นโยบายการค้าของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างไร

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการจารึกในประวัติศาสตร์ว่า เป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก การก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 1893 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างพระนครขึ้นที่ริมหนองโสน แล้วทำการราชาภิเษกทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี ขนานนามราชธานีว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ในช่วงตลอดอายุกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา 417 ปี บ้านเมืองมีทั้งความเจริญและความเสื่อม ในสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก คือ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ในบางรัชสมัยพระมหาธรรมราชาและพระเพทราชา การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ส่วยสาอากร ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. จังกอบ หรือ จำกอบ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า ที่นำเข้ามาจำหน่ายตามที่ได้อธิบายข้างต้น

2. อากร หมายถึง ส่วนที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้ในการประกอบการต่างๆเช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ หรือการได้รับสิทธิจากรัฐบาลไปกระทำการ เช่น ต้มกลั่นสุรา เก็บของในป่า จับปลาในน้ำ ฯลฯ เช่น อากรค่านา อากรสวน อากรสุรา อากรค่าน้ำ เป็นต้น การเก็บอากรอาจจัดเก็บเป็นตัวเงินหรือเป็นสิ่งของ ถือเป็นภาษีที่จัดเก็บตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

อย่างที่ออเจ้าได้เห็นกันในละคร “บุพเพสันนิวาส” หรือได้เรียนมาในวิชาประวัติศาสตร์ว่า สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นยุคทองแห่งการค้าและการทูตของกรุงศรีอยุธยา มีต่างชาติเข้ามาค้าขาย จนอโยธยาติดอันดับเมืองท่าสำคัญของเอเชีย

แล้วอะไรล่ะที่ทำให้อยุธยาเป็นเมืองท่าสำคัญ มีบทบาททางการค้าของภูมิภาคนี้ แน่ล่ะที่เรารู้กันมาว่าดินแดนแถบนี้อุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรมากมายหลากหลายที่ชาวตะวันตกไม่มี แต่เหตุผลเพียงแค่เขาต้องการสินค้าจากเราแค่นั้นหรือ ? เมื่อถอยออกจากอยุธยาไปมองภาพกว้าง ๆ เราจะพบคำตอบ

  • เรือหลวงสุโขทัย พบทหารเรือปลอดภัย 1 นาย เร่งตามหาผู้สูญหายต่อ
  • เรือหลวงสุโขทัยล่ม พบเสียชีวิต 1 ราย เร่งตามหา 31 นายที่เหลือ
  • จับตาวาระ ครม.แจกของขวัญปีใหม่ 19 หน่วยงาน ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนภาษี 4 หมื่น

ในงาน “ทวนสายน้ำตามรอยการค้า แล เงินตรากับออเจ้า” จัดโดยศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย อ.คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์และงานพิพิธภัณฑ์ กล่าวว่า ความใหญ่โตของอยุธยาในยุคนั้นคือ เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงประมาณศตวรรษที่ 17 ช่วงรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม พระเจ้าปราสาททอง พระนารายณ์ ต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคนั้นบอกว่า อยุธยาเป็น 1 ใน 3 มหาอำนาจของเอเชีย เทียบกับ จีน และวิชัยนคร (อินเดียใต้)

อ.คุณากรฉายภาพกว้าง ๆ ของยุคสมัยนั้นว่า ในยุคศตวรรษที่ 16-18 เป็นยุค early modern เป็นยุคแรกที่โลกมีการติดต่อแลกเปลี่ยนกัน ทั้งด้านผู้คน เศรษฐกิจการค้า ศาสนา การทูต สิ่งที่เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดของโลกในยุคนั้นคือ เริ่มมีการนำโลหะแร่เงิน (silver) มาใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยน ชาวตะวันตกนำโดยสเปนและโปรตุเกสเดินเรือมาจากทิศตะวันตกนำแร่เงินเข้ามาแลก เปลี่ยนซื้อ-ขายสินค้าในเอเชีย

ต่อมาพ่อค้าชาวดัตช์เห็นว่า สเปนและโปรตุเกสทำการค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วกลับประเทศด้วยความมั่งคั่งมาก พ่อค้าชาวดัตช์จึงอยากทำการค้ากับภูมิภาคนี้ แต่การจะส่งเรือมาซื้อสินค้าซึ่งจินตนาการไม่ออกว่ามีสินค้าอะไรบ้าง ถือเป็นความเสี่ยงอย่างมาก ไม่มีพ่อค้าคนไหนลงทุนคนเดียวไหวจึงกระจายความเสี่ยงโดยการขายหุ้น แตกการลงทุนออกเป็นหุ้นเล็ก ๆ ระดมเงินลงทุน ตั้งบริษัท VOC หรือ บริษัท อินเดียตะวันออก แล้วเดินทางเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ที่รัฐปัตตาเวีย (ปัจจุบันคือจาการ์ตา)

VOC ระดมเงินได้มหาศาล เป็นครั้งแรกของโลกที่คนที่ไม่ได้อยู่ในฐานันดรกษัตริย์สามารถมีส่วนร่วมในกิจการใหญ่ขนาดนี้ได้ ซึ่งใหญ่กว่าเงินในพระคลังของหลาย ๆ รัฐ การขายหุ้นบริษัท VOC ได้มอบมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบันคือเป็นการก่อตั้งตลาดหุ้น และจุดเริ่มต้นการขายหุ้น

ในเวลาใกล้ ๆ กัน เม็กซิโก เดินทางมาจากทางตะวันออกข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อเสบียงใกล้หมดจำเป็นต้องหาที่จอดพัก จึงเลือกเกาะฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่เกาะแรกที่เจอ และมีอ่าวมะนิลาที่เหมาะแก่การจอดเรือ มะนิลาจึงเป็นเมืองท่าหนึ่งที่สำคัญ

ชาติใหม่เข้ามาเพิ่มขึ้น ชาติแรก ๆ ที่เข้ามาก็ยังคงอยู่ เมื่อหลายชาติมุ่งหน้าเข้ามาทำการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายเมืองในภูมิภาคนี้จึงกลายเป็นเมืองท่าสำคัญที่มีบทบาทโดดเด่น อย่างเช่น อาเจะฮ์ ซึ่งเป็นท่าแรกที่เจอเมื่อเดินทางมาจากอ่าวเบงกอล

อีกหนึ่งเมืองสำคัญคือบันเต็น เป็นเมืองท่าพริกไทยที่สำคัญมากทางตะวันตกเฉียงเหนือของชวา เมื่อ VOC เข้ามาตั้งสำนักงานที่ปัตตาเวียจึงมีปัญหากับบันเต็น เพราะสองเมืองนี้หาสินค้าจากดินแดนเดียวกัน คือ ชวา

เศรษฐกิจที่ รุ่งเรืองอยู่ในเอเชีย และเงินที่ไหลเข้ามาในทวีปนี้ถูกดูดซับโดยประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกในยุคนั้น ก็คือ จีน ยุคราชวงศ์หมิง

Advertisement

นโยบายการค้าของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างไร

“ที่เราเห็นว่าอยุธยาทำการค้ารุ่งเรืองนั้น เราเป็นส่วนหนึ่งของภาพอันใหญ่โตมโหฬาร ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดมาก เมื่อเราถอยออกไปจากเรื่องที่เราคุ้นเคย ไปมองว่าโลกเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนพลวัตทางเศรษฐกิจก็คือ สินค้าและแร่เงิน มรดกตกทอดอันหนึ่งของยุคนั้นที่ยังคงอยู่กับเราก็คือคำว่า ซิลเวอร์ แร่เงิน ซึ่งทุกวันนี้เราเรียก money ว่า เงิน เพราะว่าในอดีต เงินคือ currency สิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยน” อ.คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ สรุป

หลังจากมองภาพกว้าง ๆ ไปแล้วก็ถอยกลับเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา มองการค้าภายในอโยธยาว่าเป็นอย่างไร 

รศ.ดร.ธีร วัต ณ ป้อมเพชร ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์การค้าสมัยอยุธยา กล่าวว่า การค้าในสมัยอยุธยาผูกขาดโดยหลวง (กษัตริย์ ราชสำนัก) แต่ไม่สามารถผูกขาดได้ในทุกรัชสมัย และไม่สามารถผูกขาดทุกรายการสินค้า เนื่องจากไม่ได้มีกลไกปกครองที่สามารถผูกขาดเบ็ดเสร็จได้ และธรรมชาติของเศรษฐกิจการค้า หากไม่มีความยืดหยุ่น พ่อค้าต่างชาติคงไม่เข้ามา

จากเดิมที่รัฐมีรายได้จากการเก็บภาษีอากร ต่อมารายได้ที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ การค้าต่างชาติ ซึ่งกษัตริย์อยุธยาไม่สามารถละเลยทอดทิ้งได้ ดังนั้นที่มีการพูดกันว่า หลังสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตแล้ว เจ้าพระยาวิชเยนทร์สิ้นแล้ว การค้าก็ยุติลง ไม่เป็นความจริง ในเวลาต่อมาอยุธยายังมีการค้ากับจีน อินเดีย ดัตช์ และชาติอื่น ๆ ส่วนระบบพระคลังสินค้าก็ยังไม่หายไป

“การที่บ้านเราร่ำรวยด้วยทรัพยากร และเห็นได้ว่าขุนนาง กรมท่าต่าง ๆ ร่ำรวยแค่ไหน ยิ่งเป็นการดึงดูดให้คนต่างชาติเข้ามาแสวงโชคในเมืองไทย และประจวบกับเจ้านาย ชนชั้นนำไทยต้องการให้คนต่างชาติเข้ามาช่วยค้าขาย จึงมีต่างชาติเข้ามาแสวงโชคในสยามมาก คนที่รู้เรื่องการค้าและรู้ภาษาก็จะเข้ามารับราชการ ตัวอย่างที่เด่นมากคือ คอนสแตนติน ฟอลคอน”

นอกจากนั้น รศ.ดร.ธีรวัตบอกอีกว่า ปัญหาหนึ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์คือเรื่องการต่างประเทศ จะรับมือชาติอย่างไร ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ราชสำนักไทยขัดแย้งกับฮอลันดา เพราะแข่งขันกันเข้าไปค้าขายกับญี่ปุ่น ซึ่งเส้นทางไปญี่ปุ่นเป็นเส้นทางที่กษัตริย์สยามคิดว่าสำคัญและมีค่ามาก เพราะการไปค้ากับญี่ปุ่นสามารถแวะทำการค้ากับจีนได้ด้วย ราชสำนัก สยามขัดแย้งกับดัตช์จนดัตช์ส่งเรือติดปืนมาปิดปากอ่าวไทย นำมาสู่การเซ็นสนธิสัญญา ซึ่งดัตช์ได้เปรียบสยาม สนธิสัญญาฉบับนั้นทำให้สมเด็จพระนารายณ์เกรงกลัวดัตช์พอสมควร

“แต่จะตีความว่าอยุธยามีปัญหากับดัตช์จึงต้องไปคบกับฝรั่งเศส อาจเป็นการสรุปที่ง่ายเกินไป” รศ.ดร.ธีรวัตกล่าว

ถ้าจะสรุปว่าทำไมอยุธยาในยุคนั้นจึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญและมีการค้าพาณิชย์ที่ รุ่งเรืองมาก ก็เพราะอยุธยาเป็นเมืองท่าในแผ่นดินใหญ่ของเอเชีย ซึ่งเอเชียเป็นดินแดนแห่งเศรษฐกิจการค้าของโลกในยุคนั้น