การบำบัดน้ำเสีย โรงงาน แป้งมัน สำปะหลัง

การบำบัดน้ำเสีย โรงงาน แป้งมัน สำปะหลัง
    ประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารประมาณ 10,000 โรงงาน ลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารคือ มีน้ำเสียเป็นจำนวนมากที่ต้องบำบัด ในขณะเดียวกัน มีการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตไม่ว่าในรูปของน้ำมันเตาและไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยมีโรงงานแป้งมันสำปะหลังประมาณ 60 โรงงาน กำลังการผลิต 1.7 ล้านตัน มูลค่าการส่งออกและการใช้ในประเทศ 22,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังนอกจากมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับแรงงานและจำนวนเกษตรกรถึง 10 ล้านคน ในกระบวนการผลิตแป้งมัน 1 ตัน มีน้ำเสียถึง 15 ลูกบาศก์เมตร มีสารอินทรีย์ปะปนในรูปซีโอดี มีการใช้พลังงานในรูปน้ำมันเตาเพื่อการอบแห้ง40 ลิตร และกระแสไฟฟ้า 165 กิโลวัตต์/ชั่วโมงต่อตันแป้ง (รวมค่าพลังงานประมาณ 1,000 บาทต่อการผลิตแป้ง 1 ตัน)
    การบำบัดน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมัน โดยทั่วไปนิยมบำบัดในบ่อเปิด ใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ จากปัญหากลิ่นและประสิทธิภาพของระบบต่ำ ทำให้โรงงานแต่ละโรงเสียค่าใช้จ่ายสารเคมีในการบำบัดไม่ต่ำกว่าเดือนละ 200,000 บาท ที่สำคัญที่สุดคือการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม เช่น กรณีของก๊าซเรือนกระจก ถูกนำมาเป็นข้อกีดกันทางการค้าที่ประเทศผู้ส่งออกต้องถือปฏิบัติให้เป็นไป ตามมาตรฐานที่เข้มงวด โดยการสนับสนุนของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ในเรื่องการบำบัดและใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ไม่ใช้อากาศแบบประสิทธิภาพ สูง ระบบดังกล่าวเป็นระบบปิด ไม่ต้องใช้พลังงานในการบำบัดมาก ไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่น มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ลดพื้นที่ที่ใช้ในการบำบัดลงจากบ่อเปิดได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบ และที่สำคัญอย่างยิ่งมีผลพลอยได้จากการบำบัดคือ ก๊าซชีวภาพที่มีมีเทนเป็นส่วนประกอบ นำไปใช้ผลิตไฟฟ้าหรือน้ำมันเตาได้
    เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียและผลิตพลังงาน ถูกนำไปใช้งานจริงในระดับอุตสาหกรรม โดยโรงงานผลิตแป้งข้าว จังหวัดนครปฐม ได้ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขนาด 5,200 ลูกบาศก์เมตร ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์ได้ร้อยละ 80-90 ลดพื้นที่ในการก่อสร้างระบบได้ประมาณ 1 ใน 3 ลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น และการร้องเรียนจากชุมชนข้างเคียง รวมทั้งลดปริมาณการใช้สารเคมีได้มากกว่าร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับระบบเดิมที่เป็นบ่อเปิด ระบบนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2543 และยังมีเสถียรภาพที่ดีผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณ 2,500 ลูกบาศก์เมตร/วัน
    โดยการสนับสนุนด้านการลงทุนสร้างระบบบำบัดจากสำนักงานนโยบายและแผน พลังงาน กระทรวงพลังงานสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไบโอเทคได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง 4 โรงงานคือ โรงงานชลเจริญ โรงงานชัยภูมิพืชผล โรงงานแป้งมันตะวันออก และโรงงานสีมาอินเตอร์โปรดักส์ ทั้ง 4 โรงงานจะผลิตก๊าซชีวภาพได้ไม่ต่ำกว่า 15.36 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปีหรือ 230.4 ล้านลูกบาศก์เมตร ตลอดอายุใช้งานของระบบ 15 ปี ซึ่งนำมาทดแทนน้ำมันเตาในกระบวนการผลิตของโรงงาน ทำให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานเทียบเท่าน้ำมันเตา 7.2 ล้านลิตร/ปี หรือ 108 ล้านลิตร ตลอดอายุใช้งานของระบบ 15 ปี คิดเป็นมูลค่าถึง 1,512 ล้านบาท (ราคาน้ำมันเตา 14 บาท/ลิตร)
ประโยชน์ของผลงาน
    จากการเดินระบบบำบัดน้ำเสียที่โรงงานชลเจริญในปัจจุบันพบว่า ระบบสามารถผลิตก๊าซชีวภาพทดแทนการใช้น้ำมันเตาได้ 100% ของกระบวนการผลิต ช่วยให้โรงงานประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ประมาณ 120,000 บาทต่อวัน หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 24 ล้านบาทต่อปี (น้ำมันเตาราคา 14 บาท/ลิตร) จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างดียิ่งกับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ถ้าส่งเสริมการใช้ให้ครอบคลุมโรงงานแป้งมันทั้งหมดทั่วประเทศ ช่วยลดปริมาณของเสียได้ถึง 50 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี และประหยัดพลังงานในรูปน้ำมันเตาได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 2,400 ล้านบาท และทำให้อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังของไทยรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาด ต่างประเทศได้อีกด้วย
    นอกจากเป็นที่ยอมรับในประเทศแล้ว โครงการ Cows to Kilowatts จากประเทศไนจีเรีย ได้ขอใช้เทคโนโลยีนี้ในการบำบัดของเสียจากโรงฆ่าสัตว์และผลิตพลังงาน โดยทางฝ่ายไทยเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝึกอบรมบุคลากรจาก ประเทศไนจีเรีย ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับรางวัล Seed Awards 2005 Winner จากกลุ่มองค์กรแห่งสหประชาชาติมีโครงการที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 5 โครงการ จากโครงการที่เสนอทั้งหมด 260 โครงการ จาก 66 ประเทศทั่วโลก

ชื่อผู้ผลิตผลงาน :
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


  1. Suranaree University of Technology
  2. Institutes
  3. Institute of Engineering
  4. School of Environmental Engineering
  5. วิทยานิพนธ์ (Thesis)

Please use this identifier to cite or link to this item: http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1030

Title:  การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง โดยใช้บ่อแอนแอโรบิคแบบติดผิว
Other Titles:  TREATMENT OF TAPIOCA-STARCH WASTEWATER USING ANAEROBIC ATTACHED-GROWTH POND
Authors: 
Keywords:  การบำบัดน้ำเสีย
แป้งมันสำปะหลัง
Issue Date:  2545
Publisher:  สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
URI:  http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1030
ISBN:  9745331643
Appears in Collections: วิทยานิพนธ์ (Thesis)

Items in SUTIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.