การเขียนแสดงความคิดเห็น ม. 1

    ผู้เขียนควรใช้ภาษาอย่างสละสลวย กระชับ ชัดเจน มีการใช้สำนวนโวหารอย่างเหมาะสมกับเรื่อง นอกจากนั้น ยังต้องใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ตรงตามอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียน ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่แสดงอารมณ์รุนแรง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งภายหลัง

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

       การเขียนแสดงความคิดเห็น หมายถึง  การเขียนที่ประกอบด้วยข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงกับการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ความคิดเห็นควรจะมีเหตุผลและเป็นไปในทางสร้างสรรค์การเขียนแสดงความคิดเห็นมักปรากฏในรูปของบทความตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ  เช่น  หนังสือพิมพ์  วารสาร  นิตยสาร เป็นต้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

   ท 2.1  ม.1/6   เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อที่ได้รับ

จุดประสงค์การเรียนรู้
          1. รู้และเข้าใจหลักการเขียนแสดงความคิดเห็น

          2. เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อที่ได้รับ

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

- สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล

- ประเมินใบงานการเขียนแสดงความคิดเห็น

2. เครื่องมือ

- แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล             

- ใบงานการเขียนแสดงความคิดเห็น

3. เกณฑ์

ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป