขึ้นจะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหัก

กระดูกสันหลังหักมักมีอันตรายต่อเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้เกิดอัมพาตได้ ถ้าบริเวณคอ อาจทำให้ผู้ป่วยตายได้ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยจึงมีความสำคัญมาก
ถ้าการช่วยเหลือไม่ดีอาจทำให้เส้นประสาทไขสันหลังถูกกดและถูกทำลายมากขึ้น ถ้าต้องทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะต้องให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนราบเสมอ เช่น
ให้นอนบนบานประตู หรือไม้กระดานแผ่นเดียว เวลายกผู้ป่วยต้องยกให้ตัวตรงเป็นท่อนไม้ เมื่อผู้ป่วยนอนบนกระดานแล้ว มัดตัวผู้ป่วยติดกระดานให้แน่นพอดีพร้อมกับนำวัตถุที่แข็ง 2 ชั้น มาประกบที่ศีรษะทั้ง 2 ข้าง เพื่อยึดให้ศีรษะและคออยู่นิ่งไม่ให้เคลื่อนไหว

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

ไม่ว่าจะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยวิธีใดก็ตาม ต้องยึดถือหลักในการยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด และต้องคิดถึงความปลอดภัยทั้งของผู้ป่วยและตัวผู้ช่วยเหลือเองไว้เสมอ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม
ใช้กรณีที่ไม่มีเปลหามแต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณหลัง
วิธีเคลื่อนย้าย พับผ้าห่มตามยาวทบกันเป็นชั้น ๆ 2-3 ทบ โดยวิธีการพับผ้าห่มพับเช่นเดียวกับการพับกระดาษทำพัด วางผ้าห่มขนาบชิดตัวผู้ป่วยทางด้านข้าง ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าลงข้างตัวผู้ป่วยอีกข้างหนึ่ง จับผู้ป่วยตะแคงตัวเพื่อให้นอนบนผ้าห่ม แล้วดึงชายผ้าห่มทั้งสองข้างออก เสร็จแล้วจึงม้วนเข้าหากัน จากนั้นช่วยกันยกตัวผู้ป่วยขึ้น ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งต้องประคองศีรษะผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สงสัยว่า ได้รับบาดเจ็บที่คอหรือหลัง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม
เปลหรือแคร่มีประโยชน์ในการเคลือนย้ายผู้ป่วย อาจทำได้ง่ายโดยดัดแปลงวัสดุ การใช้เปลหามจะสะดวกมากแต่ยุ่งยากบ้างขณะที่จะอุ้มผู้ป่วยวางบนเปลหรืออุ้มออกจากเปล

วิธีการเคลื่อนย้าย
เริ่มต้นด้วยการอุ้มผู้ป่วยนอนราบบนเปล จากนั้นควรให้ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งเป็นคนออกคำสั่งให้ยกและหามเดิน พื่อความพร้อมเพรียงและนุ่มนวล ถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน คนหนึ่งหามทางด้านศีรษะ อีกคนหามทางด้านปลายเท้าและหันหน้าไปทางเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าผู้ช่วยเหลือที่หามทางด้านปลายเท้าจะเดินนำหน้า หากมีผู้ช่วยเหลือ 4 คน ช่วยหาม อีก 2 คน จะช่วยหามทางด้านข้างของเปลและหันหน้าเดินไปทางเดียวกัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม

วัสดุที่นำมาดัดแปลงทำเปลหาม
1. บานประตูไม้
2. ผ้าห่มและไม้ยาวสองอัน วิธีทำเปลผ้าห่ม ปูผ้าห่มลงบนพื้น ใช้ไม้ยาวสองอัน ยาวประมาณ 2.20 เมตร
– อันที่ 1 สอดในผ้าห่มที่ได้พับไว้แล้ว
– อันที่ 2 วางบนผ้าห่ม โดยให้ห่างจากอันที่ 1 ประมาณ 60 ซม. จากนั้นพับชายผ้าห่มทับไม้อันที่ 2 และอันที่ 1 ตามลำดับ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

การใช้ผ้าห่มมาดัดแปลงทำเปลหามผู้ป่วย

3. เสื้อและไม้ยาว 2 อัน
นำเสื้อที่มีขนาดใหญ่พอๆกันมาสามตัว ติดกระดุมให้เรียบร้อย ถ้าไม่แน่ใจว่ากระดุมจะแน่นพอให้ใช้เข็มกลัดซ่อนปลายช่วยด้วย แล้วสอดไม้สองอันเข้าไปในแขนเสื้อ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร ยกตัวอย่าง

การใช้เสื้อมาดัดแปลงทำเปลหามผู้ป่วย

อุบัติเหตุหมู่

ในสถานการณ์ภัยพิบัติหรืออุบัติเหตุหมู่ เมื่อท่านพบเหตุการณ์เป็นคนแรกควรปฏิบัติดังนี้
1. ประเมินดูสถานการณ์ที่เกิดเหตุว่าปลอดภัยหรือไม่ หากไม่ปลอดภัยห้ามเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ รอจนกว่าเหตุการณ์นั้นจะปลอดภัยจึงจะเข้าไปให้การช่วยเหลือ
2. เมื่อเข้าไปถึงตัวผู้ป่วยแล้วให้ตรวจสภาพผู้ป่วยอย่างคร่าว ๆ
3. แจ้งขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในขณะแจ้งขอความช่วยเหลือ ตั้งสติให้ดี พูดให้ชัดเจน อย่าตื่นเต้น แล้วแจ้งข้อมูลดังนี้
– สถานที่เกิดเหตุ
– ซื่อผู้แจ้ง และบอกเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ
– เกิดเหตุอะไร มีผู้บาดเจ็บกี่คน
4. เข้าไปประเมินสภาพผู้ป่วยขั้นต้น โดย
– ตรวจดูความรู้สึกตัว โดยการเรียกร้องหรือตีที่ไหล่เบาๆ
– ตรวจดูทางเดินหายใจ
– ตรวจดูการหายใจ
– ตรวจชีพจร
– ตรวจดูการบาดเจ็บ
5. ให้การปฐมพยาบาล ถ้ามีการบาดเจ็บเลือดออก ให้ห้ามเลือดก่อนหลังจากนั้นตรวจดูว่ากระดูกหักที่ใดบ้าง ให้ทำการดาม
6. แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม

ในกรณีมีผู้บาดเจ็บหลายคนพร้อมกัน ควรทำการประเมินสภาพผู้ป่วยคร่าวๆ ทุกคนเพื่อทำการคัดแยก และพิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ โดยใช้แนวทางในการคัดแยกดังนี้
1. แบ่งผู้บาดเจ็บออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
– กลุ่มผู้บาดเจ็บที่เดินได้
– กลุ่มผู้บาดเจ็บที่เดินไม่ได้
2.กลุ่มผู้บาดเจ็บที่เดินได้ให้แยกไว้กลุ่มหนึ่ง ส่วนผู้บาดเจ็บที่เดินไม่ได้ให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มผู้บาดเจ็บที่หมดสติ มีปัญหาเรื่องการหายใจ ซ็อค เสียเลือดมากไม่สามารถห้ามเลือดได้ มีแผลไฟไหม้ที่รุนแรงให้ถือว่าผู้บาดเจ็บกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นอันดับแรกส่วนที่เหลือนอกจากที่กล่าวไปแล้ว ให้ถือความสำคัญเป็นอันดับที่ 2
3.กลุ่มที่เดินได้นั้นให้ลำดับความสำคัญเป็นอันดับ 3 และอันดับสุดท้าย ผู้ที่เสียชีวิตเพราะไม่จำเป็นต้องให้การรักษาพยาบาล

การห้ามเลือดจากแผล

โดยปกติเมื่อคนเรามีบาดแผล หากบาดแผลไม่ใหญ่เลือดมักจะหยุดเอง แต่ถ้าเป็นบาดแผลใหญ่และมีเลือดไหลออกมาไม่หยุดถ้าไม่ทำการห้ามเลือดอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงและอาจเสียชีวิตได้

๑) การห้ามเลือดแผลทั่วไป มีวิธีการดังนี้

๑. ใช้นิ้วกดลงบนบาดแผลตรงที่มีเลือดออก

๒. ยกส่วนที่มีเลือดออกให้สูงกว่าระดับหัวใจ

๓. ถ้าบริเวณที่เลือดออกอยู่ต่ำกว่าข้อพับของข้อศอกหรือข้อเข่า ให้ใช้ผ้าวางที่ข้อพับ และพับข้อศอกหรือข้อเข่านั้นไว้ แล้วใช้ผ้าสะอาดพันรอบๆ ซึ่งวีนี้เรียกว่า “Pad and Bandage”

๔. ใช้น้ำแข็งประคบที่บริเวณแผล ซึ่งความเย็นนี้ทำให้หลอดเลือดตีบ ทำให้เลือดที่ออกมาแข็งตัวได้เร็วขึ้น

๕. การใช้เครื่องรัดรัดเหนือแผล เป็นการห้ามเลือดไม่ให้ไหลไปสู่บริเวณแผลนั้น

๒) การห้ามเลือดตามตำแหน่งต่างๆของร่ายกาย

๑. ศีรษะ ใช้ผ้าสะอาดทับกันหนาๆแทนผ้าพันแผล

๒. ลิ้นหรือริมฝีปาก ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบทั้งสองข้างของแผล

๓. บริเวณที่คอ ใช้นิ้วหัวแม่มือกดบนหลอดโลหิต

๔. ต้นแขน ให้ใช้สายมารัดเหนือแผล

ข้อควรคำนึง

๑. ผู้ให้ความช่วยเหลือต้องป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อโรคที่สามารถติดต่อได้ทางเลือดของผู้ป่วย

๒. กรณีที่ผู้ช่วยเหลือมีบาดแผล ควรใช้ผ้าปิดบาดแผลของตนก่อน

๓. ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลของผู้ป่วย โดการทำความสะอาดมือหรืออุปกรณ์ต่างๆที่ต้องสัมผัสกับบาดแผลของผู้ป่วย

๔. การห้ามเลือดในกรณีที่เลือดไม่หยุดไหลรีบนำส่งแพทย์ทันที

๒.๒ การปฐมพยาบาลเมื่อได้รับบาดแผล

บาดแผล หมายถึง การชอกช้ำฉีกขาดของผิวหนังและเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดอาการต่างๆแทรกซ้อนได้ เช่น การเกิดหนอง บาดทะยัก และตกเลือด เป็นต้น

หลักสำคัญของการปฐมพยาบาล มีดังนี้

๑. ถ้ามีเลือดไหล จะต้องห้ามเลือดโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง

๒. ถ้ามีอาการช็อกหรือเป็นลม ควรรักษาการเป็นลมเสียก่อน

๓. เมื่อเลือดหยุด ให้ทำความสะอาดบาดแผล

๔. ขณะทำความสะอาดควรตรวจบาดแผลว่ากว้างลึกแค่ไหน มีอะไรค้างอยู่ไหม

๕. ถ้าบาดแผลเกิดขึ้นบริเวณแขนหรือขา ควรให้บริเวณนั้นได้พัก

๖. รีบนำส่งสถานพยาบาลโดยด่วน

๗. ควรบันทึกเหตุการณ์ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แพทย์ได้ทราบ

การปฐมพยาบาล

๑) บาดแผลตัด

บาดแผลตัดเกิดจากแผลที่ถูกของมีคมบาด ซึ่งวิธีการมี  ดังนี้

1.ถ้าบาดแผลเลือดออกเล็กน้อยให้ทำการห้ามเลือด โดยการให้ผ้าสะอาดกดลงประมาณ

๑๕-๒๐ นาที

2.ถ้าเลือดหยุดแล้วให้ทำความสะอาดแผล

3.ถ้าแผลกว้างและลึกให้ใช้ผ้าสะอาดกดแผลไว้และรีบนำส่งสถานพยาบาลทันที

๒) บาดแผลช้ำ

บาดแผลช้ำเกิดจากการถูกชกต่อย กระแทก หกล้ม เป็นต้น มีวิธีการปฐมพยาบาล  ดังนี้

1. ใน ๒๔ ชั่วโมงแรกให้ประคบด้วยความเย็น เพื่อระงับความเจ็บปวดและการเลือดออก

๒๔ ชั่วโมงหลังให้ประคบความร้อนได้ เพื่อบรรเทาอาการบวม

2. บาดแผลถูกแทง

3. บาดแผลถูกแทงให้รีบนำส่งสถานพยาบาลทันที

การปฐมพยาบาลถูกสัตว์มีพิษกัด

๑) งูกัด

วิธีการรักษา

1.ดูแผลว่าเป็นงูมีพิษกัดหรือไม่

2.ใช้เชือกหรือสิ่งที่หาได้ในขณะนั้นรัดไว้เหนือแผล(ให้สอดนิ้วก้อยเข้าได้)

3.ให้ล้างน้ำสะอาดหรือน้ำด่างทับทิมแก่ๆบ่อยๆเพื่อชะลอการแพร่กระจายของพิษ

4.ทำให้ผู้ที่ถูกกัดไม่ตกใจเพราะถ้าตกใจจะทำให้การสูบฉีดเลือดเยอะขึ้นทำให้พิษแพร่กระจายได้เร็วขึ้น

5.หากปฐมพยาบาลแล้วไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

ข้อห้ามสำหรับผู้ที่ถูกงูพิษกัด

๑. ไม่ควรรัดแบบขันชะเนาะ เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณที่ต่ำกว่ารอยรัดไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้บริเวณนั้นเกิดการเน่าขึ้นได้ภายหลัง

๒. ไม่ควรใช้ไฟจี้แผล มีดกรีดแผล หรือดูดแผล

๓. ผู้ที่ถูกงูกัด ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะไปออกฤทธิ์กดการหายใจ ไม่ควรให้ยากล่อมประสาท ยาระงับประสาท เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการง่วงได้ ซึ่งทำให้สับสนับอาการจากพิษงูบางชนิด

๔. อย่าเสียเวลาลองใช้ยาในบ้าน หรือวิธีรักษาแบบอื่นๆ ควรรีบนำส่งสถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการรักษาจะปลอดภัยมากกว่า

๕. อย่าพยายามใช้เชือกรัดบริเวณข้อกระดูกต่างๆ เช่น ข้อเท้า เข่า ข้อศอก เป็นต้น

เกร็ดน่ารู้!

การป้องกันไม่ให้งูกัด

1.พยายามอย่าเดินในทางที่มีหญ้ารกมาก

2.หลีกเลี่ยงการเดินในป่าเวลากลางคืน

3.อย่าเดินในซอกหินแคบ

4.ไม่ควรนอนกับพื้นเมื่อนอนในป่า

ถูกสุนัขบ้ากัด  โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว กระรอก วัว ม้า สามารถติดต่อได่โดย น้ำลายของสัตว์มาเข้าบาดแผล ซึ่งจะมีอาการ กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ลม และเสียงดัง ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถป้องกันได้ดังนี้

เมื่อถูกสัตว์กัดให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่หลายๆครั้ง

ทำความสะอาดซ้ำด้วยแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ แล้วใส่ยารักษาแผลสดทั่วไป

ควรรีบนำส่งสถานพยาบาลเพื่อรับการฉีดวัคซีน ถ้ารักษาด้วยสมุนไพรนั้น ไม่สามารถรักษาได้

ถ้ากักขังสัตว์ไม่ได้ ควรรีบกำจัดสัตว์โดยเร็วแต่อย่าให้ส่วนหัวบุบสลายเพราะจะต้องนำส่งตรวจต่อไป

ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดก็จำเป็นจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ควรนำสัตว์เลี้ยงไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตามคำแนะนำของแพทย์

         ข้อสังเกตุสำหรับสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า

จะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น สัตว์ที่ดุร้ายมีอาการเชื่อง สัตว์ที่เชื่องมีอาการดุร้าย ตื่นเต้น กระวนกระวาย

๒.๔ การปฐมพยาบาลเมื่อถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก

ผิวหนังที่ถูกทำลายด้วยความร้อนจนเกิดเป็นแผลไหม้ จะทำให้เกิดอันตรายจนถึงเสียชีวิต หรือแผลที่โดนน้ำร้อนลวก จะมีวิธีปฐมพยาบาลที่เหมือนกันหากมีการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีจะช่วยลดอาการลงได้

แผลที่ถูกไฟไหม้และน้ำร้อนลวกมีอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่

1. แผลแบบตื้นๆ การบาดเจ็บเกิดขึ้นที่บริเวณผิวหนังชั้นนอก โดยผิวหนังจะมีสีเข้ม เกรียม ดำหรือพอง และเจ็บตรงบริเวณแผล

2. แผลแบบลึก ผิวหนังทุกชั้นจะถูกทำลาย มีสีแดงเข้มไหม้เกรียมหรือพุพองขึ้นมา แต่ไม่ค่อยรู้สึกเจ็บบริเวณแผลเพราะปลายประสาทถูกทำลาย

การปฐมพยาบาลมีดังนี้

1. สำหรับผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวกให้ใช้น้ำเย็นราดอย่างน้อย 10 นาที และ ไม่ควรใช้น้ำมัน ครีม หรือน้ำยาทาผิว ทาบริเวณแผล

ใช้ผ้าสะอาดเช็ด เช่น ผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดปิดบริเวณแผล และใช้ผ้านุ่มๆคลุมทับไว้ เพื่อไม่ให้แผลเจ็บมากขึ้น

2. ถ้าแผลไหม้หรือถูกลวกนั้นรุนแรงมาก ห้ามให้แผลถูกน้ำ แต่ใช้ผ้าปิดแผลที่ฆ่าเชื้อโรคแล้ว ปิดแผลไว้หลวมๆ และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ

3. ถ้าแผงไหม้หรือลวกนั้นมีบริเวณกว้าง ให้ผู้ป่วยนอนยกขาทั้ง 2 ข้างให้สูงกว่าลำตัว แต่ถ้าแผลไหม้เกิดบริเวณศีรษะ หน้าท้อง หน้าอก ให้ใช้ผ้าห่มหนุนไหลไว้

ห้ามเจาะถุงน้ำที่พองบริเวณแผล เพราะจะทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น

๒.๕ การปฐมพยาบาลเมื่อเลือดกำเดาไหล

เลือดกำเดาไหลเป็นอาการที่พบได้บ่อยในวัยเด็กและวัยกลางคน  ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแน่ชัด อาจเกิดจากการเป็นหวัด จามแรงเกินไป หรือ แคะจมูก หรืออาจพบในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ

การปฐมพยาบาล ควรกระทำดังนี้

1. ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงบนเก้าอี้และก้มศีรษะไปข้างหน้าเล็กน้อย

2. บีบจมูกให้แน่นประมาณ ๑๐ นาที ระหว่างนี้กลืนเลือดที่ออกจากทางด้านหลังจมูก และหายใจทางปาก พอครบ ๑๐ นาที ให้ปล่อยมือที่บีบีจมูก แล้วนั่งนิ่งๆถ้าเลือดยังออกอีกให้บีบีต่ออีก ๑๐ นาที

3. วางน้ำแข็ง หรือผ้าเย็นๆ บนสันจมูก หรือหน้าผาก

4. เมื่อเลือดหยุด ให้นั่งนิ่งๆ หรือนอนลงสักพัก ระหว่างนี้ห้ามสั่งน้ำมูกอย่างน้อย ๓ ชั่วโมง และไม่ควรแคะจมูกหรือใส่สิ่งแปลกปลอมเข้าไป

5. ถ้าเลือดออกมาจนซีด และปวดศีรษะ หรือไม่สามารถห้ามเลือดด้วยวิธีธรรมดา (โดยเฉพาะผู้สูงอายุ) หรือถ้าเป็นบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมี 2 แบบคืออะไร

1. การทาเปลมือ 2. การอุ้มหน้า - หลัง เหมาะสาหรับ... ผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี แต่ขาข้างใดข้างหนึ่งเจ็บ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีแบบใดบ้าง

2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน วิธีที่ 1 อุ้มและยก เหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก.
3. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสามคน วิธีที่ 1 อุ้มสามคนเรียง เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้มขึ้นวางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบๆ.

การอุ้มเคียง 2 คนมีวิธีการอย่างไร

วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสําคัญอย่างไร

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ป่วย การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอาจกระทำก่อนให้การปฐมพยาบาล ๅหรือหลังจากให้การปฐมพยาบาลก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในหลายกรณีพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมาก ได้รับอันตรายจากการเคลื่อนย้ายที่ไม่ถูกวิธี ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ...