ตัวอย่างบริการบน Cloud Computing มีอะไรบ้าง

3+1 Types of Cloud Computing Services (IaaS-PaaS-SaaS-FaaS)

Photo by Vladimir Anikeev on Unsplash

ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการคลาวด์ หรือที่เรียกกันว่า Cloud Provider อยู่มากกว่า 20 เจ้า แต่ที่เราคุ้นหูคุ้นตากันดีก็คงเป็นสามเจ้ายักษ์ใหญ่ ที่ติดอันดับเป็น “Big Three” ของวงการคลาวด์ นั่นก็คือ Amazon Web Service (AWS), Google Cloud Platform (GCP) และ Microsoft Azure ซึ่งแต่ละเจ้าก็จะให้บริการคลาวด์ที่แตกต่างกันไป

อ้อ! ขอย้ำว่า นี่เรากำลังพูดถึง “ประเภทบริการคลาวด์” ไม่ใช่ “ประเภทของคลาวด์” นะ

Cloud Computing Service Types

ทีนี้เรามาทำความรู้จักประเภทของ Cloud Service กันดีกว่า ซึ่งบางครั้งพวกฝรั่งเขาก็เรียกกันว่า Cloud Computing Stack เผื่อใครเอา keyword ไปใช้ research ต่อ โดยทั่วไปจะแบ่งประเภทบริการคลาวด์ออกเป็น 3+1 ประเภท

ทำไมต้องบวกหนึ่ง?
ก็เพราะว่า.. ถ้าเอาแบบหลักๆ จริงๆ ที่คนพูดถึงบ่อยๆ จะมีแค่ 3 ประเภทแรก ส่วนข้อสี่ที่บวกเพิ่มมานั้นเหมือนมันเป็นตัวย่อยแยกออกมาทีหลังนั่นเอง

Step ถัดไป เพื่อให้สมองเรียบเรียงเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เราต้องสร้างความคุ้นเคยกับชื่อ types ทั้งหมดก่อน โดยที่ยังไม่ต้องสนใจว่าแต่ละชื่อมันคืออะไร เริ่มค่ะ!!

  1. IaaS (Infrastructure as a Service)
  2. PaaS (Platform as a Service)
  3. SaaS (Software as a Service)
  4. FaaS (Functions as a Service)

อ่ะ! ก็ยังดูยาวๆ จำยากๆ อยู่ดีใช่มะ งั้นดูปาก thip นะคะ แล้วท่องตามวนไปค่ะ…

“ แอส-แพส-แซส-แฟส ”

“ แอส-แพส-แซส-แฟส ”

“ แอส-แพส-แซส-แฟส ”

Infra — Platform — Software — Function

บริการทั้งหมดนี้ ผู้ให้บริการคลาวด์บางเจ้า อาจจะเปิดทุก service ครอบคลุมทั้งสามสี่อย่างนี้ หรือบางเจ้าก็จะให้บริการแค่บางประเภท อันนี้ก็แล้วแต่เรา ว่าจะเลือกใช้บริการอะไร ของเจ้าไหน

source : en.wikipedia.org

Short Brief !!

ต่อไป สายย่อจะขอบรีฟใจความสำคัญสั้นๆ ของคลาวด์แต่ละประเภท ให้พอมองภาพออก

IaaS

  • เป็นบริการสายงาน Operation ล้วนๆ
  • อย่างพวก Server, Storage, VM, Network
  • ตัวอย่างผู้ให้บริการ: AWS, Microsoft Azure

PaaS

  • เป็นบริการสายงาน Development
  • ใช้ในการพัฒนาระบบ, ทดสอบระบบ, deploy ระบบทั้ง web/app/mobile ได้หมด
  • บริการที่มีให้ได้แก่ Web Server, Database, development runtime ต่างๆ
  • ตัวอย่างผู้ให้บริการ: AWS, Oracle Cloud, GCP, Azure, OpenShift, IBM Cloud

SaaS

  • เป็นบริการสำหรับ User
  • เน้นใช้งาน พูดง่ายๆ ก็ซอฟต์แวร์ทุกชนิดที่ออนไลน์อยู่บนคลาวด์
  • เช่น Office365, Google Doc, Webex

FaaS

  • เป็นบริการระดับ Function
  • คือมีแค่การทำงาน scope สั้นๆ เพียงอย่างเดียว เปิดรอไว้ให้ใครมาเรียกไปใช้งาน
  • เหมือนยก function ของ javascript ไป deploy อยู่บน cloud พอนึกภาพออกไหม๊คะ?
  • เช่น Google Cloud Function, Amazon Lambda

โดย cloud provider แต่ละเจ้าก็จะมี products ยิบย่อยและเยอะมากกก ชื่อผลิตภัณฑ์แต่ละเจ้าก็จะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น Web Server ของ AWS จะชื่อ “EC2” แต่ถ้าเป็นของ Microsoft Azure จะชื่อ “App Service” ประมาณนี้

สรุป

สำหรับใครที่อ่านจบแล้ว แต่รู้สึกยังจำอะไรไม่ได้เท่าไหร่ เราแนะนำให้กลับมาอ่านวนไปวันละ 1 รอบ แล้วเลือกจำทำความเข้าใจแค่ครั้งละ 1 service

แต่ถ้าใครอ่านรอบเดียวแล้วรู้เรื่องงง นั่นแปลว่าเราบรีฟได้ดีมากกก555+ ไม่ต้องอ่านซ้ำแล้วก็ด่ะ แต่ก่อนออกไปกด clapsss ให้เรารู้หน่อย จะได้หาอะไรมาบรีฟบ่อยๆ เนอะ!

ตัวอย่างบริการบน Cloud Computing มีอะไรบ้าง

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) หลายท่านที่ดำเนินธุรกิจหรืออยู่ในองค์กรต่างๆ อาจจะเคยได้ยินการบริการคลาวด์คอมพิวติ้งกันมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อยว่าเป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายทั้งในธุรกิจ Startup SMEs หรือ องค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่

เนื่องจากการมีระบบคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานในองค์กรแบบเดิมๆ จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ทั้งโดยเฉพาะฮาร์ดแวร์ที่ส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานอยู่ประมาณ 5 ปี จากนั้นต้องทะยอยเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เริ่มเสื่อมสภาพลง จากปัญหาเหล่านี้จึงทำให้คลาวด์คอมพิวติ้งเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจในแง่มุมของความคุ้มค่า ง่ายต่อการบำรุงรักษา มีระบบรักษาความปลอดภัยที่จะช่วยป้องกันการถูกโจมตีจากภายนอกได้ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากในองค์กร และสามารถเลือกสเป็คตามความต้องการในการใช้งานจริงขององค์กรได้อีกด้วย

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) คือ บริการเช่าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และทรัพยากรแบบครบวงจร โดยสามารถเลือกเช่าฮาร์ดแวร์และ/หรือซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย(Server) การติดตั้งฐานข้อมูล(Database) การทดสอบระบบ(Testing)การประมวลผลที่รองรับได้หลากหลายระบบปฏิบัติการ(Platform) ตลอดจนถึงการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของผู้ใช้บริการ(Storage)

ทั้งหมดนี้เป็นบริการผ่านทางออนไลน์จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาที่ต้องการและสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้เพียงแค่อาศัยการเข้าถึงผ่านระบบอินเทอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น PC Notebook มือถือ หรือ Tablet และสามารถแชร์การทำงาน (shared services) ร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อีกด้วย โดยที่ผู้ให้บริการ (Cloud Provider) จะคอยจัดการระบบทุกอย่างที่ผู้ใช้งานต้องการให้รวมถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยด้วย โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์(Software) นอกจากนั้นยังไม่ต้องติดตั้งหรือวางระบบเครือข่ายเอง เพื่อช่วยลดความรับผิดชอบในการดูแลระบบและลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ค่อนข้างสูงได้ และอีกทั้งยังสามารถเลือกปรับเปลี่ยนระบบตามการใช้งานจริงได้หากเดือนไหนต้องการใช้งานน้อยลงก็สามารถเลือกลดสเป็คลงมาค่าใช้บริการในเดือนนั้นก็จะลงไปด้วย

Cloud Computing Service มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างบริการบน Cloud Computing มีอะไรบ้าง

บริการของคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing Service) สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่

  1. IaaS (Infrastructure as a service) ผู้ใช้งานเช่าแค่อุปกรณ์ด้านฮาร์ดแวร์ เช่น เซิร์ฟเวอร์และพื้นที่เก็บข้อมูล ส่วนซอฟต์แวร์ เช่น ระบบปฏิบัติการต่างๆ (Windows, Mac OS, iOS, Android) และโปรแกรมต่างๆ ผู้ใช้เป็นคนหามาติดตั้งเอง
  2. PaaS (Platform as a Service) ผู้ใช้งานเช่าระบบเซิร์ฟเวอร์ พื้นที่เก็บข้อมูล ระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต่อผู้ใช้งานบางส่วน
  3. SaaS (Software-as-a-service) ผู้ใช้งานสามารถเปิดเว็บแล้วใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนั้นๆ ได้เลย เช่น ระบบ Microsoft Office 365, Google Document เป็นต้น

On Premises

ตัวอย่างบริการบน Cloud Computing มีอะไรบ้าง

On Premises คือ การซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มาติดตั้ง วางระบบและลงซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมต่างๆ เองในสถานที่หรือในองค์กรของตัวเอง โดยที่เจ้าของระบบจะต้องดูแล บำรุงรักษาทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งระบบและรับผิดชอบในส่วนต่างๆ เช่น การติดตั้งฮาร์ดแวร์(Hardware) การลงซอฟต์แวร์(Software) การจ้างบุคลากรเฉพาะด้านมาดูแลตรวจเช็คเครื่อง และupgradeระบบ เพื่อให้ server สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น

จึงทำให้เจ้าของระบบมีต้นทุนในการเริ่มติดตั้งระบบค่อนข้างสูง เพราะจำเป็นต้องลงทุนด้านเซิร์ฟเวอร์(Server) และ Licenseของซอฟต์แวร์ และภายหลังหากจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบ เจ้าของระบบจะต้องเสียค่าใช้จ่ายลงทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ใหม่อีกครั้งโดยการอัพเดทซอฟต์แวร์ในแบบ On Premises นี้แต่ละครั้งก็จะมีค่าใช้จ่ายด้วย นอกจากนั้นการเข้าถึงระบบบุคลากรต้องอาศัยการแชร์ข้อมูลจากส่วนกลางตามรูปแบบที่ตั้งค่าเอาไว้ จึงจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ผ่าน Server ได้ ไม่สามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง ดังนั้น On Premises จึงเหมาะกับองค์กรที่มีเงินลงทุนในระบบมาก และไม่ต้องการใช้งานใช้งานระบบเมื่ออยู่ภายนอกองค์กร

IaaS (Infrastructure as a service)

ตัวอย่างบริการบน Cloud Computing มีอะไรบ้าง

IaaS (Infrastructure as a service) เป็นบริการคลาวด์คอมพิวติ้งที่ให้เช่าเครื่องโครงสร้างพื้นฐานหรือฮาร์ดแวร์(Hardware)  เช่น หน่วยประมวลผล ระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่ายในรูปแบบระบบเสมือน (Virtualization) โดยผู้ใช้บริการสามารถเลือกเช่าใช้งานและจ่ายค่าบริการตามจริง นอกจากนั้นยังยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงระบบที่อาจจะเกิดขึ้นในในองค์กร

ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์(Software)ผู้ใช้งานจะต้องติดตั้งเอง หรือเช่าบริการเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการได้ ซึ่งผู้ให้บริการที่องค์กรนิยมใช้งาน ได้แก่ Microsoft Azure, Amazon Web Service และ Google Cloud Platform เป็นต้น

Iaas เป็นบริการที่เหมาะสำหรับนักพัฒนาหรือผู้ประกอบการที่ไม่ต้องการหาสถานที่เพื่อติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ และระบบเครือข่าย นอกจากนั้นยังไม่ต้องดูแลบำรุงรักษาระบบเองอีกด้วย

PaaS (Platform as a Service)

ตัวอย่างบริการบน Cloud Computing มีอะไรบ้าง

PaaS (Platform as a Service) เป็นบริการคลาวด์คอมพิวติ้งที่ให้เช่า Hardware, Operating Systems, Storage และ Network Capacity ซึ่งผู้ให้บริการคลาวด์จะเป็นผู้ดูเเลระบบปฎิบัติการ จัดเตรียม ตั้งค่าระบบ ช่วยเก็บข้อมูลเเละจัดการ server ให้มีความพร้อมสำหรับผู้ใช้บริการที่จะสามารถพัฒนา Application และ Data ได้เลย

โดยส่วนใหญ่บริการนี้จะเหมาะสำหรับกลุ่มธุรกิจ Startup บริษัทต่างๆ และนักพัฒนาโปรเเกรม เพราะสามารถให้ความสำคัญกับการพัฒนาโปรเเกรม โดยที่ไม่ต้องกังวลในเรื่องการดูเเลจัดการระบบ หรือความปลอดภัยใดๆทั้งสิ้น ผู้ให้บริการของ PaaS ได้แก่ Azure SQL Database เป็นต้น

SaaS (Software-as-a-service)

ตัวอย่างบริการบน Cloud Computing มีอะไรบ้าง

SaaS (Software-as-a-service) เป็นรูปเเบบการให้บริการ Software บน Cloud ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดเตรียมติดตั้งระบบ เเละดูแลฐานข้อมูลต่างๆให้ทั้งหมด ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการผ่าน Website โดยที่ไม่ต้องทำการดาวน์โหลดเเละติดตั้งใดๆ ไม่ต้องคอยอัพเกรดระบบ หรือพัฒนาระบบเอง ไม่ต้องลงทุนซื้อ Hardware เพื่อใช้ในการประมวลผล และจัดเก็บข้อมูล สามารถรองรับการเข้าใช้งานได้ทุกรูปเเบบเเละทุกระบบปฎิบัติการ จึงทำให้เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆให้กับผู้ใช้บริการ

โดยรูปเเบบบริการที่คุ้นเคยกันดีคือรูปเเบบ Email เช่น Microsoft Exchange, Google Gmail พื้นที่จัดเก็บข้อมูล หรือการใช้บริการ Social Media ซึ่ง Facebook ถือว่าเป็นบริการคลาวด์คอมพิวติ้งแบบ SaaS ด้วยเช่นกัน

ข้อดี – ข้อเสีย ของการใช้ Cloud Computing
ตัวอย่างบริการบน Cloud Computing มีอะไรบ้าง

บทสรุป

จากที่กล่าวมาแล้วบริการคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) มีข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนนั้นคือ เรื่องของต้นทุนในการเริ่มทำระบบจะถูกกว่าแบบติดตั้งระบบไว้ในองค์กรของตัวเอง (On Premises) ไม่ต้องมีสถานที่วางระบบ มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนสเป็คให้สอดคล้องกับการใช้งานและงบประมาณได้อยู่เสมอ มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสากล เเละสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ เพียงแต่ต้องศึกษาค่าบริการต่างๆของคลาวด์ให้ละเอียดถี่ถ้วนและเหมาะกับองค์กรของเราจริงๆ

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยี สามารถ inbox เข้ามาได้เลยค่ะ

บทความของเราน่าสนใจใช่ไหม เเชร์เลย!!!

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine