ข้อสอบ ทักษะ วิทยาศาสตร์ ม ต้น

เนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ในชั้นม.ต้น ส่วนใหญ่จะถูกนำไปต่อยอดในวิชาฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยาที่น้องๆจะได้เรียนกันตอนม.ปลายด้วย เพราะฉะนั้นถ้าน้องๆเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ การเรียนตอนม.ปลายก็จะไม่ยากจนเกินไปนัก เรามาดูกันว่าแนวข้อสอบวิชาวิทยาศาตร์ ม.1 ทั้งเทอม 1 และเทอม จะเป็นยังไง

Show

แนวข้อสอบวิทยาศาตร์ ม.1 เทอม 1

วิชาวิทยาศาสตร์ม.1 เทอม 1 เราจะได้เริ่มปูพื้นฐานตั้งแต่กระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กันเลยทีเดียว แม้ว่าข้อสอบไม่ได้เน้นบทนี้มากนัก แต่ก็ทำให้เราได้เห็นถึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ว่ามีมีการสร้างองค์ความรู้ต่างๆขึ้นมาได้อย่างไร นอกจากนี้ยังได้มาทำความรู้จักกับสารบริสุทธิ์ ซึ่งในบทนี้เริ่มมีการคำนวณเข้ามาแล้ว อาศับความเข้าใจแต่ยังไม่ซับซ้อน และเรายังได้เรียนเรื่องหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงการดำรงชีวิตของพืชอีกด้วย 

ตัวอย่างแนวข้อสอบ “เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร”พร้อมเฉลย

  1. วิทยาศาสตร์มีความหมายว่าอย่างไร

ตอบ วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ที่ได้จากการสังเกต ค้นคว้า ศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าถูกต้องเป็นความจริง จนได้เป็นหลักฐานและเหตุผล และนำข้อมูลต่างๆเหล่านั้น มาจัดอย่างเป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่


  1. การสังเกตของนักวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดสิ่งใดเป็นอันดับแรก

ตอบ ปัญหา 


  1. กระบวนการวิทยาศาตร์มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ตอบ 1. การสังเกตและระบุปัญหา

2. การตั้งสมมติฐาน

3. วางแผนและการสำรวจหรือการทดลองและการเก็บข้อมูล

4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างคำอธิบาย

5. การสรุปผลและสื่อสาร 


  1. ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีอะไรบ้าง

ตอบ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย


  1. สมมติฐานทางวิทยาศาสตร์จะเปลี่ยนเป็นทฤษฎีเมื่อใด

ตอบ เมื่อสมมติฐานนั้นมีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงทุกครั้ง


ตัวอย่างแนวข้อสอบ “สารบริสุทธิ์”พร้อมเฉลย

  1. นำของเหลว 3 ชนิดไปให้ความร้อนและบันทึกผลอุณหภูมิทุกๆ หนึ่งนาที จากนั้นนำข้อมูลมาเขียนกราฟความสัมพันธ์ ระหว่างการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสารกับเวลา ได้ดังนี้

( ใส่รูป 1 ) 

ข้อใดสรุปถูกต้อง 

ก. สาร A เป็นสารผสม ส่วนสาร B และ C เป็นสารบริสุทธิ์

ข. สาร C เป็นสารบริสุทธิ์ ส่วนสาร A และ B เป็นสารผสม

ค. สารทั้งสามชนิดเป็นสารบริสุทธิ์

ง.  สารทั้งสามชนิดเป็นสารผสม 

ตอบ ตอบ ข.  สาร C เป็นสารบริสุทธิ์ ส่วนสาร A และ B เป็นสารผสม

เพราะการทดลองนี้นำสารทั้งสามชนิดไปให้ความร้อน เพื่อสังเกตอุณหภูมิและจุดเดือด จากบทเรียน เรารู้แล้วว่าสารบริสุทธิ์นั้น เมื่อถึงจุดเดือดอุณหภูมิจะคงที่ ซึ่งแตกต่างจากสารผสม ถึงแม้ว่าจะถึงจุดเดือดแล้วก็ตาม อุณหภูมิก็จะยังไม่คงที่ จากกราฟจะเห็นว่า 

สาร A อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นสารผสม

สาร B อุณหภูมิก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่คงที่ จึงจัดเป็นสารผสมเช่นกัน

สาร C อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวินาทีที่ 14 เป็นต้นไปอุณหภูมิหยุดและคงที่ที่  60 องศาเซลเซียส 

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สาร C เป็นสารบริสุทธิ์ ส่วนสาร A และ B เป็นสารผสม 


  1. พิจารณาข้อมูลจากกราฟแล้วตอบคำถาม 

( ใส่รูป 2 ) 

ถ้านำวัตถุทั้งสามชนิดหย่อนลงในน้ำมันพืชที่มีความหนาแน่น 0.90 g/cm3 วัตถุชนิดใดลอยในน้ำมันพืชได้ 

ก. A และ B 

ข. A และ C

ค. B และ C

ง. A B และ C

ตอบ ข้อ B และ C 

จากข้อมูลที่โจทย์ให้ ความหนาแน่นของน้ำมันพืช คือ 0.90 g/cm3 ถ้าความหนาแน่นของวัตถุมีมากกว่าน้ำมันพืชจะจมน้ำมัน แต่ถ้าความหนาแน่นของวัตถุน้อยกว่าจะลอยน้ำมัน จากกราฟเราสามารถคำนวณความหนาแน่นของวัตถุได้โดยใช้สูตร D=MV  ซึ่งความหมายของตัวย่อแต่ละตัว คือ 

D หมายถึง ความหนาแน่น

M หมายถึง มวล (กรัม)

V หมายถึง ปริมาตร (ลูกบาศก์เซนติเมตร)

( ใส่รูป 3 ) 

ความหนาแน่นของสาร A =  1g.0.8 cm3= 1.25 g/cm3 

ดังนั้น ความหนาแน่นของสาร A มากกว่าน้ำมัน จึงจมน้ำมัน

ความหนาแน่นของสาร B =  2g.2.8 cm3= 0.71 g/cm3

ดังนั้น ความหนาแน่นของสาร B น้อยกว่าน้ำมัน จึงลอยในน้ำมัน

ความหนาแน่นของสาร C =  3g.3.8 cm3=0.79 g/cm3

ดังนั้น ความหนาแน่นของสาร C น้อยกว่าน้ำมัน จึงลอยในน้ำมัน

สรุปจากกราฟจึงได้ว่า สาร B และ C  ลอยในน้ำมันได้


  1. จากตารางต่อไปนี้ สารตัวใดเป็นสารประกอบและสารตัวใดเป็นธาตุ
    ( ใส่รูป 4 ) 

ตอบ ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยธาตุหรือสารชนิดเดียว ส่วนสารประกอบ คือ สารที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ ๒ ธาตุขึ้นไปมารวมตัวกันโดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี และมีอัตราส่วนผสมคงที่เสมอ

จากตารางจึงสรุปได้ว่า 

สารประกอบ ได้แก่ กรดน้ำส้ม, แมกนีเซียมคลอไรด์, ปูนขาวหรือแคลเซียมออกไซด์

ธาตุ ได้แก่ โอโซน, แก๊สคลอรีน, แก๊สฮีเลียม, เงิน


  1. ธาตุในแต่ละกลุ่มมีสมบัติทางกายภาพเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร จงเขียนอธิบายโดยใช้แผนภาพเวนน์ 

ตอบ สมบัติของโลหะ อโลหะและกึ่งโลหะเป็นดังแผนภาพ
( ใส่รูป 5 ) 


  1. การผลิตกระป๋องน้ำอัดลมโดยการรีไซเคิลอลูมิเนียม ใช้พลังงานน้อยกว่าการผลิตกระป๋องจากแร่ที่สกัดใหม่ถึง 20 เท่า แนวทางการนำธาตุอลูมิเนียมโดยการใช้วัสดุรีไซเคิล เป็นผลดีต่อมนุษยชาติอย่างไร 

ตอบ เป็นผลดี เพราะใช้พลังงานน้อยกว่า จึงเป็นการประหยัดพลังงาน ต้นทุนและทรัพยากรธรรมชาติ และยังลดการเกิดขยะจากการผลิตกระป๋องอลูมิเนียมสกัดใหม่ 


ตัวอย่างแนวข้อสอบ “หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต” และ “การดำรงชีวิตของพืช”พร้อมเฉลย

( ใส่รูป 6 ) 

  1. ส่วนประกอบใดของเซลล์ที่พบทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

ก. นิวเคลียส

ข. ผนังเซลล์

ค. คลอโรฟิลล์

ง. คลอโรพลาสต์

ตอบ  ข้อ ก. นิวเคลียส เพราะพบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ส่วนผนังเซลล์, คลอโรฟิลล์และคลอโรพลาสต์พบได้เฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น


  1. การลำเลียงน้ำของพืช เรียงลำดับขั้นตอนอย่างไร

ตอบ น้ำ —> ขนราก —> ไซเล็ม(ท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ) —> เส้นใบ —> ปากใบ (คายน้ำ)


  1. พิจารณาสมการการสังเคราะห์ด้วยแสง
    ( ใส่รูป 7 ) 

ข้อใดกล่าวถึงแก๊ส A และ B ได้ถูกต้อง

ก. แก๊ส A ทำให้ติดไฟ, แก๊ส B ทำให้น้ำปูนใสขุ่น

ข. แก๊ส A ทำให้น้ำปูนใสขุ่น, แก๊ส B ได้จากการหายใจของสัตว์

ค. แก๊ส A ทำให้น้ำปูนใสขุ่น, แก๊ส B ใช้การหายใจของพืช

ง. แก๊ส A ทำให้ติดไฟ, แก๊ส B ใช้การหายใจของสัตว์

ตอบ ข้อ 3 แก๊ส A ทำให้น้ำปูนใสขุ่น, แก๊ส B ใช้การหายใจของพืช

เพราะในกระบวนการสังเคราะห์แสง แก๊สที่เกี่ยวข้องคือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (แก๊ส A) และแก๊สออกซิเจน (แก๊ส B) ซึ่งคุณสมบัติของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คือ ทำให้น้ำปูนใสขุ่น, ได้จากการหายใจของสัตว์ ส่วนคุณสมบัติของออกซิเจน คือ ทำให้ติดไฟ, ใช้ในกระบวนการหายใจของพืชและสัตว์


  1. ออร์แกเนลล์ในข้อใดทำหน้าที่ควบคุมปริมาณและชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ 

ก. ผนังเซลล์

ข. นิวเคลียส

ค. เยื่อหุ้มเซลล์

ง. เยื่อหุ้มนิวเคลียส

ตอบ ค. เยื่อหุ้มเซลล์ 

  • ผนังเซลล์มีประโยชน์ คือ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์ 
  • นิวเคลียสเป็นส่วนเก็บสารพันธุกรรม ได้แก่ DNA และ RNA 
  • เยื่อหุ้มนิวเคลียส ใช้สำหรับส่งออกสารจำพวก DNA และ RNA ออกนอกเซล์

  1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช

ก. การตอบสนองจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เสมอ

ข. การบานของดอกยังไม่เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

ค.การตอบสนองของพืชบางครั้งอาจไม่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต

ง. กลไกการตอบสนองจะต้องเกิดการเพิ่มจำนวนของเซลล์เสมอ

ตอบ ข้อ ค. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและการคงอยู่ ไม่เสมอไปที่การตอบสนองจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต

ข้ออื่นผิดเนื่องจาก

ก. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช เช่น ทันทีที่เราสัมผัสต้นไมยราบ มันจะรีบหุบใบทันที เป็นการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว 

ข. ดอกบัวมีการบานตอนกลางวันและหุบตอนกลางคืน ถือเป็นการตอบสนองต่อแสงที่ได้รับ

ง. ถึงแม้ว่าในบางครั้งเซลล์ไม่มีการเพิ่มจำนวนก็ตาม แต่เมื่อได้รับสิ่งเร้าก็จะทำให้พืชนั้นมีกลไกการตอบสนองเกิดขึ้น


  1. พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ ข้อใดเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

ก. ดำ นำหน่อกล้วยมาปลูก

ข. แดง นำไหลบัวมาปลูก

ค. โด่ง นำต้นมะม่วงที่ไม่มีรากแก้วมาปลูก

ง. ดี นำเม็ดพริกขี้หนูที่เหลือจากการรับประทานมาปลูก 

ตอบ  ข้อ ง. การนำเม็ดพริกมาปลูก เป็นการเพาะเมล็ด ซึ่งถือเป็นการขยายพันธ์ุแบบอาศัยเพศนั่นเอง 

  • การนำหน่อกล้วยมาปลูก เป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 
  • การนำไหลบัวมาปลูก คือ การนำหน่อหรือต้นอ่อนจากต้นเดิมมาปลูก จึงเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
  • การนำต้นมะม่วงที่ไม่มีรากแก้วมาปลูก เป็นการตอนกิ่ง ซึ่งเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเช่นกัน

  1. ข้อใดต่อไปนี้เป็นผลจากกระบวนการออสโมซิส

ก. การเติมน้ำตาลลงไปในนม ทำให้นมมีรสหวาน

ข. การแช่ถุงชาในน้ำร้อน ทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ค. การแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนระหว่างหลอดเลือดฝอยและอวัยวะ

ง. การแช่เนื้อเยื่อของเซลล์ผักกาดในสารละลายกลูโคส ทำให้เซลล์เหี่ยว

ตอบ ข้อ ง. การแช่เนื้อเยื่อของเซลล์ผักกาดในสารละลายกลูโคส ทำให้เซลล์เหี่ยว 

ออสโมซิส (osmosis) คือ การแพร่ของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน จากบริเวณที่มีปริมาณอนุภาคน้ำมาก ไปสู่บริเวณที่มีปริมาณอนุภาคน้ำน้อยกว่า หรือการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน จากสารละลายที่มีความเข้มข้นน้อย ไปสู่สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่า ดังนั้นการแช่เนื้อเยื่อของเซลล์ผักกาดในสารละลายกลูโคส ทำให้เซลล์เหี่ยว จึงถือเป็นกระบวนการออสโมซิส เพราะมีการแพร่กระจายของน้ำจากภายในสู่ภายนอกเซลล์ 


  1. เมื่อนำชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตหนึ่งมาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าเซลล์มีส่วนประกอบดังนี้ ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม คลอโรพลาสต์และนิวเคลียส เพราะฉะนั้นชิ้นส่วนที่นำมาศึกษานี้ควรเป็นเซลล์ใด

ก. เซลล์ของไฮดรา

ข. เซลล์ของอะมีบา

ค. เซลล์ของเยื่อบุข้างแก้ม

ง. เซลล์ของสาหร่ายหางกระรอก

ตอบ ข้อ ง.เซลล์ของสาหร่ายหางกระรอก เพราะเป็นเซลล์ของพืช

เพราะส่วนประกอบที่พบ มีผนังเซลล์อยู่ด้วย ซึ่งผนังเซลล์จะพบเฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น ดังนั้น เซลล์ของไฮดรา อะมีบาและเยื่อบุข้างแก้มของมนุษย์ ถือเป็นเซลล์สัตว์ จึงไม่มีผนังเซลล์อยู่ด้วย 


แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ม.1 เทอม 2

วิทยาศาสตร์ ม.1 เทอม 2 ก็จะเข้าสู่เรื่องพลังงานความร้อน ซึ่งในบทนี้ น้องๆจะได้ใช้ทักษะการคำนวณค่อนข้างเยอะเลยนะ ต้องพยายามทำความเข้าใจไปทีละสเต็ป และยังมีเรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ เนื้อหาบทนี้ค่อนข้างเยอะ และอาศัยความเข้าใจพอสมควร แต่รับรองว่าถ้าทุกคนตั้งใจ ไม่เกินความสามารถแน่นอน 

ตัวอย่างแนวข้อสอบ “พลังงานความร้อน”พร้อมเฉลย

  1. ต้องให้ปริมาณความร้อนแก่น้ำกี่แคลอรี เพื่อทำให้น้ำที่มีมวล 100 กรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก  20 องศาเซลเซียสเป็น  60 องศาเซลเซียส

วิธีทำ จากโจทย์ทำให้เรารู้ว่า น้ำ 100 กรัม อุณหภูมิ 20℃ จะเปลี่ยนไปเป็นน้ำ 100 กรัม อุณหภูมิ 60℃

( ใส่รูป 8 )  


  1. จงหาปริมาณความร้อนที่น้ำมวล 100 กรัม สูญเสียไป เมื่ออุณหภูมิลดลงจาก 60℃ เป็น 20℃

วิธีทำ จากโจทย์ทำให้เรารู้ว่า น้ำ 100 กรัม อุณหภูมิ 60℃ เปลี่ยนเป็น น้ำ 100 กรัม อุณหภูมิ 20℃ 

( ใส่รูป 9 ) 


  1. เครื่องทำนำ้อุ่นให้ความร้อนวินาทีละ 1,000 แคลอรี เมื่อส่งน้ำมวล 2,000 กรัม อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เข้าไปในเครื่องทำน้ำอุ่นเป็นเวลา 20 วินาที น้ำที่ออกจากเครื่องทำน้ำอุ่นจะมีอุณหภูมิกี่องศาเซลเซียส

วิธีทำ ( ใส่รูป 10 ) 

จากโจทย์ทำให้เรารู้ว่า


  1. สารชนิดหนึ่งมีมวล 2 กิโลกรัม มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อนทั้งหมด 14,000 กิโลแคลอรี โดยที่ค่าความจุความร้อนจำเพาะของสารเท่ากับ 280 กิโลแคลอรีต่อกรัม อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงนี้มีค่าเท่าไหร่ 

วิธีทำ 

( ใส่รูป 11 ) 


  1. ถ้าต้องการผสมน้ำเพื่ออาบน้ำเด็กทารก โดยผสมน้ำเย็น มวล 3,500 กรัมที่ 30 องศาเซลเซียส เข้ากับน้ำร้อนมวล 1,000 กรัมที่ 70 องศาเซลเซียส จงหาอุณหภูมิผสมของน้ำอุ่น

วิธีทำ จากโจทย์เรารู้ว่า 

( ใส่รูป 12 ) 


ตัวอย่างแนวข้อสอบ “กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ”พร้อมเฉลย

  1. ความกดอากาศมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิอย่างไร 

ก. บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง จะมีความกดอากาศสูง

ข. บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง จะมีความกดอากาศต่ำ

ค. บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ จะมีความกดอากาศต่ำ

ง. บริเวณที่มีอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง จะมีความกดอากาศสูง

ตอบ ข้อ ข บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง จะมีความกดอากาศต่ำ

เนื่องจาก หย่อมความกดอากาศสูง อุณหภูมิจะต่ำ        

              หย่อมความกดอากาศต่ำ อุณหภูมิจะสูง


  1. กีฬาประเภทใดใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนที่ของอากาศ

ก. ยิงธนู

ข. วิ่งผลัด

ค. แบดมินตัน

ง. แข่งเรือใบ

ตอบ ง. แข่งเรือใบ

  • วิ่งผลัด ลมไม่มีผลกับการวิ่ง
  • ยิ่งธนูและแบดมินตัน ลมเป็นอุปสรรคในการเล่น ไม่ใช่ประโยชน์

  1. ถ้าต้องการทดสอบสมมติฐานว่า “อากาศในช่วงเวลา 12.00 – 13.00 น.ของแต่ละวันมอุณหภูมิสูงที่สุด” ข้อมูลในข้อใดสามารถใช้ทดสอบสมมติฐานได้ดีที่สุด 

ก. ช่วงเวลาในแต่ละวัน

ข. บริเวณต่างๆที่ใช้วัดอุณหภูมิ

ค. อุณหภูมิในแต่ละช่วงเวลาของวัน

ง. อุณหภูมิที่ระดับความสูงต่างๆจากผิวดิน

ตอบ ค. อุณหภูมิในแต่ละช่วงเวลาของวัน

เพราะโจทย์กล่าวถึงทั้งอุณหภูมิและช่วงเวลาของวัน เหมือนข้อ ค.


  1. ชาวประมงออกเรือหาปลาในเวลากลางคืนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างไร

ก. ความกดอากาศเหนือพื้นดินสูงกว่าเหนือพื้นน้ำ

ข. ความกดอากาศเหนือพื้นดินต่ำกว่าเหนือพื้นน้ำ

ค. อุณหภูมิอากาศเหนือพื้นดินสูงกว่าเหนือพื้นน้ำ

ง. อุณหภูมิและความกดอากาศเหนือพื้นดินต่ำกว่าเหนือพื้นน้ำ

ตอบ ก.ความกดอากาศเหนือพื้นดินสูงกว่าพื้นน้ำ 

ในตอนกลางคืนบริเวณพื้นดินจะคายความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ ลมจึงพัดจากฝั่งบกเข้าหาทะเลจึงเรียกว่า “ลมบก”

(พัดจากไหน ตั้งชื่อตามนั้น) แสดงว่าบนบกมีอุณหภูมิต่ำกว่า ดังนั้นกความกดอากาศเหนือพื้นดินจึงสูงกว่าพื้นน้ำ


  1. อาชีพใดที่ต้องอาศัยพลังงานลมมากที่สุด

ก. การเลี้ยงปลา

ข. การทำนากุ้ง

ค. การประมงนำ้จืด

ง. การทำสวนยางพารา

ตอบ ค. การประมงน้ำจืด

เนื่องจาก ในตอนกลางวัน พื้นดินดูดซับความร้อนได้มากกว่าพื้นน้ำ ดังนั้นอุณหภูมิพื้นดินจะสูงกว่าพื้นน้ำ และลมจะพัดจากบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่ามายังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า เรียกว่า “ลมทะเล” 

ในตอนกลางคืนบริเวณพื้นดินจะคายความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ ลมจึงพัดจากฝั่งบกเข้าหาทะเลจึงเรียกว่า “ลมบก” แสดงว่าบนบกมีอุณหภูมิต่ำกว่า ดังนั้นกความกดอากาศเหนือพื้นดินจึงสูงกว่าพื้นน้ำ

ชาวประมง ใช้ลมดังกล่าวในการออกเรือ เพื่อประหยัดพลังงาน

การเลี้ยงปลาในกระชัง ต้องอาศัยน้ำที่มาจากแม่น้ำ

การทำนากุ้ง หากเจอพายุก็จะเสียหาย

การทำสวนยางพารา จะเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ


เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับแนวข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ม.1 เทอม 1 และเทอม 2 ที่พี่เก็งมาแล้วว่าออกบ่อยแน่นอน ตอบถูกกันบ้างมั้ยคะ ใครทำไม่ได้อย่าเพิ่งท้อนะ อยากเรียนวิทยาศาสตร์ให้เก่ง ต้องทำความรู้จักรากศัพท์ หมั่นตั้งข้อสงสัย พยายามทำตามลำดับขั้นตอน ใช้จินตนาการและเวลาสรุปเนื้อหา ใช้ mind map ดูจะเข้าใจง่ายขึ้นเยอะเลย หรือถ้ามีตรงไหนไม่เข้าใจอีก ลองหาคอร์สเรียนวิทยาศาสตร์ ที่มีครูอธิบายเรื่องยากๆให้เราเข้าใจง่ายๆ ซึ่งมีเยอะแยะมากมาย รับรองว่าน้องๆจะเรียนวิทยาศาสตร์อย่างมีความสุขแน่นอน

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 14 ทักษะประกอบด้วยทักษะอะไรบ้าง

สร้างคำอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดหรือองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ประกอบด้วย 14 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปซกับเวลา ทักษะการใช้จำนวน ทักษะ ...

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 13 ทักษะมีอะไรบ้าง

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ได้แก่.
ทักษะการสังเกต.
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล.
ทักษะการจำแนกประเภท.
ทักษะการวัด.
ทักษะการใช้ตัวเลข.
ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล.
ทักษะการพยากรณ์.
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา.

ลักษณะ ที่ สําคัญ ของ นัก วิทยาศาสตร์ มี อะไร บ้าง

นักวิทยาศาสตร์เป็นคนที่ทำงานเป็นกระบวนการอย่างมีระบบ นอกจากนี้ ยังมีลักษณะนิสัย ช่างสังเกต, ช่างสงสัย, มีความอยากรู้อยากเห็น, มีความเป็นเหตุเป็นผล, มีความคิดริเริ่ม, มีความพยายาม และมีความอดทน ลักษณะสำคัญของนักวิทยาศาสตร์เหล่า นี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการค้นหาคำตอบต่าง ๆ

ทักษะการสังเกตใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อะไรบ้าง

1.ทักษะการสังเกต เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างใด อย่างหนึ่งหรือ ใช้หลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เพื่อค้นหาและบอกรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่สังเกต โดยที่ไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป