หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 5 แนวทางประกอบด้วยอะไรบ้าง

หลักการและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

วันพุธที่ 05 มีนาคม 2014 เวลา 14:10 น. แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 25 มีนาคม 2014 เวลา 14:28 น.

 หลักการและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ คือ การใช้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างชาญฉลาดและใช้ให้เกิดประโยชน์
หลักการและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีดังนี้

1. การถนอมรักษาคือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้คงสภาพทั้งปริมาณและคุณภาพเอาไว้โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กรณีแร่เหล็กแทนที่จะนำมาใช้โดยตรงก็นำไปผสมกับแร่ธาตุอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นเหล็กกล้า ซึ่งนอกจากจะลดปริมาณการใช้เนื้อเหล็กให้น้อยลงแล้วยังช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานออกไปอีกด้วย เป็นต้น

2. การบูรณะฟื้นฟูคือ การทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับคืนมาใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิมเช่น ดินที่นำมาใช้เพื่อการเพราะปลูกพืชชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้คุณภาพของดินเสื่อมลง การบูรณะฟื้นฟูจะทำได้โดยการใส่ปุ๋ยปลูกพืชคลุมดิน หรือพักหน้าดินไว้สักช่วงระยะหนึ่ง เป็นต้น

 

หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 5 แนวทางประกอบด้วยอะไรบ้าง

3.การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่า รีไซเคิล นอกจากการถนอมรักษาและการบูรณะฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติแล้ว การนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ใช้ไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ถือเป็นการอนุรักษ์อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งการอนุรักษ์ชนิดนี้จะทำได้ดีกับทรัพยากรน้ำและแร่ธาตุบางชนิด เช่น การนำเศษกระดาษ พลาสติก อลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่วทองแดง และเหล็กที่ทิ้งแล้วกลับมาหลอมหรือเปลี่ยนสภาพ ให้นำกลับมาใช้ได้อีก เป็นต้น

4.การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดจะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น น้ำที่ไหลลงมาตามลำน้ำ ถ้าหากสร้างเขื่อนขวางกั้นลำน้ำเพื่อยกระดับของน้ำให้เขื่อนสูงขึ้น แล้วนำพลังงานน้ำนั้นมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอีกวิธีหนึ่ง

 5. การนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทน การนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางชนิดอาจทำได้ เช่น การนำก๊าซธรรมชาติ มาใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งทำให้ประหยัดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

               

หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 5 แนวทางประกอบด้วยอะไรบ้าง

6. การสำรวจแหล่งทรัพยากรเพิ่มเติม เป็นการค้นหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การใช้เครื่องตรวจสอบรังสีในการสำรวจแร่ยูเรเนียม การใช้ระบบคลื่นแผ่นดินไหวเทียมเพื่อสำรวจหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นต้น

7. การประดิษฐ์ของเทียมขึ้นใช้ ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์สามารถผลิตของเทียมขึ้นใช้แทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ยางเทียม ไหมเทียม เป็นต้น ความสามารถดังกล่าวจึงช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดให้น้อย

           

หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 5 แนวทางประกอบด้วยอะไรบ้าง


ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ

                1. มีความสำคัญต่อการคงอยู่ของสิ่งมีชีวิต

           2. มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน

           3. มีอิทธิพลต่อลักษณะที่อยู่อาศัย

           4. เป็นตัวกำหนดลักษณะการดำรงชีวิตของมนุษย์

           5. มีความสำคัญต่อการเจริญรุ่งเรืองและความผาสุกของมนุษยชาติ

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

           1. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการกำเนิด การคงอยู่ และการพัฒนาสังคมมนุษย์

         2. ทรัพยากรธรรมชาติหมด ลดน้อย หรือเสื่อมโทรมได้

         3. การใช้ทรัพยากรโดยขาดการจัดการที่เหมาะสมจะทำให้เกิดมลพิษ

         4. ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติจะถูกทำลาย

แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

         1. หลักการอนุรักษ์

          หลักการที่ 1: การใช้แบบยั่งยืน  หลักการที่ 2: การพื้นฟูสิ่งเสื่อมโทรม   หลักการที่ 3: การสงวนของหายาก

       2. วิธีการอนุรักษ์ ประกอบด้วย 8 วิธีการด้วยกัน คือ

                1) การใช้ หมายถึงการใช้หลายรูปแบบ เช่น การบริโภคโดยตรง เห็น ได้ยิน/ได้ฟัง ได้สัมผัส การให้ความสะดวก และความปลอดภัย รวมไปถึงพลังงาน เหล่านี้ต้องใช้หลักการใช้แบบยั่งยืน

                2) การเก็บกัก หมายถึง การรวบรวมและเก็บกักทรัพยากรที่มีแนวโน้มที่จะขาดแคลนในบางเวลาหรือคาดว่าจะเกิดวิกฤตการณ์เกิดขึ้น บางครั้งอาจเก็บกักเอาไว้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในปริมาณที่สามารถควบคุมได้

                3) การรักษา/การซ่อมแซม หมายถึง การดำเนินการใดๆ ต่อทรัพยากรที่ขาดไป/ไม่ทำงานตามพฤติกรรม/เสื่อมโทรม/เกิดปัญหา เป็นจุด/พื้นที่เล็กๆ สามารถให้ฟื้นคืนสภาพเดิมได้ อาจใช้เทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น ช่วยให้ดีเหมือนเดิมจนสามารถนำไปใช้ได้

                4) การฟื้นฟู หมายถึง การดำเนินการใดๆ ต่อทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้สิ่งเหล่านั้นเป็นปกติ สามารถเอื้อประโยชน์ต่อไป ซึ่งการฟื้นฟูต้องใช้เวลาและเทคโนโลยีเข้าช่วยด้วยเสมอ

                5) การพัฒนา หมายถึง การทำสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น การที่ต้องพัฒนาเพราะต้องการเร่งหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดผลผลิตที่ดีขึ้น การพัฒนาที่ถูกต้องนั้น ต้องใช้ทั้งความรู้ เทคโนโลยี และการวางแผนที่ดี

                6) การป้องกัน หมายถึง การป้องกันสิ่งที่เกิดขึ้นมิให้ลุกลามมากกว่านี้ รวมไปถึงป้องกันบางสิ่งบางอย่างไม่ให้เกิดขึ้นอีกด้วย ซึ่งการป้องกันต้องใช้เทคโนโลยีและการวางแผน เช่นเดียวกับวิธีการอนุรักษ์อื่นๆ

                7) การสงวน หมายถึง การเก็บไว้โดยไม่แตะต้องหรือนำไปใช้ด้วยวิธีใดๆก็ตาม การสงวนอาจกำหนดเวลาที่เก็บไว้โดยไม่ให้มีการแตะต้องตามเวลาที่กำหนดไว้ก็ได้

                8) การแบ่งเขต หมายถึง ทำการแบ่งเขตหรือกลุ่ม/ประเภท ตามสมบัติของทรัพยากร สาเหตุที่สำคัญเพราะวิธีการให้ความรู้ หรือกฎระเบียบที่นำมาใช้นั้นไม่ได้ผล หรือต้องการจะแบ่งเขตให้ชัดเจนเพื่อให้การอนุรักษ์ได้ผล เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมืองควบคุมมลพิษ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการแบ่งเขตนี้จะต้องมีการสร้างมาตรการกำกับด้วยมิฉะนั้นแล้วจะไม่เกิดผล

ทรัพยากรป่าไม้

ความหมายของป่าและป่าไม้

         ป่า ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ครอบครองตามกฎหมายที่ดิน

         ป่าไม้ (Forest) หมายถึง บริเวณที่มีต้นไม้หลายชนิด ขนาดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

 สถานการณ์ป่าไม้ในประเทศ

         1 การสูญเสียพื้นที่ป่า

                ป่าไม้ของไทยลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อปี พ.ศ. 2481 ไทยมีป่าไม้ร้อยละ 72 ของพื้นที่ทั้งหมด และในปี พ.ศ. 2541 มีรายงานว่า เหลือเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น  โดยอุตสาหกรรมการทำไม้ทำให้ป่าลดลงถึงร้อยละ 30 ของสาเหตุทั้งหมด เมื่อวันที่ 19-21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เกิดฝนตกหนักที่บ้านกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ดินถูกน้ำกัดเซาะพังทลาย  ทำให้ซุงนับพันท่อนที่ถูกลักลอบตัดและกองไว้ตามเนินเขา ไหลลงถล่มหมู่บ้านและโรงเรียนอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ราษฎรเสียชีวิตประมาณ 460 คน และไร้ที่อยู่อีกนับพันคน  รัฐบาลจึงได้ประกาศยกเลิกสัมปทานการทำไม้ทั่วประเทศในต้นปี พ.ศ. 2532 

         2 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่าไม้ถูกทำลายในปัจจุบัน ได้แก่

                1) การลักลอบตัดไม้เพื่อแปรรูป

                2) การบุกรุกพื้นที่ป่า

                3) การเกิดไฟไหม้ป่า            
                4) การใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง

                5) การถูกโรคและแมลงทำลาย

                6) นโยบายและการพัฒนาประเทศ

การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

                การรักษาพื้นที่ป่า

                การใช้ป่าไม้อย่างถูกหลักการ

                การบูรณะป่าเสื่อมโทรมหรือการฟื้นฟูสภาพป่า

                การเพิ่มเนื้อที่ป่า

ทรัพยากรสัตว์ป่า

ความหมายของสัตว์ป่า

         สัตว์ป่า (Wildlife) ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 หมายถึง สัตว์ทุกชนิด ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ปีก และแมลงหรือแมง ที่เกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติอย่างเสรี รวมทั้งไข่ของสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะและลูกที่เกิดมาภายหลัง

ประโยชน์ของสัตว์ป่า

         ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

         ประโยชน์ทางด้านทางวิชาการ

         ประโยชน์ทางด้านความงดงามและคุณค่าทางวัฒนธรรม

         ประโยชน์ทางด้านนันทนาการ

         รักษาสมดุลของธรรมชาติ

สัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย

                ในปัจจุบันสัตว์ที่พบเฉพาะในประเทศไทยบางชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น เนื้อสมัน (Cervus schom- burgki) บางชนิดเป็นสัตว์ที่หาได้ยากและใกล้ที่จะสูญพันธุ์ เช่น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae) ในปัจจุบัน จำนวนของสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์มีเพิ่มขึ้น เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ 2532 รวบรวมได้ว่าในจำนวนพันธุ์สัตว์ทั้งหมดในประเทศไทย ประกอบด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 282 ชนิด จัดอยู่ใน 14 อันดับ 42 วงศ์ ชนิดที่มีมากที่สุด ได้แก่ ค้างคาวมี 110 ชนิด รองลงมาได้แก่สัตว์ฟันแทะมี 71 ชนิด ปลาน้ำจืด 650 ชนิด ปลาน้ำเค็ม 2,000 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 107 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 298 ชนิด นก พบในประเทศไทย 916 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นนกที่มีการผสมพันธุ์ในประเทศถึง 638 ชนิด อาจมีนกที่สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 190 ชนิด ส่วนชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์มีจำนวนถึง 93 ชนิด

สาเหตุที่ทำให้สัตว์สูญพันธุ์

            การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ

            การล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารและใช้ประโยชน์อื่นๆ

            การใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชในการเกษตร

            การกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

            การขาดการวางแผนที่จะอนุรักษ์พันธุ์สัตว์

การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า

         อนุรักษ์แหล่งอาศัย

         ดำรงและเพิ่มปริมาณสัตว์

         สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สัตว์ป่าแก่ประชาชน