ประเภทของนโยบายการเงิน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ อะไรบ้าง

นโยบายการเงินแบบเจาะจงเป้าหมาย (Targeted monetary policy) มีบทบาทช่วยเสริมและเติมเต็มกลไกการทำงานของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพระบบการเงินได้อย่าง ‘สมดุล’ เนื่องจากมีจุดเด่นในการดูแลและป้องกันความเสี่ยงเฉพาะจุด ซึ่งช่วยลดทอนผลลบข้างเคียงในวงกว้างที่อาจมีต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ปัจจุบันไทยได้เริ่มมีการใช้นโยบายการเงินแบบเจาะจงเป้าหมายแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังเน้นเฉพาะเครื่องมือที่ดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน  ซึ่งได้แก่ มาตรการกำกับดูแลรายสถาบันการเงิน (Microprudential measures) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (Macroprudential measures) ขณะที่เครื่องมือสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการเงินผ่อนคลายแบบเจาะจงเป้าหมาย (Targeted monetary easing) ยังมีจำกัด

ท่ามกลางขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy space) ที่จำกัด กอรปกับประสิทธิภาพการส่งผ่านนโยบายการเงินที่ลดลง Targeted monetary easing จะเป็นมิติใหม่ของเครื่องมือนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตกระจายตัวทั่วถึงในทุกภาคส่วนและยั่งยืน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมและเติมเต็มการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 3 ประการ ประการแรก ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินบรรลุเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพอย่างสมดุลโดยดูแลทั้งเสถียรภาพราคาและเสถียรภาพระบบการเงินควบคู่กัน ประการที่สอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายในมิติเชิงคุณภาพนอกเหนือจากเชิงปริมาณ ท่ามกลางข้อจำกัดที่ทำให้ประสิทธิภาพของนโยบายการเงินด้อยลง รวมถึงขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่ค่อนข้างจำกัดในปัจจุบัน ประการสุดท้าย เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายเชิงรุก (Proactive measure) ช่วยสนับสนุนบางภาคเศรษฐกิจที่สมควรได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษแม้ในยามที่เศรษฐกิจยังไม่ประสบปัญหา แตกต่างจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบปกติที่มีลักษณะเชิงรับซึ่งมักจะตอบสนองหลังจากเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างชัดเจน (Countercyclical measure)

ความหมายของนโยบายการเงิน

นโยบายการเงิน หมายถึง  เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ธนาคารกลางพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมดูแลปริมาณเงินและทิศทางของอัตราดอกเบี้ยเพื่อบรรลุ เป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ  

ลักษณะการดำเนินนโยบายการเงินนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ  นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (restrictive monetary policy) ซึ่งจะมีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทางการเงินเพื่อทำให้ปริมาณเงิน มีขนาดเล็กลงและมักใช้กับระบบเศรษฐกิจที่มีปัญหาต่างๆ เช่น ภาวะราคาสินค้าสูงขึ้นทำให้ประชาชนมีการใช้จ่ายมากกว่าความสามารถในการผลิตของระบบเศรษฐกิจโดยบทบาทของนโยบายการเงินแบบเข้มงวดนั้นจะมีส่วนช่วยลดความร้อนแรงในระบบเศรษฐกิจ  

ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือ  นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (easy monetary policy) เป็นลักษณะของนโยบายการเงินที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการฟื้นตัวโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทางการเงิน เพื่อทำให้ปริมาณเงินมีขนาดใหญ่ขึ้นและมักใช้ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา  ซึ่งมีการลงทุน การผลิตและการใช้จ่ายของประชาชนอยู่ในระดับต่ำ  

ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกใช้นโยบายการเงินในลักษณะต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศในขณะนั้น ๆ เป็นสำคัญ

เป้าหมายของนโยบายการเงิน

การดำเนินนโยบายการเงินนั้นจะเน้นเป้าหมายหลัก 6 ประการ  ดังนี้

1.  การรักษาเสถียรภาพของระดับราคาสินค้า

การที่จะรักษาเสถียรภาพของระดับราคาสินค้าไว้ได้นั้น  ในระบบเศรษฐกิจจะต้องมีปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อรองรับการขยายตัวของผลผลิตในระยะยาว  โดยระดับราคาสินค้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง  โดยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อหรือระดับราคาสินค้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยลดลงอย่างต่อเนื่องจนก่อให้เกิดภาวะเงินฝืด  

2.  การจ้างงานเต็มที่ 

การจ้างงานเต็มที่นับได้ว่าเป็นจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่สำคัญ เนื่องจากการว่างงานในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน ไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดผลเสีย                       ในทางเศรษฐกิจเท่านั้น  แต่ยังก่อให้เกิดผลเสียในทางสังคม โดยเฉพาะปัญหา                  ความอดอยากและปัญหาอาชญากรรม 

3.  การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

 การใช้นโยบายการเงินเพื่อรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นจะต้องมี             การขยายตัวของศักยภาพในการผลิตสินค้าและบริการของประเทศอย่างต่อเนื่องในระยะยาว  โดยประเทศมีความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการออกมาสนองความต้องการของ ประชาชนได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลาเพื่อให้ประชาชนภายในประเทศนั้น ๆ ได้มีสินค้าและบริการใช้อย่างเพียงพอ  

4.  การมีความสมดุลในดุลการชำระเงิน 

การขาดดุลหรือการเกินดุลการชำระเงินอย่างรุนแรงจะมีผลกระทบต่อเงินสำรองระหว่างประเทศ  ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่าเงินของประเทศขาดเสถียรภาพ  โดยนโยบายการเงินจะมีบทบาทในการรักษาค่าภายนอกของเงินของประเทศและช่วยทำให้ระดับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศไม่แตกต่างไปจากระดับอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศมากจนเกินไป  เพื่อเป็นการป้องกันการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศและการไหลออกของเงินทุนภายในประเทศ

            5.  การรักษาเสถียรภาพของอัตราดอกเบี้ย

โดยระดับอัตราดอกเบี้ยต้องไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงผันผวนมากจนเกินไปจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อปริมาณเงินภายในประเทศ  ซึ่งระดับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไปจนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเงินเฟ้อหรือภาวะเงินฝืดที่รุนแรง  ซึ่งจะเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น

6.  การรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงิน

เนื่องจากการขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยทำให้เกิดความไม่แน่นอนสำหรับสถาบันการเงิน ถ้าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากจะทำให้เกิดปัญหาแก่สถาบันการเงินในตลาดการเงินเนื่องจากจะทำให้การระดมเงินทุนของสถาบันการเงินมีต้นทุนที่สูง 

เครื่องมือของนโยบายการเงิน

ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ  ธนาคารกลางหรือเจ้าหน้าที่                 ทางการเงินของประเทศจะมีการนำเครื่องมือของนโยบายการเงินในลักษณะต่าง ๆ มาใช้                ทั้งนี้เพื่อทำให้ปริมาณเงินมีขนาดพอเหมาะกับภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา  โดยไม่เกิดความผันผวนมากจนเกินไป  ซึ่งเป็นการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยเครื่องมือของนโยบายการเงินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ  คือ  

1.  การควบคุมทางปริมาณหรือการควบคุมโดยทั่วไป

เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมทางปริมาณ ได้แก่

1.1  การซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาด (open market operations หรือ OMO) การตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเป็นหน้าที่สำคัญของธนาคารกลาง  โดยธนาคารกลางมีอำนาจในการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาด                 ซึ่งในประเทศที่ตลาดการเงินมีระดับการพัฒนาในระดับสูง  ธนาคารกลางจะซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ค้าหลักทรัพย์  แต่ในประเทศที่ตลาดการเงินยังมีการพัฒนาในระดับต่ำธนาคารกลาง             จะทำการซื้อขายหลักทรัพย์โดยตรงกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่าง ๆ                          

1.2  อัตรารับช่วงซื้อลด (rediscount rate)  เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกลางเก็บล่วงหน้าจากธนาคารพาณิชย์  เมื่อธนาคารพาณิชย์นำตั๋วที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อลดไปขายลดให้กับธนาคารกลาง  ซึ่งเมื่อธนาคารพาณิชย์เกิดปัญหาขาดแคลนเงินสดสำรอง  อาจมีการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น  การลดการขยายสินเชื่อ การขายหลักทรัพย์ในตลาดเพื่อเพิ่มเงินสดสำรอง  การขอกู้จากธนาคารพาณิชย์ด้วยกันและการขอกู้ยืมจากธนาคารกลาง  โดยธนาคารกลางสามารถเพิ่มหรือลดอัตรารับช่วงซื้อลด เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินได้  โดยหากธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดลงก็จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมได้มากขึ้น  ดังนั้นเงินสดสำรองจึงเพิ่มขึ้นทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถขยายสินเชื่อได้มากขึ้นและปริมาณเงินเพิ่มสูงขึ้น  ธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดแสดงว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังเผชิญกับภาวะเงินฝืดธนาคารกลางจึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายเพิ่ม              การขยายตัวของสินเชื่อ

1.3  อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (bank rate)  เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์  ซึ่งโดยปกติเป็นการกู้ยืมโดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลค้ำประกัน  โดยธนาคารกลางจะทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์  นอกจากจะทำหน้าที่รับฝากเงินของธนาคารพาณิชย์แล้ว  ธนาคารกลางยังทำหน้าที่เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายแก่ธนาคารพาณิชย์  

1.4  อัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรง (legal reserve ratio)  การที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถสร้างเงินฝากได้มากน้อยเพียงใดนั้นจะขึ้นอยู่กับเงินสดสำรองส่วนเกินที่              ธนาคารพาณิชย์มีอยู่และอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายที่ต้องดำรง  ซึ่งอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญที่ธนาคารกลางมีอำนาจในการกำหนดและเปลี่ยนแปลง             การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินตามกฎหมายนั้นเป็นเงื่อนไขที่ธนาคารพาณิชย์ต้องฝากเงินสดสำรองนี้ไว้กับธนาคารกลาง โดยไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนแต่อย่างใด           

2.  การควบคุมทางคุณภาพหรือด้วยวิธีเลือกสรร

คือการใช้วิธีการจำกัดการให้กู้ของผู้ให้กู้ยืมโดยตรง  ซึ่งจะไม่คำนึงว่าธนาคารพาณิชย์จะมีเงินสดสำรองอยู่ในปริมาณมากน้อยเพียงใด  โดยธนาคารกลางจะมีการวางเงื่อนไขในการจำกัดเฉพาะเครดิตบางชนิด

3.  การชักชวนธนาคารพาณิชย์ให้ปฏิบัติตาม

เป็นวิธีการที่ธนาคารกลาง ขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง  เพื่อให้มีความสอดคล้องกับนโยบายโดยส่วนรวมของประเทศ  โดยอาจใช้เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการโดยการใช้วิธีขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามนโยบายของธนาคารกลาง  ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางอาจพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารพาณิชย์และทำการขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามนโยบายบางประการที่ธนาคารกลางมีความเห็นว่าเหมาะสม

นโยบาย การเงิน มีความสําคัญอย่างไร

นโยบายการเงินส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและราคาสินค้าและบริการ การปรับขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ธปท. จึงดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมกับดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และระบบการเงินมี ...

นโยบายการเงินแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง

แบบขยายตัวจะท าโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งจะมีผลทาให้เงินสด สารองของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น และท าให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น การขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตาม (Moral suasion) เช่น การขอให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภทที่มี

ประเภทของนโยบายการคลังมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ลักษณะของนโยบายการคลังแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะคือ หนึ่งนโยบายการคลังแบบ อัตโนมัติ(Autonomic Change) และนโยบายการคลังแบบตั้งใจ (Discretionary Change) การก าหนด ลักษณะนโยบายการคลังของแต่ละประเทศต้องค านึงถึงบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลที่แบ่งได้ เป็นสามประการ คือ หนึ่งช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรมีความเป็นธรรม สองรักษาเสถียรภาพทาง ...

นโยบายทางการเงินคืออะไร

นโยบายการเงิน คือ มาตรการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) เป็นผู้ควบคุมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจภายในประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดนั้น ธนาคารกลางจะประกาศนโยบายทางการเงินออกมา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป โดยนโยบายการเงินหลักๆแบ่งได้ ...