พฤติกรรมที่ ส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่

หมวดหมู่สุขภาพ

หมวดหมู่สุขภาพ

เครื่องมือโปรด

ค้นหาชุมชนของคุณ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ชุมชน

ชุมชนคือพื้นที่ปลอดภัยที่คุณสามารถพูดคุยกับสมาชิกคนอื่น ๆ แสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่สนใจ และรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในประเด็นด้านสุขภาพที่สำคัญที่สุด

ยินดีต้อนรับ! คุณ !

เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่คุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งในชุมชนของเรา จากนี้เราจะสุขภาพดีและมีความสุขมากกว่าที่เคย นี่คือเรื่องราวใหม่ ๆ ใน Hello คุณหมอ

มาดูกันว่ามีอะไรใหม่ ๆ บ้าง

พฤติกรรมที่ ส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ สามารถทำได้โดยการเลือกสิ่งที่ดีต่อร่างกายของคุณ ตลอดไปจนถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย และทำให้คุณภาพชีวิตของเราดียิ่งขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ และผลกระทบที่อาจตามมา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

หมวดหมู่ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพิ่มเติม

หัวข้อ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพิ่มเติม

ความหมายของการส่งเสริมสุขภาพ

    การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมถรรถนะในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพของตนเอง
การประชุมนานชาติเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) ในปี พ.ศ. 2529 ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนนาดา ได้ประกาศเพื่อส่งเสริมสุขภาพและได้บ่งชี้กลยทธ์พื้นฐานที่สำคัญ 3 ประการ เพื่อให้เกิดกระบวนการส่งเสริมสุขภาพให้ครบถ้วนสมบูรณ์ คือ

    1.การชี้นำ (Advocacy)
        ด้านสุขภาพเพื่อสร้างหรือปัจจัยต่างๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมและชีวิตมีผลกระทบทั้งทางสนับสนุนและบั่นทอนสุขภาพ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมุ่งที่จะช่วยให้เงื่อนไขเหล่านั้นเป็นไปในทางสนับสนุนโดยกาชี้นำเรื่องสุขภาพ
    2. การเพิ่มความสามารถ (Enabling)
        ให้คนเราทุกคนบรรลุถึงศักยภาพสูงสุดด้านสุขภาพ และบรรลุความเสมอภาคทางสุขภาพ ลดข้อแตกต่างทางสภาวะสุขภาพ และสร้างความมั่นใจว่า ทุกคนจะมีโอกาสและทรัพยากรต่างๆ ที่เท่าเทียมกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของทุกคนให้มีสุขภาพดีที่สุด
    3. การไกล่เกลี่ย (Mediating)
        งานส่งเสริมสุขภาพจำเป็นต้องอาศัยกิจกรรมอันเกิดจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อการส่งเสริมสุขภาพได้แจกแจงกลุ่มกิจกรรมที่สำคัญ 5 ประการที่กำหนดให้ตอบสนองกลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้นดังนี้
        • สร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
        • สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
        • เสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง
        • การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
        • การปรับเปลี่ยนบริการสาธารณสุข

    แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ
        พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior)
            หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพซึ่งเกิดขึ้นทั้งภายใน และภายนอก พฤติกรรมสุขภาพจะรวมถึงการปฏิบัติที่สังเกตได้และการเปลี่ยนแปลงในที่สังเกตไม่ได้แต่สามารถวัดได้ว่าเกิดขึ้น เป็นการปฏิบัติหรือการแสดงออกของบุคคลในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำในสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพ โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติตนทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม

ประเภทของพฤติกรรมสุขภาพ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
    1.พฤติกรรมการป้องกันโรค หมายถึง พฤติกรรมที่ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
    2.พฤติกรรมเมื่อเจ็บป่วย เป็นการปฏิบัติเมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติหรือเจ็บป่วย ได้แก่ การเพิกเฉย การถามเพื่อนฝูงเกี่ยวกับอาการของตน การแสวงหาการรักษาพยาบาล การหลบหนีจากสังคม ฯลฯ
    3.พฤติกรรมบทบาทของการเจ็บป่วย เป็นการปฏิบัติตัวเมื่อทราบผลการวินิจฉัยโรคแล้ว เช่น รับประทานยาตามแพทย์สั่ง เลิกสูบบุหรี่ ฯลฯ
        

        ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพกับการเกิดโรค การเกิดโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์เกิดได้หลากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ
นอกจากการเจ็บป่วยหรือเกิดโรคเพราะตัวเชื้อโรคแล้ว มนุษย์ยังเจ็บป่วยหรือเกิดโรคได้เพราะพฤติกรรมการดำรงชีวิตของตนเอง ทั้งในเรื่องของการทำงาน การบริโภค การพักผ่อน การมีเพศสัมพันธ์ การดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย การเดินทาง หรือการติดต่อกับสังคม
อาจจะกล่าวได้ว่าพฤติกรรมสุขภาพเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการเกิดโรคและการเจ็บป่วยของบุคคล อีกทั้งสามารถใช้ทำนายแนวโน้มของความเสียงต่อการเกิดโรคและการเจ็บป่วยของบุคคลล่วงหน้าได้ การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่งด้วย

โรคและการเจ็บป่วยที่แบ่งตามลักษณะของพฤติกรรมสุขภาพ
    1.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขวิทยาส่วนบุคค
พฤติกรรมสุขวิทยาบุคคล หมายถึง การปฏิบัติหรือการแสดงออกของบุคคลที่ส่งผลให้มีสุขภาพดี เช่น การดูแลรักษาร่างกาย และของใช้ให้สะอาด การดูแลรักษาฟันให้สะอาดและแข็งแรง การล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
    2.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคและการโภชนาการ
ประกอบด้วย การเลือกบริโภคอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยจากสารอันตราย ได้รับสารอาหารครบถ้วน 5หมู่ อย่างหลากหลาย และมีความพอดีกับความต้องากรของร่างกาย
    3.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านสารเสพติด เพศสัมพันธ์ และปัญหาทางสังคม
หากมีพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องดังกล่าวที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อการเกิดโรคและความเจ็บป่วย ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมโดยตรง เช่น บุคคลที่มีพฤติกรรมเสพสารเสพติดย่อมเจ็บป่วยง่าย ร่างกายทรุดโทรม
    4.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านสุขภาพจิต
เช่น การเกิดโรคซึมเศร้า โรคจิต โรคประสาท มีอาการวิตกกังวล ซึ่งบั่นทอนสุขภาพร่างกายให้เจ็บป่วยโดยง่าย
    5.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัย
การมีพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัย ทั้งภายในบ้านในสถานที่ทำงาน ในโรงเรียน ในชุมชน หรือบนท้องถนน
    6.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายและการตรวจสุขภาพประจำปี
ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมขาดการออกกำลังกายก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ และถ้ามีพฤติกรรมละเลยการตรวจสุขภาพประจำปีอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรค ซึ่งยากต่อการรักษาให้หายเป็นปกติได้
    7.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อม
เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคเลปโตสไปโรซีส (โรคฉี่หนู) เป็นต้น


ข้อใดคือความหมายของพฤติกรรมสุขภาพ

พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior) คือ การปฏิบัติหรือการแสดงออกของบุคคลในการ กระทำ หรืองดการกระทำในสิ่งที่เป็นผลต่อสุขภาพ โดยอาศัยการเรียนรู้ ความเข้าใจและการ

ความเชื่อด้านสุขภาพ มีอะไรบ้าง

ความเชื่อด้านสุขภาพ เป็นความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของบุคคล มีอิทธิพลต่อการ เจ็บป่วย และการรักษา เมื่อบุคคลเกิดการเจ็บป่วยจะปฏิบัติตัวแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ หลายอย่าง เช่น การรับรู้เกี่ยวกับสาเหตุของโรค อาการและการรักษา การรับรู้เกี่ยวกับความรุนแรง ของโรค ความเชื่อเดิม ความสนใจและค่านิยม