พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านภูมิปัญญา

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยเสด็จ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุกหนแห่งในผืนแผ่นดินไทย และทรงริเริ่มโครงการในพระราชดำริสำคัญ ๆ ไว้มากมายนับไม่ถ้วน ด้วยทรงหวังให้ปวงชนชาวไทยได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมิเคยแบ่งแยกว่าเป็นชายหรือหญิง จะยากดีมีจน หรือว่านับถือศาสนาใด ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 HELLO! รวบรวม 9 พระราชกรณียกิจ สมเด็จพระพันปีหลวง ที่ทรงทุ่มเทพระราชหฤทัยและพระวรกาย เพื่อโอบอุ้มประชาราษฎร์ให้อยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน

พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านภูมิปัญญา

๑‘ศิลปาชีพ’ ราชินีแห่งไหมไทย ทรงเป็นต้นแบบอนุรักษ์ผ้าไทยให้โด่งดังไกล

เรื่องของ ‘ผ้าไหมไทย’ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน งานศิลป์ชิ้นเอกที่ถูกละเลยนี้ได้ถูกหยิบมาปัดฝุ่นให้ทรงคุณค่ามาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เมื่อครั้งเสด็จฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชเสาวนีย์ให้ส่งเสริมการทอผ้าไหมไทยขึ้น ก่อเกิดเป็นโครงการส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังทรงเผยแพร่ความงดงามของผ้าไหมและหัตถกรรมไทยสู่สายตาชาวโลก ผืนผ้าจากภูมิปัญญาชาวบ้านกลายเป็นฉลองพระองค์อันวิจิตร โดยใน พ.ศ. 2505 ทรงได้รับเลือกให้เป็นสตรีที่แต่งพระองค์งามที่สุดในโลกผู้หนึ่ง ในจำนวนสุภาพสตรีของโลกทั้งหมด 10 คน จากบรรดาผู้เชี่ยวชาญการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีของโลก  ทรงนำความงดงามของผ้าไทยให้เป็นที่รู้จักในสังคมวงกว้างและสวมใส่อย่างแพร่หลาย

เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงพลิกฟื้นผ้าไทย ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระปรีชาญาณ และกำลังพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทำให้ผ้าไทยกลับคืนสู่สังคมไทย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงร่วมมือกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดทำโครงการ ‘สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน’ โดยในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์

จากนโยบายดังกล่าว ได้สร้างกระแสการใส่ผ้าไทยให้คึกคักมากยิ่งขึ้น มีการประกวดผ้าทอของแต่ละจังหวัด มอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้กับผู้สืบทอดภูมิปัญญาผ้าไทย รวมทั้งจัดแสดงแฟชั่นโชว์ผ้าไทยที่นำมาตัดเย็บให้เข้ากับยุคสมัยให้ผ้าไทยใส่แล้วเก๋ในชีวิตประจำวัน

พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านภูมิปัญญา

๒ น้ำพระทัยสมเด็จพระพันปีหลวง ชุปชีวิตยามวิกฤติสาธารณสุข

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงห่วงใยปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรอย่างใกล้ชิดเสมอมา โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพอนามัยตามพื้นที่ชนบทห่างไกล ทรงตระหนักว่า การมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และสามารถทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อไปได้ พระองค์จึงได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านสาธารณสุขเป็นจำนวนมาก อาทิ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดคณะแพทย์ตามเสด็จในต่างจังหวัด นำมาสู่หน่วยแพทย์พระราชทานจนทุกวันนี้

ทรงสานต่อโครงการหมอหมู่บ้านของในหลวง รัชกาลที่ 9 คัดชาวบ้านที่สมัครใจมาอบรม เพื่อนำความรู้กลับไปช่วยเหลือคนเจ็บป่วยในหมู่บ้าน โดยให้ชาวบ้านรู้จักใช้ยาและดูแลรักษาอนามัยเบื้องต้น ขณะที่คนไข้ป่วยหนักยากจนทรงไม่ทอดทิ้งรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทุกชีวิตของราษฎรมีความหมายใต้ร่มพระบารมีสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

แม้ในสถานการณ์ปัจจุบันที่พสกนิกร 76 จังหวัด เผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พสกนิกรต่างถวายพระราชสมัญญาว่า ‘พระแม่เจ้าของชาติ’ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และชุดอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจแบบอากาศบริสุทธิ์ PAPR เพื่อใช้ในห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลประจำจังหวัดในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร และทุกเหล่าทัพช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ที่เสียสละให้ปลอดภัยจากการปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19

พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านภูมิปัญญา

๓ ‘บ้านเล็กในป่าใหญ่’ โครงการพระราชดำริฯ

“พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า” พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่แสดงถึงพระราชปณิธานอันแรงกล้าที่จะทรงงานด้านการอนุรักษ์ป่า ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ เพื่อสนับสนุนการทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อช่วยให้พสกนิกรชาวไทยมีน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีพและการทำการเกษตร โครงการตามพระราชดำริอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความใส่พระราชหฤทัยด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และทรงห่วงใยชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่เป็นอย่างมากคือ ‘โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่’ ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นที่แรกที่บ้านห้วยไม้หก อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2534

พร้อมพระราชทานพระราชดำริแนวทางการอนุรักษ์ไว้ว่า ให้คงมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ให้รักษาป่าที่ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ ไม่ให้ถูกทำลายต่อไป จัดให้มีการฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายไป โดยให้มีทั้งไม้ป่าธรรมชาติและไม้ใช้สอย พื้นที่ทำกินของราษฎร ให้การช่วยเหลือด้านการเกษตร สามารถทำกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า และจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ

โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ บ้านห้วยไม้หก ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้โดยไม่เกิดการทำลาย ดังพระราชประสงค์หลังจากนั้นจึงมีการต่อยอด จัดตั้งโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่อีกหลายพื้นที่ เช่น โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริบ้านอุดมทรัพย์ อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร, โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริบ้านหนองห้า อ.เชียงคำ จ.พะเยา, โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยฟ้าห่มปก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ฯลฯ

พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านภูมิปัญญา

๔ ทรงต่อลมหายใจ ‘โขน’ ศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยให้คงอยู่สืบไป

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เป็นลำดับมา ในด้านศิลปวัฒนธรรม มีการอนุรักษ์ สืบสาน ภูมิปัญญามรดกวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ ในแผ่นดินไทยให้คงอยู่โดยเฉพาะ ‘โขน’ ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยและเป็นมหรสพหลวงที่รุ่งเรืองมาช้านาน

ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ศึกษาค้นคว้าการแสดงโขนตามแบบโบราณราชประเพณี พร้อมฟื้นฟูองค์ความรู้ในการสร้างเครื่องแต่งกายโขนให้งดงามตามธรรมเนียมเดิม โปรดเกล้าฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญและศิลปินในสาขาที่เกี่ยวข้อง ศึกษาข้อมูลและหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายโขนในละครโบราณอย่างละเอียด เพื่อจัดสร้างเครื่องแต่งกายโขนละครขึ้นใหม่ ตลอดจนพัฒนาศิลปะการแสดงหน้าโขนละครให้มีความร่วมสมัย โขนพระราชทาน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาศ เมื่อ พ.ศ. 2552 จึงเป็นปฐมบทแห่งโขนพระราชทานที่ประสบความสำเร็จ ได้รับความชื่นชมในเรื่องความงดงามของเครื่องแต่งกาย ความวิจิตรตระการตาของฉากและเทคนิคต่าง ๆ กระบวนการรังสรรค์เครื่องโขนที่เต็มไปด้วยรายละเอียดและเกือบสูญสลายไปตามกาลเวลาให้กลับมาเฉิดฉายอีกครั้ง

นำไปสู่การแสดงโขนพระราชทานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยในปีนี้เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 และเพื่อสานต่อพระราชปณิธานในสมเด็จพระพันปีหลวง มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จะจัดการแสดงโขน ประจำปี 2565 เรื่องรามเกียรติ์ ตอน ‘สะกดทัพ’ ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

และด้วยพระอัจฉริยภาพ พระวิสัยทัศน์ ในการสนับสนุนส่งเสริมการแสดงโขน ทำให้โขนเป็นที่รู้จักและชื่นชมไปทั่วโลกองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโขนไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ถือเป็นมรดกล้ำค่าของชาติที่ชาวไทยทุกคนควรร่วมกันอนุรักษ์ไว้ด้วยความหวงแหนยิ่งชีพ

พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านภูมิปัญญา

๕ สืบสานพระราชปณิธานธรรมราชินี

ในด้านศาสนา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงตระหนักว่า ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์มิให้ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นความชั่ว และเป็นแนวทางให้มนุษย์เลือกกระทำแต่ความดี จึงทรงตระหนักถึงความสำคัญในการอุปถัมภ์ศาสนา นอกจากจะทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางศาสนาโดยสม่ำเสมอแล้ว ยังทรงทะนุบำรุงศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ฮินดู และซิกข์ เพราะทรงถือว่าทุกศาสนาต่างมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ของประชาชนเช่นเดียวกัน

ดังนั้นคราวใดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ไปในงานพระราชพิธีหรือทรงประกอบพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงมักจะโดยเสด็จด้วยเสมอไม่ว่าจะเป็นพิธีของศาสนาใด บางครั้งเสด็จฯ โดยลำพังพระองค์เอง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยความเคารพในประเพณีของศาสนานั้น ๆ อย่างดียิ่ง รวมทั้งโดยเสด็จในหลวง รัชกาลที่ 9 ไปทรงนมัสการและสนทนาธรรมกับพระเถรานุเถระอยู่เสมอ ทรงใช้หลักธรรมเป็นแนวปฏิบัติทั้งในส่วนพระองค์และในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

นอกจากนี้ ยังทรงอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์หลายด้าน เช่น ทรงถวายปัจจัยแด่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ และพระเถระที่ทรงรู้จักเป็นประจำทุกเดือน ทรงอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธ ทรงถวายปัจจัยเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือพระราชทานทรัพย์แก่โรงพยาบาลเป็นทุนในการบริการ และอำนวยความสะดวกแก่พระสงฆ์ที่มารับการรักษา ตลอดจนมีพระราชเสาวนีย์ให้จัดภัตตาหารไปถวายพระเถระที่อาพาธเป็นพิเศษ เป็นต้น

พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านภูมิปัญญา

๖ ‘สถาบันสิริกิติ์’ สานต่องานศิลปาชีพเผยแพร่ผลงานประณีตศิลป์

กว่า 60 ปี ในรัชสมัยที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาพสกนิกรไทย โดยทั่วถ้วนถึงพระวิริยะอุตสาหะ และความอดทนที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการตลอดมา โดยเฉพาะงานส่งเสริมศิลปาชีพ ยังผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตราบจนปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปี โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ได้พัฒนาการดำเนินงานด้วยความก้าวหน้า ผลงานที่สร้างขึ้นล้วนเป็นประณีตศิลป์ชั้นสูง มีความวิจิตงดงามยิ่ง ปัจจุบันโรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา ยกสถานะขึ้นเป็น ‘สถาบันสิริกิติ์’ ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2553 เป็นต้นมา

จากโรงฝึกผลงานอันวิจิตรของลูกหลานชาวนาชาวไร่ ได้อวดโฉมโชว์ความงดงามให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาแล้วมากมายผ่านการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ‘ศิลป์แผ่นดิน’ ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่แบ่งการจัดแสดงเป็นสัดส่วนเริ่มที่ชั้นล่างสุด กับห้อง ‘ปีกแมลงทับ’ หรือห้องที่แสดงการตกแต่งแผ่นไม้แกะสลัก ตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยและถนิมพิมพาภรณ์ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์จำลอง ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีงานปักเส้นไหมโบราณขนาดใหญ่ งานคร่ำ งานสานย่านลิเภา และงานเครื่องประดับนานาชนิด รวมถึงจำลอง พระที่นั่งพุดตานจำลองคร่ำทอง จำลองแบบมาจากพระที่นั่งพุดตาน จำหลักไม้ในพระบรมมหาราชวังได้อย่างเสมือนจริง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นฝีมือชาวนาชาวไร่ ที่ผ่านการฝึกฝนจนกลายเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะไทยอันยอดเยี่ยมที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเห็นคุณค่าในฝีมือให้ร่วมกันสืบสานงานประณีตศิลป์ให้อยู่กับแผ่นดินไทยตลอดไป

พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านภูมิปัญญา

๗ ‘ฟาร์มตัวอย่าง’ ตามพระราชดำริ ศูนย์เรียนรู้การเกษตรครบวงจร หล่อเลี้ยงชีวิตเกษตรกรไทย

ย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อน กิจกรรมฟาร์มตัวอย่างตามราชดำริถือกำเนิดขึ้น ณ บ้านขุนแตะ หมู่ 5 ต.ดอยแก้ว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ จากการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ไม่มีงานทำหลังจากบำบัดและเลิกเสพยาเสพย์ติด โดยเริ่มแรกเป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกถนน แหล่งน้ำ สนับสนุนกิจกรรมภายในโครงการฯ เช่น ปลูกพืชผัก พันธุ์ไม้ผลชนิดต่าง ๆ การเลี้ยงปศุสัตว์ เป็ด ไก่ หมู และเลี้ยงปลา เป็นต้น จนโครงการได้พัฒนาต่อเนื่องกระจายไปทั่วประเทศ

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้มีแรงงานตกงานถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก และต้องกลับไปอยู่ที่ภูมิลำเนาทำให้ขาดรายได้จุนเจือครอบครัว ราษฎรประสบความทุกข์ยากแสนเข็ญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชปณิธาน ‘สืบสาน รักษา ต่อยอด’ พระราชกรณียกิจในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้อาณาราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืนบนผืนแผ่นดินไทย จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำที่ดินในโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ทั้ง 30 ฟาร์มจากจำนวน 61 ฟาร์ม ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ มาใช้สนับสนุนการจ้างงาน ภายใต้ ‘โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านภัยโควิด-19’ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้มาหล่อเลี้ยงครอบครัวในช่วงที่เกิดสถานการณ์ยากลำบากในการใช้ชีวิต

พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านภูมิปัญญา

๘ พระเมตตาด้านงานสังคมสงเคราะห์

เพราะความทุกข์ยากของเหล่าพสกนิกรเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง พระองค์ได้พระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนด้านการแพทย์ สาธารณสุข และสังคมสงเคราะห์ ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มากมาย ด้วยทรงตระหนักว่า การมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และสามารถทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อไปได้

นอกจากปวงชนชาวไทยแล้ว น้ำพระราชหฤทัยในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงยังแผ่ไพศาลถึงผู้อพยพลี้ภัยจำนวนมากดังเหตุการณ์บ้านเขาล้าน จ.ตราด ทรงเยี่ยมผู้ลี้ภัยสงครามชาวกัมพูชา ทรงนำอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่มไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดไทยไปให้ความร่วมมือกับกาชาดสากลในการช่วยเหลือผู้อพยพ และพระราชทานครูเข้าไปสอนวิชาชีพให้แก่ผู้อพยพ กิจการดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทรงจัดตั้ง มูลนิธิสายใจไทย ช่วยเหลือทหาร ตำรวจ และอาสารับใช้ชาติที่บาดเจ็บ พิการ พัฒนาอาชีพให้ช่วยเหลือตัวเองและมีรายได้เลี้ยงครอบครัว ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากมูลนิธิสายใจไทยเป็นที่รู้จักและนิยมของคนไทยมาโดยตลอด

พระราชกรณียกิจ ร.9 ด้านภูมิปัญญา

๙ ทรงส่งเสริมเยาวชนของชาติให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม

ในด้านการศึกษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมาชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนเริ่มแรกให้แก่ โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 1 ในการสร้างโรงเรียนสำหรับชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าที่บ้านห้วยขาน ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และทรงมอบโรงเรียนให้อยู่ในความดูแลของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่สอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ให้แก่ โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 2 สำหรัยเด็ก ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ต.แม่ริม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

นอกจากนี้ยังทรงรับนักเรียนยากจนขาดโอกาสทางการศึกษาที่ทรงพบด้วยพระองค์เองระหว่างการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์เกือบ 2,000 คน โดยทุนการศึกษานี้มิได้พระราชทานแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเท่านั้น หากแต่พระมหากรุณาธิคุณนี้ยังแผ่ไพศาลไปยังเด็กพิการให้เข้ารับราการศึกษาในโรงเรียนการศึกษาพิเศษตามความสามารถ จนจบการศึกษา เพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้ในอนาคต

ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคมนี้ ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพร ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ทรงเป็นมิ่งขวัญ และร่มเกล้าของปวงชนชาวไทยตราบชั่วกาลนาน.

บทความและภาพจาก HELLO! Magazine Thailand Vol.17 No.8

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา ร.9 มีอะไรบ้าง

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษาหาความรู้ต่อ ดังพระราชดำรัสที่ว่า

วันพระราชสมภพรัชกาลที่ 9 มีความสําคัญอย่างไร

วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี จะเป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และเป็นวันพ่อแห่งชาติ ซึ่งมีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2523 เนื่องจากพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัว ดังนั้นจึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวัน ...

พระราชกรณียกิจด้านสิ่งแวดล้อมของรัชกาลที่ 9 ในเรื่องใดมากที่สุด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้เป็นแนวทางหลักในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ด้วยทรงตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมฉับพลัน และการพังทลายของดินอย่างรุนแรง จึงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาป่าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม

พระราชกรณียกิจของพระองค์ มี ๖ ด้าน ด้านใดบ้าง

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา.
พระราชกรณียกิจด้านศาสนา.
พระราชกรณียกิจด้านความมั่นคงภายในประเทศ.
พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.
พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม.
พระราชกรณียกิจด้านการกีฬา.