การใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี หน่วยที่ 5

โดยสรุปแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า สถาบันการเงินต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แข่งขันกันนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อประโยชน์สำคัญ ๓ ประการ คือ ประการที่หนึ่ง เพื่อช่วยให้บริการลูกค้าประจำได้สะดวกรวดเร็ว ประการที่สอง เพื่อให้สามารถเสนอบริการใหม่ๆ ในรูปแบบ และเวลาที่ลูกค้าประจำต้องการ และให้ลูกค้าประจำสามารถเข้าใจได้โดยง่าย ประการที่สาม เพื่อช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์สองข้อแรก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป

งานสถาบันการเงินการธนาคารที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยนั้น นอกจากด้านการบัญชี และด้านการบริหาร ซึ่งอาจคล้ายคลึงกับการใช้คอมพิวเตอร์ในหน่วยงานอื่นๆ แล้ว ก็มีงานโดยตรง ของสถาบันการเงิน และการธนาคาร เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการฝากถอน หรือพนักงานรับและจ่ายเงิน (teller) ใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคารบริการฝากถอนเงินนอกเวลา และบริการอื่นๆ

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในบริการฝากถอนนั้น อาจรวมการฝากถอนทุกประเภท เช่น เดินสะพัด เผื่อเรียก สะสม และประจำ เป็นต้น โดยมีเทอร์มินัลติดตั้งอยู่ที่โต๊ะพนักงานฝากถอน เมื่อลูกค้ามาฝากหรือถอน พนักงานก็สามารถใช้เทอร์มินัลสอบถามสถานภาพบัญชี และลงบัญชีได้สะดวกรวดเร็ว

การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์สำคัญ ๓ ประการคือ ประการแรก เพื่อลดต้นทุน โดยตัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระดาษ ประการที่สอง เพื่อความปลอดภัยในการโอนเงิน โดยป้องกันเช็คสูญหาย หรือการปลอมแปลงเช็ค และประการที่สาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยทำให้สามารถโอนเงินได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที แทนที่จะต้องเสียเวลานานเป็นวัน

        การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินการธนาคาร

    ในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธนาคารนั้น แต่ละธนาคารอาจระบุวัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไป เช่น บางธนาคารนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนต่อธนาคารนั้น จากธนาคารโบราณมาเป็นธนาคารทันสมัย บางธนาคารนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อพยายามดำรงความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี บางธนาคารนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้สามารถขยายงานได้รวดเร็ว และควบคุมการบริหารงานให้รัดกุมขึ้น เป็นต้น ในธุรกิจการธนาคารจะแข่งขันการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็ว โดยสรุปแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า สถาบันการเงินต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แข่งขันกันนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อประโยชน์สำคัญ ๓ ประการ คือ

    ประการที่หนึ่ง เพื่อช่วยให้บริการลูกค้าประจำได้สะดวกรวดเร็ว
    ประการที่สอง เพื่อให้สามารถเสนอบริการใหม่ๆ ในรูปแบบ และเวลาที่ลูกค้าประจำต้องการ และให้ลูกค้าประจำสามารถเข้าใจได้โดยง่าย
    และประการที่สาม เพื่อช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์สองข้อแรก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป

        งานสถาบันการเงินการธนาคารที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยนั้น นอกจากด้านการบัญชี และด้านการบริหาร ซึ่งอาจคล้ายคลึงกับการใช้คอมพิวเตอร์ในหน่วยงานอื่นๆ แล้ว ก็มีงานโดยตรง ของสถาบันการเงิน และการธนาคาร เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการฝากถอน หรือพนักงานรับและจ่ายเงิน (teller) ใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคารบริการฝากถอนเงินนอกเวลา และบริการอื่นๆ

การใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี หน่วยที่ 5

        การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในบริการฝากถอนนั้น อาจรวมการฝากถอนทุกประเภท เช่น เดินสะพัด เผื่อเรียก สะสม และประจำ เป็นต้น โดยมีเทอร์มินัลติดตั้งอยู่ที่โต๊ะพนักงานฝากถอน เมื่อลูกค้ามาฝากหรือถอน พนักงานก็สามารถใช้เทอร์มินัลสอบถามสถานภาพบัญชี และลงบัญชีได้สะดวกรวดเร็ว

        การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์สำคัญ ๓ ประการคือ ประการแรก เพื่อลดต้นทุน โดยตัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระดาษ ประการที่สอง เพื่อความปลอดภัยในการโอนเงิน โดยป้องกันเช็คสูญหาย หรือการปลอมแปลงเช็ค และประการที่สาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยทำให้สามารถโอนเงินได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที แทนที่จะต้องเสียเวลานานเป็นวัน

การใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี หน่วยที่ 5

        คอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญมากในการบริการด้านสินเชื่อ
การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์นี้ อาจจะทำได้ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ เช่น ระบบโอนเงินข้ามประเทศ หรือระบบสวิฟต์ (swift; society for worldwide interbank financial telecommunication) มีสมาชิกกว่า ๑,๑๐๐ ธนาคารในกว่า ๕๐ ประเทศ

        อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ก็ยังมีผู้ใช้การโอนเงินแบบกระดาษเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก กระดาษที่ใช้นั้น อาจจะเป็นเช็คส่วนตัว บริษัท ธนาคารหรือดราฟต์ ต้องส่งทางไปรษณีย์หรือส่งด้วยมือ ต้องไปเข้าบัญชี แยกประเภท แยกธนาคาร แล้วส่งไปหักบัญชีจากธนาคาร ซึ่งเจ้าของเช็คบัญชีไว้ เมื่อมีเอกสารการเงินมากๆ ก็จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดแยกประเภทเอกสาร แยกธนาคาร และหักบัญชีให้ได้ โดยรวดเร็ว และถูกต้อง เช่น ระบบหักบัญชีอัตโนมัติของอังกฤษ ช่วยหักบัญชี ๔๘๐ ล้านรายการต่อปี และสามารถจะขยายให้รับงานหักบัญชีแบบอัตโนมัติได้ถึง ๒,๐๐๐ ล้านรายการต่อปี

        การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านสินเชื่อ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์สินเชื่อได้อย่างรวดเร็วว่า ควรให้ลูกค้ารายใดกู้หรือไม่ ช่วยให้สามารถบริหารงานด้านสินเชื่อได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น ช่วยคำนวณดอกเบี้ย ออกใบกำกับสินค้า และออกใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น

        การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ก็อาจจะเริ่มด้วยการสอบถามอัตราแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ คำนวณเงินจากสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่ง จัดทำบัญชีรายการแลกเปลี่ยน และบัญชีเช็คเดินทาง จนถึงการชี้แนะว่า ควรจะเก็บเงินสกุลใดไว้มากน้อยเท่าใด เป็นการเก็งกำไร ถ้าสามารถวิเคราะห์แนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย

        การใช้คอมพิวเตอร์ให้บริการข่าวสารการธนาคารนั้นเป็นการขยายข่าวสารการธนาคาร ด้านคอมพิวเตอร์ เช่น ข่าวสารเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ข่าวการเงิน ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวตลาดการเงิน ข่าวตลาดหลักทรัพย์ ข่าวตลาดน้ำมัน และข่าวการเดินเรือ ตัวอย่างบริการข่าวสาร การธนาคารที่มีใช้กันทั่วโลก คือ รอยเตอร์มอนิเตอร์ (Reuter monitor)


                เครื่องบริการเงินด่วน (ATM)
        เครื่องบริการเงินด่วน (ATM) การใช้คอมพิวเตอร์ในบริการฝากถอนเงินนอกเวลานั้น มีใช้กันทั้งในต่างประเทศ และในประเทศไทย ซึ่งเรียกชื่อกันว่า บริการเงินด่วน หรือบริการเอทีเอ็ม (ATM)ส่วนการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านอื่นๆ ของธนาคารก็มีอีกหลายอย่าง เช่น บริการโอนเงิน ณ จุดขาย บริการ ธนาคารในบ้าน และบริการธนาคารทางโทรศัพท์ เป็นต้น

การใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี หน่วยที่ 5

        การคิดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร

            การฝากเงินกับธนาคาร ผลตอบแทนที่เราจะได้รับคือดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารจะนำดอกเบี้ยเข้าบัญชีให้ปีละสองครั้ง ในช่วงกลางปีและปลายปี โดยการคิดให้ดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารจะมีรูปแบบการคิดที่แตกต่างกัน แต่หลักๆแล้วการคิดดอกเบี้ยของธนาคารจะมี 4 วิธี คือ การคำนวณจากยอดค้างต่ำสุดในแต่ละเดือน การคำนวณแบบเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) การคำนวณแบบเข้าหลังออกก่อน (LIFO) และการคำนวณทุกวัน

ปัจจุบันธนาคารทุกแห่งได้ใช้คอมพิวเตอร์คำนวณดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าและเมื่อครบกำหนดระยะเวลาจะนำเงินเข้าบัญชีให้เราโดยอัตโนมัติ ซึ่งธนาคารหลายแห่งจะใช้วิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากทุกวัน โดยระบบคอมพิวเตอร์จะคำนวณดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าทุกๆสิ้นวัน นั่นหมายความว่า หากเราฝากเงินค้างคืน ก็จะได้รับดอกเบี้ย และการคิดดอกเบี้ยสามารถคำนวณได้จากสูตร คือดอกเบี้ย = เงินต้น*(จำนวนวันที่ฝาก/365)*(อัตราดอกเบี้ย/100)

    ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย

สมมุติว่าเราฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากประจำจำนวน 200,000 บาทโดยเริ่มฝากในวันที่ 15 มกราคม ฝากจำนวนสามเดือน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 15 มีนาคม และในปีเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน อัตราดอกเบี้ยคือ 1.25 ต่อปี

ซึ่งการนับวันจะนับเริ่มจากวันที่ 15 ธันวาคมจนถึงวันครบกำหนดคือ 15 มีนาคม จะได้จำนวนดังนี้คือ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคมถึงสิ้นเดือนจำนวน 16 วัน, 1 กุมภาพันธ์ ถึงสิ้นเดือน 28 วัน , 1 มีนาคมถึงวันที่ 15 คือ 15 วัน ดังนั้นจำนวนวันที่ใช้คือ 16+28+15=59 วัน (หากปีไหนเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันจะใช้ตัวหารคือ 366)

ดังนั้น

ดอกเบี้ย = 200,000*(59/365)*(1.25/100) บาท
ดอกเบี้ย = 404.1096 บาท
โดยจะคำนวณถึงทศนิยมสี่หลักแต่เมื่อจะยกไปทำในขั้นตอนต่อไปจะหักหลักที่สามและสี่ออกโดยไม่ทำการปัดขึ้นตามปกติ ดังนั้นดอกเบี้ยที่จะนำไปคำนวณภาษีคือ 404.10 บาท
ภาษี 15 % คือ 404.10*(15%) = 60.6150 บาท
ภาษีที่ใช้คิดจริงคือ 60.61 บาท
ดอกเบี้ยที่จะได้รับจริงคือ 404.10-60.61 = 343.49 บาท

    ดังนั้นหากเราฝากเงินครบสามเดือนจะได้รับดอกเบี้ยหลังหักภาษีคือ 343.49 บาท

แต่ในปัจจุบันนี้ธนาคารหลายแห่งได้ออกโปรโมชั่นแบบขั้นบันไดและมีอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาสุดท้ายสูงๆเช่น 6 เดือนแรกดอกเบี้ย 1.75% 6 เดือนต่อมาดอกเบี้ย 4.5% และ 6 เดือนสุดท้ายดอกเบี้ย 8% เป็นต้น ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราสับสนว่า ตกลงแล้วเราจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่กันแน่ ซึ่งเราสามารถประยุกต์การคำนวณดอกเบี้ยข้างบนนี้ได้โดยแยกการคำนวณเป็นช่วงเวลา และหาว่าช่วงเวลาต่างๆ เราจะได้รับดอกเบี้ยเท่าไหร่ แล้วนำดอกเบี้ยในแต่ละช่วงมารวมกันเพื่อหาดอกเบี้ยที่เราจะได้รับจริงๆ ซึ่งจะทำให้เราเปรียบเทียบในแต่ละธนาคารได้ง่ายขึ้น ซึ่งวิธีการคำนวณจะเป็นดังนี้

    ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย

ธนาคารแห่งหนึ่งประกาศว่า เงินฝากประจำ 12 เดือน จะให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ 8% ต่อปีโดยในรายละเอียดนั้นมีการคำนวณดอกเบี้ยเป็นขั้นบันไดคือ ในเดือนที่ 1-3 ดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ต่อปี เดือนที่ 4-6 ดอกเบี้ยร้อยละ 3.5 ต่อปีเดือนที่ 7-9 ร้อยละ 4 ต่อปีและ เดือนที่ 10-12 ร้อยละ 8 ต่อปี ซึ่งหากเราฝากเงินจำนวน 200,000 บาทตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเราจะได้รับดอกเบี้ยดังนี้ และปีนั้นมีเดือนกุมภาพันธ์ 28 วัน

เดือน มกราคม-มีนาคม เวลา 90 วัน จะได้รับดอกเบี้ย
ดอกเบี้ย = 200,000*(90/365)*(1.5/100) บาท
ดอกเบี้ย = 739.7260 บาท
เดือน เมษายน ? มิถุนายน เวลา 91 วัน
ดอกเบี้ย = 200,000*(91/365)*(3.5/100) บาท
ดอกเบี้ย = 1,745.2055 บาท
เดือน กรกฎาคม-กันยายน เวลา 92 วัน
ดอกเบี้ย = 200,000*(92/365)*(4/100) บาท
ดอกเบี้ย = 2,016.4384 บาท
ตุลาคม-ธันวาคม เวลา 92 วัน
ดอกเบี้ย = 200,000*(92/365)*(8/100) บาท
ดอกเบี้ย = 4,032.8767 บาท
รวม ดอกเบี้ยรับทั้งหมดคือ 8,534.24 บาท
หักภาษี 15% คือ 8,534.2466 *15% = 1,280.13 บาท

    คงเหลือรับ 7,254.11 บาท

ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information System)

       ระบบสารสนเทศด้านการเงิน จะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (Liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุนอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้

        1. การพยากรณ์ (Forecast) คือการศึกษาวิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงินจะอาศัยข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ

        2. การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) คือการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้น หรือตราสารทางการเงิน

        3. การควบคุมทางการเงิน (Financial Control) เป็นการติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจจะจำแนกได้ 2 ประเภท คือ

            3.1 การควบคุมภายใน (Internal Control)

            3.2 การควบคุมภายนอก (External Control)

               บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต (internet banking) ธนาคารพาณิชย์เริ่มนำบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 โดยเน้นการให้บริการด้านการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งมีรายละเอียดการให้บริการดังต่อไปนี้

               (2) บริการสอบถามยอดบัญชี,บริการขอรายการเดินบัญชี

                 ยอดเงินคงเหลือในบัญชีออมทรัพย์ บัญชีเดินสะพัด บัญชีฝากประจำ บัญชีเงินฝากระยะยาว สินเชื่อบุคคล Speedy Loan และสินเชื่อเพื่อการเคหะ (Mortgage) หรือ ดูใบแจ้งยอดบัตรเครดิตไทยพาณิชย์และบัตร Speedy Cash ผ่านบริการ e-Bill

                 ระหว่างบัญชีของตนเอง บัญชีบุคคลอื่นทั้งบัญชีไทยพาณิชย์ บัญชีต่างธนาคาร หรือโอน เงินต่างประเทศจุดเด่นด้านบริการสามารถสมัครใช้บริการได้ด้วยตนเองตลอด 24 ชม. โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขาเพิ่มบัญชีผู้รับโอนได้ด้วยตนเอง ด้วยระบบ One Time Password (OTP)มีระบบรักษาความปลอดภัยของ ข้อมูล ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption)ด้วย Secured Socket Layer (SSL) 128 bitsเรียกดูใบแจ้งยอดบัตรเครดิตไทยพาณิชย์และบัตร Speedy Cash ได้ตลอดเวลาผ่านบริการ e-Bill ชำระค่าสินค้า/บริการได้ถึงกว่า 1,000 กว่าร้านค้า รวมถึงบริการเติมเงินมือถือโอนเงินระหว่างบัญชีตนเอง บุคคลอื่นใน SCB และต่างธนาคารแบบเข้าบัญชีทันที/ตั้งเวลาหักบัญชีล่วงหน้า

                 (4) บริการชำระค่าสินค้าและบริการ ทั้งเติมเงินโทรศัพท์มือถือ บัตรเครดิต ค่างวดเงินกู้/เช่าซื้อ ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ค่า บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการจ่ายค่ากวดวิชาออนไลน์ ฯลฯ

                 (5) สมัครบริการบัตรเครดิตและอนุมัติเบื้องต้นเป็นการสมัครผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แทนการไปสมัครที่ธนาคาร โดยทำการกรอกข้อมูล ผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด และรอการอนุมัติ จากทางธนาคาร โดยไม่ต้องออกไปข้างนอก

การใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี หน่วยที่ 5

            ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์(E-Payment)

            ในชีวิตประจำวันของประชาชนมีความเกี่ยวข้องกับการชำระเงินอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้า/บริการ การโอนเงิน หรือการทำธุรกรรมการเงินอื่นใด การขยายตัวของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การบริการด้านการชำระเงินมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยรูปแบบการชำระเงินมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น การให้บริการมีความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชน และมีผู้ให้บริการรายใหม่ๆ เกิดขึ้น รวมทั้งมีการนำเอากระบวนการชำระเงินเข้าไปในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกกันว่า ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment)

การใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี หน่วยที่ 5

        Electronic Payment system (ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์) คือ กระบวนการส่งมอบหรือโอนสื่อการชำระเงินเพื่อชำระราคา   โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม โทรสาร โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

        1.ตกลงซื้อสินค้า กรอกข้อมูลบัตรเครดิต *ข้อมูลส่วนนี้ทางร้านไม่สามารถเห็นได้

        2.ส่งข้อมูลไปยัง Acquiring Bang (ธนาคารที่ฝ่ายร้านค้าใช้บริการอยู่)

        3.Acquiring Bang ทำการตรวจสอบมายังธนาคารผู้ออกบัตร ว่าบัตรเป็นของจริงและสามารถใช้ได้

        4.Acquiring Bang ทำการเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกบัตรz

        5.ธนาคารผู้ออกบัตรโอนเงินไปยัง Acquiring Bang เข้าสู่บัญชีร้านค้า

        6.ส่งข้อมูลการชำระกลับไปยังร้านค้า

        7.ร้านค้าส่งข้อมูลการชำระกลับไปยังลูกค้า เพื่อยืนยันการสั่งซื้อ

       (E-Payment) มีกระบวนการการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ดังนี้

        1.สั่งซื้อและส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตไปให้ผู้ขาย

        2.ผู้ขายยืนยันส่งข้อมูลการสั่งซื้อกลับมายังผู้ซื้อ

        3.ผู้ขายรับข้อมูลการสั่งซื้อ(มองไม่เห็นเลขบัตรเครดิต)

        4.ผู้ขายส่งข้อมูล Encrypted Payment ไปยังเครื่องบริการด้านการจ่ายเงินทาง online (Cyber Cash Server)

        5.Cyber Cash Server รับข้อมูลผ่านทาง Fire wall ถอดรหัสข้อมูลลูกค้าและส่งไปยังธนาคารผู้ขายและผู้ซื้อ

        6.ธนาคารผู้ขายร้องขอให้ธนาคารผู้ซื้อรับจ่ายเงินตามจำนวนเงินตามยอดบัตรเครดิต

        7.ธนาคารผู้ซื้อตรวจสอบข้อมูล แล้วส่งกลับไปว่าอนุมัติหรือไม่ และ transfer ยอดเงินให้ผู้ขาย

        8.Cyber Cash Server รับข้อมูลส่งต่อไปยังผู้ขายเพื่อส่งข้อมูลไปยังผู้ซื้อต่อไปปัจจัยสู่ความสำเร็จ

                ปัจจัยแห่งความสำเร็จมี 4 ประเด็น คือ

        (1) การบริการลูกค้า เทคโนโลยีต้องเข้าถึงได้ง่ายและเป็นมิตรกับประชาชน ลดขั้นตอนทางราชการที่ยุ่งยากซับซ้อน ให้สารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการ

        (2) การออกแบบและประเมินผล บริการต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและรักษาระบบให้มีเสถียรภาพแม้ในภาวะวิกฤติ กำหนดนโยบายและกระบวนการรับข้อร้องเรียนที่ชัดเจน ติดตามผลและปรับปรุงระบบช่วยสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง

        (3) ความมั่นคง-ปลอดภัย บริการต้องอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมออนไลน์ และให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล

        (4) การเห็นคุณค่าและความสำคัญ บริการที่ดีต้องถูกให้ความสำคัญในลำดับสูงสุดจากทุกภาคส่วน ผู้นำประเทศ นักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ระดับสูง และพนักงานของรัฐ ต้องให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และตอบข้อสงสัยแก่ประชาชนผ่านการสื่อสารสองทางอย่างประสิทธิภาพ

ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements) มีองค์ประกอบ ดังนี้

        1.ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)

        2.ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)

        3.ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)

        4.สิทธิส่วนบุคคล (Privacy)

    • การใช้รหัส (Encryption)

    • ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)

                ประโยชน์ e-payment ในองค์กร

    1.การสั่งชำระเงิน และการรับชำระเงินมีความสะดวกมากยิ่งขึ้นด้วยระบบ E – Pay ท่านไม่จำเป็นต้องเดินทางไปชำระเงินด้วยวิธีการเดิมๆ อีกต่อไป ท่านสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร และเวลาที่เสียไปจากการเดินทางรวมถึงความเสี่ยงจากการถือเงินสด เป็นต้น

    2.เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารการเงิน เนื่องจากการบริการ E – Pay เป็นการชำระเงินแบบ Online และ Real Time จึงเพิ่มความสะดวกในกรณีที่ท่านต้องการสั่งชำระเงินเป็นกรณีเร่งด่วนโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางเพื่อไปชำระเงินเหมือนระบบเดิม โดยผู้รับเงินสามารถรับเงินและนำเงินไปบริหารต่อได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 นาที โดยไม่ต้องรอการเคลียร์ริ่งของธนาคาร ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงินสดของบริษัทอีกทางหนึ่ง

    3.ลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลการทำรายการระบบ E – Pay จะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใช้ เช่น เลขที่บัญชีผู้มีอำนาจในการสั่งจ่าย ,

วงเงินในการสั่งจ่าย เป็นต้นทำให้ท่านสามารถทำงานได้รวดเร็วและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดพิมพ์เอกสารได้ทำให้การดำเนินงานทางด้านบัญชีและการเงินของบริษัทจึงมีความสะดวก รวดเร็วและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

   4.การยืนยันการตัดบัญชีและการนำเงินเข้าบัญชีไม่ว่าท่านจะเป็นผู้สั่งชำระเงิน หรือรับชำระเงินก็จะได้รับข้อความยืนยันการตัดบัญชี (Debit Advice) และข้อความยืนยันการนำเงินเข้าบัญชี (Credit Advice) จากธนาคารผ่านระบบ E – Payเมื่อรายการชำระเงินเสร็จสมบูรณ์โดยท่านไม่ต้องสอบถามผลของการทำรายการไปที่ธนาคารโดยตรง

    5.เสริมสร้างความคล่องตัวในการทำงานท่านสามารถเลือกใช้บริการกับธนาคารต่างๆ ที่เข้าร่วมให้บริการ หรือเปลี่ยนแปลงไปใช้ธนาคารอื่นในภายหลังก็ทำได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องเปลี่ยนโปรแกรมหรือขั้นตอนการทำงานแต่อย่างใดการบริหารจัดการคลังสินค้า และสินค้าคงคลังบริษัทฯให้บริการคลังสินค้าในลักษณะที่จะทำให้ลูกค้าสามารถ เพิ่มขึดการแข่งขันจากต้นทุน ซัพพลายเชนที่สามารถควบคุมได้ ความชัดเจนของข้อมูลและความไวในการตอบสนอง บริษัทสามารถลดเวลาในการตักเคลื่อนย้ายสินค้าและการจัดการสินค้าในคลังลง 30% ถึง 50% กระบวนการการจัดการคลังสินค้าของบริษัทฯสามารถควบคุมความแม่นยำของสินค้าคงคลัง ของลูกค้าได้ในระดับ 99.99% ซึ่งทำให้ต้นทุนลดลงและสามารถส่งสินค้าให้ลูกค้า ตามใบสั่งได้ครบถ้วนมากขึ้น เวลาที่ใช้ในการจัดส่งก็ลดลงจากสัปดาห์เป็นชั่วโมง เป็นต้น ลูกค้าทุกรายมีความต้องการที่แตกต่างกัน เนื่องจากความต้องการของตลาดและข้อจำกัด ด้านการผลิตที่ไม่เหมือนกัน บริษัทฯสามารถให้บริการ จัดกลยุทธ์คลังสินค้า ในลักษณะที่ให้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อประสิทธิภาพ ทางซัพพลายเชนทั้งหมดของลูกค้า

บริษัทฯมีศูนย์กระจายสินค้า 3 แห่ง ศูนย์แรกตั้งอยู่กลางใจเมืองในซอยกล้วยน้ำไท ศูนย์ที่สองอยู่ที่ราษฎ์บูรณะ และศูนย์หลักที่ถนนกิ่งแก้ว ซอย 21 ติดกับสนามบินสุวรรณภูมิ หรือประมาณ 12 กิโลเมตรไปทางตะวันออก ของกรุงเทพฯ บนถนนสายบางนา-ตราด ด้วยขนาดพื้นที่จัดเก็บรวม กันทั้งหมดมากกว่า 60,000 ตร.ม. ศูนย์กระจายสินค้าทั้งหมด มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีคุณภาพ ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ มีระบบป้องกันอัคคีภัย เต็มรูปแบบ รวมไปถึงกล้องวงจรปิดและระบบเตือนภัย ด้วยระบบการจัดการคลังสินค้า ที่มีความทันสมัยเต็มรูปแบบชื่อ ISIS และการติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบอิเลคโทรนิคส์ หรือ EDI กับลูกค้า ทำให้การจัดการใบคำสั่งซื้อต่างๆของลูกค้า และข้อมูลสำหรับผู้บริหารสามารถทำให้เกิดขึ้น ได้อย่างตรงเวลาการส่งสินค้าไปยังจุดจ่ายทันทีที่รับสินค้า (Cross-docking)

การจัดการสินค้าแบบ Cross-dock หรือการส่งสินค้าไปยังจุดจ่ายทันทีที่รับสินค้าโดยไม่เก็บสต๊อก ในคลังทำให้สินค้าของลูกค้าเคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่อง กระบวนการดังกล่าวจะสามารถ ทำได้สำเร็จนั้นต้องอาศัยความแม่นยำในการกำหนดเวลาเข้าออก ของทั้งตัวรถบรรทุกและตัวสินค้า ให้เกิดขึ้นพร้อมกัน บริษัทฯมีประสพการณ์ในการสร้างระบบการจัดการรูปแบบนี้ มาในสถานการณ์ที่มีความยากในระดับสูงการบริหารจัดการสินค้าคงคลังทันทีที่รับสินค้าเข้ามาในคลังสินค้า

ระบบจัดการคลังสินค้าที่บริษัทฯมีอยู่จะทำการเลือกตำแหน่งที่เก็บในคลังสินค้า ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสินค้านั้นด้วยความระมัดระวังและภายในเวลาอันเหมาะสม เช่น ระบบจะพิจารณาถึงความถื่ของการเคลื่อนไหวเข้าออกของสินค้านั้นเป็นเกณฑ์ในการกำหนดตำแหน่งที่เก็บ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอย่างถูกต้อง จะช่วยลดเวลาและแรงงานในการเดินทาง ไปตักสินค้าสินค้านั้นจากที่เก็บได้อย่างมาก การใช้ระบบการจัดการสินค้าคงคลังช่วยเพิ่มความแม่นยำ ในการคุมสินค้าอยู่ที่ระดับสูงถึง 99.99% นอกจากนี้ ระบบยังสามารถออกแบบให้รองรับการคุมสต๊อก ระดับที่ระเอียดมากขึ้นในรูปแบบของ lot number เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ เมื่อมีการเรียกคืนสินค้านั้น ซึ่งบริษัทฯมีเครื่องมือและกระบวนการในการจัดการความต้องการดังกล่าวด้วย