ในการรับบิณฑบาต ภิกษุ สามเณร พึง ปฏิบัติ อย่างไร จึง ถูก ต้อง ตาม เส ขิ ย วัตร

เสนอมหาเถรสมาคม ออกกฎเหล็ก 6 ข้อ คุมพระสงฆ์กรณีบิณฑบาตไม่เอื้อต่อพระธรรมวินัย โดยกำหนดการออกบิณฑบาตเวลาได้รับอรุณ ไม่ควรเกิน 8 โมงเช้า ห้ามยืน-นั่งรับบาตร-นั่งในรถ ตามร้านขายอาหาร หรือเดินไปตามสถานที่ต่างๆ ห้ามสวดบทกรวดน้ำ

วันนี้ (7 ส.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา ได้ออกหนังสือเรื่องขอนุมัตินำเรื่อง กรณีการบิณทบาตไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย เสนอมหาเถรสมาคม (มส.)

หนังสือระบุว่า ตามที่ มีข้อร้องเรียนผ่นทางระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่ชาติ (พศ.)

กรณีการบิณฑบาตของพระสงฆ์ที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย เช่น การบิณฑบาตก่อนอรุณ การกลับวัดช้าเกินเวลาที่กำหนด รับบิณฑบาตมากเกินความจำเป็น หรือถ่ายเทอาหารให้บุคคลภายนอก นั่งหรือยืนปักหลักบิณทบาต บริเวณหน้าร้านค้าตลอดจนนำอาหารที่ได้รับมให้ร้านจำหน่ายต่อ รวมทั้งหวังแต่ลาภสักการะ

เมื่อบิณทบาตแล้ว อาหาร ดอกไม้ ธูปเทียนที่ได้ไม่นำกลับวัด ทิ้งไว้ข้างทาง เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่สมณวิสัย ทำให้ผู้ที่ใส่บาตร และผู้ที่พบเห็นเสื่อมความศรัทธา เป็นหตุให้เกิดความเสียหายแก่พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์

จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ขอเรียนว่า เพื่อเน้นการป้องกันเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว และลดปัญหาข้อร้องเรียน จึงเห็นควรนำเรื่องดังกล่าว เสนอคณะกรรมการมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบและพิจารณากำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ดังนี้

  • การออกบิณฑบาตของพระภิกษุสามเณร จะต้องออกบิณฑบาตเวลาได้รับอรุณ และไม่ควรเกินเวลา 08.00 น.
  • การบิณฑบาตโดยยืนหรือนั่งประจำที่ ตามร้านขายอาหาร หรือบิณทบาตโดยเร่ร่อนไปตามสถานที่ต่างๆ นอกพื้นที่บิณทบาตแห่งวัดตนไม่สมควรกระทำ
  • การบิณทบาต ด้วยการนั่งรับบาตร หรือนั่งในรถรับบาตรไม่สมควรกระทำ
  • สถานที่ที่เป็นแหล่งอโคจร พระภิกษุไม่ควรเข้าไปบิณทบาต
  • การบิณฑบาตไม่ควรสูบบุหรี่ สวมรองเท้า พูดคุยกันโดยไม่มีเหตุจำเป็น ถ่ายเทอาหาร หรือทิ้งดอกไม้ให้กับเจ้าของร้านอาหาร หรือแย่งกันรับของปัจจัย
  • เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว ไม่ควรยถา...สัพพี

ทั้งนี้ ให้เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ในทุกระดับ ตลอดจนพระวินยาธิการ คอยตรวจตรา สอดส่องดูแล พระภิกษุสามณรในการบิณบาตให้เป็นไปตามหลักพระรรรมวินัย โดยยึดหลักเสขิยวัตรเป็นเกณฑ์

ในการรับบิณฑบาต ภิกษุ สามเณร พึง ปฏิบัติ อย่างไร จึง ถูก ต้อง ตาม เส ขิ ย วัตร

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้านจ.อ่างทองร้องพบ"พระสงฆ์"ทำผิดวินัย ขณะบิณฑบาต

รัฐบาลจ่อเยียวยาพระสงฆ์ รูปละ 60 บาทต่อวัน กว่า 2 แสนรูป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสขิยวัตร เป็นส่วนหนึ่งของวินัยบัญญัติของภิกษุ (ศีล 227 ข้อ) กล่าวคือ วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา จัดเป็น 4 หมวด ได้แก่

  • สารูป(ว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศในการประพฤติปฏิบัติต่อชุมชน) มี 26 ข้อ
  • โภชนปฏิสังยุต(ว่าด้วยการฉันอาหาร) มี 30 ข้อ
  • ธัมมเทสนาปฏิสังยุต(ว่าด้วยการแสดงธรรม) มี 16 ข้อ
  • ปกิณณกะ(เป็นหมวดเบ็ดเตล็ด) มี 3 ข้อ

ตัวอย่างที่พบได้ทั่วไป เช่น ภิกษุจะไม่ยืนถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ, ภิกษุจะไม่ยืนดื่มน้ำ เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  • สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส นวโกวาท (หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี) 80/2550 (50/2493)

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘

๑. พระวินัย คืออะไร ? ภิกษุรักษาพระวินัยแล้ว ย่อมได้อานิสงส์อะไร ?

เฉลย คือพระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร ฯ ได้อานิสงส์ คือไม่ต้องเดือดร้อนใจ ได้รับ ความแช่มชื่นว่า ได้ประพฤติดีงาม จะเข้าหมู่ภิกษุผู้มีศีลก็องอาจไม่สะทกสะท้าน ฯ

๒. ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตเรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?

เฉลย เรียกว่า นิสสัย ฯ มี ๔ อย่าง ฯ คือ

๑. เที่ยวบิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล

๓. อยู่โคนต้นไม้ ๔. ฉันยาดองด้วยน้ามูตรเน่า ฯ

๓. สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์มีเท่าไร ? สิกขาบทว่าด้วยปาราชิกมีอะไรบ้าง ?

เฉลย มี ๒๒๗ สิกขาบท ฯ มี

๑. เสพเมถุน

๒. ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสก

๓. ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย

๔. ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม (คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์) ที่ไม่มีในตน ฯ

๔. ในอทินนาทานสิกขาบท กำหนดราคาทรัพย์ เป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง ?

เฉลย ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสก ขึ้นไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก

ทรัพย์มีราคาต่ำกว่า ๕ มาสก แต่สูงกว่า ๑ มาสก เป็นวัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัย

ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสก ลงไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ ฯ

๕. ภิกษุโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกอย่างไร ภิกษุผู้โจทจึงต้องอาบัติสังฆาทิเสส ?

เฉลย ภิกษุโกรธเคือง แกล้งโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล และภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ฯ

๖. ภิกษุประพฤติอย่างไร ชื่อว่าประทุษร้ายตระกูล ?

เฉลย ประจบคฤหัสถ์ ฯ

๗. พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา ได้ในสมัย ใดบ้าง ?

เฉลย ในสมัยที่ภิกษุมีจีวรอันโจรลักไป หรือมีจีวรอันฉิบหายเสีย ฯ

๘. ภิกษุนำเก้าอี้ของสงฆ์ไปใช้ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไปจากที่นั้น พึงปฏิบัติอย่างไร ? ถ้าไม่ปฏิบัติ อย่างนั้น ต้องอาบัติอะไร ?

เฉลย พึงเก็บเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายแก่ผู้อื่น ฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

๙. ในการรับบิณฑบาต ภิกษุพึงปฏิบัติอย่างไรจึงถูกต้องตามเสขิยวัตร ? จงตอบมาเพียง ๒ ข้อ

เฉลย รับโดยเคารพ แลดูแต่ในบาตร รับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก รับแต่พอเสมอขอบ ปากบาตร ฯ (เลือกตอบเพียง ๒ ข้อ)

๑๐. การเถียงกันด้วยเรื่องอะไรจึงจัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ ?

เฉลย การเถียงกันว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ฯ

การรับบิณฑบาตภิกษุพึงปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามเสขิยวัตร

รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ.
ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร.
รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป).
รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร.
ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ.
ในขณะฉันบิณฑบาต แลดูแต่ในบาตร.
ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง).
ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป.

เสขิยวัตรคืออะไรภิกษุไม่ปฏิบัติตามต้องอาบัติอย่างไร

เสขิยวัตรสำคัญอย่างนี้ คือ เป็นวัตรที่ภิกษุสามเณรต้องศึกษาให้รู้ธรรมเนียมกิริยามารยาท ในเวลาเข้าบ้าน รับบิณฑบาต และฉันอาหาร เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้โลกติเตียน และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ต้องอาบัติทุกกฏ เหตุที่ตอบอย่างนี้ เพราะข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามก็ดี ทรงอนุญาตก็ดี เมื่อไม่ปฏิบัติ ...

เสขิยวัตร มีความสําคัญอย่างไร

เสขิยวัตร เป็นส่วนหนึ่งของวินัยบัญญัติของภิกษุ (ศีล 227 ข้อ) กล่าวคือ วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา จัดเป็น 4 หมวด ได้แก่ สารูป(ว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศในการประพฤติปฏิบัติต่อชุมชน) มี 26 ข้อ โภชนปฏิสังยุต(ว่าด้วยการฉันอาหาร) มี 30 ข้อ ธัมมเทสนาปฏิสังยุต(ว่าด้วยการแสดงธรรม) มี 16 ข้อ

ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตรนั้นต้องอาบัติอะไร

๒. ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร ปฏิบัติผิดธรรมเนียมไป ต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๕๖) ตอบ : ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ ๓. ในเสขิยวัตรมีสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้ภิกษุช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมโดยอนุโลมไว้อย่างไร? (๒๕๕๕) ตอบ : ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ และบ้วนน้ำลายลงในของเขียว และในน้ำ ฯ