ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

ในโลกนี้มีหลายบริษัทที่ถูกยกย่องว่าเป็นบริษัทที่ยอดเยี่ยมและมีอำนาจมาก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ 10 กิจการระดับโลกที่มีอำนาจล้นมือกันว่าทำธุรกิจอะไรกันบ้างครับ

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

1) ALPHABET INC.

เจ้าของ GOOGLE, Search Engine ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นเจ้าของ Youtube, Google Chrome, Google Maps และ Android อีกด้วย

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

2) DISNEY

เจ้าของสวนสนุกยักษ์ใหญ่และธุรกิจบันเทิง ซึ่งรวมถึง MARVEL และ History Channel

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

3) MONSANTO

ผู้ผูกขาดตลาดเมล็ดพันธุ์ในสหรัฐฯ และเป็นผู้ผลิตข้าวโพด 80% ในสหรัฐฯ อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการกีดกันคู่แข่งอย่างรุนแรง

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

4) ICBC

ธนาคารจากจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งยังไล่ซื้อหุ้นของหลายธนาคารทั่วโลกให้มาเป็นบริษัทย่อยของตัวเองอีกด้วย

เราได้มีการรวบรวมรายชื่อ 10 ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกไว้ กดที่ลิ้งก์ข้างล่างเพื่ออ่านได้เลยครับ

https://www.finnomena.com/z-admin/10-richest-banks/

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

5) PEARSON

สำนักพิมพ์เกี่ยวกับการศึกษาที่เป็น Monopoly ในตลาดการศึกษา เราจะเห็น Textbook หรือหนังสือเรียน ภายใต้ชื่อ PEARSON เยอะมากเพราะถือว่าเป็นผู้ผูกขาดในตลาดนี้ ซึ่งในสหรัฐฯ เราจะเห็นหนังสือเรียนยี่ห้อ PEARSON มากมาย แถมยังมีครูที่ผ่านการฝึกจาก PEARSON เพื่อสอนหนังสือของ PEARSON เองอีกด้วย บริษัทสามารถขึ้นราคาหนังสือได้อย่างไม่มีจำกัดเพราะไม่มีคู่แข่ง

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

6) PFIZER

บริษัทผลิตยาที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างยี่ห้อสินค้าสุขภาพอย่างน้ำยาบ้วนปาก Listerine บริษัทนี้ได้แอบใช้อำนาจในฐานะผู้นำตลาดเพื่อขึ้นราคายารักษาโรคลมบ้าหมู 2,600% ในคืนเดียว

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

7) INBEV

เจ้าของโรงเบียร์ที่มีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ถึง 46% และเป็นเจ้าของเบียร์ยี่ห้อ Budweiser และ Corona เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่เวลาเราซื้อเบียร์ เรากำลังช่วยให้รายได้ของบริษัทผลิตน้ำเมาแห่งนี้รวยขึ้น

เราได้มีข้อมูลรวบรวมยี่ห้อเบียร์ที่ขายดีที่สุดในโลกไว้ด้วย กดที่ลิ้งก์ข้างล่างเพื่ออ่านได้เลยครับ

https://www.finnomena.com/nattawattae/beer-ranking-2016/

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

8) Quanta Computer

ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ให้กับ APPLE, DELL, TOSHIBA, HP และมีส่วนแบ่งตลาดโน้ตบุ๊กถึง 31%

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

9) Lockheed Martin

ผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งยังเป็นผู้รับเหมาให้รัฐบาลของสหรัฐฯ โดยได้งบ 10% จาก Pentagon นอกจากนี้ยังเป็น Supplier รายใหญ่ให้กับหลายประเทศทั่วโลก อย่าง เยอรมนี ญี่ปุ่น อินเดีย รวมแถมยังเป็นผู้สนับสนุนให้กับนักการเมืองหลายคนที่มีนโยบายเพิ่มอาวุธอีกด้วย

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

10) Nestle

บริษัทผลิตอาหารยักษ์ใหญ่ของโลก ผู้ผลิตช็อกโกแลตยี่ห้อ KITKAT รวมถึงอาหารสุนัขและอาหารเด็ก นอกจากนี้แล้วยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Loreal บริษัทเครื่องสำอางที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 2013 Nestle ได้กีดกันแหล่งน้ำในประเทศปากีสถานเพื่อผลิตน้ำภายใต้ยี่ห้อของบริษัท

10 อันดับธุรกิจไทยที่ลงทุนในต่างประเทศมากที่สุด

Jun 19, 2017 | อ่าน 27,733

Outward Foreign Direct Investment หรือ การออกไปลงทุนในต่างประเทศ คือ การที่นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในธุรกิจต่างประเทศ ทั้งการเปิดสาขาและออกไปซื้อกิจการในต่างประเทศ การออกไปลงทุนในต่างประเทศจะเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจภายในประเทศให้สามารถเติบโตได้อีกช่องทางหนึ่ง

TerraBKK Research ได้รวบรวมข้อมูลการลงทุนในต่างประเทศของไทยว่าเงินทุนส่วนใหญ่ที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอะไรบ้างโดยการลงทุนของไทยในต่างประเทศสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายอุตสาหกรรมด้วยกัน จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) แบ่งกลุ่มธุรกิจได้ ดังนี้

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

จากกราฟเราจะเห็นว่า ส่วนใหญ่แล้วเงินลงทุนต่างประเทศจะลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมากกว่าภาคการเกษตร โดยสามารถจำแนกได้เป็น อุตสาหกรรมเหมืองแร่มีสัดส่วนถึง 23.7% รองลงมาเป็นภาคการผลิต 23.2% และกิจกรรมเกี่ยวกับการเงินและการประกันภัย 12.9% ส่วนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ มีสัดส่วนเพียงแค่ 1.8% ถ้าเรามองเจาะลึกลงไปเฉพาะในภาคการผลิต (ภาพด้านล่าง)สัดส่วนเงินลงทุนจะอยู่ในส่วนของการผลิตอาหารถึง 35% และการผลิตเคมีภัณฑ์15% ของภาคการผลิต ตามลำดับ

ธุรกิจในต่างประเทศ มี อะไรบ้าง

(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

คงมีหลายคนสงสัยว่าบริษัทเหล่านี้เหตุใดถึงต้องออกไปลงทุนในต่างประเทศ ต่างประเทศมีอะไรดีและออกไปลงทุนเพื่ออะไร TerraBKK Research ได้รวบรวมเหตุผลไว้ ดังนี้

  • ขยายขนาดตลาด (Market Seeking) การออกไปลงทุนในต่างประเทศจะทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถออกไปทำตลาดยังต่างประเทศได้และนักลงทุนสามารถใช้ต่างประเทศเป็นฐานผลิตเพื่อแสวงหาตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มของการเติบโตสูงอยู่ได้ การออกไปยังต่างประเทศจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สำคัญสำหรับตลาดในประเทศที่ค่อนข้างอิ่มตัว เพราะทำให้ตลาดไม่ได้กระจุกอยู่ภายในประเทศเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ได้กระจายออกไปยังต่างประเทศด้วยซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่กว่ามาก
  • แสวงหาประสิทธิภาพ (Efficiency Seeking) คือ การที่ผู้ประกอบการออกไปลงทุนในต่างประเทศที่มีศักยภาพ มีความสามารถ และมีความถนัดในการผลิตสินค้าประเภทนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลิตให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่เสมอ (Comparative Advantage)
  • แสวงหาวัตถุดิบและแรงงานที่ถูก จากทรัพยาธรรมชาติภายในประเทศไทยที่ค่อนข้างจำกัด บางครั้งการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตอาจจะไม่คุ้มค่าในระยะยาวทำให้การออกไปลงทุนในต่างประเทศเป็นทางออกที่ดีกว่า อีกทั้งการออกไปต่างประเทศก็เพื่อต้องสร้างฐานการผลิตในประเทศที่มีต้นทุนแรงงานราคาถูก เป็นการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้แก่ตัวเองด้วย
  • กระจายความเสี่ยง รักษาเสถียรภาพ จากที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบันความไม่แน่นอนทั้งเรื่อง ภัยธรรมชาติ การเมือง และเศรษฐกิจของแต่ละประเทศค่อนข้างอ่อนไหวมาก ทำให้การกระจายความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยต่างก็ออกไปลงทุนสร้างฐานการผลิตยังต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้งตัวตัวบริษัทเองและเป็นผลดีในทางอ้อมให้แก่ประเทศในการช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงถ้าหากประเทศเกิดวิกฤติขึ้น
  • แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การเข้าไปลงทุนในต่างประเทศบริษัทไทยสามารถเรียนรู้งาน เทคนิค กระบวนการผลิต การบริหารงานจากต่างประเทศซึ่งมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สิ่งที่จะได้กลับมาคือ ประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากภายในประเทศทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้พัฒนา ปรับปรุงการบริหารงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังนำความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาเผยแพร่ให้กับประเทศได้อีกด้วย - เทอร์ร่า บีเคเค

บทความโดย : TerraBKK ข่าวอสังหาฯ

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก


ติดตามเราผ่านทางไลน์
@TERRABKK

Discussion

Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.