ความสามารถทางคณิตศาสตร์ มีอะไรบ้าง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และทักษะพื้นฐานการคำนวนควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่ยังวัยเด็กเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียน และเสริมสร้างการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีกไปพร้อมๆกัน จริงแล้วๆการเสริมสร้างทักษะทางด้านนี้พ่อ แม่ ผู้ปกครองสามารถช่วยเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานของท่านไปพร้อมกับการเรียนเสริมทางจินคณิตได้ง่ายๆดังต่อไปนี้

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ประกอบไปด้วย

  1. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กได้ง่าย เป็นเพราะว่าคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน
  2. ทักษะการจำแนกประเภทคือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วมจะขึ้นอยู่กับเด็กๆว่าจะเลือกใช้เกณฑ์ไหน แต่ส่วนใหญ่แล้วเด็กๆมักจะเลือกใช้เกณฑ์ความเหมือน และความแตกต่าง ในการจำแนกประเภทสิ่งของและเมื่อมีความเข้าใจในความเหมือน และความแตกต่างแล้วก็จะสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ร่วมได้
  3. ทักษะการเปรียบเทียบคือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าเชือกเส้นที่ 1 ยาวกว่าเชือกเส้นที่ 2 นี่คือการแสดงความสัมพันธ์ของเชือกทั้ง 2 เส้น สั้น – ยาว ความสำคัญในการเปรียบเทียบ คือการเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์  
  4. ทักษะการวัด จะพัฒนามาจากประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้วเช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
  5. ทักษะการนับคือ แนวคิดในการนับจำนวนเช่น การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน 
  6. ทักษะการสังเกต คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยให้มีส่วนร่วมโดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป
  7. ทักษะการจัดลำดับคือ การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์เรียกได้ว่าเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม  

ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณแบ่งได้ 3 ทักษะ

  1. ทักษะในการจัดหมู่
  2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
  3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด) 

    จะเห็นได้ว่าทักษะต่างๆเหล่านี้มักจะอยู่ในชีวิตประจำวันและเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนเสริมอยู่เสมอจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้เด็กๆเข้าใจ

           คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุผล  กระบวนการคิด  และการแก้ปัญหา  จึงกล่าวได้ว่าคณิตศาสตร์สามารถพัฒนาความคิด  ความมีเหตุ มีผล พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณาญาณ พัฒนาทักษะการให้เหตุผล และการแก้ปัญหา พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์   ทำให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งการคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม  จึงมีความสำค้ญยิ่งในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้วิชาคณิตศาสตร์ยังใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง 
               ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งที่ควรตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คณิตศาสตร์ เนื่องจากนักการศึกษาคณิตศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็น  เพราะเป็นทักษะที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะ สาระอื่น ๆ อันประกอบไปด้วย
    การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
    การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
    การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
    การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
    ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
    แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    1. การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
    2. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
    3. การจัดการเรียนการสอนที่มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

    แหล่งที่มา
    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะ/กระบวนการทาง                        คณิตศาสตร์.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

    Advertisement

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    • Pinterest
    • Skype
    • Email

    Like this:

    ถูกใจ กำลังโหลด...

    Related

    ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

    กรกฎาคม 6, 2011

    ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

     

    ความสามารถทางคณิตศาสตร์ มีอะไรบ้าง

     

    ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ความหมาย : ความสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นที่ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ คือ การแก้ปัญหา การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น การแสดงเหตุผล การนำเสนอและการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์

    1. ทักษะและกระบวนการแก้ปัญหา เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนควรจะรู้ ฝึกฝน และการพัฒนาให้เกิดทักษะขึ้นในตัวนักเรียนปัญหาทางคณิตศาสตร์ หมายถึง สถานการณ์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ซึ่งเผชิญอยู่และต้องการค้นหาคำตอบโดยที่ยังไม่รู้วิธีการหรือขั้นตอนที่จะได้คำตอบของสถานการณ์นั้นในทันที
    การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หมายถึง กระบวนการในการประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอน/กระบวนการแก้ปัญหา ยุทธวิธีแก้ปัญหาและประสบการณ์ที่มีอยู่ไปใช้ในการหาคำตอบของปัญหาทางคณิตศาสตร์
    รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา

    ตามแนวคิดของโพลยา (Polya)
    ขั้นที่ 1 ขั้นทำความเข้าใจปัญหาเป็นการคิดเกี่ยวกับปัญหาและตัดสินว่าอะไรที่ต้องการค้นหา โดยผู้เรียนต้องทำความเข้าใจปัญหาและระบุส่วนที่สำคัญของปัญหา
    ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผนแก้ปัญหา เป็นการค้นหาความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและตัวไม่รู้ค่า นำความสัมพันธ์ที่ได้มาผสมผสานกับประสบการณ์ กำหนดแนวทางหรือแผนในการแก้ปัญหา
    ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการตามแผน เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนหรือแนวทางที่วางไว้ อาจตรวจสอบความเป็นไปได้ของแผน เพิ่มเติมรายละเอียด แล้วลงมือปฏิบัติจนได้ความสำเร็จ ถ้าไม่สำเร็จต้องค้นหาและทำการแก้ปัญหาจนสามารถแก้ปัญหาได้
    ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบผล เป็นการมองย้อนกลับไปยังคำตอบที่ได้มา เริ่มจากการตรวจสอบความถูกต้อง ความสมเหตุสมผลของคำตอบและยุทธวิธีแก้ปัญหาที่ใช้ มีคำตอบหรือยุทธวิธีอื่นในการแก้ปัญหานี้อีกหรือไม่

    2. ทักษะและกระบวนการ การให้เหตุผล หมายถึง กระบวนการการคิดทางคณิตศาสตร์ที่ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์และ/หรือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการรวบรวมข้อเท็จจริง/ข้อความ/แนวคิด/สถานการณ์ทางคณิตศาสตร์ต่างๆ แจกแจงความสัมพันธ์หรือการเชื่อมโยงเพื่อทำให้เกิดข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ใหม่
    รูปแบบการให้เหตุผล
    1. การให้เหตุผลแบบสหัชญาณ เป็นการให้เหตุผลที่มาจากการใช้ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิดหรือสามัญสำนึก
    2. การให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็นการให้เหตุผลที่มาจากกระบวนการที่ใช้การสังเกตหรือการทดลองหลายๆ ครั้ง แล้วรวบรวมข้อมูลเพื่อหาแบบรูปที่จะนำไปสู่ข้อสรุปซึ่งเชื่อว่า น่าจะถูกต้อง น่าจะเป็นจริง เรียกข้อสรุปที่ได้ว่า ข้อความคาดการณ์
    3. การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นการให้เหตุผลที่มาจากกระบวนการที่ยกเอาสิ่งที่รู้ว่าเป็นจริงหรือยอมรับว่าเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์แล้วใช้เหตุผลทางตรรกศาสตร์ อ้างจากสิ่งที่รู้ว่าเป็นจริงนั้นไปสู่ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่

    3.ทักษะการสื่อสาร และการนำเสนอ เป็น กระบวนการถ่ายทอดข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารโดยนำเสนอ
    ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การดู การแสดงท่าทาง โดยมีการใช้สัญลักษณ์ ตัวแปร ตาราง กราฟ สมการ อสมการ ฟังก์ชันและแบบจำลอง ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์มาช่วยในการสื่อความหมาย

    4.ทักษะและกระบวนการ การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เป็น กระบวนการที่ต้องอาศัยการคิด วิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ ในการนำความรู้ เนื้อหาสาระและหลักการทางคณิตศาสตร์มาสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผลระหว่างความรู้
    และทักษะ/กระบวนการที่มีเนื้อหาคณิตศาสตร์กับงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและการเรียนรู้แนวคิดใหม่ที่ซับซ้อนหรือสมบูรณ์ขึ้น
    รูปแบบการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
    1.การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็น การนำความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ไปสัมพันธ์กัน
    อย่างเป็นเหตุเป็นผลทำให้สามารถแก้ปัญหาได้หลากหลายวิธีหรือกะทัดรัดขึ้นและทำให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีความหมายขึ้น
    2. การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น เป็น การนำความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ไปสัมพันธ์กัน
    อย่างเป็นเหตุเป็นผลกับเนื้อหาและความรู้ของศาสตร์อื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ทำให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์น่าสนใจ มีความหมายและนักเรียนเห็นความสำคัญในการเรียนคณิตศาสตร์

    5. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็น กระบวนการคิดที่อาศัยความรู้พื้นฐาน จินตนาการและวิจารณญาณ ในการพัฒนาหรือคิดค้นองค์ความรู้หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานที่สูงกว่าความคิดพื้นๆ เพียงเล็กน้อย ไปจนกระทั่งเป็นความคิดที่อยู่ในระดับสูงมาก องค์ประกอบของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่ม ความคิดละเอียดลออ

    Advertisement

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    ถูกใจ กำลังโหลด...

    หมวดหมู่:

    Uncategorized

    กิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการ

    ความรู้ทางคณิตศาสตร์ มีกี่ประเภท

    จากทัศนะของนักการศึกษาดังกล่าว สรุปได้ว่า ความรู้ของครูทางคณิตศาสตร์ มี องค์ประกอบอยู่ 2 ลักษณะได้แก่ ความรู้ในมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และความรู้ในวิธีการ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยครูผู้สอนควรสอนความรู้เชิงมโนทัศน์ควบคู่กับความรู้เชิง ขั้นตอนหรือวิธีการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด ...

    ความรู้ทางคณิตศาสตร์ คืออะไร

    ความหมาย : ความสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นที่ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ คือ การแก้ปัญหา การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น การแสดงเหตุผล การนำเสนอและการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์

    ทักษะการคิดคำนวณ มีอะไรบ้าง

    ทักษะด้านการคิดคำนวณ หมายถึง ความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ และการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต่างๆ เข้ามาใช้ในการคิดคำนวณต้นทุนของการจัดการด้านโลจิสติกส์